การศึกษาแบบแผนทางศิลปกรรมของวิหารพื้นเมืองล้านนาฯ ได้รับรางวัลดีเยี่ยม รางวัลผลงานวิจัย ประจำปี 2546 จากสภาวิจัยแห่งชาติ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--3 ก.ย.--วช. การศึกษาแบบแผนทางศิลปกรรมของวิหารพื้นเมืองล้านนาในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 20-24 ได้รับรางวัลดีเยี่ยม รางวัลผลงานวิจัย ประจำปี 2546 จากสภาวิจัยแห่งชาติ นายจิรพันธ์ อรรถจินดา เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ แถลงแก่สื่อมวลชนว่า สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2546 : รางวัลผลงานวิจัย รางวัลดีเยี่ยม สาขาปรัชญา แก่ผลงานเรื่อง "การศึกษาแบบแผนทางศิลปกรรมของวิหารพื้นเมืองล้านนาในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 20-24" ของนางสาววรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิหารเป็นผลงานสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมอันทรงคุณค่าชนิดหนึ่ง ที่แสดงถึงเอกลักษณ์และความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมของดินแดนล้านนาในอดีตได้เป็นอย่างดี จากการศึกษาแบบแผนทางศิลปกรรมของวิหารพื้นเมืองจำนวน 10 แห่ง ที่สร้างระหว่างพุทธศตวรรษที่ 20-24 ในจังหวัดลำปางและเชียงใหม่ พบว่า วิหารพื้นเมืองล้านนาสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทคือ วิหารโถงหรือวิหารไม่มีป๋างเอก และวิหารแบบปิดหรือวิหารที่มีป๋างเอก โดยในยุคแรกของล้านนานิยมสร้างวิหารแบบโถงที่ไม่มีผนัง ต่อมาเมื่อสภาพบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไป มีการอพยพโยกย้ายเข้ามาของคนถิ่นอื่น และการถ่ายทอดวัฒนธรรมจากการติดต่อสัมพันธ์กับดินแดนอื่น ๆ เช่น พม่าและภาคกลางของไทย จึงเริ่มมีการสร้างวิหารแบบปิดตามอย่างวิหารในภาคกลาง อย่างไรก็ตาม วิหารทั้งสองแบบมีแผนผังคล้ายคลึงกันคือ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยมีจำนวนห้องวิหาร 5-6 ห้อง ส่วนการประดับตกแต่งนั้น องค์ประกอบที่เป็นไม้ เช่น นาคทันต์ แผงแล ปากแล มักจะแกะสลักเป็นรูปสัตว์ในจินตนาการประกอบลวดลายพันธุ์ไม้ เพื่อแสดงถึงการรักษาศาสนสถาน รวมถึงมีการใช้ลวดลายสิริมงคลแบบจีน ตามเสาวิหารนิยมลงรักเป็นลวดลายอันประณีต เรียกว่า "การฮายลาย"ซึ่งเป็นเทคนิคเดียวกับการทำเครื่องเขินของล้านนา สำหรับโครงสร้างภายในจะมีการตกแต่งด้วยลายรดน้ำทำให้มองดูคล้ายดาวระยิบระยับ ส่วนด้านหลังพระประธานมีการประดับด้วยภาพของพระพุทธเจ้าและลวดลายต้นศรีมหาโพธิ์ เพื่อสร้างบรรยากาศของพุทธภูมิ แบบแผนทางศิลปกรรมของวิหารล้านนาจึงสะท้อนภูมิปัญญาในการผสมผสานประโยชน์ใช้สอย และความเชื่อในพระพุทธศาสนาของช่างฝีมือในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดีผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัลดีเยี่ยม จะได้รับรางวัลมูลค่า 200,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติคุณจาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานสภาวิจัยแห่งชาติ สถานที่ติดต่อ ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50200 โทรศัพท์ 0 5389 2358--จบ-- -นห-

ข่าวสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ+วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์วันนี้

วิศวะมหิดล รวมพลัง 3 องค์กร เดินหน้า เฟส 3 พัฒนาระบบโลจิสติกส์และ Big Data สาธารณสุขไทย

สามองค์กรผู้นำระบบเฮลท์แคร์และเฮลท์เทคของไทย ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข, คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ศูนย์การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสุขภาพ (LogHealth) และ สมาคมการค้าเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่ สนับสนุนโดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ลงนาม MOU ข้อตกลงความร่วมมือเดินหน้าเฟส 3 "โครงการศึกษาวิจัยเพื่อออกแบบและพัฒนาระบบโลจิสติกส์โครงสร้างพื้นฐานและระบบบูรณาการข้อมูลสารสนเทศและ Big Data ด้านสาธารณสุข" ในงานสัมมนาวิชาการ Thailand Healthcare & HealthTech

นักวิจัย ม.มหิดล คว้ารางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2563 คิดค้นยาชีวภาพแอนติบอดีมนุษย์สำหรับรักษาโรคไข้เลือดออก

เมื่อเร็วๆ นี้ ศาสตราจารย์ ดร. นายสัตวแพทย์พงศ์ราม รามสูต หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยแอนติบอดี และ หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์สังคมและสิ่งแวดล้อม คณะเวชศาสตร์เขตร้อน...

เมื่อเร็วๆ นี้ นายนันทวัฒน์ ขยันกสิกรรม น... นศ.สาขาเคมีสวนสุนันทาคว้า “เหรียญทองแดง” งานวิจัยแห่งชาติ’62 — เมื่อเร็วๆ นี้ นายนันทวัฒน์ ขยันกสิกรรม นางสาวจิตตรา มาแสวง และนางสาวเกศินี ปาทา นักศึกษาชั...

นายวุฒิชัย สุระรัตน์ชัย ผู้จัดการธนาคารอิ... ภาพข่าว: ไอแบงก์ ร่วมยินดีอ.มะรอนิง ประธานที่ปรึกษาด้านศาสนารับรางวัลวิจัยระดับประเทศ — นายวุฒิชัย สุระรัตน์ชัย ผู้จัดการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก...

เพื่อนๆ รอคิวยาวเพื่อจะเลี้ยงแสดงความยินด... แสดงความยินดีกับนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ — เพื่อนๆ รอคิวยาวเพื่อจะเลี้ยงแสดงความยินดีกับ ศ.นพ.สุรเดช หงส์อิง ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์...

ปฎิทินข่าว สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาต... ปฎิทินข่าว — ปฎิทินข่าว สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำวันเสาร์ ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2562 เวลา 09.00 น. ณ ฮอลล์ 102-104 ศูนย์นิทรรศการ...