SIFE ในประเทศไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--15 ก.พ.--ธอมสัน พับบลิค รีเลชั่นส์

SIFE ประเทศไทย - สำนักงานใหญ่ของ SIFE ช่วยเหลือในการจัดการระบบบริหารของ SIFE ในระดับประเทศ เช่น SIFE ประเทศไทย - SIFE ประเทศไทยรวบรวมกลุ่มนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ - SIFE ประเทศไทยก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2547 โดยมีกลุ่มเคพีเอ็มจีภูมิไชยเป็นผู้สนับสนุนหลัก หลักเกณฑ์ของ SIFE - ผู้เข้าร่วมการแข่งขันต้องเป็นนิสิตนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย - แต่ละกลุ่มต้องนำโดยอาจารย์ที่ปรึกษาจากคณะอย่างน้อยจำนวน 1 ท่าน - แต่ละวิทยาลัยและ มหาวิทยาลัยสามารถส่งตัวแทนได้เพียง 1 กลุ่มเท่านั้น - ไม่มีข้อบังคับในการจัดการภายในกลุ่ม เช่น สมาชิกจะเป็นใคร โครงสร้างของกลุ่มจะเป็นอย่างไร หรือควรจะประชุมกันบ่อยขนาดไหน - แต่ละกลุ่มมีอิสระในการเลือกหัวข้อโครงการ จำนวนโครงการ และกลุ่มเป้าหมายของโครงการ - ทุกทีมต้องรับผิดชอบในการจัดหาทุนเพื่อใช้ในการดำเนินงาน ภาพรวมของ SIFE ทีมนักศึกษาของ SIFE สร้างสรรค์และดำเนินโครงการศึกษา (Educational Project) ที่มุ่งให้ความรู้เรื่องต่างๆแก่สมาชิกในชุมชนให้เกิดความเข้าใจในหัวข้อดังต่อไปนี้ - เศรษฐกิจการตลาด - การก่อตั้งธุรกิจรายย่อย - ทักษะการบริหารเงิน - จรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจ โครงการที่นำเสนอควรมีองค์ประกอบ 2 อย่าง ดังนี้ - การให้ความรู้โดยตรง – สมาชิกของกลุ่มหรืออาสาสมัครให้ความรู้โดยตรงแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ ยกตัวอย่างเช่น การจัดสัมมนาสอนการใช้คอมพิวเตอร์ - สร้างประสบการณ์การเรียนรู้ - ผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนาความรู้ความเข้าใจที่ลึกขึ้นในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งของหัวข้อการศึกษาของ SIFE ยกตัวอย่างเช่น เกมการศึกษาที่ผู้เข้าร่วมสามารถทำได้ในระหว่างเวลาว่างของตนเอง การประเมินความสำเร็จ/ ผลลัพธ์ของโครงการ - การประเมินเชิงคุณภาพ (Qualitative measurement) – การประเมินประสบการณ์ด้วยการพบปะโดยตรงกับผู้เข้าร่วมโครงการ ยกตัวอย่างเช่น สัมภาษณ์ การพูดสนับสนุน ฯลฯ - การประเมินเชิงปริมาณ (Quantitative measurement) - ประเมินประสบการณ์จากค่าที่นับได้ เปรียบเทียบได้และประเมินค่าได้ ยกตัวอย่างเช่น ทำการสำรวจทั้งก่อนและหลังโครงการ สถิติการบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ข้อมูลการตัดสิน ขั้นตอนการแข่งขัน การเขียนรายงานประจำปี ทีมเข้าแข่งขันแต่ละทีมจะต้องเขียนรายงานประจำปีเกี่ยวกับกิจกรรมและการสอนแก่ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล รายงานดังกล่าวต้องมีความยาวไม่เกิน 4 หน้ากระดาษ A4 หรือขนาด 8.5 x 11 นิ้ว (หรือ 2 แผ่น ถ้าเป็นด้านหน้าและด้านหลัง) หากกลุ่มไหนมีปกหน้าและปกหลังจะนับเป็นส่วนหนึ่งของสี่หน้าด้วย การนำเสนอโครงการแบบสด แต่ละกลุ่มที่เข้าแข่งขันจะมีเวลา 37 นาทีในการนำเสนอโครงการทั้งในรูปแบบภาพและเสียงให้คณะกรรมการฟัง การจับเวลาจะเริ่มหลังจากทีมผู้รายงานได้แนะนำตัวเป็นทางการ การจัดเตรียมสถานที่ นักศึกษาจะมีเวลา 7 นาทีในการเตรียมตัวและจัดอุปกรณ์ประกอบการนำเสนอ (เปิดคอมพิวเตอร์ ตรวจสอบไฟ ฯลฯ) นอกจากนั้นระหว่างการเตรียมสถานที่ กลุ่มจะแจกสำเนารายงานประจำปี ซึ่งแต่ละกลุ่มควรที่จะอ่านเอกสารก่อนการบรรยาย การนำเสนอ ทุกกลุ่มจะมีเวลา 24 นาทีในการนำเสนอทั้งภาพและเสียงโดยไม่บังคับว่าต้องใช้เวลาให้ถึง 24 นาที แต่หากใช้เวลาเกิน 24 นาที พวกเขาจะถูกบอกให้หยุด ระหว่างการบรรยาย คณะกรรมการจะประเมินผลลงในใบประเมินผล ตามหลักเกณฑ์ตัดสินการแข่งขัน ช่วงถาม-ตอบ กรรมการจะมีเวลา 5 นาทีในการถามคำถามหลังจากการนำเสนอ กลุ่มที่ใช้เวลาไม่ถึง 24 นาทีจะได้ต่อเวลาในช่วงถามตอบ ยกตัวอย่างเช่น หากการนำเสนอด้วยภาพและเสียงจบในระยะเวลา 20 นาที ช่วงเวลาตอบคำถามจะเพิ่มขึ้นเป็น 9 นาที กรรมการจะไม่ได้รับอนุญาตให้ถามคำถามเกินเวลาที่กำหนด อย่างไรก็ตามถ้ากรรมการถามคำถามเสร็จก่อนหมดเวลา กลุ่มผู้เข้าแข่งขันสามารถจบการนำเสนอก่อนเวลาได้ ช่วงจบการรายงาน แต่ละกลุ่มจะมีเวลา 1 นาทีในการเก็บอุปกรณ์ และห้องให้กลับสู่สภาพเดิมและออกจากห้อง เกณฑ์การตัดสิน ผู้เข้าร่วมการแข่งขันมีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพอย่างไร: 1. ตลาดการค้าเสรีมีบทบาทอย่างไรในระบบเศรษฐกิจโลก -- 20 คะแนน 2. นักธุรกิจรายย่อยที่ประสบความสำเร็จ ทำอย่างไรในการระบุความต้องการของตลาดจากนั้นผลิตและทำการตลาดผลิตภัณฑ์หรือบริการเพื่อตอบสนองความต้องการ ดังกล่าว -- 20 คะแนน 3. ความรู้ความเข้าใจในการประกอบธุรกิจ ทักษะการสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีและการบริหารทางการเงิน เพื่อประสบความสำเร็จในการแข่งขัน -- 20 คะแนน 4. การดำเนินธุรกิจอย่างเป็นธรรมและมีความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อส่งเสริมแก่นแท้ของเศรษฐศาสตร์การตลาด -- 20 คะแนน ระหว่างโครงการศึกษา ผู้เข้าร่วมการแข่งขันมีประสิทธิภาพในด้านใดบ้าง ดังนี้: 5. การประเมินผลลัพธ์ของโครงการ -- 5 คะแนน 6. การใช้สื่อต่าง ๆ และอินเตอร์เน็ต -- 5 คะแนน 7. การมีส่วนร่วมในกลุ่มกิจกรรมหรือคณะกรรมการให้คำปรึกษาทางธุรกิจ -- 5 คะแนน 8. การนำเสนอข้อมูลโครงการผ่านรายงานและการนำเสนอ -- 5 คะแนน คณะกรรมการประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายวงการ วันแข่งขันระดับชาติ: 13 กรกฎาคม 2548--จบ--

