กรุงเทพฯ--24 มี.ค.--ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ฟ็อกซ์
ภาพยนตร์ เรื่อง The Passion of the Christ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับช่วงเวลา 12 ชั่วโมงสุดท้ายแห่งชีวิตของเยซูแห่งนาซาเร็ธ หนังเปิดฉากที่ สวนมะกอก (เกทเสมนี) ซึ่งเป็นสถานที่ๆ พระเยซูคริสต์ใช้เวลาสวดภาวนาหลังจากเสร็จสิ้นอาหารค่ำมื้อสุดท้ายไปแล้ว พระองค์ปฏิเสธการล่อลวงของปีศาจ จากการทรยศของยูดาส อิสคาริโอท พระเยซูคริสต์ถูกจับกุมและนำกลับเข้าไปในเขตเมืองเยรูซาเล็มซึ่งพวกหัวหน้าของพวกฟาริสีทั้งหลายเผชิญหน้ากับพระองค์และกล่าวหาพระองค์ว่าเป็นพวกดูหมิ่นศาสนา และผลจากการสอบสวน พระองค์ถูกตัดสินด้วยโทษประหารชีวิต
พระเยซูคริสต์ได้ถูกนำมาอยู่ต่อหน้าของปีลาต ผู้นำโรมันแห่งสภาสูงของปาเลสไตน์ ซึ่งได้รับฟังข้อกล่าวหาจากพวกฟาริสี ปีลาตตระหนักว่าสิ่งที่เขากำลังเผชิญคือความขัดแย้งทางการเมือง เขาจึงผัดผ่อนโดยการให้กษัตริย์เฮโรดพิจารณา กษัตริย์เฮโรดส่งพระเยซูคริสต์กลับคืนให้กับปีลาตซึ่งมอบให้ฝูงชนเป็นผู้เลือกระหว่างพระเยซูคริสต์กับนักโทษอุกฉกรรจ์อย่างบาราบัส ฝูงชนเลือกที่จะปลดปล่อยบาราบัสเป็นอิสระและเอาโทษกับพระเยซูคริสต์พระเยซูคริสต์ได้ถูกส่งตัวให้กับทหารโรมันและถูกโบยตีทรมาน ทั้งที่ยังไม่ได้รับการยอมรับ พระเยซูคริสต์ได้ถูกนำกลับมาอยู่ต่อหน้าปีลาตผู้นำพระองค์ไปต่อหน้าฝูงชนเหมือนกับจะประกาศว่า "ยังไม่เป็นการเพียงพอกันอีกหรือ?" มันยังไม่พอ ปิลาตจึงล้างมือของเขาเพื่อประกาศถอนตัวจากเหตุการณ์นี้ และมีคำสั่งให้ทหารทำตามคำเรียกร้องของฝูงชนพระเยซูคริสต์ได้ถูกสั่งให้แบกไม้กางเขนไปตามถนนในกรุงเยรูซาเล็มและแบกขึ้นภูเขากัลโกธา และบนยอดเขากัลโกธานั้นเองพระองค์ได้ถูกตรึงไว้กับไม้กางเขนและเผชิญกับการทดสอบครั้งสุดท้าย - ความกลัวที่ว่าพระองค์จะถูกทอดทิ้งจากพระบิดา - พระเยซูคริสต์ได้พิชิตความหวาดกลัวนั้น ทรงมองไปที่พระนางมารีพระมารดาผู้ศักดิ์สิทธ์ของพระองค์และเปล่งเสียงเป็นข้อความที่มีแต่พระนางเท่านั้นที่จะเข้าใจว่า "มันได้บรรลุผลแล้ว" และพระเยซูคริสต์ทรงสิ้นพระชนม์ : "ข้าพระองค์ขอฝากวิญญาณจิตของข้าพระองค์ไว้ในพระหัตถ์ของพระองค์" และในขณะที่สิ้นพระชนม์นั้นเอง ธรรมชาติก็เกิดอาเพศ
ต้นเรื่อง
