บริษัท ซันเทคกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมมายังตลท.

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--3 พ.ย.--ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามจดหมายของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เลขที่ 760/2546 ดังกล่าว บริษัท ศรีสงครามแพลนเนอร์ จำกัด ในฐานะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัท ซันเทคกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ใคร่ขอชี้แจงข้อมูลตามลำดับหัวข้อดังนี้ 1. การลงทุนในบริษัทเหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน) (HEMRAJ) ตามที่ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2540 อนุมัติให้บริษัทซื้อหุ้น HEMRAJ จากกลุ่มนายสวัสดิ์ หอรุ่งเรือง จำนวน 14 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 114 บาท นั้น ปรากฎข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 8 ว่า บริษัทยังมิได้รับมอบใบหุ้น ที่แสดงกรรมสิทธิ์ จำนวน 1.16 ล้านหุ้นมูลค่าตามราคาซื้อรวม 132 ล้านบาท เนื่องจากผู้ขายได้ใช้วางเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันกับ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ถูกสั่งปิดกิจการ ยังไม่สามารถไถ่ถอนออกมาได้เนื่องจากไม่ปรากฎว่าที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทได้อนุมัติให้ ดำเนินการในลักษณะเช่นนั้น และการที่บริษัทจ่ายเงินค่าหุ้นดังกล่าวให้กับบุคคลที่เกี่ยวโยงกันโดยยังไม่ได้รับมอบใบหุ้น ก่อให้เกิดความเสียหายกับบริษัทได้ ดังนั้นตลาดหลักทรัพย์จึงขอให้บริษัทชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติม ดังนี้ 1) เงื่อนไขของการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ พร้อมทั้งนำส่งสำเนาซื้อขายหุ้น HEMRAJ - ตามที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2540 มีมติอนุมัติให้ บริษัทฯ ซื้อหุ้น HEMRAJ จากกลุ่ม นายสวัสดิ์ หอรุ่งเรือง จำนวน 14,000,000 หุ้น ซึ่งทางบริษัทฯ และผู้ขายได้จัดทำ "บันทึกข้อตกลงจะซื้อจะขายหุ้นสามัญ บริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน)" ลงวันที่ 5 มีนาคม 2540 ซึ่งระบุเงื่อนไขในการชำระราคา และส่งมอบหลักทรัพย์ ดังนี้ ข้อ 2. ผู้จะขาย และผู้จะซื้อตกลงซื้อขายทรัพย์ที่จะขาย ในราคา 114.- บาทต่อหุ้น (หนึ่งร้อยสิบสี่บาทต่อหุ้น) คิดเป็นมูลค่ารวม 1,596,000.- บาท (หนึ่งพันห้าร้อยเก้าสิบหกล้านบาทถ้วน) ข้อ 3. ผู้จะซื้อ ตกลงแบ่งชำระราคาตามข้อ 2 เป็นงวดๆ ดังต่อไปนี้ งวดที่ 1 ชำระในวันทำสัญญา เป็นเงิน 48,000,000.- บาท (สี่สิบแปดล้านบาทถ้วน) งวดที่ 2 ชำระภายในวันที่ 30 เมษายน 2540 เป็นเงิน 600,000,000.- บาท (หกร้อยล้านบาทถ้วน) งวดที่ 3 ชำระภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2540 เป็นเงิน 948,000,000.- บาท (เก้าร้อยสี่สิบแปดล้านบาทถ้วน) ข้อ 4. ผู้จะขาย สามารถทยอยส่งมอบทรัพย์ที่จะขายเป็นบางส่วนให้ผู้จะซื้อได้ แต่ทั้งนี้จะต้องส่งมอบให้ครบจำนวน ภายในวันสุดท้ายที่ผู้จะซื้อมีคำขอรับโอนกรรมสิทธิ์ ทั้งนี้ต้องไม่เกินกว่าวันที่ 31 ธันวาคม 2540 กรณีที่ผู้จะขายไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่จะขายได้ ผู้จะขายยินยอมชดเชยค่าเสียหายให้ผู้จะซื้อ เป็นเบี้ยปรับของมูลค่าทรัพย์ที่จะขาย เฉพาะส่วนที่ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้ ในอัตราร้อยละ 15.00 