การจัดการวงจรการใช้งานของข้อมูล: พัฒนาการขั้นต่อไปของการจัดเก็บข้อมูล

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--28 พ.ย.--พีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง การจัดการวงจรการใช้งานของข้อมูล: พัฒนาการขั้นต่อไปของการจัดเก็บข้อมูล ข้อคิดเห็นจาก คุณวินัย วารัญญานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อีเอ็มซี อินฟอร์เมชั่น ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด ในช่วง 3 ปีถัดจากนี้ไป เราจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงมากมายในระบบการจัดเก็บข้อมูลหรือสตอเรจ ซึ่งมากกว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ด้วยการพัฒนาและเป็นที่ตอบรับอย่างรวดเร็วเพื่อมุ่งไปสู่ระบบการจัดการวงจรการใช้งานของข้อมูล (Information Life-cycle Management หรือ ILM) ในปัจจุบัน องค์กรขนาดใหญ่มีการใช้งานโปรแกรมแอพพลิเคชั่นหลายร้อยโปรแกรม รวมทั้งข้อมูลออนไลน์หลายเทราไบต์ (terabyte) และข้อมูลจำนวนมหาศาลเกือบถึงระดับเพทาไบต์ (petabyte) ที่จัดเก็บไว้บนเทป แต่แทบจะไม่สามารถจัดสรรทรัพยากรสตอเรจให้สอดคล้องกับคุณประโยชน์ของข้อมูลแต่ละชุด ณ ช่วงเวลาหนึ่งๆ ได้อย่างลงตัว ผลที่ตามมาก็คือ การลงทุนที่มากเกินความจำเป็นสำหรับการคุ้มครองและเก็บรักษาข้อมูลที่ไม่สำคัญเพื่อให้พร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา แต่ในขณะเดียวกันกลับทำให้ข้อมูลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งถูกปล่อยทิ้งไว้โดยปราศจากการป้องกันใดๆ ILM เป็นระบบที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการจัดการข้อมูลตลอดอายุการใช้งาน เริ่มตั้งแต่การสร้างและใช้งาน ไปจนถึงการเก็บถาวรและทำลาย ความต้องการด้านข้อมูลที่เปลี่ยนไป ในปัจจุบัน ข้อมูลที่องค์กรต่างๆ จำเป็นต้องบริหารจัดการและใช้งานมีปริมาณมากมายมหาศาล และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลเริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันและธุรกิจของเรามากขึ้นเรื่อยๆ และสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับความต้องการด้านธุรกิจ กฎหมาย กฎระเบียบ หรือความต้องการส่วนบุคคลมากขึ้นทุกขณะ ทุกวันนี้ข้อมูลต่างๆ จำเป็นต้องจัดเก็บไว้เป็นเวลานาน (อายุการใช้งานยาวนานกว่าเซิร์ฟเวอร์ อุปกรณ์สตอเรจ ระบบปฏิบัติการ หรือแอพพลิเคชั่นหนึ่งๆ) ทั้งยังมีการเปลี่ยนแปลงในด้านคุณประโยชน์อยู่เป็นประจำ (ซึ่งโดยมากแล้วจะไม่สามารถคาดการณ์ได้) และเป็นปัจจัยหลักในการกระตุ้นการเติบโตของธุรกิจมากกว่าในอดีต ในขณะเดียวกัน มีกฎระเบียบใหม่ๆ ที่ใช้ควบคุมระยะเวลาการจัดเก็บข้อมูลการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตและอีเมลที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ รวมถึงความสะดวกรวดเร็วในการเรียกดูข้อมูลดังกล่าว จากการสำรวจ พบว่า เฉพาะในสหรัฐฯ มีกฎระเบียบระดับรัฐและระดับประเทศเกือบ 10,000 ข้อ เพื่อควบคุมการจัดเก็บ ความพร้อมใช้งาน และการกำจัดข้อมูล เช่น กฎหมาย Sarbanes-Oxley, มาตรา 5015.2 ของกระทรวงกลาโหม และพระราชบัญญัติว่าด้วยความสะดวกและความน่าเชื่อถือเกี่ยวกับประกันสุขภาพ (Health Insurance Portability and Accountability Act) เมื่อคุณค่าของข้อมูลเปลี่ยนไป ก็ควรที่จะจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวไปที่สื่อจัดเก็บข้อมูลแบบออนไลน์และออฟไลน์อื่นๆ ซึ่งให้การคุ้มครอง การจำลอง และการกู้คืนข้อมูลในระดับที่เหมาะสม โดยเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด การจัดการข้อมูลในปัจจุบัน ผู้จัดการฝ่ายไอทีมีเครื่องมือด้านการจัดการระบบจัดเก็บข้อมูลต่างๆ มากมายให้เลือกใช้สำหรับรับมือกับปัญหาท้าทายในการจัดการความต้องการข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและยากจะคาดเดา เครื่องมือเหล่านี้สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการจัดการ การเคลื่อนย้าย และการจำลองข้อมูล