บทภาพยนตร์ของเรื่อง The Passion of The Christ นี้ ได้รับการดัดแปลงโดย เมล กิบสัน ซึ่งเป็นทั้งผู้สร้างและผู้กำกับ โดยร่วมมือกับเบนเนดิค ฟิทสเจอรัล (จากเรื่อง Wise Blood, In Cold Blood, Heart of Darkness, Zelda) เพื่อบรรยายช่วงเวลา 12 ชั่วโมงสุดท้ายของการมีชีวิตบนโลกมนุษย์ของพระเยซูคริสต์ มันเป็นการดัดแปลงและประมวลขึ้นจากหลายเหตุการณ์ของเรื่อง The Passion ซึ่งเรียบเรียงมาจากพระคัมภีร์สี่เล่มของ มัทธิว มาร์ค ลูกา และยอห์น
ภาษา
เราจะได้ยินตัวละครทั้งหมดในเรื่องนี้พูดสนทนากันหลายภาษาที่ใช้กันในสมัยนั้น ภาษาอาราแมคสำหรับตัวละครที่เป็นคนยิวซึ่งรวมทั้งตัวพระเยซูคริสต์และอัครสาวกทั้งหลายด้วย ภาษาลาตินพื้น ๆ สำหรับตัวละครโรมัน เราจะไม่ค่อยได้ยินภาษากรีกซึ่งเป็นภาษาที่ใช้สื่อสารสำหรับนักปราชญ์ในสมัยนั้นในภาพยนตร์เรื่องนี้มากนัก
สถานที่ถ่ายทำ
สถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง The Passion of the Christ ถ่ายกันในประเทศอิตาลีทั้งเรื่อง ซึ่งใช้สถานที่หลัก ๆ สองที่ด้วยกันคือ
มาเทอร่า
ฉากตรึงกางเขนนั้นถ่ายทำกันในเมืองที่สวยงามของมาเทอร่าซึ่งอยู่ในเขตบาซิลีกาต้าซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศอิตาลี เป็นสถานที่ใกล้กับที่ เปีย เปาโล ปาโซลินี ถ่ายทำเรื่อง The Gospel According to St Mathew เมื่อปี ค.ศ. 1965
สตูดิโอ ซิเนซิตต้า
ฉากในเมืองเยรูซาเล็มเป็นฉากที่สร้างขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ในสตูดิโออันเลื่องชื่ออย่างซิเนซิตต้า ซึ่งตั้งอยู่ชานกรุงโรม โดยทีมงานสร้างฉากที่มีชื่อเสียงของ ฟรานเซสโก ฟริเกอรี่และฝีมือตกแต่งฉากของคาร์โล เจอวาซี่ ฉากสิ่งปลูกสร้างอันอลังการได้แก่ฉากโบสถ์ซึ่งใช้เป็นที่ชำระความของพระเยซูคริสต์ ฉากลานหน้าวังของปีลาตซึ่งใช้เป็นที่ฟังคำพิพากษาของพระเยซูคริสต์และยังมีฉากบริเวณกำแพงซึ่งพระองค์ถูกทรมานและโบยตีอีกด้วย
ทีมงานผู้สร้างสรรค์
กิบสันขอให้ทางตากล้อง คาเล็บ เดสชาเนล (เรื่อง Patriot และเรื่อง The Rigjht Stuff) ใช้โทนสีของภาพยนตร์ให้ออกมาดูแล้วเหมือนภาพวาด ของศิลปินบาร็อคชาวอิตาเลียนคาราวาจิโอ ซึ่งภาพวาดของเขานั้นเป็นที่รู้จักกันดีในแง่ความมีชีวิตชีวาของภาพจากความขัดแย้งกันของแสงสว่างและเงามืด "ผมคิดว่างานของเขาเป็นงานที่สวยงาม" กิบสันกล่าวถึงคาราวาจิโอ "มันแสดงให้เห็นความรุนแรง มันมีความมืด มันเต็มไปด้วยจิตวิญญาณ และมันยังมีความแปลกพิกลอยู่ในนั้นด้วย" ภาพยนตร์เรื่องนี้เกือบ 40 เปอร์เซนต์ถ่ายทำกันในสถานที่และในเวลากลางคืนเพื่อที่จะให้ความรู้สึกของการที่แสงเงาต่อสู้กันเพื่อหาหนทางออกจากความมืดมิด