ข่าวเคพีเอ็มจีภูมิไชย+ผู้สนับสนุนหลักวันนี้

กลุ่มธุรกิจ TCP และ 'เรดบูล' ลุยภารกิจสุดท้าทายฝ่าทะเลทรายครั้งแรกในงานวิ่ง 14th Red Bull Desert Adventure ฉลอง 50 ปีความสัมพันธ์ไทย-จีน

กลุ่มธุรกิจ TCP ผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายเครื่องดื่มระดับโลกภายใต้แบรนด์กระทิงแดง (Red Bull) เรดดี้ โสมพลัส สปอนเซอร์ แมนซั่ม ไฮ่! เพียวริคุ ซันสแนค และ วอริเออร์ สร้างปรากฏการณ์ครั้งสำคัญในประเทศจีน ส่ง 'เรดบูล' เป็นผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการครั้งแรก กับกิจกรรม '14th Red Bull Desert Adventure' หนึ่งในงานวิ่งทะเลทรายที่ท้าทายที่สุดในโลก พร้อมพาตัวแทนชาวไทยร่วมพิชิตภารกิจ ณ ทะเลทรายเทงเกอร์ (Tengger Desert) เขตปกครองมองโกเลียใน ประเทศจีน ปลุกพลังประชันความแกร่งกับนักวิ่ง 4,000 คน ระหว่างวันที่

นายมรุพงษ์ กิจกสิกร (แถวหน้า ที่ 9 จากซ้า... Rocket Fitness สนับสนุน Mister International Thailand 2025 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 — นายมรุพงษ์ กิจกสิกร (แถวหน้า ที่ 9 จากซ้าย) กรรมการผู้จัดการ บริษัท ร็อค...

บริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด (มหาชน) โดย... มิตรแท้ประกันภัย สนับสนุนการจัดงาน Holi-Songkran Fiesta 2025 — บริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด (มหาชน) โดย คุณภูดิท พุ่มสุวรรณ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส...

ภาพข่าว: โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าฯ คว้าแชมป์ “2006 SIFE Thailand National Exposition”

SIFE ประเทศไทย นำโดย ศ.ดร. ชัยอนันต์ สมุทวนิช ประธานกรรมการบริหาร SIFE ประเทศไทย ร่วมกับกลุ่มเคพีเอ็มจีภูมิไชย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และหนังสือพิมพ์ The Nation จัดการประกวดโครงงาน “2006 SIFE Thailand...

ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวานิช แถลงข่าวการแข่งขันนำเสนอโครงงานธุรกิจเพื่อพัฒนาสังคมในระดับอุดมศึกษา

ศุกร์ที่ 19 พ.ค. 2549 เวลา 15.00 น. ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวานิช เป็นประธานแถลงข่าวการแข่งขันนำเสนอโครงงานธุรกิจเพื่อพัฒนาสังคมในระดับอุดมศึกษา หรือ 2006 SIFE Thailand National Competition ที่ห้องอบรม 1-2 บริษัท...

กลุ่มเคพีเอ็มจีภูมิไชยจับมือทีเอออเร้นจ์ เปิดเวิร์คสไตล์ใหม่องค์กรธุรกิจ สื่อสารเชื่อมโยงสะดวกรวดเร็วใช้บริการ BlackBerry รายแรกในเมืองไทย

ทีเอ ออเร้นจ์ ได้รับความไว้วางใจจาก กลุ่มเคพีเอ็มจีภูมิไชย ที่ปรึกษาธุรกิจและผู้ให้บริการทางวิชาชีพยักษ์ใหญ่ระดับโลก ตกลงใช้บริการ Black Berry ซึ่ง...

ดับบลิวพีพีฯ ขอเรียนเชิญร่วมสัมภาษณ์พิเศษกลุ่มย่อย ทีมแชมป์ 2005 SIFE Thailand National Competition

เนื่องด้วยบริษัท ดับบลิวพีพี มาร์เก็ตติ้ง คอมมูนิเคชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินการด้านประชาสัมพันธ์ให้กับกลุ่มเคพีเอ็มจีภูมิไชย ผู้ให้บริการที่ปรึกษาธุรกิจ...

ภาพข่าว: รายได้มอบให้มูลนิธิรามาธิบดี

ศ.ดร. ธวัช ภูษิตโภยไคย ประธานกิตติมศักดิ์ กลุ่มบริษัทเคพีเอ็มจีภูมิไชย (ขวาสุด) ดร.อังครัตน์ เพรียบจริยวัฒน์ (ที่สองจากซ้าย) อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์และที่ปรึกษาด้านเปิดเผยสารสนเทศและการบัญชี ตลาดหลักทรัพย์ฯ และนายชาลี จันทนยิ่งยง...

กลุ่มเคพีเอ็มจีภูมิไชย จับมือ SIFE เปิดตัว SIFE ประเทศไทย พร้อมจัดแข่งขันโครงการระดับมหาวิทยาลัย

โครงการ SIFE ประเทศไทย จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยโดยมีกลุ่มเคพีเอ็มจีภูมิไชย เป็นผู้สนับสนุนหลัก เพื่อเฟ้นหาสุดยอดทีมนักศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ที่มีศักยภาพโดดเด่นในการสร้างสรรค์โครงการเผย...