สกว.ชวนนักเรียนทั่วภาคใต้ประกวดงานวิจัยชิงทุน"ยุววิจัยยางพารา" หวังผลิตนักวิจัยรุ่นใหม่ป้อนวงการยางพาราไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--16 ก.ค.--สวก. สกว.ฉลอง 10 ปีงานวิจัย จัดกิจกรรมยิ่งใหญ่คืนความรู้สู่สังคม กำหนดสัญจรใต้ 15-21 สิงหาคม นี้ เตรียมเผยแพร่งานวิจัยยางพาราทุกด้าน พร้อมจัดกิจกรรมสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่โครงการ"ยุววิจัยยางพารา" ชวนนักเรียนนักศึกษา มัธยม-ป.ตรี ส่งข้อเสนองานวิจัยเกี่ยวกับยางพาราเข้าประกวดชิงทุนการศึกษา เริ่มส่งผลงาน 4 สิงหาคม นี้ (สามารถดาวน์โหลดเนื้อข่าวได้ที่ http://www.pr.trf.or.th) "ยางพารา" ถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนภาคใต้มานานหลายทศวรรษ และเป็นอุตสาหกรรมหลักที่สร้างรายได้เข้าประเทศกว่าแสนล้านบาท ดั้งนั้นเพื่อส่งเสริมให้เยาวชนในภาคใต้ได้เรียนรู้และสืบทอดการทำยางพาราอย่างมีประสิทธิภาพ สกว.จึงจัดกิจกรรมประกวดข้อเสนอโครงการวิจัยยางพารา ชิงทุนการศึกษา "ยุววิจัยยางพารา" พร้อมสนับสนุนทำวิจัยจริง เพื่อสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ให้กับประเทศ รศ.ดร.สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ ผู้อำนวยการฝ่ายอุตสาหกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เปิดเผยว่า โครงการ "ยุววิจัยยางพารา" เป็นกิจกรรมในโครงการวิจัยแห่งชาติ : ยางพารา ที่ต้องการส่งเสริมให้เยาวชนของชาติที่เป็นนักเรียนมัธยมปลายในเขตภาคใต้ ได้หันมาสนใจการวิจัยด้านยางพารา ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนภาคใต้มาหลายทศวรรษ และเป็นอุตสาหกรรมหลักที่สร้างรายได้เข้าประเทศนับแสนล้านบาทต่อปี โดยกำหนดให้มีการประกวดข้อเสนอโครงการ หรือแนวคิดในการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับยางพารา ตั้งแต่ต้นยางพารา น้ำยาง ยางดิบแปรรูป และผลิตภัณฑ์ยาง และเป็นกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยด้านยางพาราของประเทศ ผู้มีสิทธิส่งข้อเสนอโครงการเข้าประกวด จะต้องเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนต่าง ๆ ในเขต 14 จังหวัดภาคใต้ และแต่ละโรงเรียนสามารถส่งประกวดได้หลายโครงการ โดยจะต้องเป็นโครงการที่ไม่ซ้ำกัน โดยผู้ส่งประกวดหรือทีมจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัย ความยาวไม่เกินหน้ากระดาษ A4 และมีสาระสำคัญ ประกอบด้วย 1) ชื่อโครงการ 2) ชื่อหัวหน้าโครงการ(นักวิจัยอาจเสนอเป็นทีมวิจัย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของงานที่เสนอ) 3) งบประมาณ (เช่น ค่าจ้าง ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ และอื่น ๆ ) 4) ระยะเวลาดำเนินการ 5)ความเป็นมาและความสำคัญของเรื่อง (เนื้อความควรแสดงให้เห็นความสำคัญของปัญหาที่ต้องการทำวิจัย) 6)วัตถุประสงค์ (ให้สอดคล้องกับปัญหาที่ระบุไว้ในความเป็นมาและความสำคัญของเรื่องและควรแสดงว่าจากการทำวิจัยจะเกิดผลลัพธ์อะไร) 7) แนวทางการดำเนินการวิจัย/แผนดำเนินการโดยย่อ (เกี่ยวกับแนวทางการวิจัย เช่น วิธีการวิจัย ซึ่งประกอบด้วยวิธีการเก็บข้อมูล การทดลอง การวิเคราะห์ผล ฯลฯ) 8) สิ่งที่คาดว่าจะได้รับ (ผลลัพธ์จากการทำวิจัย ซึ่งต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์) ผู้ชนะการประกวดเข้ารับรางวัล จากรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายเนวิน ชิดชอบในงานประชุมวิชาการยางพารา ในวันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม 2546 เวลา 09.30 - 12.00 น. และในวันที่ 18 สิงหาคม 2546 ผู้ส่งข้อเสนอโครงการทั้งหมดเข้าร่วมฟังบรรยายการวิจัยยางพาราจากผู้ทรงคุณวุฒิ และ สกว. จะตัดสินให้ทุนสนับสนุนทุนการทำวิจัยในโครงการที่ สกว. เห็นว่ามีศักยภาพ (รวมถึงโครงการที่ได้รับรางวัล) โดยรางวัลประกอบด้วย รางวัลที่ 1 ทุนการศึกษา 3,000 บาทพร้อมเกียรติบัตร รางวัลที่ 2 ทุนการศึกษา 2,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร และ รางวัลที่ 3 ทุนการศึกษา 1,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร ทั้งนี้กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นในโอกาสที่สกว.ดำเนินงานมาครบ 10 ปี ในปี 2546 และกำหนดจัดงาน ความรู้เพื่อชีวิต 10 ปี สกว. สัญจรภาคใต้ ขึ้นระหว่างวันที่ 15-21 สิงหาคม 2546 โดยร่วมกับ งาน มอ.วิชาการ งานเกษตรภาคใต้ ครั้งที่ 11 "เกษตรอินทรีย์ เพื่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม" ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จ.สงขลา โดยในงานมีการจัดกิจกรรมเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่สาธารณชนได้นำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม รศ.ดร.สุธีระ กล่าวว่า การประกวดโครงการ "ยุววิจัยยางพารา" จะเป็นจุดเริ่มต้นให้เยาวชนของชาติ ได้เข้าใจในกระบวนการวิจัยยางพารา มองเห็นประโยชน์ของการพัฒนาองค์ความรู้ด้านยางพารา อันจะช่วยให้สังคมของชาวยางพารามีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และสนใจเป็นนักวิจัยในสาขายางพาราของชาติต่อไป ผู้เข้าประกวดสอบถามรายละะเอียดและส่งข้อเสนอโครงการวิจัยยางพาราได้ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2546 เป็นต้นไป ที่ ผศ.ไพโรจน์ คีรีรัตน์ สำนักประสานงานชุดโครงการวิจัย "การพัฒนาอุตสาหกรรมยางพารา" (สปว.ยางพารา) ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90112 โทรศัพท์ 074-446523,287207, 01-5402587 โทรสาร 074-446523 E-mail [email protected]จบ-- -รก-