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ผู้จะซื้อได้มีคำขอรับโอนกรรมสิทธิ์ จนถึงวันที่ผู้จะขายได้ทำการโอนกรรมสิทธิ์ตามคำขอของผู้จะซื้อครบถ้วน แต่หากผู้ที่จะซื้อไม่สามารถชำระเงินตามงวดในข้อ 3 ได้ ผู้จะซื้อยินยอมชดเชยค่าเสียหายให้กับผู้จะขาย เป็นเบี้ยปรับในอัตราร้อยละ 15.00 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2540 จนถึงวันที่ผู้จะซื้อได้ชำระมูลค่าทรัพย์ที่จะขาย พร้อมเบี้ยปรับครบถ้วน" 2) การติดตามและดำเนินการให้ผู้ขายปฏิบัติตามสัญญาและชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้น รวมทั้งการดำเนินการกับผู้บริหารของบริษัทในขณะนั้นที่พิจารณาได้ว่าดำเนินการไม่เป็นไปตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น - หลังจากที่ชำระราคาตามบันทึกข้อตกลงฯ แล้ว ทางผู้ขายทยอยส่งมอบหุ้นบางส่วนให้บริษัทฯ คงเหลือจำนวน 1,165,794 หุ้น ดังที่ปรากฎข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงินของบริษัทฯ ประจำปี สิ้นสุด 30 มิถุนายน 2546 นั้น ทางบริษัทฯ ได้มีการติดตามเพื่อให้ผู้ขายดำเนินการส่งมอบหุ้นที่เหลือให้กับทางบริษัทฯ มิฉะนั้นจะเรียกเก็บเบี้ยปรับตามเงื่อนไขข้อ 4. ซึ่งทางผู้ขายขอขยายระยะเวลาในการส่งมอบหลักทรัพย์และขอผ่อนผันเบี้ยปรับเนื่องจากการเบิกถอนหุ้นดังกล่าวต้องดำเนินการตามขั้นตอนของปรส. โดยทางผู้ขายได้จัดทำบันทึกข้อตกลงมอบอำนาจสิทธิในการออกเสียงของหุ้นที่คงค้างให้กับบริษัทฯ ซึ่งขณะนี้ทางผู้ขายสามารถโอนหุ้นที่เหลือให้กับบริษัทฯได้แล้ว และอยู่ในระหว่างการดำเนินการโอน 2. คดีถูกฟ้องร้องจากการจ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้าให้บริษัทที่เกี่ยวข้องตามหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 4 และข้อ 14.2 ระบุว่าในระหว่างปี 2540 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้จ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้า จำนวนเงินรวม 319.56 ล้านบาท แก่บริษัทที่เกี่ยวข้อง 3 แห่ง ตามสัญญาซื้อเหล็กลวด และบริษัทที่เกี่ยวข้องได้นำเช็คไปขายลดกับสถาบันการเงิน ต่อมาสัญญาซื้อขายเหล็กลวดดังกล่าวได้ถูกยกเลิกไป และสถาบันการเงินไม่สามารถขึ้นเงินตามเช็คได้ จึงได้ฟ้องบริษัทย่อยให้ชำระหนี้ จำนวนเงินรวมดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้องเท่ากับ 340.42 ล้านบาท โดยที่ไม่ปรากฎข้อมูลว่าบริษัทย่อยได้ติดตามทวงเงินตามเช็คที่ได้ลงวันที่ล่วงหน้าจากบริษัทที่เกี่ยวข้องภายหลังจากที่ได้ยกเลิกสัญญา และไม่มีการดำเนินการตามกฎหมายกับบริษัทที่เกี่ยวข้องให้ชดใช้ความเสียหายดังกล่าวนั้น ตลาดหลักทรัพยขอให้บริษัทชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้ 1) ความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับบริษัทที่เกี่ยวข้องทั้ง 3 แห่ง โดยกล่าวถึงรายละเอียดด้านการมีผู้ถือหุ้น และ/หรือกรรมการ และ/หรือเจ้าหน้าที่บริหารร่วมกัน พร้อมกับระบุชื่อ อัตราส่วนการถือหุ้น ตำแหน่งบริหารหรือลักษณะความสัมพันธ์ในบริษัท - บริษัทย่อยที่กล่าวถึงคือ บริษัท เอสทีจี อินเตอร์เนชั่นแนล เทรดดิ้ง จำกัด ประกอบธุรกิจเป็นนายหน้าจัดหา และซื้อขายเหล็กทุกประเภท บริษัทที่เกี่ยวข้องได้แก่ บริษัท เอ็นทีเอส สตีลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) รายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ได้แก่ 1. นายสวัสดิ์ หอรุ่งเรือง 2. นางสาวศิริพร หอรุ่งเรือง 3. นายไสว หอรุ่งเรือง กรรมการและผู้บริหาร ได้แก่ 1. นายสวัสดิ์ หอรุ่งเรือง 2. นายชำนิ จันทร์ฉาย 3. นางสาวปัทมา หอรุ่งเรือง 4. นายสันติ กิตติโฆษน์ บริษัทเมทัลสตาร์ จำกัด รายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ ได้แก่ 1. นายสุนทร ฉายแหลมหลัก 2. นายศักดา หอรุ่งเรือง 3. นายสุรพล จิตรบัตร กรรมการผู้บริหาร ได้แก่ 1. นายสุนทร ฉายแหลมหลัก 2. นายศักดา หอรุ่งเรือง บริษัท นครไทยอินติเกรทเต็ดสตีล จำกัด รายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ ได้แก่ 1. นายไสว หอรุ่งเรือง 2. นายสุนทร ฉายแหลมหลัก 3. นายสวัสดิ์ หอรุ่งเรือง กรรมการและผู้บริหาร ได้แก่ 1. นายโกศล หอรุ่งเรือง 2. นายไมตรี สัตพรพันธ์ 3. นายวินัย ทับทิมเทศ 2) รายละเอียดของเช็คที่สั่งจ่าย โดยระบุชื่อผู้รับเงิน จำนวนเงิน และวันเดือนปีที่สั่งจ่าย ธนาคารผู้ออกเช็ค หมายเลขเช็คตามจำนวนที่จ่ายให้กับบริษัทที่เกี่ยวข้อง ทั้ง 3 แห่ง - รายละเอียดของเช็คที่สั่งจ่าย สรุปได้ดังนี้ ชื่อผู้รับเงินธนาคารผู้ออกเช็ค จำนวนเงิน บริษัท เอ็น.ที.เอส.สตีลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ธ.กรุงเทพ - สีลม 265,600,000.- บริษัท เมทัลสตาร์ จำกัด ธ.กรุงเทพ - สาธร 23,956,460.- บริษัท นครไทยอินติเกรทเต็ดสตีล จำกัด ธ.กรุงเทพ - สาธร 30,000,000.- รวม 319,556,460.- 3) เหตุผลที่มีการยกเลิกสัญญาซื้อขายเหล็กลวดที่มีกับบริษัทที่เกี่ยวข้องทั้ง 3 แห่ง และการติดตามทวงถามเพื่อเรียกเงินตามเช็คที่จ่ายไปแล้วคืน และการดำเนินการตามกฎหมายให้บริษัทที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบต่อคดีความที่เป็นเหตุให้บริษัทย่อยถูกสถาบันการเงินฟ้องให้ชำระแทน - การซื้อขายสินค้าโดยปกติของธุรกิจ จะมีการจ่ายชำระค่าสินค้าล่วงหน้า ซึ่งอาจจะเป็นการชำระโดยเช็คธนาคารลงวันที่ล่วงหน้า หรือเป็นเงินสด การจ่ายชำระค่าสินค้าล่วงหน้าโดยส่วนมากจะจ่ายชำระเพียงบางส่วนของมูลค่าสินค้าทั้งหมดที่มีการตกลงกัน เพื่อให้ผู้ขายเตรียมพร้อมในเรื่องของวัตถุดิบและการวางแผนการผลิต เพื่อเป็นประโยชน์ในการวางแผนธุรกิจการขายและการจัดส่งสินค้า ให้แก่ลูกค้าซึ่งจะจ่ายชำระค่าสินค้าเมื่อได้รับสินค้าครบถ้วนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนเหตุผลที่มีการยกเลิกสัญญาซื้อขายเหล็กลวดที่มีกับ 3 บริษัทที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากช่วงเวลานั้นราคาเล็กลวดมีความผันผวนมาก มีทั้งปรับขึ้นและลง ทำให้ผู้ขายไม่สามารถส่งมอบสินค้าให้กับบริษัทฯ ได้ตามกำหนดระยะเวลาในสัญญา จึงทำการยกเลิกสัญญา เมื่อเลิกสัญญาแล้วทางบริษัทฯ ได้ดำเนินการให้บริษัทที่เกี่ยวข้องดังกล่าวนำเช็คที่จ่าย ชำระค่าสินค้าล่วงหน้ามาคืนทั้งโดยวาจาทวงถาม, ออกจดหมายทวงถาม, และ ยื่นขอรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ บริษัท เอ็นทีเอส สตีล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) รวมทั้งให้บริษัทที่เกี่ยวข้องออกจดหมายยืนยันสภาพหนี้ เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป 4) รายชื่อผู้บริหารและ/หรือ กรรมการบริษัทย่อยที่มีส่วนร่วมในการพิจารณาตกลงทำสัญญาและยกเลิกสัญญาซื้อขายลวดเหล็ก - รายชื่อคณะกรรมการบริหาารของบริษัทเอส.ที.