Thaiticketmaster.com ขอเชิญชมศิลปการแสดง Memorandum

15 Aug 2003

กรุงเทพฯ--15 ส.ค.--Thaiticketmaster

เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองปีการแลกเปลี่ยนอาเซียน-ญี่ปุ่น 2003เสนอโดย : มูลนิธิญี่ปุ่น กรุงเทพฯ, โรงละครกรุงเทพ สนับสนุนโดย : Agency for cultural Affairs of Japanโดยได้รับ ความร่วมมือจาก : สถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ผลิตโดย : dumb typeMemorandum ได้รับความร่วมมือด้านการผลิตจาก : Haus derKulturen der Welt, Berlin / Crteil Maison des Arts/ Festival d’Automme a Paris / Le Man?ge Sc?ne Nationale de Maubeuge /Pilar de Yzaguirre-Ysarca Madrid / La Batie Festival de Gen?ve /The Museum of Art, Kochi/ New Opera of Tel Aviv, Israelด้วยความสนับสนุนจาก : Town of Ajaccio / Institut Franco-Japonais du Kansai Villa Kujoyama / Kyoto Art Center

memorandum - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -ณ เวลานี้ เรายืนนิ่งงันอยู่ต่อหน้าธารน้ำตกที่จับตัวเป็นน้ำแข็งพร้อมกับความรูสึกที่พร่ามัวท่ามกลางปรากฏการณ์ที่โหมกระหน่ำเข้ามาอย่างรวดเร็วทำอย่างไรเราจะมีชีวิตรอดอยู่ในท่ามกลางกระแสปรากฏการณ์ที่เย็นยะเยือกของโลกใบนี้ได้เราจะเก็บความทรงจำในอนาคตได้อย่างไร

มูลนิธิญี่ปุ่น กรุงเทพฯและโรงละครกรุงเทพภูมิใจเสนอการแสดงครั้งสำคัญ ภายใต้ชื่อ

“memorandum” โดยคณะ dumb type ณ โรงละครกรุงเทพ เวลา18.00 น. ในวันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2546 เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองปีการแลกเปลี่ยน อาเซียน-ญี่ปุ่น 2003

คณะ dumb type เป็นกลุ่มศิลปินที่ได้รับการกล่าวขานถึงอย่างกว้างขวางที่ถ่ายทอดให้เห็นโลกในด้านมืด เต็มไปด้วยการเย้ยหยันและขบขัน อันมีเทคโนโลยีเป็นวิถีชีวิต หลังจากผลงานการสร้างขนาดใหญ่ในชื่อ pH ที่เปิดการแสดงในประเทศต่างๆทั่วโลก ชื่อของdumb type ก็เริ่มเป็นที่รู้จักในเวทีนานาชาติมากขึ้น ยิ่งเมื่อผลงานS/N (1992-1996) และ OR (1997-1999) เปิดตัวขึ้นอย่างงดงาม ฝีไม้ลายมือของ dumb type ก็กลายเป็นสิ่งที่โลกประมาทไม่ได้อีกต่อไป

memorandum ผลงานการแสดงชิ้นล่าสุดของคณะ dumb type หาใช่เรื่องเศร้าที่ควรค่าแก่การระลึกถึง หากแต่เป็นการสำรวจตนเองอย่างเหลือเชื่อของความทรงจำต่อปรากฏการณ์ที่ฝังตัวอยู่ภายใต้จิตสำนึกที่ไร้ความแน่นอน memorandum ได้รวมเอาสื่อผสม ลีลาการเต้น และการบรรยายที่แยกเป็นส่วนๆผสมผสานเข้าไว้ด้วยกันเพื่อเข้าถึงมิติที่คลุมเครือของกระบวนการย้อนรำลึกที่ตีขอบเขตและบั่นทอนประสบการณ์ของเราอยู่ทุกเสี้ยวนาที

