คนไทยไฮเทคทดลองวัดน้ำฝนด้วยเรดาร์

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--18 มิ.ย.--วช. น้ำฝนเป็นทรัพยากรหมุนเวียนที่มีคุณค่ามหาศาลต่อการดำรงชีพของมนุษย์ จึงต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับน้ำฝนเพื่อใช้ในการวางแผนงานด้านอุตุนิยมวิทยา ฯลฯ แต่เนื่องจากความแปรปรวนตามธรรมชาติและข้อจำกัดด้านอุปกรณ์ การตรวจวัดน้ำฝนด้วยเรดาร์อุตุนิยมวิทยาจึงเป็นเครื่องมือที่น่าสนใจ เพราะสามารถตรวจวัดน้ำฝนได้กว้าง รวดเร็ว และบ่อยครั้งตามต้องการ เพื่อพัฒนาวิธีการตรวจวัดน้ำฝนด้วยระบบเรดาร์ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จึงให้ทุนสนับสนุนการวิจัยแก่นายวราวุธ ขันติยานันท์ หัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ศึกษาวิธีการและความเป็นได้ในการปรับแก้ความถูกต้องของข้อมูลน้ำฝนที่ตรวจวัดด้วยเรดาร์อุตุนิยมวิทยา โดยใช้ข้อมูลผลการตรวจกลุ่มฝนด้วยเรดาร์ฝนหลวง ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ และเครื่องวัดฝนซึ่งมีระบบบันทึกข้อมูลอัตโนมัติของโครงการวิจัยทรัพยากรบรรยากาศประยุกต์ สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ผลการวิจัยพบว่าความผิดพลาดของข้อมูลน้ำฝนจากการตรวจวัดด้วยเรดาร์จะมีสูงในบริเวณหรือทิศทางที่มียอดเขาสูงขวางกั้นลำคลื่นเรดาร์ไว้ทั้งหมดหรือบางส่วน และเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้ข้อมูลน้ำฝนที่ตรวจด้วยเรดาร์ขาดความน่าเชื่อถือ เทคนิคที่ช่วยให้ผลการตรวจเรดาร์มีความถูกต้องคือ การสร้างค่าปรับแก้ประจำจุดวัดฝน ซึ่งต้องปรับแก้ก่อนนำมาใช้คำนวณหาปริมาณน้ำฝนรวมเชิงพื้นที่ และพบว่าวิธีการ Linear Regression Equation Adjustment เป็นวิธีที่สามารถปรับแก้ความถูกต้องของข้อมูลน้ำฝนได้ดี และให้ประสิทธิภาพสูงสุดทั้งในเชิงปริมาณน้ำฝนรวมและการลดความแตกต่างระหว่างคู่ข้อมูล เมื่อนำมาใช้ร่วมกับเทคนิค Station-Year Adjustment สามารถลดความคลาดเคลื่อนของข้อมูลน้ำฝนลงได้ประมาณ 36 เปอร์เซ็นต์ และสามารถทำให้ปริมาณน้ำฝนรวมจากเครื่องวัดน้ำฝนที่พื้นดินและน้ำฝนที่ตรวจวัดด้วยเรดาร์เท่ากันได้ ผลจากการวิจัยทำให้ทราบถึงวิธีการและเทคนิคที่มีประสิทธิภาพในการปรับแก้ความถูกต้องของข้อมูลน้ำฝนที่ตรวจวัดด้วยเรดาร์ ถึงแม้เรดาร์จะไม่สามารถใช้แทนที่เครื่องวัดฝนได้อย่างแท้จริง แต่การอาศัยวิธีการและเทคนิคช่วยปรับแก้ความถูกต้องของเรดาร์ก็น่าจะเป็นทิศทางที่มีความเป็นไปได้สูง--จบ-- -รก-

ข่าวสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ+วราวุธ ขันติยานันท์วันนี้

วิศวะมหิดล รวมพลัง 3 องค์กร เดินหน้า เฟส 3 พัฒนาระบบโลจิสติกส์และ Big Data สาธารณสุขไทย

สามองค์กรผู้นำระบบเฮลท์แคร์และเฮลท์เทคของไทย ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข, คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ศูนย์การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสุขภาพ (LogHealth) และ สมาคมการค้าเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่ สนับสนุนโดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ลงนาม MOU ข้อตกลงความร่วมมือเดินหน้าเฟส 3 "โครงการศึกษาวิจัยเพื่อออกแบบและพัฒนาระบบโลจิสติกส์โครงสร้างพื้นฐานและระบบบูรณาการข้อมูลสารสนเทศและ Big Data ด้านสาธารณสุข" ในงานสัมมนาวิชาการ Thailand Healthcare & HealthTech

นักวิจัย ม.มหิดล คว้ารางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2563 คิดค้นยาชีวภาพแอนติบอดีมนุษย์สำหรับรักษาโรคไข้เลือดออก

เมื่อเร็วๆ นี้ ศาสตราจารย์ ดร. นายสัตวแพทย์พงศ์ราม รามสูต หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยแอนติบอดี และ หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์สังคมและสิ่งแวดล้อม คณะเวชศาสตร์เขตร้อน...

เมื่อเร็วๆ นี้ นายนันทวัฒน์ ขยันกสิกรรม น... นศ.สาขาเคมีสวนสุนันทาคว้า “เหรียญทองแดง” งานวิจัยแห่งชาติ’62 — เมื่อเร็วๆ นี้ นายนันทวัฒน์ ขยันกสิกรรม นางสาวจิตตรา มาแสวง และนางสาวเกศินี ปาทา นักศึกษาชั...

นายวุฒิชัย สุระรัตน์ชัย ผู้จัดการธนาคารอิ... ภาพข่าว: ไอแบงก์ ร่วมยินดีอ.มะรอนิง ประธานที่ปรึกษาด้านศาสนารับรางวัลวิจัยระดับประเทศ — นายวุฒิชัย สุระรัตน์ชัย ผู้จัดการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก...

เพื่อนๆ รอคิวยาวเพื่อจะเลี้ยงแสดงความยินด... แสดงความยินดีกับนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ — เพื่อนๆ รอคิวยาวเพื่อจะเลี้ยงแสดงความยินดีกับ ศ.นพ.สุรเดช หงส์อิง ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์...

ปฎิทินข่าว สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาต... ปฎิทินข่าว — ปฎิทินข่าว สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำวันเสาร์ ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2562 เวลา 09.00 น. ณ ฮอลล์ 102-104 ศูนย์นิทรรศการ...