โซโฟสรายงาน "10 อันดับไวรัสอินเทอร์เน็ตและไวรัสหลอก ใน เดือนสิงหาคม 2546"

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--3 ก.ย.--โทเทิลควอลิตี้ พีอาร์ (ประเทศไทย) โซโฟสรายงาน "10 อันดับไวรัสอินเทอร์เน็ตและไวรัสหลอก ใน เดือนสิงหาคม 2546" โซบิก-เอฟ ผู้ชนะแห่ง"สงครามไวรัส" โซโฟส (Sophos) ผู้นำทางการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ภายในองค์กรระดับโลก ได้ขึ้นบัญชีดำไวรัสคอมพิวเตอร์ และไวรัสหลอก 10 อันดับที่พบมากที่สุดในอินเทอร์เน็ต ประจำเดือนสิงหาคม 2546 ไว้ดังนี้ 1. W32/Sobig-F (Sobig variant) 37.6% เข้ามาใหม่ 2. W32/Blaster-A (Blaster worm) 18.8% เข้ามาใหม่ 3. W32/Nachi-A (Nachi worm) 5.5% เข้ามาใหม่ 4. W32/Mimail-A (Mimail worm) 5.3% เข้ามาใหม่ 5. W32/Yaha-P (Yaha variant) 2.1% 6. W32/Klez-H (Klez variant) 1.3% ครองอันดับในชาร์ตนานถึง 19 เดือน 7. W32/Bugbear-B (Bugbear variant) 1.1% 8. W32/Yaha-E (Yaha variant) 0.8% 9. W32/Dumaru-A (Dumaru virus) 0.6% เข้ามาใหม่ 10. W32/Sobig-A (Sobig worm) 0.3% Others: 26.6% "เดือนสิงหาคมปี 2546 นี้ จะเป็นเดือนที่อยู่ในความทรงจำเพราะเป็นเดือนที่แย่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ ซึ่งไวรัสหลายๆ ตัวได้พยายามเข้าทำลายระบบคอมพิวเตอร์ทั่วโลกจนเกิดความปั่นปวน หนึ่งในนั้นเป็นไวรัสที่อยู่ในตระกูลของไวรัส Sobig ซึ่งได้เข้าโจมตีผ่านทางอีเมล์มาอย่างท่วมท้น จนติดอันดับหนึ่งในชารต์ประจำเดือนนี้ จะเห็นได้จากชาร์ตว่าไวรัสที่ติดสี่อันดับต้นนั้นเป็นไวรัสตัวใหม่ทั้งสิ้น ซึ่งแต่ละตัวอาจจะขึ้นถึงอันดับหนึ่งประจำเดือน ถ้าหากมิได้ปรากฎขึ้นในเดือนเดียวกัน" คำกล่าวจาก มร.ชาลส์ คัสซิ่นส์ ผู้อำนวยการบริหารของบริษัทโซโฟส แอนตี้-ไวรัส "โดยทั้งนี้เวิร์ม Sobig-F ได้ก่อความโกลาหลให้แก่ระบบอีเมล์ทั่วโลก ด้วยอีเมล์จำนวนมากที่มันได้สร้างขึ้นด้วยตัวมันเอง และแพร่กระจายไปในอินบ๊อกซ์ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก ดังนั้นผู้ใช้อินเทอร์เน็ต และองค์กรทั้งหลายสมควรที่จะคอยระมัดระวังมากขึ้น รวมถึงการสร้างระบบป้องกันความปลอดภัยคอมพิวเตอร์เพื่อป้องกันการจู่โจมของไวรัสในอนาคต" โซโฟส แอนตี้-ไวรัส ได้ตรวจพบไวรัส เวิร์ม และโทรจัน ฮอร์สใหม่ๆ รวมถึง 778 ตัวในเดือนสิงหาคมนี้ รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 84,277 ตัว ที่ซอฟต์แวร์ของโซโฟสสามารถทำการปกป้องได้ 1. Hotmail Hoax 16.3% 2. JDBGMGR 12.2% 3. Bill Gates Fortune 10.8% 4. WTC Survivor 7.9% 5. Meninas da Playboy 7.4% 6. Bonsai Kitten 4.7% 7. Budweiser frogs screensaver 3.8% 8. A virtual card for you 3.2% 9. Frog in a blender/Fish in a bowl 3.1% 10. Bill Gates 1.3% Others: 29.3% "บิล เกทส์ ยังคงเป็นเป้าหมายหลักของการโจมตีจากผู้เขียนทั้งไวรัสหลอก และไวรัสคอมพิวเตอร์ทั้งหลาย ในขณะที่ เวิร์มบลาสเตอร์ ยังคงฉวยโอกาสในช่องโหว่ของซอฟท์แวร์ ไมโครซอฟท์ ทำการจู่โจม และพยายามที่จะล่มหนึ่งในเว็บไซด์ต่างๆ ของไมโครซอฟท์ด้วย ไวรัสหลอกที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ บิล เกทส์ ยังคงหมุนเวียนอยู่ในระบบอีเมล์บนอินเทอร์เน็ตทั่วโลก" มร.ชาลส์ คัสซิ่นส์ กล่าวเสริม โซโฟสได้จัดเตรียมบริการอินฟอร์เมชั่น ฟีด ซึ่งเว็บไซด์ขององค์กรสามารถใช้บริการนี้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้นเพื่อรับข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสคอมพิวเตอร์และไวรัสหลอกล่าสุด รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถหาดูได้ที่ http://www.sophos.com/virusinfo/infofeed/ ตารางกราฟฟิคของไวรัสคอมพิวเตอร์ที่ติดอันดับท้อปเท็น สามารถหาดูได้ที่ www.sophos.com/pressoffice/imgallery/topten ข้อมูลเกี่ยวกับการปกป้อง และใช้คอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัย รวมถึงการป้องกันไวรัสหลอก สามารถหาดูได้ที่ www.sophos.com/safecomputing ข้อมูลเกี่ยวกับ Sophos: โซโฟส เป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์แอนตี้-ไวรัสระดับโลก มีสำนักงานใหญ่ ณ ประเทศอังกฤษ สินค้าของโซโฟส ได้ถูกจำหน่ายไปยังที่ต่าง ๆ มากกว่า 150 ประเทศทั่วโลก นอกจากนี้โซโฟส แอนตี้-ไวรัสยังเป็นโปรแกรมที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายในองค์กรใหญ่ ๆ อาทิ ธนาคาร รวมทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาลอีกด้วย ผู้สนใจสามารถหาดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซโฟส และสินค้าต่าง ๆ ได้ที่ http://www.sophos.com สำหรับผู้ที่สนใจ กรุณาสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ มร.ชาลส์ คัสซิ่นส์ หรือ คุณสุรัตน์ ตัณทนาวิวัฒน์ / คุณบุณฑรา วรมงคลชัย ผู้อำนวยการบริหาร บริษัท โทเทิลควอลิตี้ พีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด Sophos Anti-Virus Asia Pte Ltd, Singapore โทร.0-2260-5820 โทรสาร.0-2260-5847 ถึง 8 Tel: +65 429 0060 Email: [email protected] Email: [email protected] Web Site: www.sophos.com--จบ-- -นห-

ข่าวอินเทอร์เน็ต+คอมพิวเตอร์วันนี้

ทำความเข้าใจ DNSSEC เสริมความปลอดภัยให้กับอินเทอร์เน็ต

ระบบการตั้งชื่อโดเมน (Domain Name System DNS) มีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการทำงานของอินเทอร์เน็ต โดยจะทำหน้าที่แปลงชื่อโดเมน เช่น www.abc.com ให้เป็น IP Address เช่น 122.950.34.138 ที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการสื่อสารระหว่างกัน โดย DNS นั้น เปรียบเหมือนสมุดโทรศัพท์ ในขณะที่ IP Address เปรียบเสมือนหมายเลขโทรศัพท์นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่า DNS จะเป็นระบบที่สำคัญและถูกใช้งานมาอย่างยาวนาน แต่การรักษาความปลอดภัยของระบบก็ยังเป็นสิ่งที่ต้องตระหนักถึงเป็นอันดับต้นๆ เพื่อไม่ให้ตกเป็นเป้าหมายของการโจมตีทางไซ

โจเซฟ คง หัวหน้ากลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมดิจิ... จากภารกิจห้วงอวกาศสู่โรงงานอัจฉริยะ — โจเซฟ คง หัวหน้ากลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมดิจิทัล ซีเมนส์ ประเทศไทย คอมพิวเตอร์, ระบบนำทาง GPS, โทรศัพท์มือถือ,...

ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ชี้บริษัทเทค... Krungthai COMPASS ชี้ Data Center หนุนเศรษฐกิจไทย ดึงเม็ดเงินลงทุนเข้าประเทศกว่า 3.2 แสนล้านบาท — ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ชี้บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของ...

สุขยิ่งขึ้น สนุกยิ่งขึ้น สุขใจยิ่งขึ้น ด้... "Splashing Together" ทรู ดีแทค รวมกัน… สงกรานต์สนุกขึ้นเยอะเลย" — สุขยิ่งขึ้น สนุกยิ่งขึ้น สุขใจยิ่งขึ้น ด้วยทีมเน็ตเวิร์กทรูพร้อม AI ที่ดูแลทุกความสนุก 2...

มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (ทีเอชนิ... THNIC จับมือ SET และ ICANN จัดงาน UA Day 2025 ใช้โดเมนและอีเมลภาษาไทย ปูทางธุรกิจไทยก้าวสู่สากล — มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (ทีเอชนิค) ร่วมกับตลาดห...

มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (THNIC) ... ICANN เตรียมเปิดรับสมัคร New gTLDs รอบใหม่ในรอบ 13 ปี - THNIC จัดสัมมนาให้ข้อมูลเชิงลึก — มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (THNIC) จัดสัมมนาพิเศษให้ข้อมูล...