การจัดวางอยู่ในรูปแบบที่เรียบง่าย จนอาจเรียกได้ว่าเป็นนามธรรมเวทีที่เปิดกว้างถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนด้วยจอกำแพงขนาดยักษ์ที่มีลักษณะปิดทึบแต่โปร่งแสง รอการทะลักล้นของกระแสภาพจำนวนมาก

คลื่นเสียงที่ดังกระหึ่มประกอบกับแสงสีที่ถาโถมบนจอด้วยความเร็วระดับ REM จะยิ่งเร้าอารมณ์ของคุณให้ตื่นตัวขึ้นในทันที ในขณะที่ลีลาการเต้นซ้ำไปซ้ำมาของนักแสดง บ้างก็น่าตื่นเต้น บ้างก็เฉื่อยชาบ้างก็เป็นเพียงภาพเคลื่อนไหวของเงามืด จะซึมซาบเข้าไปตราตรึงอยู่ในความทรงจำของคุณอย่างเงียบๆแต่หนักหน่วง ส่วนต่างๆของสื่อผสมทั้งหมดนี้ได้ถูกหลอมรวมเป็นศิลปะการแสดงที่ยาวนานกว่า1 ชั่วโมง

ทำอย่างไรเราจะสามารถรอดพ้นจากกระแสปรากฏการณ์ที่เย็นยะเยือกของโลกใบนี้เราจะเก็บความทรงจำในอนาคตไว้ได้อย่างไรmemorandum จะเฉลยให้คุณได้รู้ และแน่นอน....สิ่งที่คุณจะได้เห็นเป็นมากกว่านิยามของคำว่า “dumb”

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ dumb type และmemorandum ได้ที่ : คุณโยชิโอกะ และคุณฐิติวรรณ โทร 0-22608560-4 หรือ [email protected]

dumb type คือใคร? - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - กลุ่มศิลปินคณะ dumb type รวมตัวขึ้นในปี 1984 ณ เมืองเกียวโตประเทศญี่ปุ่น สมาชิกในกลุ่มต่างได้รับการฝึกฝนในหลายสาขาวิชาไม่ว่าจะเป็น ศิลปะ สถาปัตยกรรม การประพันธ์เพลง และการติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผลงานของพวกเขายังแผ่กว้างไปยังสื่อหลากหลายประเภท ทั้งการจัดนิทรรศการศิลปะ การแสดง โสตทัศนูปกรณ์หรือแม้แต่สิ่งพิมพ์ต่างๆ

dumb type ก่อตัวขึ้นจากกลุ่มนักศึกษาที่เกิดความคับข้องใจ ในการเรียนตามสาขาวิชาของตน อันได้แก่ สาขามโนทัศนศิลป์ จิตรกรรมสถาปัตยกรรม การออกแบบ วีดิทัศน์ ถ่ายภาพ ฯลฯ ในมหาวิทยาลัยศิลปะเกียวโต เมื่อปี 1984 ความคับข้องใจของพวกเขาสืบเนื่องมาจากการเรียนที่ต้องถูกจำกัดให้อยู่ในสาขาวิชาของตนเท่านั้น เช่นนักศึกษาที่เรียนในสาขาจิตรกรรมสีน้ำมันก็จะถูกจำกัดให้เรียนในขอบเขตของภาพสีน้ำมันเท่านั้น แต่ด้วยวัยที่ยังอยู่ในช่วงยี่สิบพวกเขาจึงต้องการที่จะค้นหาสิ่งแปลกใหม่ให้กับตนเอง และสิ่งที่ส่งอิทธิพลอย่างมากต่อแนวคิดของพวกเขา คือการแสดงสื่อผสมของศิลปินจากทั่วโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานในชื่อ NAXT WAVEของคณะ Brooklyn Academy of Music งานของ Robert WilsonLaurie Anderson และ Pina Bausch รวมไปถึงศิลปินที่มีชื่อเสียงอีกหลายคน

