กรุงเทพฯ--6 พ.ย.--ธ.ไทยพาณิชย์
ขอเชิญผู้สนใจลงทุนในหน่วยลงทุนของกระทรวงการคลัง "กองทุนรวมวายุภักษ์ 1" ตั้งแต่วันที่ 11-19 พฤศจิกายน 2546 นี้ ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ทุกสาขา หรือโทร. 02-777-7777
การคุ้มครองเงินลงทุนผู้ถือหน่วยประเภท ก. จะได้รับการคุ้มครองเงินลงทุนทั้งจำนวน โดยจะได้รับคืน 10 บาทต่อหน่วย ในปีที่ 10
อัตราผลตอบแทน ผู้ถือหน่วยประเภท ก.ได้รับการคุ้มครองอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี (IRR) ตลอดอายุโครงการที่ร้อยละ 3 และในกรณีที่กองทุนมีผลตอบแทนส่วนเกินจากอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำ ผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ก. จะได้รับส่วนแบ่งของผลตอบแทนส่วนเกินร่วมกับผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ข.
ราคาเสนอขาย หน่วยละ 10 บาท
การจ่ายเงินปันผล กองทุนรวมวายุภักษ์ 1 มีนโยบายที่จะจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหน่วยอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง บริษัทจัดการจะปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุน เพื่อสิทธิในเงินปันผลภายใน 10 วันทำการ นับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการการลงทุนมีมติให้จ่ายเงินปันผลผู้มีรายชื่ออยู่ในสมุดทะเบียน ณ วันปิดสมุดทะเบียน จะได้รับเงินปันผลภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันถัดจากวันปิดสมุดทะเบียน
การเสียภาษี
- บุคคลธรรมดาสัญชาติไทยเงินปันผล: เสียภาษี โดยผู้ลงทุนสามารถเลือกได้ว่าจะให้หักภาษี ณ ที่จ่าย 10% หรือจะไม่ให้หักก็ได้ แต่ถ้าไม่ให้หักต้องนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้ตอนสิ้นปีเงินได้จากกำไรจากการขายหน่วยลงทุน: ได้รับการยกเว้นภาษี
- บริษัทจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยเงินปันผล: ได้รับยกเว้นภาษีกึ่งหนึ่งของรายได้จากเงินปันผลนั้น หากบริษัทถือหน่วยลงทุนเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 เดือนก่อนวันที่รับเงินปันผล และถือหลังจากรับเงินปันผลแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือนเงินได้จากกำไรจากการขายหน่วยลงทุน: ต้องนำไปรวมเป็นรายได้เพื่อคำนวณภาษีเงินได้ในอัตราปกติ
- บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เงินปันผล: ได้รับยกเว้นภาษี หากบริษัทถือหน่วยลงทุนเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 เดือนก่อนวันที่รับเงินปันผล และถือหลังจากรับเงินปันผลแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือนเงินได้จากกำไรจากการขายหน่วยลงทุน: ต้องนำไปรวมเป็นรายได้เพื่อคำนวณภาษีเงินได้ในอัตราปกติ
ผู้มีสิทธิซื้อ
- ผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ก.
- บุคคลธรรมดาสัญชาติไทย
- นิติบุคคลที่จดทะเบียนภายใต้กฎหมายไทย มูลนิธิ วัด สหกรณ์ สถานศึกษา โรงพยาบาล (ขึ้นอยู่กับข้อบังคับของแต่ละรายด้วยว่าสามารถลงทุนในหน่วยลงทุนได้หรือไม่)
- ผู้ถือหน่วยลงทุนประเภท ข.
