แพลตฟอร์มและเทคโนโลยีอินเทล ผลักดันให้ระบบเอนเตอร์ไพรซ์ก้าวหน้ายิ่งขึ้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--3 มี.ค.--คาร์ล บายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์

แพท เกลซิงเกอร์ รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป กลุ่มดิจิตอลเอ็นเตอร์ไพรซ์ ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจล่าสุดที่อินเทล คอร์ปอเรชั่น จัดตั้งขึ้นใหม่ เปิดเผยว่า อนาคตของระบบเอนเตอร์ไพรซ์ จะประกอบด้วยแพลตฟอร์มด้านการประมวลผลและการสื่อสาร รวมทั้งเทคโนโลยีซิลิคอนและซอฟต์แวร์ แนวทางนี้ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อช่วยให้ธุรกิจต่างๆ ใช้แพลตฟอร์มการประมวลผลในรูปแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม พร้อมทั้งช่วยลดค่าใช้จ่าย ลดอัตราความเสี่ยง และช่วยทำให้ธุรกิจเติบโตขึ้น เกลซิงเกอร์ กล่าวว่า "ในปัจจุบัน ธุรกิจต้องเผชิญกับความท้าทายต่างๆ ที่ยากกว่าเดิมมากขึ้น อาทิ การดูแลจัดการพนักงานทั่วโลกที่ทำงานแบบโมบายล์ การเจาะระบบซอฟต์แวร์ ข้อมูลซับซ้อนที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก และระบบเครือข่ายที่มีอุปกรณ์สื่อสารและประมวลผลเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม ดังนั้น แพลตฟอร์มและเทคโนโลยีใหม่ๆ จะช่วยให้บริษัทต่างๆ ทำธุรกิจโต้ตอบกันได้ในทันที ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนหรือเวลาใดก็ตาม นอกจากนี้ ยังจะช่วยปรับปรุงวิธีการบริหารธุรกิจให้ดีขึ้น ปกป้องโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรได้ดีขึ้น ตลอดจนช่วยให้การตัดสินใจและการทำงานร่วมกันดีขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย อินเทลยังคงทำงานร่วมกับบริษัทรายใหญ่ๆ ในอุตสาหกรรมนี้ต่อไป เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ใช้จะได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มใหม่ๆ อย่างเต็มที่ จิม ออลชิน รองประธานอาวุโส กลุ่มแพลตฟอร์มของไมโครซอฟท์ ได้กล่าวบรรยายในงานไอดีเอฟ ร่วมกับเกลงซิงเกอร์ ออลชินได้พูดถึงความร่วมมือของทั้งสองบริษัทในการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ออกสู่ตลาด โดยออลชินได้อธิบายว่า "ไมโครซอฟท์ได้ร่วมมือกับอินเทลเพื่อสร้างแนวทางการนำเอาระบบประมวลผลแบบ 64 บิตมาสู่ตลาดในวงกว้าง ระบบที่ใช้อินเทล ไอเทเนียม โปรเซสเซอร์ และติดตั้งด้วย Windows* Server 2003 และ SQL Server* 2000 จัดเป็นแพลตฟอร์มชั้นยอดที่ไมโครซอฟท์และอินเทลนำเสนอเพื่อใช้แทนระบบ RISC แบบเดิม ซึ่งมีลักษณะเฉพาะและมีราคาแพง โดยระบบใหม่ดังกล่าวเหมาะอย่างยิ่งสำหรับระบบดาต้าเบสและแอพพลิเคชั่นธุรกิจที่ต้องการพลังการประมวลผลสูงเป็นพิเศษ และเมื่อไมโครซอฟท์เปิดตัว Windows x64 Editions ในอีกไม่กี่เดือนนับจากนี้ ลูกค้าและพันธมิตรก็จะสามารถใช้ระบบที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิมบนแพลตฟอร์มแบบ 64 บิตร่วมกับระบบ 32 บิตที่มีอยู่ในปัจจุบันได้" เกลซิงเกอร์ ยังได้กล่าวถึง กฎของมัวร์ ว่าจะยังคงเป็นตัวผลักดันให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ สำหรับเอนเตอร์ไพรซ์ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิม และช่วยให้อินเทลนำนวัตกรรมต่างๆ มาผสานไว้ในตัวชิปเพื่อให้มีความสามารถเพิ่มขึ้น ตั้งแต่ด้านการจัดการ การประหยัดพลังงาน ประสิทธิภาพการทำงานและการักษาความปลอดภัยที่สูงขึ้น คุณสมบัติเหล่านี้ประกอบด้วยแพลตฟอร์มแบบมัลติคอร์ การเพิ่มคุณสมบัติใหม่ๆ ไว้ในชิปอินเทล เช่น เวอร์ชวลไลเซชั่น วิธีการทำให้ระบบเครือข่ายเซิร์ฟเวอร์ทำงานได้เร็วขึ้น การอ้างอิงแอดเดรสเมมโมรี่แบบ 64 บิตและเทคโนโลยีหน่วยความจำชนิดใหม่ที่จะมีการเปิดตัวในเร็วๆ นี้ เป็นต้น เทคโนโลยีระดับสูงของอินเทลจะช่วยให้ผู้ใช้ที่เป็นนักธุรกิจและผู้จัดการแผนกไอทีได้รับประโยชน์ในด้านอื่นๆ จากระบบเอนเตอร์ไพรซ์มากขึ้นนอกเหนือจากความเร็วของโปรเซสเซอร์ เกลซิงเกอร์ ได้กล่าวถึงเทคโนโลยี Intel? I/O Acceleration Technology ที่ช่วยเพิ่มความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลระหว่าง แอพพลิเคชั่นในเซิร์ฟเวอร์และระบบเครือข่าย และยังได้พูดถึงรายละเอียดของเทคโนโลยี Intel? Active Management Technology ซึ่งจะช่วยให้ผู้จัดการแผนกไอทีสามารถใช้แอพพลิเคชั่นด้านการจัดการและการรักษาความปลอดภัยตรวจค้นปัญหาและแก้ไขปัญหาต่างๆ จากอีกที่หนึ่งแบบรีโมตได้ เกลซิงเกอร์ ยังได้กล่าวอีกว่า หลายบริษัท เช่น Hitachi, Novell, Red Hat, VMWare และ XenSource ต่างให้การสนับสนุนเทคโนโลยี Intel? Virtualization Technology (ชื่อรหัสเดิมว่า Vanderpool) อย่างกว้างขวาง โดยเทคโนโลยีดังกล่าวนี้ช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถใช้ระบบปฏิบัติการและแอพพลิเคชั่นหลายชนิดพร้อมกันได้ โดยแบ่งการทำงานออกเป็นพาร์ทิชั่นแยกอิสระจากกัน หรือที่เรียกว่ามี "คอนเทนเนอร์" เฉพาะเป็นของตัวเอง ในปี 2548 นี้ เทคโนโลยีดังกล่าวจะมีอยู่ในเดสก์ท้อปที่ใช้ โปรเซสเซอร์อินเทล และเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้อินเทล ไอเทเนียม โปรเซสเซอร์ ที่มีชื่อรหัสว่า Montecito ซึ่งเป็นโปรเซสเซอร์สมรรถนะสูงที่ประกอบด้วยคอร์สองคอร์ในโปรเซสเซอร์เพียงตัวเดียวและมีคุณสมบัติการทำงานหลายๆ งานได้พร้อมกัน (มัลติเธรดดิ้ง) จึงทำให้สามารถประมวลผลคำสั่งได้สูงสุด 4 ชุดพร้อมกัน ทั้งนี้ อินเทลเตรียมที่จะนำเทคโนโลยี Intel Virtualization Technology มาใส่ไว้ในอินเทล? ซีออน? โปรเซสเซอร์ อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ เอ็มพี และแพลตฟอร์มที่ใช้โมบายล์โปรเซสเซอร์ของอินเทล ภายในปี 2549 โครงการเกี่ยวกับโปรเซสเซอร์มัลติคอร์สำหรับเอนเตอร์ไพรซ์ที่อินเทลดำเนินการอยู่ พีซีและเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้สถาปัตยกรรมอินเทลที่จะมีออกมาในอนาคต จะใช้โปรเซสเซอร์แบบดูอัลคอร์และมัลติคอร์ และจะสนับสนุนเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งรวมถึง I/O ที่เร็วขึ้น เทคโนโลยีเวอร์ชวลไลเซชั่น ระบบรักษาความปลอดภัย และเทคโนโลยีหน่วยความจำที่ก้าวหน้ากว่าเดิม แพลตฟอร์มซึ่งขณะนี้ใช้ชื่อรหัสว่า Richford จะประกอบด้วยอินเทล ไอเทเนียม โปรเซสเซอร์ ที่ใช้ชื่อรหัสว่า Tukwila จำนวน 2 ตัว และมีกำหนดเปิดตัวในปี 2550 ตามด้วยอินเทล ไอเทเนียม รุ่นถัดไปที่ใช้ชื่อรหัสว่า Poulson อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ เอ็มพี แบบดูอัลคอร์ ตัวแรกซึ่งใช้ชื่อรหัสว่า Paxville มีกำหนดเปิดตัวภายในไตรมาสแรกของปี 2549 โดยอินเทลจะเริ่มโครงการจัดส่งผลิตภัณฑ์ให้แก่ธุรกิจและนักพัฒนาซอฟต์แวร์ต่างๆ ได้ทดลองใช้ในราวปลายปีนี้ แพลตฟอร์มที่มีชื่อรหัสว่า Reidland สามารถรองรับ อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ เอ็มพี ตั้งแต่สองคอร์ขึ้นไป โดยโปรเซสเซอร์รุ่นนี้ใช้ชื่อรหัสว่า Whitefield และมีกำหนดเปิดตัวในปี 2550 สำหรับอินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ เอ็มพี เป็นโปรเซสเซอร์สำหรับเซิร์ฟเวอร์ที่สามารถใส่ได้ตั้งแต่สี่ตัวขึ้นไป ส่วนแพลตฟอร์มที่ใช้ชื่อรหัสว่า Bensley ที่ออกแบบมาสำหรับเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้โปรเซสเซอร์คู่และรองรับการทำงานในปริมาณมากๆ จะเปิดตัวภายในไตรมาสแรกของปี 2549 โดยแพลตฟอร์มนี้จะใช้อินเทล ซีออน โปรเซสเซอร์ แบบดูอัลคอร์ ซึ่งมีชื่อรหัสว่า Dempsey นอกจากนั้น อินเทลยังจะใช้ Dempsey ในแพลตฟอร์มที่มีชื่อรหัสว่า Glidewell สำหรับเวิร์กสเตชั่นระดับไฮเอนด์อีกด้วย สำหรับทางด้านดิจิตอลออฟฟิศนั้น อินเทลได้เตรียมนำแพลตฟอร์มที่มีชื่อรหัสว่า Lyndon มาเปิดตัวในราวปลายปี 2548 นี้ โดยจะเป็นแพลตฟอร์มที่ประกอบด้วยชิปเซ็ตในตระกูล Intel 945/955 และ อินเทล เพนเทียม โฟร์ โปรเซสเซอร์ กลุ่ม 5xx 6xx รวมทั้งอินเทล เพนเทียม ดี โปรเซสเซอร์ (Intel Pentium D Processor) แบบดูอัลคอร์ ที่ใช้ชื่อรหัสว่า Smithfield อีกด้วย แพลตฟอร์ม Lyndon จะสนับสนุนทั้งเทคโนโลยี Intel Active Management และ Intel Virtualization Technology ด้วย ระบบสื่อสารมีบทบาทสำคัญอย่าง เกลซิงเกอร์ ยังได้กล่าวว่า "นวัตกรรมในส่วนของไคล์เอนด์และเซิร์ฟเวอร์ เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เราพูดถึงเท่านั้น เมื่ออุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคมเลิกใช้ระบบที่มีลักษณะเฉพาะตัวและมีราคาแพง ระบบเครือข่ายจะมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบที่มีราคาถูกลง ใช้โครงสร้างระบบที่เป็นมาตรฐาน โปรโตคอล และเฟรมเวิร์กแอพพลิเคชั่น" ในปี 2547 ที่ผ่านมา มีบริษัทจำนวนมากให้การสนับสนุนการเปลี่ยนไปใช้แพลตฟอร์มโมดูลแบบ มาตรฐานกันมากขึ้น ผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่ายและผู้ให้บริการชั้นนำซึ่งสนับสนุนมาตรฐาน AdvancedTCA* ได้แก่ Alcatel, Alcatel Shanghai Bell, Fujitsu, Fujitsu Siemens Corporations, Korea Telecom, HP, Huawei Technologies, NEC, Nortel, Siemens และ UT Starcom เป็นต้น เทคโนโลยีระดับสูงหลายชนิดของอินเทล และโปรเซสเซอร์แบบมัลติคอร์รุ่นต่างๆ เหมาะสำหรับนำมาใช้เป็นโครงสร้างพื้นฐานของอุปกรณ์ด้านการสื่อสารต่างๆ โดยที่แพลตฟอร์มแบบโมดูล มักจะมีอัตราการใช้พลังงานที่ตายตัวต่อเบลดแต่ละชุด ส่วนโปรเซสเซอร์แบบมัลติคอร์จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงขึ้นอย่างมาก โดยไม่มีการเพิ่มอัตราการใช้พลังงานแต่อย่างใด รายละเอียดเกี่ยวกับงานไอดีเอฟ อินเทล ดิเวลล็อปเปอร์ ฟอรัม (ไอดีเอฟ) เป็นงานแสดงด้านเทคโนโลยีประจำปีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดงานหนึ่งในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ซึ่งจัดขึ้นสำหรับนักพัฒนาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์โดยเฉพาะ งานไอดีเอฟ เป็นเวทีที่บริษัทชั้นนำในวงการมารวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ล่าสุดที่เกี่ยวข้องกับพีซี เซิร์ฟเวอร์ อุปกรณ์ติดต่อสื่อสาร และอุปกรณ์พกพาต่างๆ ผู้สนใจสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานไอดีเอฟ และเทคโนโลยีต่างๆ ของอินเทลได้ที่ http://developer.intel.com อินเทลเป็นผู้ผลิตชิปรายใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้นำในการผลิตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ระบบ เครือข่าย และอุปกรณ์สื่อสาร ผู้สนใจสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัทอินเทล ได้ที่เว็บไซต์ http://www.intel.com/pressroom * Intel และ Pentium เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของอินเทล คอร์ปอเรชั่น หรือสำนักงานสาขาทั้งในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ขอสงวนสิทธิ์ ชื่อและยี่ห้ออื่นอาจถูกอ้างอิงถึงโดยถือเป็นทรัพย์สินของชื่อยี่ห้อนั้นๆ ติดต่อ: คุณเพชราภรณ์ เจริญนิพนธ์วานิช คุณกรรภิรมย์ อึ้งภากรณ์ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท คาร์ล บายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์ โทรศัพท์: (66 2) 654-0654 โทรศัพท์: (66 2) 627-3501 e-Mail: [email protected] e-Mail: [email protected]จบ--

ข่าวแพท เกลซิงเกอร์+คอร์ปอเรชั่นวันนี้

IN2IT ปังอย่างต่อเนื่อง รับ 2 รางวัล THE BEST OF DAILY BEAUTY 2025 ผลิตภัณฑ์ขายดีประจำปี BY DAILINEWS

บริษัท เอเซียแปซิฟิค คอสเมติกส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้จัดจำหน่ายเครื่องสำอางแบรนด์ IN2IT (อินทูอิท) ในประเทศไทย เครื่องสำอางที่แต่งเติมสีสัน ให้ลุคสวยดูดี อาทิ ไพร์เมอร์ อายไลน์เนอร์ แป้งตลับ แป้งฝุ่น คุชชั่น ลิปสติก บลัชออน อายแชโดว์ และผลิตภัณฑ์เตรียมผิวก่อนการแต่งหน้าอื่น ๆ อีกมากมาย เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2568 ที่ผ่านมา IN2IT (อินทูอิท) ได้รับ 2 รางวัล จากงาน THE BEST OF DAILY BEAUTY 2025 BY DAILINEWS ซึ่งเป็นรางวัลผลิตภัณฑ์ขายดีประจำปี อันได้แก่ ผลิตภัณฑ์ IN2IT PRIMER ได้รับรางวัล Best

บริษัท เมโทรซิสเต็มส์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (... MSC ร่วมกับ IBM จัดสัมมนา Build Future-Ready Business AI-Infused Hybrid By Design" — บริษัท เมโทรซิสเต็มส์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ MSC โดย กลุ่มธุร...

บริษัท เคซีจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ... KCG ติดอันดับหลักทรัพย์ ESG100 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 — บริษัท เคซีจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (KCG) ผู้นำด้านผลิตภัณฑ์อาหารตะวันตกเพื่อโมเดิร์นไลฟ์สไตล์...

วีเอ็มแวร์เปิดตัว vCloud Hybrid Service

บริการใหม่ IaaS ขยายดาต้าเซ็นเตอร์ที่มีอยู่สู่ระบบคลาวด์สาธารณะ (พับบลิค คลาวด์) นำเสนอวิธีในการเข้าถึงระบบคลาวด์สำหรับลูกค้าวีเอ็มแวร์ได้อย่างสะดวกรวดเร็วที่สุด มร.แพท เกลซิงเกอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของวีเอ็มแวร์ ได้ประกาศเปิดตัว VMware vCloud Hybrid...

อินเทลจุดพลังเทอร์โบให้โปรเซสเซอร์แบรนด์ คอร์? รุ่นใหม่

อินเทล ดิเวลลอปเปอร์ ฟอรัม, ซานฟรานซิสโก, 20 สิงหาคม 2551 – วันนี้ นายแพท เกลซิงเกอร์ รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไปกลุ่มดิจิตอลเอ็นเตอร์ไพรซ์ ของ อินเทล คอร์ปอเรชัน ได้กล่าวถึงโร้ดแม็ปของอินเทลที่มุ่งพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อคอมพิวเตอร์ที่...