ทำไมต้อง dumb?- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - dumb type มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างผลงานที่น่าสนใจและแปลกใหม่แหวกแนวไปจากการแสดงดั้งเดิมที่เคยมีมา ซึ่งในประเทศญี่ปุ่นมักจะอยู่บนพื้นฐานของบทพูดเท่านั้น พวกเขาทดลองใช้วิธีที่แตกต่างกันหลากหลายวิธีเพื่อสร้างสรรค์คำศัพท์ใหม่ๆในการแสดงโดยหลอมรวมเอาทักษะและความรู้หลายแขนงของสมาชิกแต่ละคนไว้ด้วยกัน เพื่อก่อกำเนิดแนวการแสดงแบบใหม่ที่ทำลายกำแพงกั้นระหว่างทัศนศิลป์ ละคร และการเต้นลงให้ได้ แม้คำว่า “dumb” จะแปลตรงตัวว่า “ใบ้” แต่สำหรับพวกเขา คำนี้เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงเสรีภาพในการปลดปล่อยแนวคิดทางศิลปะ ในขณะเดียวกันก็ไม่มองข้ามความสำคัญของการใช้ตัวอักษรไป คำนี้ยังมีความหมายว่าโง่เขลาด้วย ดังนั้นการเรียกตัวเองว่า “dumb” จึงเป็นการประชดประชันโลกแห่ง “ศิลปะชั้นสูง” ที่ได้รับการยกย่องในวงการศิลปะโดยแทนที่จะยึดติดอยู่กับรสนิยมและค่านิยมที่เลิศหรูของศิลปะดั้งเดิม พวกเขากลับเลือกที่จะเป็นคนเขลา เพื่อพลิกโฉมหน้าของศิลปะเสียใหม่

ขั้นตอนการผลิตผลงาน- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - เทจิ ฟุรุฮาชิ ผู้ก่อตั้งคณะdumb type เคยกล่าวเอาไว้ว่า แรกทีเดียวคณะ “ต้องการที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ด้วยทักษะที่พวกเขามีอยู่ จึงใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการพูดคุยกันถึงประเด็นทางสังคม หรือเรื่องทั่วไป ไม่จำกัดอยู่แค่ศิลปะเท่านั้น และเมื่อใครเกิดมีความคิดใหม่ๆขึ้น ก็เสนอความคิดนั้นบนกระดาษก่อน หากว่าสมาชิกในคณะสนใจทุกคนก็จะร่วมมือกันทำให้มันกลายเป็นจริงขึ้นมา แนวคิดในขั้นแรกของพวกเขาจะเปิดกว้าง แล้วค่อยๆแคบลง มีความเป็นประชาธิปไตยในการทำงานอย่างชัดเจน dumb type ยึดถือการทำงานเป็นหมู่คณะไม่มีคนใดคนหนึ่งก้าวล้ำหน้าเกินกว่าคนอื่นๆ” ทันทีที่ทุกคนเข้าถึงแก่นแท้ของงาน พวกเขาก็จะเริ่มค้นหามันในมุมมองที่แตกต่างกันแล้วนำสิ่งที่พบมาเสนอกับกลุ่ม ทั้งคำพูด ท่าทาง ดนตรี แนวความคิดด้านแสง เครื่องแต่งกาย การออกแบบเวที ภาพวีดิทัศน์และอื่นๆจุดสำคัญในผลงานของพวกเขาคือ การรวบรวมและปรับปรุงแนวคิดและวัตถุดิบร่วมกัน ทุกคนสามารถมีส่วนในทุกๆด้านของผลงานได้โดยไม่จำเป็นที่จะจำกัดตนเองอยู่ในสาขาที่ตนชำนาญเท่านั้นพวกเขาสามารถเริ่มสิ่งใหม่ๆได้เสมอ ไม่มีลำดับขั้นตอนว่า อะไรมาก่อนหรือหลัง