- กระทรวงการคลัง
ผู้ไม่มีสิทธิซื้อ
- ธนาคาร บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทประกัน กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม บรรษัท สำนักงานประกันสังคม
หมายเหตุ ผู้ไม่มีสิทธิซื้อจะสามารถจองซื้อหน่วยลงทุนได้ ในกรณีที่เหลือจากการจำหน่ายหน่วยให้ผู้มีสิทธิจองซื้อ ทั้งนี้ ผู้ไม่มีสิทธิซื้อสามารถจองซื้อหน่วยลงทุนได้ภายหลังวันปิดการจองซื้อ โดยสามารถจองซื้อได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการ โดยสามารถกรอกใบจองซื้อแบบที่ 1 และการจัดสรรจะถูกจัดสรรแบบ First Come First Serve
สถานที่จองซื้อ
สำนักงานใหญ่และสาขาของธนาคารดังต่อไปนี้
- ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน)
นายทะเบียน
บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นนายทะเบียนและตัวแทนการจ่ายเงินปันผล โดยจะจ่ายเป็นเช็คหรือเข้าบัญชีเงินฝากที่ธนาคารใดก็ตามที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้แจ้งไว้
วิธีการซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมวายุภักษ์ 1
- จองซื้อได้ที่ธนาคารที่เป็นตัวแทนสนับสนุนการขาย ระหว่างวันที่ 11 พฤศจิกายน 2546 ถึง วันที่ 19 พฤศจิกายน 2546 ในระหว่างเวลาทำการของแต่ละธนาคาร
- สำหรับผู้มีความประสงค์จะจองซื้อตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 500,000 บาท ให้กรอกรายละเอียดใน “ใบจองซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมวายุภักษ์ 1 แบบที่ 1”
- สำหรับผู้มีความประสงค์จะจองซื้อตั้งแต่ 500,000 บาทขึ้นไป ให้กรอกรายละเอียดใน “ใบจองซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมวายุภักษ์ 1 แบบที่ 1” 500,000 บาท และกรอกรายละเอียดสำหรับส่วนที่ต้องการเพิ่มใน “ใบจองซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมวายุภักษ์ 1 แบบที่ 2”
ตัวอย่าง : นายสม ต้องการจองซื้อหน่วยลงทุน 700,000 บาท นายสมจะต้องกรอกใบจองซื้อหน่วยลงทุนแบบที่ 1 จำนวน 500,000 บาท และกรอกใบจองซื้อหน่วยลงทุนแบบที่ 2 จำนวน 200,000 บาท
จำนวนใบจองซื้อที่ผู้จองซื้อสามารถสั่งจองได้
- ใบจองซื้อแบบที่ 1 ผู้จองซื้อสามารถจองซื้อได้เพียง 1 ใบ
- ใบจองซื้อแบบที่ 2 ผู้จองซื้อสามารถจองซื้อกี่ใบก็ได้
การชำระเงิน
- ชำระเงินค่าจองซื้อครั้งเดียวเต็มจำนวน สำหรับใบจองซื้อแต่ละใบ ณ ธนาคารที่แจ้งความประสงค์จองซื้อ ณ วันที่จองซื้อ โดยวิธีชำระเงินมีดังนี้
- หากทำการจองซื้อในวันที่ 11-17 พฤศจิกายน 2546 ตามเวลาทำการของแต่ละธนาคารและวันที่ 18 พฤศจิกายน 2546 ตั้งแต่เวลาเปิดทำการของแต่ละธนาคาร ถึง 12:00 น. ผู้จองซื้อสามารถชำระเงินค่าจองซื้อเป็น เงินสด เงินโอน เช็ค หรือแคชเชียร์เช็ค ลงวันที่ ณ วันที่จองซื้อ และสามารถเรียกเก็บเงินได้จากสำนักหักบัญชีเดียวกัน
- หากทำการจองซื้อในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2546 เวลา 12:01 น. ถึง เวลาปิดทำการของธนาคารและวันที่ 19 พฤศจิกายน 2546 ผู้จองซื้อต้องชำระค่าจองซื้อด้วยเงินสดหรือโดยการโอนเงินเท่านั้น
- ผู้จองซื้อที่ชำระเงินเป็นเช็ค หรือแคชเชียร์เช็ค
- สำหรับใบจองซื้อแบบที่ 1 ให้ขีดคร่อมสั่งจ่าย “บัญชีจองซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมวายุภักษ์ 1 แบบที่ 1” พร้อมทั้งเขียนชื่อ นามสกุล ที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ไว้ข้างหลังเช็ค
- สำหรับใบจองซื้อแบบที่ 2 ให้ขีดคร่อมสั่งจ่าย “บัญชีจองซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมวายุภักษ์ 1 แบบที่ 2” พร้อมทั้งเขียนชื่อ นามสกุล ที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ไว้ข้างหลังเช็ค
ตัวอย่าง : หากนายสมกรอกใบจองซื้อหน่วยลงทุนทั้งแบบที่ 1 และแบบที่ 2 และนายสมมีความต้องการชำระค่าจองซื้อเป็นเช็ค นายสมต้องสั่งจ่ายเช็คค่าจองซื้อแยกเป็น 2 ใบ โดยเช็คใบแรกสั่งจ่าย “บัญชีจองซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมวายุภักษ์ 1 แบบที่ 1” จำนวน 500,000 บาท เช็คใบที่ 2 สั่งจ่าย “บัญชีจองซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมวายุภักษ์ 1 แบบที่ 2” จำนวน 200,000 บาท
- ผู้จองซื้อที่ชำระเงินเป็นเงินโอน ให้โอนเงินเข้า
- สำหรับใบจองซื้อแบบที่ 1 ให้โอนเงินเข้า “บัญชีจองซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมวายุภักษ์ 1 แบบที่ 1” ประเภทบัญชี ___________ ที่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) บัญชีเลขที่ _________________
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) บัญชีเลขที่ _________________ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) บัญชีเลขที่ _________________ ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) บัญชีเลขที่ _________________ ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) บัญชีเลขที่ ________________- สำหรับใบจองซื้อแบบที่ 2 ให้โอนเงินเข้า “บัญชีจองซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมวายุภักษ์ 1 แบบที่ 2” ประเภทบัญชี ___________ ที่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) บัญชีเลขที่ _________________ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) บัญชีเลขที่ _________________ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) บัญชีเลขที่ _________________ ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) บัญชีเลขที่ _________________ ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) บัญชีเลขที่ ________________
การแจ้งยอดการจองซื้อในแต่ละวัน
ให้ตัวแทนสนับสนุนการขาย แจ้งยอดการจองซื้อที่เป็น good fund แล้วในแต่ละวัน ภายใน 17.00 น. ยกเว้น ในวันที่ 11 พฤศจิกายน ขอให้แจ้งเฉพาะยอดจองซื้อ มาที่ บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันซ่า จำกัด ทางโทรสาร หมายเลข 0-2638-0301 ตามแบบฟอร์มที่กำหนดให้
การจัดสรรหน่วยลงทุน
- รอบที่ 1 จัดสรรแบบใครมาก่อนได้ก่อน (First Come First Serve) สำหรับผู้จองซื้อในใบจองซื้อแบบที่ 1
- รอบที่ 2 หากมีหน่วยลงทุนเหลือจากการจัดสรรในรอบที่ 1 หน่วยลงทุนส่วนที่เหลือจะถูกจัดสรรให้ผู้จองซื้อที่จองซื้อในใบจองซื้อแบบที่ 2 ซึ่งเป็นการจัดสรรแบบสุ่มเลือก (Random) โดยระบบคอมพิวเตอร์
วันที่ได้รับใบหน่วยลงทุน
- นายทะเบียนจะระบุวันที่ออกใบหน่วยลงทุนเป็นวันที่จดทะเบียนกองทรัพย์สิน
-นายทะเบียนจะเป็นผู้ออกและจัดส่งใบหน่วยลงทุนตามจำนวนที่ได้รับจัดสรรในชื่อของผู้จองซื้อที่ได้ระบุไว้ในใบจองซื้อหน่วยลงทุน ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนภายใน 30 วัน นับจากวันปิดจองซื้อ
การระบุชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์หน่วยลงทุน
- ระบุได้เพียงหนึ่งชื่อเท่านั้น (ไม่รับชื่อคู่ และ/หรือ)
- ผู้ถือหน่วยที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะสามารถจองซื้อได้ ต้องมีผู้ปกครองหรือผู้จัดการเป็นผู้ลงนามซื้อแทน โดยใช้ชื่อ เด็ก โดย ผู้ปกครอง เช่น ด.ช.เพิ่มค่า มั่นคง โดย นายยิ่งยง มั่นคง (ให้ระบุชื่อผู้ปกครองได้เพียง 1 คน)
- กรณีคณะบุคคล จองซื้อได้โดยใช้ชื่อ คณะบุคคล....โดยนาย ....... (จำนวนไม่เกิน 4 ชื่อ)
เอกสารประกอบการซื้อหน่วยลงทุน
- กรณีบุคคลธรรมดาสัญชาติไทย
1. ใบจองซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง
2. สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้าน ที่ได้รับการรับรองสำเนาถูกต้อง (ในกรณีใช้สำเนาบัตรข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ ต้องแนบสำเนาทะเบียนบ้านมา พร้อมกันด้วย และพร้อมกับการรับรองสำเนาถูกต้อง)
3. สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี (ในกรณีที่มีความประสงค์ให้หักภาษี ณ ที่จ่าย)
4. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร สำหรับการชำระคืนเงินส่วนที่ไม่ได้รับการจัดสรร หรือ เงินปันผล (ในกรณีที่มีความประสงค์จะรับเงินโดยการโอนเข้าบัญชี)
- กรณีเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
1. ใบจองซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง
2. สำเนาทะเบียนบ้านของเด็ก
3. สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้าน ที่ได้รับการรับรองสำเนาถูกต้อง ของผู้ปกครองหรือผู้จัดการ
4. สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี (ในกรณีที่มีความประสงค์ให้หักภาษี ณ ที่จ่าย)
5. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร สำหรับการชำระคืนเงินส่วนที่ไม่ได้รับการจัดสรร หรือ เงินปันผล (ในกรณีที่มีความประสงค์จะรับเงินโดยการโอนเข้าบัญชี)
- กรณีนิติบุคคล
1. ใบจองซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง
2. สำเนาหนังสือรับรองกระทรวงพาณิชย์ ที่ได้รับการรับรองสำเนาถูกต้อง
3. สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิ และข้อบังคับ ที่ได้รับการรับรองสำเนาถูกต้อง
4. ตัวอย่างลายมือชื่อผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคล ที่ได้รับการรับรองสำเนาถูกต้อง
5. สำเนาบัตรประชาชนของผู้ลงนาม ที่ได้รับการรับรองสำเนาถูกต้อง
6. สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี ที่ได้รับการรับรองสำเนาถูกต้อง
7. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร สำหรับการชำระคืนเงินส่วนที่ไม่ได้รับการจัดสรร หรือ เงินปันผล (ในกรณีที่มีความประสงค์จะรับเงินโดยการโอนเข้าบัญชี)
- กรณีคณะบุคคล
1. ใบจองซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมวายุภักษ์ หนึ่ง
2. สำเนาหนังสือจัดตั้งคณะบุคคล
3. หนังสือแสดงความยินยอมของคณะบุคคลทุกท่านที่แต่งตั้งผู้มีอำนาจดำเนินการแทน
4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของคณะบุคคลทุกท่าน ที่ได้รับการรับรองสำเนาถูกต้อง
5. สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีในนามคณะบุคคล ที่ได้รับการรับรองสำเนาถูกต้อง (ในกรณีที่มีความประสงค์ให้หักภาษี ณ ที่จ่าย)
6. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร สำหรับการชำระคืนเงินส่วนที่ไม่ได้รับการจัดสรร หรือ เงินปันผล (ในกรณีที่มีความประสงค์จะรับเงินโดยการโอนเข้าบัญชี)
การโอนกรรมสิทธิ์
ผู้ถือหน่วยลงทุน สามารถโอนกรรมสิทธิ์ระหว่างกลุ่มบุคคลที่มีสิทธิซื้อหน่วยลงทุน โดยติดต่อที่นายทะเบียน/บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แต่จะกระทำในระหว่าง 30 วัน ก่อนกองทุนครบอายุโครงการมิได้ ในการโอนกรรมสิทธิ์จะมีอัตราค่าธรรมเนียมฉบับละ 65 บาท สำหรับผู้โอนกรรมสิทธิ์ทุกประเภท
การขอแตกใบหน่วยลงทุน
ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถขอแตกหน่วยลงทุนเป็นฉบับย่อยๆ ได้ แต่จะต้องเป็นจำนวนเต็มพันหน่วย หรือหนึ่งหมื่นบาท ในการแตกหน่วยลงทุนต้องเสียค่าธรรมเนียมฉบับละ 65 บาท สำหรับผู้ถือกรรมสิทธิ์ทุกประเภท โดยผู้ถือกรรมสิทธิ์ สามารถแจ้งความจำนงขอแตกใบหน่วยลงทุนได้ที่นายทะเบียน
การซื้อ-ขายในตลาดรอง
หลังจากปิดเสนอขายครั้งแรกประมาณ 6 เดือน ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถซื้อ-ขายหน่วยลงทุนได้ที่สำนักงานใหญ่และสาขาของธนาคาร ที่เป็นตัวแทนขาย-รับซื้อคืน (จะแจ้งให้ทราบภายหลัง)หลังจากที่กองทุนได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผู้ถือหน่วยสามารถซื้อ-ขายได้ในตลาดหลักทรัพย์ฯ
การไถ่ถอนหน่วยลงทุนเมื่อกองทุนรวมครบอายุโครงการ
- นายทะเบียนจะปิดพักทะเบียนไถ่ถอน 30 วัน ก่อนวันครบกำหนดอายุโครงการ
- นายทะเบียนจะส่งใบคำขอรับคืนต้นเงินให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ เมื่อใกล้ถึงวันครบกำหนดอายุโครงการ นายทะเบียนจะโอนเงินปันผลงวดสุดท้ายและเงินลงทุนเริ่มแรกตามมูลค่าที่ตราไว้ของหน่วยลงทุน(หน่วยละ 10 บาท) เข้าบัญชีเงินฝากของผู้ทรงกรรมสิทธิ์ที่ฝากไว้ที่ธนาคารใดก็ได้ตามที่แจ้งไว้ในใบคำของรับคืนต้นเงิน หรือจะจ่ายเป็นเช็คธนาคารถึงผู้ทรงกรรมสิทธิ์หากไม่ระบุรายละเอียดของธนาคารที่ต้องการให้โอนเงิน และหากวันกำหนดชำระคืนต้นเงินตรงกับวันหยุดทำการของธนาคาร จะชำระคืนต้นเงินในวันเปิดทำการถัดไป--จบ--
-สส-