ทริสเรทติ้งคงอันดับเครดิตองค์กร หุ้นกู้ และตั๋วแลกเงิน “สยามพาณิชย์ลีสซิ่ง” ระดับ “A-” พร้อมแนว โน้ม “Stable”

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--16 ธ.ค.--ทริสเรทติ้ง

บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด คงอันดับเครดิตองค์กร ตราสารหนี้ และตั๋วแลกเงินของ บริษัท สยามพาณิชย์ลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) ที่ระดับ “A-” ซึ่งสะท้อนการมีคณะผู้บริหารที่มีประสบการณ์ คุณภาพสินทรัพย์ในระดับที่รับได้ รวมทั้งสัมพันธภาพที่ดีและยาวนานกับผู้แทนจำหน่ายรถยนต์ อันดับเครดิตยังพิจารณาถึงความสำเร็จในการขยายสาขาไปยังภูมิภาคที่มีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจเช่าซื้อของบริษัทเพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันที่รุนแรงในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล และเป็นการกระจายแหล่งรายได้ของบริษัท อย่างไรก็ตาม จุดแข็งดังกล่าวถูกลดทอนด้วยการแข่งขันที่รุนแรงจากการเข้าสู่ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์ใหม่ของบริษัทที่ให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อในเครือของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ และการเข้าสู่ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์มือสองของบริษัทเงินทุนขนาดใหญ่ ในขณะที่แนวโน้มอันดับเดรดิต “Stable” หรือ “คงที่” ของบริษัทสะท้อนถึงผลการดำเนินงานที่เป็นไปตามที่ทริสเรทติ้งคาดการณ์ไว้แม้ว่าต้นทุนทางการเงินของบริษัทจะค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้นและสภาพการแข่งขันที่ยังคงความรุนแรงก็ตาม บริษัทจะสามารถคงสถานะทางการตลาดและดำรงสินเชื่อที่หยุดรับรู้รายได้ในระดับต่ำไว้ได้โดยอาศัยประสบการณ์ที่ยาวนานของคณะผู้บริหารและการมีขั้นตอนการอนุมัติสินเชื่อที่ระมัดระวัง ทริสเรทติ้งรายงานว่า ณ สิ้นเดือนกันยายน 2547 สินเชื่อเช่าซื้อรวมของบริษัทสยามพาณิชย์ลีสซิ่งอยู่ที่ 32,880 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22% จากสิ้นปี 2546 โดยบริษัทสามารถอนุมัติสินเชื่อเช่าซื้อใหม่เฉลี่ยที่ 1,750 ล้านบาทต่อเดือนในปี 2547 ซึ่งมากกว่าที่ประมาณการไว้ที่ 1,580 ล้านบาทต่อเดือน กำไรสุทธิในงวด 9 เดือนแรกของปี 2547 อยู่ที่ 690 ล้านบาท มากกว่าในช่วงเดียวกันของปี 2546 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 593 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ผลจากการแข่งขันที่รุนแรงทำให้บริษัทจำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นเพื่อรักษาส่วนแบ่งทางการตลาด ส่งผลให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่อรายได้รวมเพิ่มสูงขึ้นเป็น 18.40% ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 จาก 17.31% ในช่วงเดียวกันของปี 2546 อย่างไรก็ตาม บริษัทสามารถคงส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยรับและดอกเบี้ยจ่ายไว้ที่ระดับ 4%-5% มาตั้งแต่ปี 2543 อัตราผลตอบแทนลดลงจาก 13.92% ในปี 2542 มาอยู่ที่ 11.89% ในปี 2544 เนื่องจากบริษัทเงินทุนขนาดใหญ่ได้ดำเนินธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์โดยใช้กลยุทธ์ด้านราคาประกอบกันแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในช่วงเวลาดังกล่าวที่ลดลง อัตราผลตอบแทนได้ลดลงอย่างต่อเนื่องมาอยู่ที่ 10.57% ในปี 2545 ที่ 9.69% ในปี 2546 และ 8.93% ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 อย่างไรก็ตาม ต้นทุนทางการเงินโดยเฉลี่ยของบริษัทลดลงอย่างต่อเนื่องตามแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง และหุ้นกู้ที่ออกในปี 2546 (SPL073A) และปี 2547 (SPL073B) มีอัตราดอกเบี้ย 3.20% และ 3.85% ตามลำดับ ส่งผลให้ต้นทุนทางการเงินของบริษัทโดยเฉลี่ยลดลงจาก 5.37% ในปี 2545 เป็น 4.02% ในปี 2546 และ 3.67% ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 บริษัทมีการบริหารสินเชื่ออย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการอย่างระมัดระวังส่งผลให้มีระดับสินเชื่อที่หยุดรับรู้รายได้ในระดับต่ำคือ 1.96% ของสินเชื่อรวมเฉลี่ย ณ สิ้นเดือนกันยายน 2547 สินเชื่อเช่าซื้อของบริษัทซึ่งคิดเป็น 93% ของสินเชื่อรวมมีอัตราส่วนสินเชื่อเช่าซื้อที่หยุดรับรู้รายได้ต่อสินเชื่อเช่าซื้อรวมที่ระดับ 0.76% ณ สิ้นเดือนกันยายน 2547 บริษัทมีสาขาในต่างจังหวัด 9 สาขาซึ่งมีสัดส่วนสินเชื่อเช่าซื้อใหม่ต่อสินเชื่อเช่าซื้อใหม่รวมของบริษัทเพิ่มขึ้นจาก 51% ในปี 2545 มาอยู่ที่ 55% ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 โดยสาขาเหล่านี้ช่วยให้บริษัทสามารถแข่งขันกับบริษัทเงินทุนและบริษัทที่ให้บริการสินเชื่อเช่าซื้อขนาดใหญ่ในเครือของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ซึ่งมีสาขาในต่างจังหวัดเช่นเดียวกันได้ บริษัทสามารถดำรงสถานะทางการตลาดโดยการกระจายแหล่งที่มาของรายได้นอกเหนือจากเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลซึ่งมีระดับการแข่งขันที่รุนแรง บริษัทมีแผนจะเปิดสาขาในต่างจังหวัดเพิ่มอีกในปี 2548 สินเชื่อรวมของบริษัทเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปี 2542 ณ สิ้นเดือนกันยายน 2547 สินทรัพย์รวมของบริษัทเพิ่มขึ้น 300% จากสิ้นปี 2542 ซึ่งมากกว่าส่วนของผู้ถือหุ้นที่เพิ่มขึ้น 198% ในช่วงเวลาเดียวกัน สัดส่วนของหนี้สินต่อทุนของบริษัทเพิ่มขึ้นจาก 2.64 เท่าในปี 2543 มาอยู่ที่ 5.68 เท่า ซึ่งเข้าใกล้สัดส่วน 8 เท่าตามที่ระบุไว้ในข้อกำหนดสิทธิของการออกหุ้นกู้ บริษัทจึงจำเป็นต้องปรับปรุงโครงสร้างเงินทุนเพื่อลดความเสี่ยงจากการขยายสินเชื่อโดยการกู้ยืม ในช่วงแรก ผู้บริหารคาดว่าใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญชุดที่ 2 (SPL-W2) ของบริษัทจะมีการใช้สิทธิและสามารถเพิ่มฐานทุนของบริษัทได้ อย่างไรก็ตาม ใบสำคัญแสดงสิทธิดังกล่าวคาดว่าจะหมดอายุโดยไม่มีการใช้สิทธิครั้งสุดท้ายเนื่องจากราคาหุ้นสามัญของบริษัทในปัจจุบันที่ 34 บาทต่อหุ้น (9 ธันวาคม 2547) ยังต่ำกว่าราคาใช้สิทธิที่ 35 บาทต่อหุ้น ดังนั้น การปรับปรุงโครงสร้างเงินทุนของบริษัทให้ดีขึ้นอาจมาจากการเพิ่มทุนใหม่หรือจากการแปลงสินเชื่อปัจจุบันของบริษัทให้เป็นหลักทรัพย์ ทริสเรทติ้งกล่าว--จบ--

ข่าวสยามพาณิชย์ลีสซิ่ง+ดำเนินธุรกิจวันนี้

ทริสเรทติ้งคงอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้ไม่มีประกัน “บ. ไทยพาณิชย์ลีสซิ่ง” ที่ “A+” และคงอันดับหุ้นกู้มีการค้ำประกันที่ “AA” แนวโน้ม “Stable”

บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ประกาศคงอันดับเครดิตองค์กรของ บริษัท ไทยพาณิชย์ลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) (เดิมชื่อ บริษัท สยามพาณิชย์ลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน)) และอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่มีประกันของบริษัทที่ระดับ “A+” ในขณะเดียวกันยังคงอันดับเครดิตหุ้นกู้มีการค้ำประกันของบริษัทที่ระดับ “AA” จากการที่หุ้นกู้ดังกล่าวได้รับการค้ำประกันจากบริษัทแม่คือธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) โดยแนวโน้มอันดับเครดิตยังคง “Stable” หรือ “คงที่” อันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้ไม่มีประกันของบริษัทไทยพาณิชย์ลีสซิ่งอยู่บนพื้นฐานของการ

ทริสเรทติ้งคงอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้ไม่มีประกัน “บ. ไทยพาณิชย์ลีสซิ่ง” ที่ “A+” คงหุ้นกู้มีการค้ำประกันที่ “AA” พร้อมแนวโน้ม “Stable”

บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ประกาศคงอันดับเครดิตองค์กรของ บริษัท ไทยพาณิชย์ลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) และอันดับหุ้นกู้ไม่มีประกันของบริษัทที่ระดับ “A+” พร้อมคงอันดับ...

ทริสเรทติ้งเพิ่มอันดับเครดิตองค์กรและตั๋ว B/E “บ. ไทยพาณิชย์ลีสซิ่ง” เป็น “A+” จาก “A-” และเพิ่มอันดับหุ้นกู้เป็น “AA” จาก “A-”

บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ประกาศเพิ่มอันดับเครดิตองค์กรและตั๋วแลกเงิน (B/E) ของ บริษัท ไทยพาณิชย์ลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) (เดิมชื่อ บริษัท สยามพาณิชย์ลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน)) ...

ฟิทช์ ประกาศเพิ่มอันดับเครดิตภายในประเทศ (National Ratings) ของบริษัทสยามพาณิชย์ลีสซิ่ง เป็น ‘A(tha)’ หลังจากการซื้อหุ้นของธนาคารไทยพาณิชย์

บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ประกาศเพิ่มอันดับเครดิตภายในประเทศ (National Ratings) ระยะยาว ของบริษัทสยามพาณิชย์ลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) (“SPL”) เป็น ‘A(tha)’ ...

ทริสเรทติ้งชี้ความสำเร็จจากคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของ “ธ. ไทยพาณิชย์” ยังไม่ส่งผลต่ออันเครดิตของ “สยามพาณิชย์ลีสซิ่ง” ในทันที

บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ประกาศวันนี้ว่า ทริสเรทติ้งยังคงอันดับเครดิตองค์กรและตราสารหนี้ของ บริษัท สยามพาณิชย์ลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) ที่ระดับ “A-” เช่นเดิมหลังจากที่ธนาคาร...

SCB ประสบความสำเร็จในการทำคำเสนอซื้อหุ้น SPL เตรียมรุกตลาดสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์เต็มตัว

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ได้รายงานผลการเสนอซื้อหลักทรัพย์ของ บริษัท สยามพาณิชย์ลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยระบุว่า ภายหลังสิ้นสุดการทำคำเสนอซื้อหุ้นสามัญของ...

ธ.ไทยพาณิชย์ แถลงข่าวความคืบหน้า และทิศทางเกี่ยวกับ บ.สยามพาณิชย์ลิสซิ่ง รวมถึงการออกหุ้นกู้

SCB ขอเรียนเชิญร่วมงานแถลงข่าวความคืบหน้า และทิศทางเกี่ยวกับ บ.สยามพาณิชย์ลีสซิ่ง (SPL) รวมถึงการออกหุ้นกู้ (FRN) โดยมีดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย และคุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม เป็นผู้แถลง วันที่ : วันที่ 2 พฤษภาคม 2549...

ทริสเรทติ้งคงอันดับเครดิตองค์กรและตราสารหนี้ “สยามพาณิชย์ลีสซิ่ง” ที่ “A-/Stable”

บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ประกาศยืนยันผลการทบทวนอันดับเครดิตองค์กรของ บริษัท สยามพาณิชย์ลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) รวมทั้งอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่มีประกันและตั๋วแลกเงินในปัจจุบันของบริษัทในระดับเดิมที่ “A-” พร้อมแนวโน้ม...

ธนาคารไทยพาณิชย์ ยืนยันเดินหน้าซื้อ SPL

ตามที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ยื่นทำ tender offer หลักทรัพย์ ของ บริษัท สยามพาณิชย์ลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) (SPL) วันนี้ คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ได้แจ้งผลการเสนอซื้อหลักทรัพย์เบื้องต้น (แบบ 247-6-ข) ของ SPL ...

ฟิทช์ ได้ประกาศเครดิตพินิจ แนวโน้มเป็นบวก

ฟิทช์ ได้ประกาศเครดิตพินิจ แนวโน้มเป็นบวก (Rating Watch Positive) แก่อันดับเครดิตภายในประเทศ (National Ratings) ของบริษัทสยามพาณิชย์ลีสซิ่ง และคงอันดับเครดิตของธนาคารไทยพาณิชย์ บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ประกาศเครดิตพินิจ แนวโน้มเป็นบวก (Rating Watch...