ฟิทช์ประกาศให้อันดับเครดิตภายในประเทศที่ ‘AA-(tha)’ แก้หุ้นกู้ด้อยสิทธิของธนาคารกรุงไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--11 ต.ค.--ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย)

บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ประกาศให้อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวที่ ‘AA-(tha)’ (AA ลบ (tha)) แนวโน้มมีเสถียรภาพ แก่หุ้นกู้ด้อยสิทธิของธนาคารกรุงไทย (KTB) มูลค่ารวมทั้งสิ้นไม่เกิน 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งหุ้นกู้ด้อยสิทธินี้มีอายุ 10 ปี ในขณะเดียวกัน ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประเทศอังกฤษ ได้ประกาศคงอันดับของ KTB ดังต่อไปนี้อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศของธนาคารระยะยาวที่ ‘BBB-’ (BBB ลบ) แนวโน้มมีเสถียรภาพและระยะสั้นที่ ‘F3’ อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินที่ ‘D’ อันดับเครดิตสนับสนุนที่ 2 อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศของหนี้ด้อยสิทธิที่ ‘BB+’ รวมถึงอันดับเครดิตภายในประเทศของธนาคารระยะยาวที่ ‘AA(tha)’ และระยะสั้นที่ ‘F1+(tha)’ ในขณะที่การที่ทางรัฐบาลถือหุ้นใหญ่และมีอำนาจควบคุมธนาคารมีส่วนช่วยสนับสนุนอันดับเครดิตระยะยาวของ KTB ปัจจัยเหล่านี้มีแนวโน้มที่อาจทำให้ผลการดำเนินงานของธนาคารอ่อนแอลงได้ ถ้าพิจารณาแต่พื้นฐานของธนาคารเองโดยปราศจากการสนับสนุนจากรัฐบาล ถึงแม้ว่าผลการดำเนินงานหลักของ KTB ได้ปรับตัวดีขึ้นในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา ธนาคารยังมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องในการที่จะทำให้ธุรกิจอยู่ในระดับที่แข่งขันได้และในด้านการปรับโครงสร้างองค์กร ในขณะที่การแปรรูปธนาคารบางส่วนได้ลดระดับการถือหุ้นโดยรัฐบาล แต่การที่ทางรัฐบาลยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ทำให้ KTB ยังคงต้องสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลซึ่งรวมถึงการเป็นธนาคารผู้นำในการกระตุ้นระบบเศรษฐกิจโดยปล่อยสินเชื่อในระบบมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของธนาคาร จากการที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทยมีการดำเนินการทางด้านกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดขึ้นรวมถึงการที่ให้ KTB จัดชั้นหนี้ใหม่ซึ่งส่งผลให้หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ มีจุดประสงค์เพื่อการปรับปรุงการจัดการด้านความเสี่ยงทางด้านสินเชื่อ ความรับผิดชอบในการดำเนินงานและการเปิดเผยข้อมูลของธนาคาร นอกจากนั้นทางธนาคารแห่งประเทศไทยยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาการแต่งตั้งใหม่ สำหรับตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงของ KTB ด้วย ผลการดำเนินงานในครึ่งปีแรกของปี 2547 ของ KTB แสดงให้เห็นถึงการปรับตัวที่ดีขึ้นของระดับผลกำไร โดยผลกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 6.8 พันล้านบาท จาก 1.6 พันล้านบาท ในครึ่งปีแรกของปี 2546 เนื่องมาจากต้นทุนการปล่อยสินเชื่อที่ลดลง รวมถึงกำไรพิเศษจากเงินปันผลของกองทุนวายุภักษ์และกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ อย่างไรก็ตาม อัตราการเติบโตของสินเชื่อของ KTB ในระดับ 30 % ในปี 2545 และ 2546 และ 24% ในครึ่งแรกของปี 2547 (หลังจากปรับตัวเลขให้สะท้อนถึงอัตราการเติบโตทั้งปีแล้ว) ได้ชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยงในการที่คุณภาพของสินทรัพย์อาจถดถอยลงและการสำรองหนี้สูญที่เพิ่มเติม ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อผลกำไรของธนาคารในอนาคต หลังจากปรับตัวเลขสินเชื่อของ KTB โดยไม่รวมตั๋วสัญญาใช้เงินจากรัฐบาล หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของ KTB ได้เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 15.6% ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2547 จากระดับ 11.3% ณ สิ้นปี 2546 หรือเพิ่มขึ้น 45 พันล้านบาท (หรือ 1.1 พันล้านดอลล่าร์) สู่ระดับ 129.2 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2547 ซึ่งเป็นผลมาจากเกณฑ์การจัดชั้นที่เข้มงวดขึ้นของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยที่ประมาณหนึ่งในสามของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่เพิ่มขึ้นเป็นหนี้ที่ได้ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้แล้ว ส่วนที่เหลือเป็นสินเชื่อที่ปล่อยให้กับภาคธุรกิจทั่วไป ในขณะที่การจัดชั้นสินเชื่อใหม่ยังไม่มีผลกระทบในทันทีต่อความสามารถในการทำกำไรของ KTB เนื่องจากเงินสำรองทั่วไปจำนวนประมาณ 7 พันล้านบาทได้ถูกโอนไปเป็นเงินสำรองสำหรับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ระดับการกันสำรองหนี้สูญได้ลดลงมาเหลือเพียง 47.6 % จาก 70.8% ณ สิ้นปี 2546 ซึ่งเป็นระดับที่ค่อนข้างต่ำและชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยงที่ทางธนาคารอาจต้องมีการกันสำรองเพิ่มเติม โดยหาก KTB จะเพิ่มระดับการกันสำรองหนี้สูญให้คงอยู่ในระดับเดิม (โดยที่ปัจจัยอื่นคงที่) การกันสำรองเพิ่มเติมมีแนวโน้มจะอยู่ในระดับที่สูงกว่าประมาณการกำไรก่อนหักสำรองในปี 2547 ของธนาคารและจะส่งผลให้เกิดขาดทุนสุทธิขึ้น ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2547 อัตราเงินกองทุนขั้นที่ 1 ของ KTB อยู่ที่ 7.7% ของสินทรัพย์เสี่ยง ในขณะที่อัตราเงินกองทุนทั้งหมดอยู่ที่ 8.7% ในขณะที่การฟื้นตัวของรายได้และผลกำไรน่าอาจมีส่วนช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งของเงินกองทุน แต่การกันสำรองหนี้สูญเพิ่มเติมในจำนวนมากและการเติบโตของสินทรัพย์ที่สูงอาจสร้างแรงกดดันให้กับความเพียงพอของเงินกองทุนของ KTB ในปีหน้า จากการที่ผลของเกณฑ์การจัดชั้นหนี้ใหม่ทำให้ระดับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของ KTB เพิ่มสูงขึ้นมากนั้น เป็นการเน้นถึงประเด็นความเป็นห่วงของฟิทช์ที่มีต่อบทบาทของ KTB ในการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล ความอ่อนแอของคุณภาพสินทรัพย์ และการจัดการความเสี่ยงของ KTB อย่างไรก็ตาม ฟิทช์ได้ประกาศคงอันดับเครดิตของ KTB เนื่องจากผลกระทบ ณ ปัจจุบันจากปัจจัยเหล่านี้ต่อความสามารถในการทำกำไรและเงินกองทุนของธนาคารยังไม่มีนัยสำคัญ ถึงแม้ว่าจะมีความเป็นไปได้ที่ทางธนาคารอาจจะต้องกันสำรองหนี้สูญเพิ่มขึ้นบ้าง นอกจากนี้ อันดับเครดิตระยะยาวของ KTB ยังสะท้อนถึงการที่ธนาคารมีรัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ อย่างไรก็ตาม ฟิทช์เน้นว่าหากคุณภาพสินทรัพย์ของ KTB มีการถดถอยลงซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการกันสำรองหนี้สูญความสามารถในการทำกำไรและเงินกองทุนของธนาคาร อาจมีผลกระทบต่ออันดับความแข็งแกร่งทางการเงินซึ่งวิเคราะห์ถึงความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคารโดยปราศจากแรงสนับสนุนจากรัฐบาล ในมุมมองของ ฟิทช์ การที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ KTB ใช้เกณฑ์การจัดชั้นสินเชื่อที่เข้มงวดมากขึ้นเป็นการพัฒนาในเชิงบวกสำหรับภาคธุรกิจธนาคารโดยเฉพาะถ้าพิจารณาถึงความเสี่ยงต่อระบบการเงินจากการที่ธนาคารรัฐมีนโยบายปล่อยสินเชื่อในเชิงรุกใน 3 ปีที่ผ่านมา หมายเหตุ : การจัดอันดับเครดิตภายในประเทศ (National Ratings) ใช้วัดความน่าเชื่อถือของบริษัทในประเทศที่อันดับเครดิตของรัฐบาลในประเทศนั้นอยู่ในระดับต่ำกว่า ‘AAA’ ในระดับการจัดอันดับเครดิตแบบสากล (International Ratings) อันดับเครดิตภายในประเทศจึงไม่สามารถเปรียบเทียบกับอันดับเครดิตแบบสากล เนื่องจากอันดับเครดิตของบริษัทที่ดีที่สุดของประเทศได้จัดไว้ที่ระดับ “AAA” และการจัดอันดับเครดิตอื่นในประเทศ จะเป็นการเปรียบเทียบความเสี่ยงกับบริษัทที่ดีที่สุดนี้เท่านั้น อันดับเครดิตภายในประเทศจะมีสัญลักษณ์ที่กำหนดไว้ต่อท้ายจากอันดับเครดิตสำหรับประเทศนั้นๆ เช่น “AAA(tha)” ในกรณีของประเทศไทย ส่วนอันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน (Individual Ratings) วิเคราะห์ถึงสถานะทางการเงินของธนาคารเมื่อไม่มีปัจจัยช่วยเหลือภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้อง อันดับเครดิตสนับสนุน (Support Ratings) วิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ในการที่ทางธนาคารจะได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นหรือจากรัฐบาล ถ้าทางธนาคารประสบปัญหา อันดับเครดิตนี้ไม่ใช่อันดับเครดิตของหนี้แต่เป็นอันดับของความแข็งแกร่งของสถานะการเงินของธนาคารและระดับการสนับสนุนจากภายนอกซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีให้ทางธนาคารก็ได้ ติดต่อ ชัยพัฒน์ ไพฑูรย์, Vincent Milton, กรุงเทพฯ +662 655 4762/4759 David Marshall, ฮ่องกง+852 2263 9963-จบ-- --อินโฟเควสท์ (นท)--

ข่าวฟิทช์ เรทติ้งส์+ธนาคารกรุงไทยวันนี้

BAFS เตรียมเสนอขายหุ้นกู้ชุดใหม่ ชูดอกเบี้ย 4.75 - 5.10% ต่อปี คาดเปิดจองซื้อแก่ "สถาบัน-รายใหญ่" วันที่ 9 - 14 พ.ค. นี้ รองรับการขยายตัวธุรกิจในอนาคต

BAFS เตรียมออกหุ้นกู้ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ อายุ 3 ปี 9 เดือน อัตราดอกเบี้ยคงที่ [ 4.75 5.10 ] % ต่อปี กำหนดชำระดอกเบี้ยทุก 6 เดือนตลอดอายุหุ้นกู้ ด้วยอันดับความน่าเชื่อถือ "BBB (tha)" จาก ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) เตรียมเสนอขายผู้ลงทุนสถาบัน นักลงทุนรายใหญ่ คาดจองซื้อระหว่างวันที่ 9 และ 13 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 ผ่านสถาบันการเงินชั้นนำ ได้แก่ บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย), บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส และ บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี ม.ล. ณัฐสิทธิ์ ดิศกุล

ฟิทช์คงอันดับเครดิตของ บล. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ที่ 'AA(tha)' แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว (National Long-Term Rating) ของบริษัทหลักทรัพย์ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LHS ที่ 'AA(tha)' และอันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น ...

ฟิทช์ประกาศคงอันดับเครดิตของ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส และ บจก.แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค ในเครดิตพินิจแนวโน้มเป็นลบ

ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศคงเครดิตพินิจแนวโน้มเป็นลบ (Rating Watch Negative; RWN) ของอันดับเครดิต บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (AIS) และบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ท...