และสามารถตอบสนองความต้องการด้านการเก็บรักษาข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ปัญหาก็คือ ยังขาดการจัดการข้อมูลโดยรวมอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ยิ่งกว่านั้น ระบบไอทีของแต่ละองค์กรยังประกอบด้วยแอพพลิเคชั่นต่างๆ มากมายที่แยกกระจัดกระจาย ในขณะที่การจัดการข้อมูลในปัจจุบันมุ่งเน้นเฉพาะแอพพลิเคชั่นหลักๆ ขององค์กร ซึ่งแอพพลิเคชั่นแต่ละตัวก็มีเครื่องมือการจัดการข้อมูล คำอธิบายข้อมูล และอินเทอร์เฟซที่แตกต่างกัน ทำให้ต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมหาศาลในการผนวกรวมระบบการจัดการข้อมูลที่แยกกระจายเหล่านี้เข้าด้วยกัน และเมื่อมีการกำหนดนโยบายใหม่ด้านข้อมูลเพื่อให้สอดรับกับความต้องการทางธุรกิจที่เปลี่ยนไป องค์กรก็ต้องปรับใช้นโยบายดังกล่าวกับแอพพลิเคชั่นหลักแต่ละตัวไปพร้อมๆกัน แนวทางใหม่ เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากข้อมูลโดยเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด องค์กรต่างๆ จึงหันมามองทางเลือกใหม่ นั่นคือ ระบบการจัดการวงจรการใช้งานของข้อมูล โดยมีเป้าหมายที่จะตอบสนองความจำเป็นทางธุรกิจอย่างครบถ้วน ทั้งในส่วนของแอพพลิเคชั่น กฎระเบียบ ความต้องการของผู้ใช้ และนโยบายขององค์กร โดยเสียค่าใช้จ่ายโดยรวมน้อยที่สุดกลยุทธ์การจัดการวงจรการใช้งานของข้อมูลให้ประสบผลสำเร็จจะต้อง: - มุ่งเน้นธุรกิจ: สอดคล้องกับกระบวนการทำงาน ขีดความสามารถ และกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรธุรกิจ - อ้างอิงนโยบาย: สอดคล้องตามนโยบายด้านการจัดการข้อมูลทั่วทั้งองค์กร โดยครอบคลุมกระบวนการทำงาน แอพพลิเคชั่น และทรัพยากรทั้งหมด - มีระบบจัดการแบบรวมศูนย์: ใช้มุมมองเดียวกันสำหรับการจัดการข้อมูลทั้งหมดภายในองค์กร - รองรับระบบที่หลากหลาย: สามารถทำงานร่วมกับแพลตฟอร์มและระบบปฏิบัติการทุกชนิด - สอดคล้องกับคุณประโยชน์ของข้อมูล: จัดสรรทรัพยากรสตอเรจให้เหมาะสมกับคุณประโยชน์ในเชิงธุรกิจของข้อมูล ณ เวลาหนึ่งๆ ILM จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารจัดการข้อมูล ระบบการจัดการแบบใหม่จะทำงานโดยอัตโนมัติและปราศจากความยุ่งยากซับซ้อน โดยแทนที่จะต้องวุ่นวายกับเครื่องมือด้านการจัดการข้อมูลหลากหลายประเภท ผู้จัดการฝ่ายไอทีก็จะสามารถดูแลระบบโครงสร้างข้อมูลทั้งระบบอย่างทั่วถึงและสอดคล้องจากมุมมองเดียวกัน อีกทั้งไม่จำเป็นต้องปรับใช้ข้อกำหนดด้านข้อมูลด้วยตนเองทีละแอพพลิเคชั่นอีกต่อไป เพียงแค่กำหนดนโยบายที่ครอบคลุมการทำงานทั่วทั้งองค์กร ระบบก็จะทำการย้ายข้อมูลไปยังแพลตฟอร์มการจัดเก็บข้อมูลที่เหมาะสมที่สุดในเวลานั้นโดยอัตโนมัติ ระบบ ILM จะช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถรักษาคุณประโยชน์ของข้อมูลตลอดอายุการใช้งาน และสามารถตอบสนองได้อย่างทันท่วงทีต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน เส้นทางสู่ ILM แล้วคุณจะเริ่มต้นก้าวเดินไปตามเส้นทางสู่การจัดการวงจรการใช้งานของข้อมูลได้อย่างไร? องค์กรส่วนใหญ่จะต้องดำเนินการ 3 ขั้นตอนหลักๆ ได้แก่ การติดตั้งเครือข่ายสตอเรจอัตโนมัติ การปรับใช้แนวทางและนโยบาย ILM สำหรับแอพพลิเคชั่นบางตัว และการสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐาน ILM ที่ครอบคลุมทุกแอพพลิเคชั่น ขั้นแรก จะต้องยกเลิกการจัดเก็บข้อมูลแบบเชื่อมต่อโดยตรง (direct-attached storage หรือ DAS) แล้วสร้างเครือข่ายสตอเรจขึ้นมา จากนั้นก็ติดตั้งระบบอัตโนมัติให้กับส่วนสำคัญ ของเครือข่ายสตอเรจ เพื่อเพิ่มความสะดวกและลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการทรัพยากรเหล่านี้ และทำให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้น จะต้องดำเนินการแจกแจงประเภทของข้อมูลทั่วทั้งองค์กร โดยจะต้องจัดทำหมวดหมู่และจัดระเบียบข้อมูลให้สอดคล้องกับคุณประโยชน์ ชนิด และความต้องการของข้อมูลนั้นๆ เช่น ความพร้อมใช้งาน การกู้คืน ความปลอดภัย ค่าใช้จ่าย และการต้องปฏิบัติตามข้อบังคับต่างๆขั้นตอนที่สอง กำหนดนโยบายทางธุรกิจสำหรับข้อมูลชนิดต่างๆ โดยคุณควรกำหนดเป้าหมายไว้ที่แอพพลิเคชั่นหลักจำนวนหนึ่ง แล้วเริ่มปรับใช้แนวทาง ILM กับแอพพลิเคชั่นดังกล่าว สองขั้นตอนแรกเป็นการวางรากฐานเพื่อประโยชน์สูงสุดที่จะได้รับ ซึ่งอาจต้องใช้เวลาราว 2 ปีจึงจะเห็นผลเป็นรูปธรรม นั่นคือ การจัดการวงจรการใช้งานของข้อมูลที่ทำงานแบบอัตโนมัติทั้งหมด ระบบการทำงานแบบครบวงจรนี้จะทำให้คุณสามารถปรับใช้นโยบายที่มุ่งเน้นธุรกิจสำหรับระบบโครงสร้างไอทีทั้งระบบซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์จากผู้ผลิตหลายราย และสามารถจับคู่แอพพลิเคชั่นเข้ากับระดับบริการที่เหมาะสมได้อย่างทันท่วงที โดยทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้การควบคุมจากศูนย์กลางเพียงจุดเดียว ในขั้นตอนนี้ ระบบ ILM จะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ โดยระบบดังกล่าวจะสามารถดำเนินการตัดสินใจโดยอัตโนมัติได้อย่างเสมอต้นเสมอปลาย เพื่อให้ข้อมูลพร้อมใช้งานสำหรับแอพพลิเคชั่นที่เหมาะสมเมื่อถึงเวลาที่จำเป็น โดยเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด และสอดคล้องกับกฎเกณฑ์และนโยบายทางธุรกิจที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า นอกจากนั้น ระบบยังสามารถทำการปรับเปลี่ยนในแบบเรียลไทม์ เมื่อคุณประโยชน์ของข้อมูลเปลี่ยนไป ขั้นตอนทั้งหมดที่ระบุข้างต้นจะช่วยให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายไอทีสามารถพัฒนาทักษะและวิธีการ เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับความต้องการด้านสารสนเทศขององค์กร และสามารถขยายขอบเขตของระบบอัตโนมัติเมื่อมีประสบการณ์ในเชิงปฏิบัติเพิ่มมากขึ้นขั้นตอนถัดไป เทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลมีวิวัฒนาการอย่างรวดเร็วในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยในแต่ละขั้นตอนของวิวัฒนาการดังกล่าว อุปกรณ์การจัดเก็บข้อมูลได้รับเชื่อมต่อเข้ากับเซิร์ฟเวอร์มากขึ้นเรื่อยๆ และเพิ่มขีดความสามารถและความยืดหยุ่นในการทำงานให้แก่ผู้ใช้อย่างต่อเนื่อง ในระบบสตอเรจแบบเชื่อมต่อโดยตรง (DAS) นั้น ความสัมพันธ์ระหว่างสตอเรจอะเรย์กับเซิร์ฟเวอร์จะเป็นความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง แต่ในขั้นตอนถัดมาของการพัฒนา อุปกรณ์สตอเรจระดับองค์กรแต่ละตัวได้เชื่อมต่อเข้ากับเซิร์ฟเวอร์หลายสิบเครื่อง และเมื่อมีการพัฒนาเครือข่ายสตอเรจเพิ่มเติม ก็ทำให้สามารถเชื่อมต่อสตอเรจอะเรย์แต่ละตัวเข้ากับเซิร์ฟเวอร์ได้นับร้อยนับพันเครื่องเลยทีเดียว ซึ่งการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่เช่นนี้จำเป็นที่ต้องมีระบบอัตโนมัติมารองรับสำหรับการจัดการอุปกรณ์ทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ จึงมีการพัฒนาไปสู่เครือข่ายสตอเรจอัตโนมัติ (Automated Networked Storage) แต่ละขั้นตอนของวิวัฒนาการดังกล่าวเป็นการต่อยอดจากพื้นฐานของการพัฒนาก่อนหน้านี้ และในปัจจุบัน บนพื้นฐานที่มั่นคงของเครือข่ายสตอเรจอัตโนมัติ และโดยอาศัยการผนวกรวมฟังก์ชั่นเพิ่มเติมของการจัดการข้อมูลแบบครบวงจร เรากำลังมุ่งหน้าสู่ขั้นตอนถัดไป นั่นคือ การจัดการวงจรการใช้งานของข้อมูล ข้อมูลเกี่ยวกับอีเอ็มซี อีเอ็มซี คือผู้นำแห่งโลกธุรกิจระบบสตอเรจ ที่คิดค้นทั้งระบบ, ซอฟต์แวร์, ระบบเครือข่าย และ การให้บริการต่างๆ ทั้งยังพัฒนาโซลูชั่นระบบเครือข่ายสตอเรจ แบบอัตโนมัติ เพื่อช่วยให้หน่วยงานต่างๆทั่วโลกสามารถดึงและใช้ข้อมูลต่างๆที่มีอยู่ได้ในระดับสูงสุดและใช้ต้นทุนทั้งหมดขั้นต่ำสุด ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอีเอ็มซี สามารถรับได้ผ่านทางเว็บไซต์ www.EMC.com สำหรับสื่อมวลชน : สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ : Khoo YinSenior Marcom SpecialistEMC South AsiaTel: +65-6427-1741Fax: +65-6333-6878Email: [email protected] Local PR agency contactเมธาวี เฉลิมธนศักดิ์ บริษัท พีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง จำกัดโทร : 0-2971-3711โทรสาร : 0-2521-9030Email : [email protected]จบ-- -รก-