กว่าจะมาเป็น dumb type- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - ต้นทศวรรษที่80 เป็นช่วงที่เศรษฐกิจของญี่ปุ่นกำลังเฟื่องฟูอย่างรวดเร็ว กระแสความเคลื่อนไหวทางศิลปะหลากแขนงได้ไหลทะลักเข้ามาในประเทศญี่ปุ่นอย่างไม่ขาดสาย ทั้งแนว Post-modernism,วัฒนธรรมย่อย, ศิลปะการแสดง, และการแสดงใต้ดินที่เรียกว่า“ละครโรงเล็ก” รวมไปถึงการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างศิลปะ นักปรัชญาและนักวิชาการ ความสนใจในศิลปะของสาธารณชนและ การสนับสนุนงานศิลปะที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้เป็นจังหวะเดียวกับการริเริ่มสร้างผลงานของพวกเขา (จากผลงาน Pleasure Life ถึง pH) ด้วย

ในเวลานั้นผลงานจากศิลปินต่างประเทศหลายชิ้นได้ทยอยเข้ามาจัดแสดงในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นจังหวะเดียวกับที่สมาชิกผู้ก่อตั้งคณะdumb type สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัย และเทจิ ฟุรุฮาชิอดีตผู้อำนวยการของคณะเพิ่งเดินทางกลับมาจากกรุงนิวยอร์ค ต่อมาพวกเขาได้รับทุนสนับสนุนจาก Spiral and Wacoal Arts Centerในการจัดงานแสดงสัญจรรอบโลกชิ้นใหญ่ ในชื่อ pH ขึ้นในปี 1990และในปี 1933 พวกเขาก็ได้รับทุนสนับสนุนนาน 4 ปีจาก theJapanese Saison Foundation ซึ่งในการสนับสนุนครั้งนี้คณะ dumbtype เป็นผู้รับทุนรายที่สองของโครงการสนับสนุนทางศิลปะระยะยาวของประเทศญี่ปุ่น และผลงานชุด pH ก็ยังถือเป็นก้าวแรกที่ความสามารถของ dumb type เริ่มเป็นที่รู้จักในเวทีระดับโลกด้วย

เมื่อย่างเข้าทศวรรษที่ 90 ประเทศญี่ปุ่นต้องประสบกับการแตกตัวของสภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ และการระบาดอย่างรุนแรงของโรคเอดส์ สังคมญี่ปุ่นในเวลานั้นต้องเผชิญกับปรากฏการณ์ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ กลุ่มนักเคลื่อนไหวทางสังคมท้องถิ่นเริ่มออกมาจัดการกับโรคเอดส์อย่างจริงจัง ทั้งในวงสนทนาท้องถิ่นและเวทีสาธารณะต่างก็พูดถึง ประเด็นเรื่องเพศและสิทธิมนุษยชนอย่างเปิดเผย คณะ dumb type เองก็ถูกดึงเข้ามาเกี่ยวข้องกับประเด็นเหล่านี้อย่างใกล้ชิด เมื่อ ฟุรุฮาชิเปิดเผยกับเพื่อนร่วมงานเกี่ยวกับการติดเชื้อ HIV ของเขา และเหตุการณ์นี้เองที่จุดประกายให้dumbtype ผลิตผลงานชุด S/N ซึ่งเป็นงานชิ้นสุดท้ายที่กำกับโดย ฟุรุฮาชิก่อนที่เขาจะเสียชีวิตในปี1995

Dumb type วันนี้- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - หลังจากการเสียชีวิตของฟุรุฮาชิ ผลงานของคณะ Dumb type เริ่มเปลี่ยนไปอย่างเป็นธรรมชาติ จากประสบการณ์อันแสนเจ็บปวดที่เกิดจากการสูญเสียหัวเรือใหญ่บวกกับความเข้าใจที่ลึกซึ้งมากขึ้นทำให้การสร้างสรรค์งานของพวกเขามุ่งเน้นไปที่เนื้อแท้ภายในมากกว่าเรื่องราวของโลกภายนอก แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าพวกเขาหันหลังให้กับเหตุการ์ที่เกิดขึ้นในโลกไปเสียทีเดียว เพราะเหตุการณ์ในโลกในยุคหลังจากเหตุการณ์ 11 กันยายน คงเป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ ทั้งสงครามการก่อการร้าย อาชญากรรม ความยากจนความหิวโหย ปัญหาสิ่งแวดล้อม สภาวะเศรษฐกิจถดถอย การทุจริตทางการเมือง ฯลฯ

ภายใต้สภาพการณ์เหล่านี้ ก่อให้เกิดข้อสงสัยว่าการทำงานศิลปะแบบมืออาชีพและแบบส่วนตัวหมายถึงอะไรกันแน่ และศิลปะสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง dumb type ให้ความสนใจกับคำถามเหล่านี้มาโดยตลอด แต่ในวันนี้พวกเขาใช้ “มุมมองจากภายใน”ถ่ายทอดมันออกมาแทน ในขณะเดียวกันก็ยังคงเดินหน้าค้นหาความหมายของการเป็นมนุษย์ไปพร้อมๆกับการปฏิเสธการยึดติดกับความคิดเดิมๆ แต่คำถามกลับอยู่ที่ว่า พวกเขาจะมองอย่างไรมองที่ไหน ผ่านสายตาแบบใด และในมุมไหน ในการใช้ชีวิต กำหนดเป้าหมายและมุ่งหน้าต่อไป คงเลี่ยงไม่ได้ที่จะกล่าวว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเสมือนจุดเปลี่ยนจากระบบอนาล็อกไปสูระบบดิจิตอลทั้งทางดนตรีและวีดิทัศน์ควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม มีอิทธิพลต่อรูปแบบการใช้ภาษาในผลงานของพวกเขาอย่างมาก ส่งผลให้ผลงานชุด OR และ memorandumถือกำเนิดขึ้น

memorandum – เสียงสะท้อนจาก dumb type- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - โศกนาฏกรรมของวีถีโคจร ที่ทอดยาวเหนือลูกศรแห่งกาลเวลาสู่ ระยะทางเบื้องหน้า ไร้จุดหมายที่สายตาจะไปถึง memorandum หาใช่เรื่องเศร้าที่ควรแก่การระลึกถึงไม่ หากแต่เป็นการตรวจสอบ ตนเองของความทรงจำต่อภาพเหตุการณ์ที่ฝังตัวอยู่ภายใต้จิตสำนึก ไร้ซึ่งความแน่นอน

memorandum ในมุมมองนักวิจารณ์จากทั่วโลก - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - Le Temp-Geneva, 04/09/00 (Anna Hohler) “บริษัท Nippon dance ได้สร้างจักรวาลที่ทุกอย่างเป็นไปได้ ตลอดหนึ่งชั่วโมงครึ่งของการแสดงเทคโนโลยีอันไร้ที่ติและจินตนาการอันร้อนแรงของ dumb type ให้กำเนิดโลกใบใหม่ที่ปกคลุมด้วยเสน่ห์อันน่าหลงใหล ที่ซึ่งความปรารถนาอย่างเดียวของเราคือการได้เพลิดเพลินอยู่ในความงาม”

Tribune de geneve –Switzerland, 02/09/00 (Emmanuel Grandjean)หลังจากรวมตัวกันเมื่อ 16 ปีที่แล้ว เมื่อไรที่ก้าวพ้นจากบ้านเกิด นักเต้นนักดนตรี สถาปนิก และนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์กลุ่มนี้สามารถสร้างความพินาศได้ทุกครั้ง (…) dumb type สงบนิ่งแต่ปั่นป่วน ตลกขบขันแต่เศร้า ล้ำหน้าทางเทคโนโลยีแต่น่าหลงใหล สรุปคือความเป็นญี่ปุ่นโดยแท้”

Le Temps- Geneva, 01/09/00 (Lisbeth Koutchoumoff)“ด้วยการใช้สื่อผสมที่มีเทคโนโลยีล้ำหน้า และทักษะที่ฉีกแนวmemorandum เป็นการแสดงครั้งที่ 5 ที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยบริษัท ที่มักจะผลิตงานระดับคุณภาพให้เป็นที่ประจักษ์ทั่วทั้งยุโรปและอเมริกา (....)เป็นกระแสปรากฏการณ์ที่ตราตรึงทุกความรู้สึกจริงๆ”

Kulfur in Dusseldorf - Germany, 29/08/00 (Ursula Plenning)“memorandum เป็นการแสดงที่ย่อเอามวลแห่งความรู้สึก ความนึกคิดและสัญชาติญาณที่วิ่งวนอยู่ในจิตใจเพียงเสี้ยววินาทีออกมาเป็นสถาปัตยกรรมแห่งความทรงจำอันยอดเยี่ยม”

La Nouvelle Gazette- Belgium, 17/03/00 (J.C.Herin) “memorandum เดินหน้าเพื่อไขข้อถกเถียงของธรรมชาติของเวลาที่เป็นไปโดยบังเอิญ (...) ซึ่งนั่นก็คือ อะไรจะมาแทนที่ความทรงจำของประสบการณ์ได้ และเมื่อไหร่ที่เทคโนโลยีจะก้าวล้ำเกินการรับรู้และความเข้าใจของมนุษย์

Lib?retion- France, 16-17/10/99 (Marie-Christine Verney) “ทั้งอลังการ ทั้งคละเคล้าด้วยสื่ออันหลากหลาย (...) dumb type คือกลุ่มศิลปินที่เต็มไปด้วยพรสวรรค์ พวกเขานำเสนอให้เราเห็นถึงความเป็นโลกดิจิตอลเต็มรูปแบบของประเทศญี่ปุ่นในวันนี้ได้อย่างแยบยล”

Aden Magazine, Le Monde- France, 13-19/10/99“memorandum เป็นการแสดงที่สามารถนำเราไปสู่มุมที่มืดมิดของความทรงจำได้อย่างลึกซึ้ง (...) ส่วนประกอบทางภาพและเสียงโดยรวมนั้นงดงามปั่นป่วน น่าหลงใหล ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่ต้องติดตาม และหากใครเคยเชื่อว่าจินตนาการอยู่ เหนือเทคโนโลยีใหม่ๆ ล่ะก็ dumb type ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า มันไม่ได้ เป็นอย่างนั้นเลย. (.....)เป็นงานที่น่าทึ่งและน่าสนใจจริงๆ”

สถานที่แสดง โรงละครกรุงเทพ ที่ตั้งสถานที่ ถ. เพชรบุรีตัดใหม่ (ติดอาคารชาญอิสระ 2)

วันแสดง วันเสาร์ที่ 27 กันยายน 2546

ประตูเปิด 17.30 น. เริ่มการแสดง 18.00 น.

จำหน่ายบัตร ทางเว็บไซต์ Thaiticketmaster.com

ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม 2546 ถึงวันเสาร์ที่ 27 กันยายน 2546

จำหน่ายบัตร ทางจุดจำหน่าย Thaiticketmaster.com

ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม 2546 ถึงวันเสาร์ที่ 27 กันยายน 2546

บัตรราคา 300 บาท สำหรับผู้ใหญ่ 150 บาท สำหรับนักเรียน นักศึกษา

สำหรับท่านที่ซื้อบัตรตั้งแต่ 6 ใบขึ้นไป จะได้รับสิทธิพิเศษลด 20% ทันที

หมายเหตุ : - มูลนิธิญี่ปุ่น กรุงเทพฯ สอบถามข้อมูล คุณโยชิโอกะ และคุณฐิติวรรณ โทรศัพท์ 0-2260-8560-4 อีเมล์ [email protected] THAITICKETMASTER.COM CALL CENTER โทรศัพท์ 0-2204-9999 โทรสาร 0-2262-3898 อีเมล์ [email protected]จบ--

-สส-