เครื่องแต่งกายได้รับการค้นคว้าอย่างพิถีพิถันและทำขึ้นด้วยงานฝีมือโดยดีไซน์เนอร์ผู้ได้รับรางวัล อย่างมอริชิโอ มิลเลนโนติ (จากเรื่อง Hamlet, Importance of Being Earnest) กิบสันอยากให้ความรู้สึกของภาพยนตร์ออกมาในทำนองเดียวกันกับภาพวาดของ คาราวาจิโอ โดยอยู่ในโทนสีน้ำตาล สีดำและสีเบจ ถึงแม้ว่าทีมงานเจ้าหน้าที่กองถ่ายส่วนใหญ่จะหาจ้างได้ในประเทศอิตาลี (และผู้ร่วมแสดงส่วนใหญ่ก็มาจากอิตาลีหรือทางยุโรปตะวันออก) ทีมงานแต่งหน้าพิเศษและช่างผมภายใต้ความควบคุมของ คีธ แวนเดอแลนและเกรก แคนนอม (เรื่อง A Beautiful Mind, Pirates of the Caribbean) นั้นต้องนำมาจากฮอลลีวู้ด กิบสันตระหนักดีว่าเขาต้องการทีมแต่งหน้าที่ดีที่สุดในโลกเพื่อสร้างให้เห็นความขัดแย้งและความรู้สึกทิ่มแทงหัวใจที่ตัวเขาค้นหาในฉากถูกโบยตีและฉากถูกตรึงกางเขน นักแสดงอย่างเจมส์ คาวีเซลต้องอดทนและใช้เวลาถึงวันละ 7 ชั่วโมงในการแต่งหน้าเพื่อถ่ายทำฉากหลัง ๆ ของภาพยนตร์เรื่องนี้
THE PASSION OF THE CHRIST
เกี่ยวกับงานสร้าง
"ท่านทั้งหลายเป็นมิตรสหายของเรา ไม่มีผู้ใดมีความรักที่ยิ่งใหญ่กว่าชายผู้หนึ่งที่สละชีวิตของตนเพื่อมิตรสหายของตน"
กรุงโรมนั้น เป็นสถานที่แห่งประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติที่ได้ถูกตอกสลักไว้ในก้อนหินและภาพวาดตลอดเวลาที่ผ่านพ้นไปหลายศตวรรษ เมล กิบสัน ในฐานะผู้กำกับและเจ้าของรางวัลตุ๊กตาทองได้สรรค์สร้างโลกในสมัยโบราณขึ้นมาใหม่ กรุงเยรูซาเล็มในวันสุดท้ายแห่งชีวิตของพระเยซูคริสต์เพื่อสร้างภาพยนตร์ เรื่อง The Passion of The Christ โดยได้รับความร่วมมือจากทีมนักแสดงและทีมงานที่มีความมุ่งมั่นรวมทั้งช่างฝีมือหลายต่อหลายชีวิต กิบสันได้กลับไปเยือนเรื่องราวอมตะที่เกี่ยวกับความจริงที่ขัดแย้งกับความรู้สึกและอารมณ์ของความกลมกลืนของหนัง
"The Passion" (ในภาษาละตินหมายถึงความทรมานและในอีกแง่ความหมายหนึ่งคือ กิเลสและความลุ่มหลง) กล่าวถึง เหตุการณ์ของความรวดร้าวทรมานเพื่อไถ่บาปในช่วงเวลา 12 ชั่วโมงสุดท้ายของชีวิตพระเยซูคริสต์ ซึ่งมาจากการเล่าเรื่องสี่แบบจากหนังสือพระคัมภีร์ใหม่และตำนานที่เล่าขานกันมากว่า 2000 ปี จินตนาการอันแรงกล้าเกี่ยวกับเรื่อง The Passion ได้ทรงอิทธิพลกับจินตนาการของศิลปินมาเป็นเวลายาวนาน จากภาพเขียนของชนชาติตะวันตกและยังเป็นอิทธิพลให้เกิดจินตนาการในภาพยนตร์หลายต่อหลายเรื่องในศตวรรษที่ผ่านมา ในเวลาที่ไล่เลี่ยกับหนังเงียบของโทมัส เอดิสัน เรื่อง The Passion เป็นเรื่องที่ชวนสนใจสำหรับคนทำหนังที่มีความฝัน ในปี ค.