ข่าวงานวิจัยยาง+ทุนการศึกษาวันนี้

สถาบันวิจัยยาง กยท. ยกทัพ! ทีมนักวิจัย พนักงาน และลูกจ้าง ประจำการ ณ กยท. สำนักงานใหญ่ บางขุนนนท์ เพิ่มศักยภาพและความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน

สถาบันวิจัยยาง การยางแห่งประเทศไทย (สวย./กยท.) นำโดยหัวเรือใหญ่ส่วนงานวิจัยยางพารา ของ กยท. ดร. กฤษดา สังข์สิงห์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง การยางแห่งประเทศไทย พร้อมทีมนักวิชาการ นักวิจัย พนักงาน และลูกจ้างจากสถาบันวิจัยยาง (เฉพาะส่วนกลาง) ย้ายที่ทำการเดิมจากพื้นที่เขตบางเขน พร้อมบริการ ณ ที่ทำการใหม่ กยท. สำนักงานใหญ่ บางขุนนนท์ กรุงเทพฯ เพื่อเพิ่มศักยภาพและความคล่องตัวในการปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ ดร. กฤษดา สังข์สิงห์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง กยท. เปิดเผยว่า เดิมสถาบันวิจัยยางใช้พื้นที่ของ

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กำหนดจัด... บัณฑิตวิทยาลัย ม.แม่โจ้ จัดถ่ายทอดเทคโนโลยีผลงานวิจัยยางพาราให้ผู้สนใจ ฟรี.! — บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กำหนดจัดการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยยา...

กยท. ร่วมประชุมคณะกรรมการกำกับแผนงานวิจัยฯ ดึงงานวิจัยยางชั้นเลิศ มอบทุนวิจัยต่อยอดการพัฒนา

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ร่วมหน่วยงาน 6 ส. ตั้ง "เครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ" มุ่งส่งเสริม และสนับสนุนทุนแผนงานวิจัยที่มุ่งเป้าตอบสนองความต้องการในการพัฒนาประเทศ ด้าน กยท. ร่วม สวก....

สกว. ขอเชิญร่วมงาน ขับเคลื่อนงานวิจัยยางพาราสู่เชิงพาณิชย์

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ขอเชิญชวนผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยางพารา นักลงทุน นักวิจัย และผู้สนใจเข้าร่วมงาน "ขับเคลื่อนงานวิจัยยางพาราสู่เชิงพาณิชย์" (National Rubber Translation Research to Commercialization) พบเทคโนโลยี...

ม.อ. จับมือยักษ์ใหญ่วงการยางพารา ร่วมปั้นบุคลากรคุณภาพ มอบทุนศึกษาวิจัยพัฒนา หวังรับมือแข่งขันตลาดโลก

ม.อ. จับมือภาคเอกชนพัฒนาอุตสาหกรรมยางพารา ลงนามความร่วมมือกับบริษัท ไทยฮั้วยางพารา สนับสนุนทุนการศึกษา สร้างบุคลากรด้านงานวิจัยยางพารา รองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราและอุตสาหกรรมเกษตรอื่นๆ หวัง...

เอกชนหนุนตั้งกองทุนวิจัยยางพารา ยินดีให้หัก 0.25-.05% ของยอดส่งออกยางพาราเข้ากองทุน

อุตฯ ยางพาราพ้อ ทำรายให้ประเทศปีละเป็นแสนล้าน แต่รัฐไม่เห็นความสำคัญ ประสานเสียงต้องบูรณาการทั้งหน่วยงานวิจัย โจทย์วิจัย และนักวิจัยเพื่อช่วย SMEs เผยพร้อมให้หัก 0.25-.05% ของยอดส่งออกเข้ากองทุนวิจัย ที่โรงง...