ข่าววินัย วารัญญานนท์+อินฟอร์เมชั่นวันนี้

อีเอ็มซีรุกองค์กรขนาดกลางด้วยซอฟต์แวร์จัดการเอกสารและภาพ

EMC Documentum ApplicationXtender 5.2 ผนวกรวม EMC Documentum Records Manager รองรับการจัดการข้อมูลธุรกิจอย่างปลอดภัย อีเอ็มซีเปิดตัวซอฟต์แวร์สำหรับการจัดการข้อมูลแบบ fixed content ภายใต้ชื่อ EMC Documentum ApplicationXtender 5.2 ชูจุดเด่นได้รับการปรับแต่งเป็นพิเศษเพื่อให้สามารถทำงานบนแพลตฟอร์ม Windows/.NET ของไมโครซอฟท์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หวังเจาะกลุ่มเป้าหมายองค์กรระดับกลาง และหน่วยงานราชการที่กำลังมองหาโซลูชั่นสำเร็จรูปที่ติดตั้งสะดวก และใช้งานง่าย นายวินัย วารัญญานนท์ ผู้จัดการประจำประเทศ

อีเอ็มซีปลื้มผลประกอบการไตรมาส 3 ยอดขายทะลุ 2 พันล้านดอลลาร์เป็นครั้งแรก โตอัตรา 2 หลัก 5 ไตรมาสติดต่อกัน

อีเอ็มซีปลื้มยอดจำหน่ายทั่วโลกไตรมาสที่ 3 ชี้ยอดขายทะลุ 2 พันล้านดอลลาร์ ด้วยอัตราการเติบโต 34 % เผยนับเป็นปรากฏการณ์ที่มีรายได้เติบโตแบบปีต่อปีในอัตราเลขสองหลักเป็นไตรมาสที่ 5 ติดต่อกัน โดยราย...