ศ. 1927 ซิซิล บี เดอมิลล์ ได้กำกับหนังเงียบเรื่องแรกที่บรรยายภาพเกี่ยวกับความทรมานและการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูคริสต์จากเรื่อง King of the Kings และในปี ค.ศ. 1953 บริษัท ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ฟอกซ์ ก็ได้ริเริ่มนำเทคโนโลยีระบบซีเนมาสโคปเข้ามาใช้ในภาพยนตร์เรื่อง The Robe ซึ่งแสดงนำโดย ริชาร์ด เบอร์ตัน ซึ่งรับบทเป็นผู้ปกป้องอิสรภาพชาวโรมัน ที่แสวงหาการไถ่บาปหลังจากการตรึงไม้กางเขน และในช่วงปี ค.ศ. 1960 ได้มีการสร้างภาพยนตร์เกี่ยวกับพระคัมภีร์โดยจอร์จ สตีเว่นได้สร้างหนังที่ควรค่าแก่การจดจำ เรื่อง The Greatest Story Ever Told ซึ่งทุ่มเทให้กับฉากที่มโหฬารและใช้ผู้แสดง "นับพันคน" และในเวลาที่ใกล้เคียงกันนั่นเอง ผู้กำกับหนังชื่อดังอย่าง เปีย เปาโล ปาโสลินี ได้นำเสนอเรื่องนี้ในแนวทางใหม่ ๆ ในภาพยนตร์เรื่อง The Gospel According to St. Mathew ซึ่งใช้ผู้แสดงที่ไม่ใช่นักแสดงอาชีพทั้งหมด ด้วยรูปแบบที่เป็นธรรมชาติและภาษาที่ใช้ก็ถอดโดยตรงมาจากข้อความในพระคัมภีร์ ภาพยนตร์เรื่องนี้นับว่าเป็นผลงานที่สร้างชื่อในอาชีพการทำหนังให้กับ ปาโสลินีเลยทีเดียว ในปี ค.ศ. 1970 เรื่อง The Passion ได้ถูกนำเสนอในด้านดนตรีเป็นสองแบบ: คือ เรื่อง The Godspel และเรื่องJesus Christ Superstar และเมื่อไม่นานมานี้เอง ผู้กำกับอย่าง มาร์ติน สกอร์เซซี ก็ได้นำเสนอเรื่องชีวิตของพระเยซูคริสต์ในความขัดแย้งกับตัวเอง ในภาพยนตร์เรื่อง The Last Temptation of Christแต่อย่างไรก็ตามไม่เคยมีผู้สร้างหนังคนไหน ที่นำเรื่องเกี่ยวกับความจริงจังที่จะเสียสละชีวิตมาตีแผ่ในแง่ของภาพยนตร์อย่างละเอียดและสมจริง สำหรับตัวเมล กิบสันนั้นการสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นการสานฝันที่ยาวนานของเขา โดยได้นำความหลงใหลส่วนตัวและของคนอื่น ๆ รวมทั้งผู้ร่วมงานสร้างที่ได้รับความเชื่อถือ อย่าง บรูซ เดวีย์ และสตีฟ แมคอีวีตี้ ที่จะทำให้ฝันของเขาเป็นความจริง
"ความตั้งใจในการทำหนังเรื่องนี้ของผมนั้น คือสร้างหนังที่เป็นศิลปะอย่างยืนยง และสะท้อนให้ผู้ชมจากภูมิหลังที่แตกต่างกัน เกิดความคิดอย่างเป็นจริงเป็นจังระหว่างพวกเขา" กิบสันกล่าว เขายังเล่าอีกว่า "สิ่งที่ผมได้แต่หวังก็คือ หนังเรื่องนี้จะสามารถสื่อให้เห็นถึงความกล้าหาญ กำลังใจและความเสียสละซึ่งนอกจากจะแสดงให้เห็นความใจกว้าง ความรักและการให้อภัยอันเป็นสิ่งที่พวกเราทุกคนแสวงหากันในโลกยุคปัจจุบัน" กิบสันได้เริ่มจากการค้นคว้าเกี่ยวกับพระคัมภีร์และเหตุการณ์ที่เกี่ยวโยงจากในเรื่อง The Passion มาเป็นเวลากว่า 12 ปีแล้ว เมื่อตัวเขาพบว่าเขาเองอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งทางจิตวิญญาณของเขาเองซึ่งทำให้เขาต้องกลับไปพิจารณาความเชื่อและความศรัทธาของตัวเขาเอง เขาต้องเข้าฌานพิจารณาถึงธรรมชาติของความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน การยกโทษและการไถ่บาป กิบสันในฐานะผู้กำกับการแสดงที่ทำให้สก๊อตแลนด์ในศตวรรษที่ 13 กลับมามีชีวิตอีกครั้งในภาพยนตร์ยอดเยี่ยมรางวัลตุ๊กตาทองเรื่อง Braveheart ตระหนักว่าเขาได้มีโอกาสเป็นพิเศษที่จะนำและรวบรวมศิลปะในหัวใจของเขา เขาได้จินตนาการที่จะนำพลังเทคโนโลยีอันนำสมัยของภาพยนตร์ - โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำหนังให้สมจริงทางด้านการถ่ายภาพ การสร้างฉากและการนำแสดง มาใช้กับเรื่อง The Passion กิบสัน ได้ร่วมกับเบเนดิค ฟิทซเจอรัล ผู้เขียนบทเรื่อง Wise Blood โดยได้ดึงเอาความเชื่อในหนังสือพระคัมภีร์ของ มัทธิว มาร์ค ลูกา และยอห์น มาเป็นแนวการเขียน แต่กระนั้น กิบสันเองก็ตระหนักดีว่าเขากำลังก้าวข้ามสู่อาณาเขตศิลปะอย่างที่ไม่มีผู้ใดเคยทำมาก่อน - ที่ซึ่งงานศิลปะ การเล่าเรื่อง และความเสียสละส่วนตัว มาบรรจบกัน "เมื่อเราต้องทำงานกับเรื่องราวซึ่งรู้จักกันอย่างแพร่หลาย และมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันไปอย่างมาก สิ่งเดียวที่เราพึงกระทำก็คือคงความเป็นจริงของเรื่องไว้ให้มากที่สุด และใช้วิธีถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง" กิบสันกล่าว "นั่นคือสิ่งที่ผมพยายามจะทำ" และในการตัดสินใจที่จะเน้นหนักทางความดูสมจริงทางร่างกาย กิบสัน กล่าวต่อ "ผมต้องการแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของการเสียสละ รวมทั้งความน่ากลัวของมันด้วย แต่ผมก็ยังอยากให้หนังแสดงถึงช่วงเวลาและท่วงทำนองของความเป็นจริง ความงามรวมทั้งสัมผัสได้ถึงความรัก เพราะมันเป็นเรื่องเกี่ยวกับความศรัทธา ความหวังและความรัก และสิ่งนั้นในความคิดเห็นของผม มันเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เราจะบรรยายมันออกมาได้ " ภาพยนตร์เรื่อง The Passion of the Christ นั้น กำกับโดย เมล กิบสัน และสร้างโดย บรู๊ซ เดวีย์ กิบสัน และ สตีฟ แม๊คอีวีตี โดยมี เอนโซ่ ซิสตี้ เป็น ผู้อำนวยการบริหาร และในทีมงานผู้สร้างที่มีความสามารถนั้นยังมี คาเล็บ เดสชาเนล ผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับรางวัลตุ๊กตาทองถึง 4 ครั้ง ร่วมงานอยู่ด้วยในฐานะผู้กำกับภาพ อีกทั้งฟรานเชสโก้ ฟริเกอรี่ผู้ออกแบบฉากซึ่งได้รับรางวัล และ มอริซิโน่ มิเนโนตติ ผู้ได้รับการเสนอชื่อสองรางวัลตุ๊กตาทองฝ่ายเครื่องแต่งกาย ทีมงานสเปเชี่ยลเอฟเฟค และทีมงานแต่งหน้าของ คีธ แวนเดอแลน และเกร็ก แคนนอม (ผู้ซึ่งได้รับสองรางวัลตุ๊กตาทอง) รวมทั้ง จอห์น ไรท์ ซึ่งได้รับการเสนอชื่อรางวัลออสการ์ ถึงสองรางวัลเป็น ผู้ลำดับภาพ
(ยังมีต่อ)
-นท-
พบกับเบื้อหลังภาพยนตร์ตื่นเต้น ระทึกขวัญ สุดยิ่งใหญ่ เมื่อเด็กน้อยบังเอิญไปกระตุ้นมัน และมันกลับมาด้วยพันธุกรรมปรับแต่งใหม่ แข็งแกร่ง โหดร้าย ดุดัน พร้อมไล่ล่า ฆ่าเหยื่อ สิ่งเดียวที่อยู่ระหว่างพวกมัน และพวกเรา คือพวกเขา "The Predator" เป็นเรื่องราวเกิดขึ้นที่ จากห้วงอวกาศอันไกลโพ้น สู่ถนนเล็กๆ ในย่านชานเมือง การไล่ล่ากลับมาอีกครั้ง ในซีรีย์เพรดเดเทอร์อันโด่งดังของเชน แบล็ค และในตอนนี้ นักล่าที่อันตรายที่สุดในจักรวาลก็แข็งแกร่งขึ้น ฉลาดขึ้น และอันตรายยิ่งกว่าที่เคยเป็นมา
ประสบการณ์สุดตะลึงเหนือระดับ 3D 4DX(TM) ร่วมกับ ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ฟ็อกซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล (Twentieth Century Fox International) เตรียมเปิดตัวภาพยนตร์ “ไททานิค” ที่โรงภาพยนตร์ระบบ 4DX(TM) ทั่วโลกในวันที่ 5 เมษายน 2555 นี้ โดย 4DX(TM) ได้เสร็จสิ้นการทำงานร่วมกับ...
บริษัท เอซุสเทค คอมพิวเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำด้านนวัตกรรมไอทีระดับโลก ร่วมกับทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ฟ็อกซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล ผู้นำอุตสาหกรรมบันเทิงของโลก จัดโปรโมชั่นเอ็กซ์เมน รุ่น 1 (X...
AOC ผู้ผลิตจอมอนิเตอร์และทีวีรายใหญ่ของโลก จับมือ ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ฟ็อกซ์( อินเตอร์เนชั่นแนล ) ในฐานะ เวิลด์ไวด์ สปอนเซอร์ เปิดตัว สุดยอดหนังฟอร์มยักษ์แห่งปี X-MEN : First Class คู่กับ จอ LED มอนิเตอร์ใหม่ล่าสุด 3 รุ่นได้แก่ 43 Series , 51...