จี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้แก่ 1. นาย สวัสดิ์ หอรุ่งเรือง 2. นาย ชำนิ จันทร์ฉาย 3. นาย ชัยพล หอรุ่งเรือง 4. นาย ประวิทย์ หอรุ่งเรือง 3. ภาระหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นจากการค้ำประกันบริษัทที่เกี่ยวข้อง ตามหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 16.4 ระบุว่าบริษัทมีภาระหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นจากการค้ำประกันบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน จำนวนเงินรวมดอกเบี้ยถึง ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2546 เท่ากับ 440.60 ล้านบาท ทั้งนี้รายการดังกล่าวไม่เคยมีการเปิดเผยมาก่อนนั้น ตลาดหลักทรัพย์ขอให้บริษัทชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้ 1) ชื่อบริษัทที่เกี่ยวที่บริษัทเข้าไปค้ำประกันและความสัมพันธ์กับบริษัท โดยกล่าวถึงรายละเอียดด้านการมีผู้ถือหุ้น และ/หรือกรรมการ และ/หรือเจ้าหน้าที่บริหารร่วมกัน โดยระบุชื่อ อัตราส่วนการถือหุ้น ตำแหน่งบริหารหรือลักษณะความสัมพันธ์ในบริษัท - ชื่อบริษัทที่เกี่ยวข้องที่บริษัทฯ เข้าไปค้ำประกันคือ บริษัท เมทัลสตาร์ จำกัด รายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ ได้แก่ 1. นาย สุนทร ฉายแหลมหลัก 2. นาย ศักดา หอรุ่งเรือง 3. นาย สุรพล จิตรบัตร กรรมการและผู้บริหาร ได้แก่ 1. นายสุนทร ฉายแหลมหลัก 2. นายศักดา หอรุ่งเรือง 2) วันที่คณะกรรมการมีมติให้ค้ำประกันบริษัทที่เกี่ยวข้อง รายชื่อคณะกรรมการบริษัทในขณะที่มีมติให้ค้ำประกัน วันเดือนปีที่เข้าค้ำประกัน และเหตุผลในการตัดสินใจเข้าค้ำประกันหนี้ดังกล่าว - ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร ครั้งที่ 13/2538 วันที่ 19 ตุลาคม 2538 มีมติอนุมัติที่จะเข้าค้ำประกันหนี้ของบริษัท เมทัลสตาร์ จำกัด และวันที่บริษัทฯเข้าค้ำประกัน วันที่ 31 ตุลาคม 2538 เหตุผลในการตัดสินใจเข้าค้ำประกันหนี้ดังกล่าวเนื่องจาก บริษัท เมทัลสตาร์ จำกัด เป็นคู่ค้าทางธุรกิจและสืบเนื่องมาจากความต้องการเศษเหล็กในตลาดมีปริมาณมาก โดยซันเทค มียอดขายธุรกิจเหล็กในปี 2538 จำนวนกว่า 1,400 ล้านบาท และจากการเติบโตของประมาณความต้องการเศษเหล็กที่สูงนั้น ซันเทคมีความจำเป็นต้องทำสัญญาจะซื้อจะขายเศษเหล็กล่วงหน้า กับบริษัทดังกล่าว เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้จัดหาและรวบรวมเศษเหล็กส่งให้กับซันเทค และเพื่อเป็นประโยชน์ในการวางแผนการขายและการตลาด โดยมีเงื่อนไขที่ซันเทคต้องจัดหาหลักประกันเพื่อประกันการซื้อขาย ซันเทคจึงได้ค้ำประกันเงินกู้ยืมให้กับบริษัท เมทัลสตาร์ จำกัด เพื่อเป็นการจัดหาเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการจัดหาและรวบรวมเศษเหล็กให้ได้ตามจำนวนที่ซันเทคต้องการ การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปตามปกติ ของการทำธุรกิจของบริษัทฯ และในปี 2539 ธุรกิจเศษเหล็กมียอดขายกว่า 1,900 ล้านบาท จำนวนวงเงินค้ำประกันดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นจำนวน เงินที่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการขายในขณะนั้นแล้ว 3) นโยบายและแนวทางในการติดตามทวงถาม หาก SUNTEC ต้องรับภาระหนี้สินแทนบริษัทที่เกี่ยวข้อง หรือแนวทางการดำเนินการเพื่อปลดเปลื้อง ภาระค้ำประกันดังกล่าว - เจ้าหนี้ที่อาจจะเกิดขึ้นจากภาระค้ำประกันได้ยื่นความประสงค์ที่จะขอรับชำระหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการของซันเทค และซันเทคก็ได้แสดงไว้ในแผนฟื้นฟู กิจการที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมเจ้าหนี้โดยส่วนใหญ่แล้ว ซึ่งหากว่าแผนฟนฟูกิจการดังกล่าวมีผลบังคับใช้ที่จะให้ซันเทครับผิดชอบในภาระหนี้สินที่อาจ เกิดขึ้นทางซันเทคก็จะดำเนินการเรียกร้องจากทาง บริษัท เมทัลสตาร์ จำกัด ต่อไป--จบ-- -รก-