อีเอ็มซีเดินหน้าซื้อบริษัทซอฟต์แวร์สตอเรจ หวังขยายส่วนแบ่งตลาดสู่ SME

อีเอ็มซี คอร์ปอเรชั่น (NYSE:EMC)ประกาศซื้อกิจการผู้ผลิตซอฟต์แวร์สำหรับการสำรอง และกู้คืนข้อมูลสำหรับองค์กรธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม Dantz Development Corporation หวังขยายฐานตลาดในกลุ่มลูกค้าดังกล่าวตามเป้าหมายที่วางไว้ ชูจุด...

อีเอ็มซี ขอเชิญสื่อมวลชน ร่วมงาน EMC Mini-Storage University

“สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับความคาดหวังในระบบการสำรองข้อมูลของเราก็คือ ธุรกิจสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะระบบ Billing ที่เป็นเครื่องมือทางธุรกิจหลัก เพื่อเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการใช้บริการของลูกค้า หากเกิดความเสียหาย...

อีเอ็มซีเผยโฉมซอฟต์แวร์ CONTROLCENTER เพิ่มศักยภาพการจัดการสตอเรจแบบครบวงจร เพิ่มฟังก์ชั่นและการผนวกรวมทรัพยากรสตอเรจทั่วทั้งเครือข่าย

อีเอ็มซี คอร์ปอเรชั่น ผู้นำระดับโลกด้านการจัดเก็บและการจัดการข้อมูล เผยโฉมซอฟต์แวร์ซอฟต์แวร์ด้านการจัดการสตอเรจแบบครบวงจร ตระกูล ControlCenter? รุ่นปรับปรุง ชูจุด...

อีเอ็มซีตอกย้ำผู้นำตลาดซอฟต์แวร์ SRM ประกาศสนับสนุนมาตรฐาน SNIA

กรุงเทพฯ--21 เม.ย.--พีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง อีเอ็มซีผู้นำระดับโลกในด้านระบบการบริหารและจัดเก็บข้อมูลตอกย้ำความเป็นผู้นำในตลาดซอฟต์แวร์ด้านการจัดการทรัพยากรสตอเรจ (SRM) พร้อมประกาศสนับสนุนมาตรฐาน SNIA รองรับการจัดการสตอเรจระบบ...

การจัดแยกประเภทข้อมูล: พื้นฐานสำคัญสำหรับการจัดการวงจรการใช้งานของข้อมูล

กรุงเทพฯ--27 ก.พ.--พีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง การจัดแยกประเภทข้อมูล: พื้นฐานสำคัญสำหรับการจัดการวงจรการใช้งานของข้อมูล โดย วินัย วารัญญานนท์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท อีเอ็มซี อินฟอร์เมชั่น ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย)...

บทความ เรื่อง การลงทุนที่คุ้มค่าสำหรับระบบจัดเก็บข้อมูลขนาดกลาง โดย คุณวินัย วารัญญานนท์

กรุงเทพฯ--20 ม.ค.--พีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง การลงทุนที่คุ้มค่าสำหรับระบบจัดเก็บข้อมูลขนาดกลาง ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สามารถทำงานร่วมกันบนแพลตฟอร์มทุกรุ่น ลดค่าใช้จ่ายในการจัดการและฝึกอบรม โดย คุณวินัย...

อีเอ็มซี ขอเชิญสื่อมวลชน ร่วมงานสัมภาษณ์กลุ่ม ภายใต้หัวข้อเรื่อง "New EMC"

กรุงเทพฯ--12 ม.ค.--พีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง บริษัท อีเอ็มซี อินฟอร์เมชั่น ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำในตลาดระบบจัดเก็บข้อมูลของโลก มีความยินดีขอเชิญท่านเข้าร่วมในการรับฟังและสัมภาษณ์กลุ่มภายใต้หัวข้อเรื่อง ...

ความสำคัญของการจัดเก็บข้อมูลอย่างถูกต้องตามกฎระเบียบ : บทความโดย คุณวินัย วารัญญานนท์

กรุงเทพฯ--12 ม.ค.--พีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง ความสำคัญของการจัดเก็บข้อมูลอย่างถูกต้องตามกฎระเบียบ บทความโดย คุณวินัย วารัญญานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อีเอ็มซี อินฟอร์เมชั่น ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด...