“ส.ไม้ยางพาราไทย” แนะใช้ไม้ยางฯ ทดแทนไม้อื่นก่อนตลาดขาดแคลน ขานรับงาน Tiff 2005 คึกคัก หวังดันยอดขายในประเทศสูงขึ้นจากปีก่อน

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--25 ก.พ.--อินดัสเทรียล ดีไซน์

ผู้ประกอบการไม้ยางพาราไทยแนะควรนำศักยภาพไม้ยางฯ มาใช้ทดแทนไม้ประเภทอื่นก่อนตลาดขาดแคลน และเน้นคุณค่าต่อสิ่งแวดล้อม เตรียมตัวคึกคักร่วมงาน Tiff 2005 หวังกระตุ้นยอดขายในประเทศสูงขึ้นจากปีก่อน เปิดตัวเลขส่งออกปีที่แล้ว ทำรายได้ให้ประเทศกว่า 137.605 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่า 18% เชื่ออนาคตการส่งออกสดใส ต้องสร้างแบรนด์ไม้ยางฯ เทียบชั้นไม้สัก ชี้เทรนด์ใหม่ตลาด ใช้ Chemical Board ผสมกับวัสดุอื่นๆ นายวิทยา งานทวี นายกสมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทย เปิดเผยว่า ความสำคัญของงาน Thailand International Furniture Fair หรือ Tiff ที่กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ได้จัดขึ้นในปีที่ผ่านมา ได้ส่งผลดีต่อสมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทยอย่างมาก โดยเป็นการให้ความสำคัญในศักยภาพไม้ยางพาราในเชิงการใช้ในลักษณะของเฟอร์นิเจอร์ อย่างไรก็ดีไม้ยางพารายังมีศักยภาพที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ ได้อีกมาก อาทิเช่น การนำไปใช้ในส่วนของวัสดุก่อสร้าง การใช้ทดแทนไม้อื่นๆ นอกจากนี้ยังควรเน้นถึงคุณค่าของไม้ยางพาราต่อสิ่งแวดล้อม คุณภาพและศักยภาพของไม้ยางพาราที่เทียบเคียงกับไม้อื่น ๆ โดยเฉพาะความเป็นไม้จริง ไม่ใช่ไม้เคมี สำหรับการเข้าร่วมงาน Tiff ที่ผ่านมาของสมาคมฯ และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องในธุรกิจไม้ยางพาราไทยนั้น นับว่าได้รับความสำเร็จด้วยดีส่งผลต่อยอดขายภายในประเทศอย่างมาก เนื่องจากสินค้าส่วนใหญ่เป็นเฟอร์นิเจอร์ในเชิง OEM ( รับจ้างผลิต ) ซึ่งในการร่วมงานครั้งนี้ สมาคมฯยังคงเป็นลักษณะแนวร่วม เพราะเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนสนับสนุนผู้ออกงาน จึงไม่สามารถคาดการณ์ยอดรายได้อย่างชัดเจน เพราะต้องจับตาดูภาวะเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งตัวอย่างรวดเร็ว งานแสดงสินค้าเฟอร์นิเจอร์ได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 9 ใช้ชื่องาน Thailand International Furniture Fair 2005 หรือ Tiff 2005 ระหว่างวันที่ 4-8 มีนาคม ศกนี้ ภายใต้คอนเซ็ปท์ “Color Your Life” โดยเป็นงานที่มีความสำคัญมากต่ออุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไทยและธุรกิจไม้ยางพาราไทย เพราะมีส่วนช่วยเหลือด้านการตลาดและการซื้อขายให้กับผู้ประกอบการไทยได้เป็นอย่างดี ซึ่งผู้ประกอบการต่างๆ ที่จะเข้าไปร่วมงาน Tiff จะต้องมีการพัฒนาและแสดงให้เห็นถึงศักยภาพและสินค้าของตนเอง อีกทั้งพัฒนาระบบการตลาดและการขายให้เป็นระดับสากลมากขึ้น เพื่อให้สามารถแข่งขันกับตลาดต่างประเทศได้ สำหรับมูลค่าการส่งออกของธุรกิจไม้ยางพาราในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา พบว่า ในปี 2545 มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้นประมาณ 74.603 ล้านบาท อัตราการขยายตัวร้อยละ 27.1 ในปี 2546 มีมูลค่าส่งออก ทั้งสิ้นประมาณ 115.796 ล้านบาท อัตราการขยายตัวร้อยละ 55.2 และในปี 2547 มีมูลค่าส่งออกทั้งสิ้นประมาณ 137.605 ล้านบาท อัตราการขยายตัวร้อยละ 18.8 นายวิทยากล่าวถึงภาพรวมของอุตสาหกรรมไม้ยางพาราไทยในปัจจุบันว่า จะเป็นการผลิตเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนเป็นหลัก จากอดีตที่ผ่านมาที่มีการใช้ไม้ยางพารา Solid Wood ในส่วนผสมของเฟอร์นิเจอร์ ไม้ถึง 7% แต่ได้เปลี่ยนเทรนด์มาใช้ประเภท Chemical Board หรือการผสมกับวัสดุอื่นๆ ซึ่งทำให้การใช้วัตถุดิบไม้ยางพาราในสัดส่วนเพิ่มขึ้นประมาณ 30-40 % ของตัวสินค้า “ แม้ภาพรวมการส่งออกยังอยู่ในระดับสูง แต่ภาวะการแข่งขันก็สูงมากเช่นเดียวกันตลาดไม้ยางพาราในอนาคตจะต้องเน้นการใช้ศักยภาพของไม้ให้ได้มากที่สุดโดยเฉพาะในด้านการก่อสร้าง นอกจากจะเน้นในการผลิตเฟอร์นิเจอร์เป็นหลักแล้ว จะต้องสร้างแบรนด์ไม้ยางพาราให้เทียบเคียงกับไม้สัก ควรมีการวางแผนการจัดการที่ชัดเจนทั้งระบบ ทั้งในส่วนของการขยายพื้นที่ปลูกและตัดโค่นของสวนยางพาราที่จะเพิ่มพื้นที่อีกหลายล้านไร่ การวิจัยพัฒนาการกรีดยางโดยไม่ทำให้เนื้อไม้เสียและพันธุ์โตเร็วเพื่อสร้างเนื้อไม้ที่มีคุณภาพ และควรสร้างแบรนด์ไม้ยางพาราให้เป็นที่ยอมรับ มิใช่เป็นไม้ที่มีราคาถูก แต่เป็นไม้วิเศษที่มีคุณค่ามหาศาล” นายวิทยากล่าวทิ้งท้าย รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ บริษัท อินดัสเทรียล ดีไซน์ เน็ทเวิร์ค จำกัด โทร 02 – 203 0522--จบ--

ข่าวสมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทย+สมาคมธุรกิจไม้วันนี้

ภาพข่าว: สมาคมยางเข้าพบ

นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อนุญาตให้ สมาคมยางพาราไทย สมาคมน้ำยางข้นไทย สมาคมผู้ผลิตถุงมือยางแห่งประเทศไทย สมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทย เข้าพบเพื่อหารือแนวทางการพัฒนายางพารา ณ ห้องประชุม 123 กระทรวงเกษตร

สวทช. จัดอบรม “การเพิ่มศักยภาพในอุตสาหกรรมไม้ด้วยเทคโนโลยีสะอาด” ภาคเหนือ

โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (ITAP) ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องเรือนไทย สมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทย และภาควิชาวนผลิตภัณฑ์...

สวทช. จัดอบรม กลุ่มผู้ประกอบการไม้ ภาคกลาง

โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (ITAP) ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องเรือนไทย สมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทย และภาควิชาวนผลิตภัณฑ์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัย...

สวทช. จัดอบรม “การเพิ่มศักยภาพในอุตสาหกรรมไม้ด้วยเทคโนโลยีสะอาด” 4 ภูมิภาค

โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (ITAP) ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องเรือนไทย สมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทย และภาควิชาวนผลิตภัณฑ์...

สวทช.ร่วมกับภาคเอกชน เปิดตัวระบบคุณภาพ‘Best Practice : มาตรฐานผลิตภัณฑ์ไม้ยางพาราแปรรูปไทย’

สวทช. ร่วมกับ สมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทย สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องเรือนไทย และม.เกษตรศาสตร์ เปิดตัว ‘ Best Practice ของอุตสาหกรรมแปรรูปไม้ยางพาราไทย’ เพื่อสร้างมาตรฐานในการผลิตไม้ยางพาราแปรรูปที่มีคุณภาพ เทียบ...

สวทช. ขอเชิญสื่อมวลชนร่วมงาน Grand Opening “คุณพร้อมหรือยัง...กับการเป็น Best Practice ของไม้ยางพาราแปรรูปไทย”

โครงการ ITAP ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี สวทช. ขอเรียนเชิญสื่อมวลชนเข้าร่วมงาน Grand Opening “คุณพร้อมหรือยัง...กับการเป็น Best Practice ของไม้ยางพาราแปรรูปไทย” โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโน...

สวทช. จัดงาน Grand Openning “Best Practice ของไม้ยางพาราแปรรูปไทย”

โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (ITAP) ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องเรือนไทย สมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทย และภาควิชาวนผลิตภัณฑ์...

สวทช. จัดประชาสัมพันธ์อบรมโครงการ “Best Practice ของไม้ยางพาราแปรรูปไทย”

โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (ITAP) ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องเรือนไทย สมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทย และภาควิชาวนผลิตภัณฑ์...