ข่าวตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย+ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศวันนี้

จีเอเบิล ขึ้นเครื่องหมาย XD 30 เมษายนนี้ ในอัตราหุ้นละ 0.2703 บาทต่อหุ้น จ่ายปันผลในเดือนพฤษภาคม

ดร.ชัยยุทธ ชุณหะชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน) หรือ GABLE เปิดเผยว่าภายหลังจากที่บริษัทฯ ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัทฯ มุ่งมั่นในการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจอย่างต่อเนื่องภายใต้ผู้นำด้าน "Tech Enabler" ในปี 2567 บริษัทฯ ได้ต่อยอดความสำเร็จสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยกลุ่มบริษัท ขยายการลงทุนในธุรกิจที่มีศักยภาพ 2 บริษัท ได้แก่ บริษัท ราวด์ ทู โซลูชั่นส์ จำกัด (R2) ในสัดส่วนร้อยละ 75 โดย R2 เป็นผู้นำด้านที่ปรึกษาระบบ Enterprise Resource Planning

ก.ล.ต. ผ่อนผันให้ SAM นำส่งรายงานผลการตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ ภายในวันที่ 9 กรกฎาคม 2568

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สั่งการให้บริษัท สามชัย สตีล อินดัสทรี จำกัด (มหาชน) (SAM) ส่งรายงานผลการตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ (special audit) ภายในวันที่ 9 กรกฎาคม 2568 ตามที่ SAM...

บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) หรือ TIDL... "เงินติดล้อ" ผนึกตลาดหลักทรัพย์ฯ แบ่งปันไอเดีย การสร้างสุขภาพทางการเงินที่ดีในองค์กร — บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) หรือ TIDLOR โดย คุณมิ่งขวัญ ประเสริ...

มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (ทีเอชนิ... THNIC จับมือ SET และ ICANN จัดงาน UA Day 2025 ใช้โดเมนและอีเมลภาษาไทย ปูทางธุรกิจไทยก้าวสู่สากล — มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (ทีเอชนิค) ร่วมกับตลาดห...

นายสุรนาถ กิตติรัตนเดช ประธานเจ้าหน้าที่ฝ... RBF โชว์ศักยภาพธุรกิจ-แผนขยายตลาด ตปท. งาน "Thailand Earning Call" ปังธง ปี 68 รายได้รวม โต 10-15% — นายสุรนาถ กิตติรัตนเดช ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชีและก...

นางสาวสุภากาญจน์ กิจโกศล ประธานเจ้าหน้าที... "MEDEZE" โชว์ศักยภาพธุรกิจ ในงาน Opp Day Year End 2024 — นางสาวสุภากาญจน์ กิจโกศล ประธานเจ้าหน้าที่สายบัญชีและการเงิน บริษัท เมดีซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรื...