แปซิฟิคเมล็ดพันธุ์ เพิ่มคุณภาพพันธุ์ด้วยงานวิจัยฯ หวังชิงตำแหน่ง “ผู้นำเมล็ดพันธุ์ลูกผสม”

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--31 พ.ค.--สวทช.

สวทช.– กรมสรรพากร ช่วยผู้ประกอบการ “แปซิฟิคเมล็ดพันธุ์” ลดต้นทุน งานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสร้างเมล็ดพันธุ์พืชลูกผสม ที่มีคุณภาพเหมาะสมกับการเพาะปลูกตามสภาพอากาศในประเทศ เพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิต ช่วยให้เกษตรกรไทยมีรายได้เพิ่มขึ้น อีกทั้ง ยังช่วยยกระดับผลผลิตพืชส่งออกที่สำคัญของไทย แข่งขันกับตลาดต่างประเทศได้ ผ่าน “มาตรการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลถึง 200%” ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม มีการส่งออกสินค้าทางการเกษตรเป็นมูลค่าที่สูงติดอันดับโลก เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศส่งออกอื่นๆ อาทิ ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดฝักอ่อน ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันผลผลิตต่อพื้นที่ของพืชไร่ที่สำคัญบางชนิด ยังอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ ซึ่งวิธีการเพิ่มผลผลิตในพืชดังกล่าวสามารถทำได้หลายวิธี แต่ที่ถือเป็นหัวใจของเกษตรกรก็คือ “เมล็ดพันธุ์” เพราะถ้าได้เมล็ดพันธุ์ที่ดี ให้ผลผลิตสูง และเหมาะสมกับสภาพดินฟ้าอากาศที่ปลูก นั่นหมายถึง “รายได้" ที่ดีขึ้นของเกษตรกร อย่างไรก็ดี ประเทศไทยเองก็มีศักยภาพและความพร้อมด้านต่างๆ ที่จำเป็นต่อการวิจัยและการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่ดีมีคุณภาพ ซึ่งจากการส่งเสริมของภาครัฐ โดยเฉพาะมาตรการทางภาษีที่รัฐส่งเสริม กระตุ้นให้ภาคเอกชนหันมาสนใจลงทุนงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีในประเทศมากขึ้น ดังเช่น มาตรการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินได้ของบริษัทที่ลงทุนเพื่อทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี เป็นจำนวนร้อยละ 100 หรือ อีกนัยหนึ่ง คือ สามารถหักค่าใช้จ่ายสำหรับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีได้เป็น 2 เท่า หรือ 200% ของค่าใช้จ่ายจริง นายพาโชค พงษ์พานิช กรรมการผู้จัดการ บริษัท แปซิฟิคเมล็ดพันธุ์ จำกัด กล่าวว่า บริษัทฯ สนใจเข้ามาทำธุรกิจเมล็ดพันธุ์ในไทย เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม มีพื้นที่เพาะปลูกพืชขนาดใหญ่ ซึ่งน่าจะมีการใช้เมล็ดพันธุ์ที่ดีในพืชไร่ที่สำคัญหลายชนิดในปริมาณสูง ประกอบกับบริษัทฯ มีเทคโนโลยีเกี่ยวกับพันธุ์พืชลูกผสมในข้าวโพดไร่ ข้าวโพดฝักอ่อน ข้าวโพดหวาน ข้าวฟ่าง ทานตะวัน และพืชอาหารสัตว์ ซึ่งเหมาะสมที่จะแนะนำส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเพื่อเพิ่มผลผลิตได้ จึงได้เริ่มเข้ามาตั้งหน่วยงานวิจัยเมล็ดพันธุ์ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2518 ดำเนินการค้นคว้าพัฒนาพันธุ์พืชลูกผสมที่ผลผลิตสูงแนะนำเกษตรกรทั่วไป รวมทั้งได้ดำเนินการส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการเพิ่มผลผลิตให้แก่เกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงานของภาครัฐ ที่ส่งเสริมให้เกษตรกรเข้าถึงเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะเทคโนโลยีพันธุ์พืชลูกผสมที่ได้รับความนิยมในขณะนี้ “จากที่เป็นบริษัทฯ ในเครือ ADVANTA มีงานวิจัยค้นคว้าพัฒนาพันธ์พืชลูกผสมที่มีผลผลิตสูงและจากจุดเริ่มต้นที่เป็นหน่วยงานเล็กๆ ปี 2518 ได้เปลี่ยนมาเป็นศูนย์วิจัยพันธุ์พืชลูกผสมโดยการจัดตั้งสถานีวิจัยฯ ขึ้นในปี 2523 เพื่อทำการวิจัยปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพด ข้าวฟ่างเขตร้อนขึ้นโดยได้รับการสนับสนุนงานวิจัยจากนักวิชาการของบริษัทฯ ประเทศออสเตรเลีย เพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวโพด - ข้าวฟ่างที่เหมาะสมกับสภาพดินฟ้าอากาศในประเทศไทย และได้เริ่มงานด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสม “แปซิฟิค 9” ซึ่งนับเป็นบริษัทเมล็ดพันธุ์พืชไร่รายแรก ที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมประสบผลสำเร็จในเชิงการค้า และในปี 2536 ได้เริ่มทำวิจัยเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวาน จนถึงปัจจุบันนี้ บริษัทฯ สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์พืชลูกผสมออกจำหน่ายปีละกว่า 3,000 ตัน มียอดขายในปีที่ผ่านมากว่า 450 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15% จากปีก่อน และคาดว่าในปี 2548 นี้ จะเพิ่มขึ้นอีก 10%” นายพาโชค กล่าว นอกจากนี้นายพาโชค ยังกล่าวอีกว่า “เนื่องจากงานวิจัยพันธุ์พืชลูกผสมในปัจจุบันนี้ ต้องอาศัยเทคโนโลยีใหม่ๆ หลายด้านมาประยุกต์ใช้ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ให้ดีขึ้น และต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง ขณะที่บริษัทฯ ถือเป็นบริษัทขนาดกลาง มีการลงทุนทางด้านงานวิจัยปีหนึ่งๆ ประมาณ 19-20 ล้านบาท ซึ่งต้องยอมรับว่า การที่รัฐบาลมีนโยบายให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกับผู้ประกอบที่ทำการวิจัย และพัฒนาฯ ตามมาตรการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 200% จากกรมสรรพากรนั้น ถือเป็นเรื่องที่ภาครัฐให้การสนับสนุนภาคเอกชนอย่างมาก ทำให้ผู้ประกอบการกล้าที่จะลงทุน เพราะอย่างน้อยยังได้รับผลประโยชน์คืนกลับมาจากมาตรการดังกล่าวเปรียบเหมือนภาครัฐมาร่วมลงทุนด้วย จึงถือเป็นมาตรการที่ดีในการกระตุ้นให้เอกชนสนใจลงทุนในงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น เพื่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นในประเทศได้ ” ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าว เป็นความร่วมมือกันระหว่างกรมสรรพากร กับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยบริษัทฯ จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล200% จะต้องได้รับการรับรองโครงการการวิจัยและพัฒนาพันธุ์พืชลูกผสม จากสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการรับรองโครงการวิจัยและพัฒนา (RDC : RESEARCH AND DEVELOPMENT CERTIFICATION COMMITTEE SECRETARIAT) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ก่อน จึงจะยืนขอรับสิทธิประโยชน์ดังกล่าวได้ สำหรับผลที่ได้รับจากโครงการวิจัยฯ นี้ ทำให้มีพันธุ์พืชที่ดีซึ่งสามารถให้ผลผลิตสูง ทนทานต่อสภาพแห้งแล้ง มีความต้านทานโรค และปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี และสามารถส่งเสริมให้เกษตรกรนำไปใช้ในการเพาะปลูกเป็นการเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ผลผลิตรวมทั้งประเทศเพิ่มขึ้น ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ รวมทั้งเพิ่มคุณภาพของผลผลิตที่ได้รับทำให้สามารถส่งออกไปแข่งขันในตลาดต่างประเทศได้ ด้าน นายมนตรี คงแดง ผู้จัดการฝ่ายวิจัยและพัฒนา บริษัท แปซิฟิคเมล็ดพันธุ์ จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่า “สาเหตุที่ต้องทำการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ก็เพราะเกษตรกรต้องการพันธุ์ที่ดีที่สุดตลอดเวลา ดังนั้น เรื่องของงานวิจัยฯ จึงหยุดไม่ได้ ต้องหาพันธุ์ใหม่ที่ดีขึ้นเรื่อยๆ เพราะพันธุ์ที่เราคัดเลือกได้ในวันนี้ อาจไม่ตอบสนองความต้องการของเกษตรกรในวันข้างหน้า ซึ่งขึ้นอยู่กับภาวะการแข่งขันในตลาดฯ สภาพแวดล้อมการเพาะปลูกที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งเรื่องของภาวะฝนแล้ง ฝนทิ้งช่วง หรือโรคระบาดในพืช โดยวงจรของพันธุ์พืชส่วนใหญ่จะมีระยะเวลาประมาณ 5 – 8 ปี เท่านั้น ในขณะที่กว่าจะวิจัยและพัฒนา เพื่อสร้างพันธุ์พืชลูกผสมที่คุณภาพดีเหมาะสมกับการเพาะปลูกที่ตอบสนองเกษตรกรได้สัก 1 พันธุ์จะต้องใช้เวลานานถึง 8 ปี บางพันธุ์อาจนานถึง 10 ปีเลยทีเดียว จึงจำเป็นที่จะต้องมีการวิจัยฯ คัดเลือกพันธุ์ใหม่ที่ดีกว่าออกมาทดแทนอยู่ตลอดเวลา” แต่จากกระแสความต้องการใช้พลังงานทดแทน ทำให้ปัจจุบันเกษตรกรเริ่มหันไปปลูกมันสำปะหลัง และอ้อยเพิ่มมากขึ้น โดยพืชทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเป็นเอทานอลและแก๊สโซฮอลล์ ซึ่งอาจทำให้มีรายได้ดีกว่าเนื่องจากราคาผลผลิตปรับตัวสูงขึ้นตามความต้องการ และส่งผลกระทบให้ปัจจุบันพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดโดยรวมลดลง แต่ปริมาณความต้องการใช้ข้าวโพดสำหรับเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ยังคงมีอยู่สูง ทำให้ผู้บริหารของบริษัท แปซิฟิคเมล็ดพันธุ์ จำกัด ยังคงเชื่อมั่นว่า ธุรกิจเมล็ดพันธุ์ยังคงมีแนวโน้วที่ดีอย่างต่อเนื่อง ตามการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมปศุสัตว์ และตั้งเป้าจะเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดอย่างมีนัยสำคัญในธุรกิจเมล็ดพันธุ์พืชไร่ที่มีมูลค่ากว่า 1,500 ล้านบาทต่อปี ปัจจุบัน มีบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการเมล็ดพันธุ์ข้ามชาติ 5 ราย ขณะที่บริษัท แปซิฟิคเมล็ดพันธุ์ จำกัด เป็นผู้นำอันดับ 1 ในตลาดเมล็ดพันธุ์พืช 5 ชนิด คือ ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดฝักอ่อน ข้าวฟ่าง ทานตะวัน และหญ้าอาหารสัตว์ ซึ่งในอนาคตกันใกล้นี้ บริษัทฯ ได้วางแผนที่จะขยับขึ้นมาเป็นผู้นำอันดับต้นๆ ติด 1 ใน 3 ในตลาดข้าวโพดไร่ ภายใต้วิสัยทรรศน์ของบริษัทฯ ที่ต้องการขึ้นมาเป็น “ ผู้นำในวงการเมล็ดพันธุ์ลูกผสม ” ในอนาคต ด้วยความมุ่งมั่นของบริษัท แปซิฟิค เมล็ดพันธุ์ จำกัด ที่จะพัฒนา และจำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืชที่มีคุณภาพเป็นเลิศ เพื่อรับประกันถึงความสำเร็จ และเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรไทย โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการวิจัยเพื่อพัฒนาให้ได้พันธุ์ลูกผสมที่มีคุณภาพดี ภายใต้ แบรนด์ “แปซิฟิค” โดยบริษัทฯ ยังได้รับการรับการรับรองมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001:2000 สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจ สอบถามรายละเอียดของโครงการ RDC เพิ่มเติมได้ที่ สนง.เลขานุการคณะกรรมการรับรองโครงการฯ โทร. 0-2564-7000 ต่อ 1328 – 1331 หรือที่ เว็บไซด์ www.nstda.or.th/rdc ( สื่อมวลชนที่ต้องการ ข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ คุณนก ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โครงการ ITAP โทร.0-2619-6187, 8 )--จบ--

ข่าวแปซิฟิคเมล็ดพันธุ์+ผู้ประกอบการวันนี้

FoSTAT และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ จับมือ ProPak Asia 2025 จัดสัมมนา ปั้นอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารสู่มาตรฐานสากล ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ และ สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย (FoSTAT) และ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ผู้จัดงาน ProPak Asia 2025 งานแสดงเทคโนโลยี เครื่องจักร และโซลูชันด้านกระบวนการผลิต การแปรรูป และบรรจุภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรมอาหาร อาหารแปรรูป เครื่องดื่ม และบรรจุภัณฑ์ ยังคงยึดมั่นในพันธกิจที่จะส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตไทยให้แข็งแกร่งเป็นฟันเฟืองสำคัญของเศรษฐกิจประเทศ เพื่อเดินหน้ายกระดับองค์ความรู้สู่ผู้ประกอบการในทุกภูมิภาค ดังนั้นทั้ง 3

สสว. จับมือ มธ. เดินหน้าโครงการขับเคลื่อน... สสว. เสริมแกร่งผู้ประกอบการไทย 5 กลุ่มธุรกิจก้าวสู่ธุรกิจสีเขียว รับสมัคร ฟรี! ถึง 23 พ.ค. นี้ — สสว. จับมือ มธ. เดินหน้าโครงการขับเคลื่อนให้ MSME ปรับเปล...

พบไฮไลท์สัตว์หายาก กิจกรรมโดนใจ สินค้า-บร... เปิดฉากยิ่งใหญ่ "Pet Expo Thailand 2025" ฉลองครบรอบ 25 ปี — พบไฮไลท์สัตว์หายาก กิจกรรมโดนใจ สินค้า-บริการนวัตกรรมเพื่อสัตว์เลี้ยงจัดเต็มกว่าใคร เปิดฉากแล้...

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย... กรมเจรจาฯ เชิญผู้ประกอบการกาแฟไทย! เข้าร่วมโครงการส่งเสริมกาแฟไทยอย่างยั่งยืนด้วย FTA — กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ขอเชิญผู้ประกอบการ สหกรณ...

นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสห... ภาพข่าว : รับมอบเมล็ดพันธุ์ — นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นสักขีพยานรับมอบเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวาน จากดร.ยงค์ยุทธ ปานสูง...

ดร.องอาจ กิตติคุณชัย (ที่ 5 จากขวา) ประธา... ภาพข่าว: SUN ลงนามยกระดับข้าวโพดหวานอุตสาหกรรม — ดร.องอาจ กิตติคุณชัย (ที่ 5 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พร้อมด้วยคณะผู้บริหารบริษัท ซันสวีท จำกัด ...

4 องค์กรใหญ่ หนุนเกษตรกรปลูกทานตะวัน

กรุงเทพ--2 ก.ย.--ธ.ก.ส. ไทยธุรกิจเกษตรจับมือแปซิฟิคเมล็ดพันธุ์ กรมส่งเสริมการเกษตร และ ธ.ก.ส. หนุนเกษตรกรปลูกทานตะวันแบบครบวงจร พร้อมรับซื้อในราคาประกัน ชี้รายได้ดีและยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว นายมณฑป ปัทมพรหม ผู้จัดการใหญ่บริษัท ไทยธุรกิจเกษตร จำกัด (TABCO)...

เกษตรฯ มอบรางวัลผู้ชนะการประกวดปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในโครงการ 1 ไร่ 100 ถัง

กรุงเทพ--14 ส.ค.--กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตรร่วมกับบริษัทแปซิฟิคเมล็ดพันธุ์ จำกัด และ ธ.ก.ส. จัดงานมอบรางวัลแก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเป็นเงินกว่า 2 แสนบาท โดยเน้นด้านการเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอกับความต้องการใช้ภาย...