ILCT: กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นทะเบียนธุรกิจอินเตอร์เน็ท (1)

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--19 มิ.ย.--ที่ปรึกษากฎหมายสากล โดย ประดิษฐ์ สหชัยยันต์ [email protected] ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ [email protected] ไอที กรุ๊ป บริษัท ที่ปรึกษากฎหมายสากล จำกัด เมื่อเร็ว ๆ นี้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้ประกาศหลักเกณฑ์ในเรื่องการกำหนดให้ผู้ประกอบการค้าด้านอินเตอร์เน็ทต้องขึ้นทะเบียนพาณิชย์กับกรมธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง ให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2546 ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 ซึ่งผลจากกฎหมายฉบับนี้ ทำให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเว็บไซท์และอินเตอร์เน็ททุกประเภทต้องขึ้นทะเบียนพาณิชย์กับกรมธุรกิจการค้าตามกฎหมาย เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับดังกล่าว ทำให้ผมนึกถึงกฎหมายอีกฉบับหนึ่ง ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจเว็บไซท์โดยทั่วไปอาจหลงลืมไม่ได้ขึ้นทะเบียนตามที่กฎหมายฉบับนี้ระบุไว้ นั่นคือ พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2545 วันนี้ เราจะมาคุยถึงประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับดังกล่าวและกฎหมายขายตรงกันว่า ผู้ประกอบธุรกิจอินเตอร์เน็ทควรต้องดำเนินการอย่างไรเพื่อให้ถูกต้องตามที่กฎหมายทั้งสองฉบับระบุไว้ เริ่มจาก ประกาศกระทรวงพาณิชย์ ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการด้านอินเตอร์เน็ทก่อน ประกาศฉบับนี้มีผลทำให้ผู้ประกอบการในประเทศไทยที่ทำธุรกิจดังต่อไปนี้ ต้องขึ้นทะเบียนธุรกิจพาณิชย์ 1) ผู้ประกอบการที่ซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ท 2) ผู้ประกอบการที่ให้บริการเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ท 3) ผู้ประกอบการที่ให้เช่าพื้นที่เครื่องคอมพิวเตอร์เครือข่ายหรือเซิฟเวอร์ (Server) 4) ผู้ประกอบการที่ให้บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ท เมื่อดูจากรายละเอียดของประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับดังกล่าวแล้ว จะเห็นได้ว่า ผู้ประกอบการในธุรกิจอินเตอร์เน็ทเกือบทุกประเภทต้องขึ้นทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ประกอบการด้านอินเตอร์เน็ท ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการซื้อขายสินค้าหรือบริการผ่านทางอินเตอร์เน็ท การให้ดาว์นโหลดโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซอฟท์แวร์ การให้บริการดาว์นโหลดริงโทน เอ็มเอ็มเอส (MMS) หรือระบบอื่นใดผ่านระบบอินเตอร์เน็ท รวมถึงการเป็นตลาดกลางในลักษณะที่เป็นการจัดให้มีการประมูลขายสินค้าหรือบริการผ่านทางอินเตอร์เน็ท ก็ล้วนแล้วแต่เข้าขอบเขตของการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้แทบทั้งสิ้น วัตถุประสงค์ของการประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้เป็นการตอบสนองนโยบายกระทรวงไอซีที ในการควบคุมธุรกิจอินเตอร์เน็ทเพื่อจะได้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้ประกอบการในภายหลังได้ โดยประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม 2546 หากผู้ประกอบการรายใดไม่ดำเนินการตามประกาศฉบับนี้อาจมีโทษตามมาตรา 19 ของพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 คือ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท และปรับอีกวันละไม่เกิน 100 บาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติถูกต้อง โดยผู้ประกอบการเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ททั้งหมดจะต้องขึ้นทะเบียนให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 16 มิถุนายน 2546 นี้ นอกจากกฎหมายฉบับดังกล่าวแล้ว มีกฎหมายอีกหนึ่งฉบับที่ผู้ประกอบการเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ททั่วไปมักจะหลงลืมหรือคิดว่าไม่เข้าเงื่อนไขของกฎหมาย จึงไม่ได้ดำเนินการขึ้นทะเบียนการประกอบธุรกิจอินเตอร์เน็ท คือ พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 ซึ่งเนื้อหาโดยสรุปของกฎหมายฉบับนี้ โดยบริษัทมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมการขายตรงกับตลาดแบบตรง ซึ่งมีการกำหนดคำจำกัดความของคำว่า การขายตรง และ ตลาดแบบตรง ไว้ในมาตรา 3 ของพระราชบัญญัติฉบับนี้ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้ "ขายตรง" หมายความว่า การทำตลาดสินค้าหรือบริการในลักษณะของการนำเสนอขายต่อผู้บริโภคโดยตรง ณ ที่อยู่อาศัยหรือสถานที่ทำงานของผู้บริโภคหรือของผู้อื่น หรือสถานที่อื่นที่มิใช่สถานที่ประกอบการค้าเป็นปกติธุระ โดยผ่านตัวแทนขายตรงหรือผู้จำหน่ายอิสระขั้นเดียวหรือหลายชั้นแต่ไม่รวมถึงนิติกรรมตามที่กำหนดในกฎกระทรวง "ตลาดแบบตรง" หมายความว่า การทำตลาดสินค้าหรือบริการในลักษณะของการสื่อสารข้อมูลเพื่อเสนอขายสินค้าหรือบริการโดยตรงต่อผู้บริโภคซึ่งอยู่ห่างโดยระยะทางและมุ่งหวังให้ผู้บริโภคแต่ละรายตอบกลับเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการจากผุ้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงนั้น "ผู้บริโภค" หมายความว่า ผู้ซื้อหรือผู้ได้รับบริการจากผู้จำหน่ายอิสระ ตัวแทนขายตรง ผู้ประกอบธุรกิจขายตรง หรือผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง หรือผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือการชักชวนจากผู้จำหน่ายอิสระ ตัวแทนขายตรง ผู้ประกอบธุรกิจขายตรงหรือผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงเพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับบริการ เมื่อพิจารณาถึงนิยามคำว่า "ขายตรง" "ตลาดแบบตรง" แล้ว ผู้ประกอบการโดยทั่วไปมักเข้าใจว่ากฎหมายฉบับนี้ควบคุมเฉพาะธุรกิจขายตรง อาทิเช่น การทำธุรกิจของ Mistine, Amway, UStar ฯลฯ แต่ความเป็นจริงแล้ว กฎหมายฉบับนี้ครอบคลุมถึงการทำธุรกิจอินเตอร์เน็ทด้วย จากการตรวจสอบกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและการตีความของสำนักงานกฎษฎีกามีความเห็นเป็นไปในแนวทางเดียวกันว่า การประกอบธุรกิจอินเตอร์เน็ทโดยทั่วไปอาจถือได้ว่าเป็นการทำธุรกิจในตลาดแบบตรงในลักษณะของการสื่อสารข้อมูลเพื่อเสนอขายสินค้าหรือบริการโดยตรงต่อผู้บริโภค ซึ่งอยู่ห่างโดยระยะทาง (Distance Selling) และมีเจตนาให้ผู้บริโภคแต่ละรายตอบกลับให้ซื้อสินค้าหรือบริการ เมื่อพิจารณาจากนิยามตลาดแบบตรง หากธุรกิจอินเตอร์เน็ทของท่านมีการให้ข้อมูลของข่าวสารในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ และมีเจตนาให้ผู้บริโภคตอบกลับในการซื้อสินค้าหรือบริการก็ถือได้ว่าเป็นการทำธุรกิจในตลาดแบบตรง ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น เว็บไซท์ amazon.com มีการให้บริการซื้อขายหนังสือและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ผ่านทางอินเตอร์เน็ทโดยที่มีเจตนาให้ผู้บริโภคทำการตอบกลับเพื่อซื้อขายสินค้าหรือบริการ เจ้าของเว็บไซท์ amazon.com ก็ต้องขออนุญาตขึ้นทะเบียนการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงกับสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคตามที่กฎหมายระบุไว้ในมาตรา 27 ของพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 มาตรา 27 ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง เว้นแต่จะได้จดทะเบียนการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา 47 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 20 หรือมาตรา 27 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่ มาตรา 54 ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามพระราชบัญญัตินี้เป็นนิติบุคคลให้กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น ต้องรับโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น เมื่อดูจากรายละเอียดของข้อกฎหมายดังกล่าว จะเห็นได้ว่า กฎหมายขายตรงระบุให้ผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงต้องขึ้นทะเบียน ซึ่งหากบริษัทใดที่อยู่ในขอบข่ายของกฎหมายฉบับนี้และไม่ขึ้นทะเบียนตามกฎหมาย อาจถือว่าบริษัทดังกล่าวฝ่าฝืนกฎหมายฉบับนี้และมีโทษปรับหรือโทษจำคุกตามกฎหมาย โดยที่กรรมการของบริษัทดังกล่าวอาจได้รับโทษหากไม่ดำเนินการตามที่กฎหมายฉบับนี้ระบุไว้ ในครั้งหน้า เราจะมาคุยกันต่อเกี่ยวกับรายละเอียดของการขออนุญาตเป็นผู้ประกอบการธุรกิจตลาดแบบตรง ตามกฎหมายฉบับนี้ ว่าต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง รวมถึงสิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภคตามกฎหมายฉบับนี้ อย่าลืมติดตามนะครับ--จบ-- -นห-

ข่าวกรมพัฒนาธุรกิจการค้า+กรมธุรกิจการค้าวันนี้

กรมพัฒนาธุรกิจฯ โชว์ผลสัมฤทธิ์ 'SMART Local ME-D' ปั้น 233 ผู้ประกอบการชุมชน สร้างมูลค่าการค้าทะลุ 100 ล้านบาท พร้อมมอบประกาศเชิดชู 60 ราย ต่อยอดแรงบันดาลใจทางธุรกิจ

'SMART Local ME-D' จุดพลังความสำเร็จธุรกิจชุมชนไทย เมื่อ 'ของดี' ในชุมชนถูกปั้นอย่างมีกลยุทธ์กลายเป็น 'ของเด่น' ในตลาดยุคใหม่ สอดรับนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจตุพร บุรุษพัฒน์) 'ไทยทำ ไทยใช้ ไทยช่วยไทย' เพื่อเพิ่มโอกาสทางการค้า และเปิดพื้นที่ให้สินค้าไทย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประกาศความสำเร็จการปั้นธุรกิจชุมชนสู่แบรนด์ไทยคุณภาพที่พร้อมแข่งขันในตลาด ผ่านโครงการ SMART Local ME-D พัฒนา 233 ราย ขับเคลื่อนสู่เวทีการค้าที่ยั่งยืน พร้อมดึงศักยภาพตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชนมีดีในเส้นทาง L-U-C-K

งาน Thailand Wellness & Healthcare Expo 2... งาน Thailand Wellness & Healthcare Expo 2025 ณ ไบเทค บางนา 26 มิถุนายนนี้ — งาน Thailand Wellness & Healthcare Expo 2025 จัดพิธีเปิด ณ ฮอลล์ 101 ไบเทค บาง...

บริษัท มาเธอร์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน)... MOTHER จับมือ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จัดสัมมนาพัฒนาร้านโชว์ห่วย สู่การเป็น "สมาร์ทโชห่วย by DBD" — บริษัท มาเธอร์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ MOTHER นำโ...

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิ... เปิดฉากงานแฟรนไชส์และโอกาสทางธุรกิจ TFBO 2025 — นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานเปิดงานแสดงสินค้าและบริการแฟรน...