กทม.เผยความคืบหน้าโครงการตระกูลอัจฉริยะและรถเมล์ด่วนพิเศษ BRT

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--25 พ.ค.--กทม.

นายพุฒิพงษ์ ปุณณกันต์ โฆษกกรุงเทพมหานคร แจ้งว่า จากการประชุมคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานครวานนี้ (24 พ.ค.48) สำนักการจราจรและขนส่งได้รายงานความคืบหน้าโครงการตระกูลอัจฉริยะ และรถเมล์ด่วนพิเศษ BRT ตามนโยบายการแก้ไขปัญหาจราจร ดังนี้ กำหนดจุดติดตั้งได้ 27 พ.ค.นี้ กรุงเทพมหานครได้ทำสัญญาให้สิทธิ์ติดตั้งป้ายรถเมล์อัจฉริยะกับบริษัท เซนติซอร์ฟ จำกัด โดยได้ลงนามในสัญญาเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2548 มีระยะเวลาดำเนินการติดตั้ง 150 วัน กำหนดแล้วเสร็จ 31 สิงหาคม 2548 โดยให้บริษัทจัดเก็บผลประโยชน์ในด้านการโฆษณาบนป้ายรถเมล์อัจฉริยะจำนวน 200 จุด เป็นเวลา 3 ปี และพิจารณาต่ออายุสัญญาอีก 2 ครั้งๆ ละ 3 ปี แต่สามารถโฆษณาได้เฉพาะข้อความและภาพนิ่งไม่ใช้เสียง พื้นที่โฆษณาแยกจากหน้าจอแสดงข้อมูลรถโดยสารประจำทางอย่างชัดเจน โดยในขณะนี้กำลังพิจารณากำหนดจุดติดตั้งที่บริเวณการจราจรคับคั่งหรือเส้นทางที่รถเมล์ผ่านหลายสายให้ได้จุดติดตั้งภายใน 27 พ.ค.48 ที่จอดรถอัจฉริยะอยู่ระหว่างกำหนด TOR โครงการที่จอดรถอัจฉริยะได้ดำเนินการออกประกาศประกวดราคาเมื่อ 11 เม.ย.48 กำหนดยื่นซอง 24 พ.ค.48 แต่สภากรุงเทพมหานครไม่อนุมัติจัดสรรงบประมาณ แต่อนุมัติงบประมาณ 4 ล้านบาทให้จ้างที่ปรึกษาสำรวจ ออกแบบ ศึกษาความเหมาะสมของโครงการ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการกำหนด TOR ที่จอดรถแท็กซี่อัจฉริยะลงนามสัญญา 26 พ.ค. นี้ กรุงเทพมหานครได้ดำเนินโครงการที่จอดรถแท็กซี่อัจฉริยะ โดยมีเป้าหมายดำเนินการก่อสร้างและปรับปรุง 150 จุดทั่วกรุงเทพมหานคร ขณะนี้อยู่ระหว่างขออนุมัติให้สิทธิเอกชนดำเนินการ คาดว่าจะลงนามในสัญญาได้ภายในเดือนนี้ ซึ่งจะใช้เวลา ติดตั้งและใช้งานได้ 120 วัน นับแต่วันลงนามในสัญญา โดยประกาศประกวดราคาตั้งแต่วันที่ 6 ม.ค.48 และนัดลงนามในสัญญา 26 พ.ค.48 กำหนดระยะเวลาก่อสร้าง 120 วัน คาดว่าแล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ในเดือนกันยายน 2548 ลงนามสัญญาป้ายจราจรอัจฉริยะ 26 พ.ค.48 กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการสำรวจและเตรียมติดตั้งป้ายจราจรอัจฉริยะ จำนวน 40 จุด โดยให้สิทธิเอกชนติดตั้ง บำรุงรักษาและดำเนินการด้านพาณิชย์ ในบริเวณก่อนขึ้นทางด่วน และบริเวณที่มีปัญหาจราจรติดขัด โดยเฉพาะใกล้ทางแยก ให้มีภาพโฆษณาเป็นภาพนิ่ง มีการรายงานสภาพจราจรบนทางด่วนและบนท้องถนนให้ประชาชนได้รับทราบ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกเส้นทางที่สะดวกที่สุดและหลีกเลี่ยงเส้นทางที่เกิดปัญหาการจราจรติดขัด กำหนดติดตั้งที่บริเวณก่อนทางขึ้นทางด่วน 14 จุด โดยพิจารณาจากโครงข่ายที่เชื่อมต่อกับระบบรับข้อมูลจราจรของการทางพิเศษ และบริเวณแยกสำคัญ 26 จุด เชื่อมโยงกับการรายงานจราจรผ่านกล้อง CCTV เช่น บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ แยกอโศก ใช้เวลาติดตั้ง 180 วัน หลังจากลงนามในสัญญา กำหนดเสร็จสิ้นประมาณ เดือนพฤศจิกายน 2548 รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์) อนุมัติลงนาม 8 มี.ค.48 ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการชี้แจงผู้ร้องเรียน และจะดำเนินการลงนามในสัญญาในวันที่ 26 พ.ค.48 6-17 มิ.ย.48 ประกวดราคาสัญญาณไฟคนข้ามอัจฉริยะ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับคนข้ามถนนเกิดความปลอดภัยในการเดินข้ามถนน โดยใช้วิธีการกดปุ่ม มีตัวเลขนับถอยหลัง พร้อมกับมีเสียงเตือนเป็นจังหวะสำหรับคนพิการ ทางข้ามเป็นลักษณะลาดสำหรับผู้พิการที่ต้องใช้รถเข็น มีเป้าหมายติดตั้ง 34 แห่ง โดยกำหนดติดตั้งบริเวณทางข้ามย่านชุมชน โรงเรียน และสถานพยาบาล ซึ่งในขณะนี้ได้อนุมัติเงินอุดหนุนแล้ว ในระหว่างวันที่ 6-17 มิ.ย.48 จะดำเนินการประกวดราคา และกำหนดเปิดซองประกวดราคาในวันที่ 22 มิ.ย.48 ซึ่งหากมีการลงนามในสัญญาแล้วจะดำเนินการได้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน ตั้งสำนักงานโครงการรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ BRT กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ BRT นำร่อง 2 เส้นทาง คือสายนวมินทร์-เกษตร-หมอชิต โดยเริ่มจากรามอินทรา กม.8 ไปตามถนนนวมินทร์ เข้าสู่ถนนพหลโยธิน สิ้นสุดที่สถานีขนส่งหมอชิต ระยะทาง 19.5 กิโลเมตร และ เส้นทางช่องนนทรี-สะพานกรุงเทพ โดยเริ่มจากแยกถนนสุรวงศ์ เข้าถนนนราธิวาสราชนครินทร์ เลี้ยวเข้าถนนพะราม 3 ข้ามสะพานกรุงเทพ สิ้นสุดที่ถนนราชพฤกษ์ ระยะทาง 16.5 กิโลเมตร กำหนด TOR แล้ว ขณะนี้ได้พิจารณาเปรียบเทียบความเหมาะสมในการใช้เชื้อเพลิงระหว่างน้ำมันดีเซลยูโร 3 และก๊าซ NGV สรุปว่าใช้น้ำมันดีเซลยูโร 3 และสามารถปรับให้สูงขึ้นได้ ส่วนรถที่นำมาเดินรถจะใช้วิธีซื้อรถเองโดยมีเงื่อนไขที่กทม.กำหนด และอยู่ระหว่างเสนอขออนุมัติประกวดราคา ภายในต้นเดือนสิงหาคม 2548 จะได้ผู้รับเหมา พร้อมกันนี้เพื่อให้โครงการเกิดความรวดเร็วจะพิจารณาจ้างผู้เชี่ยวชาญเป็นที่ปรึกษากำกับดูแลโครงการและให้คำเสนอแนะในการจัดหาผู้ดูแลระบบ รวมถึงจัดตั้งสำนักงานโครงการรถประจำทางด่วนพิเศษ BRT โดยมอบหมายเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเป็นผู้อำนวยการโครงการเพื่อเร่งรัดดำเนินการและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างดำเนินการโครงการ--จบ--

ข่าวสำนักการจราจรและขนส่ง+พุฒิพงษ์ ปุณณกันต์วันนี้

กทม. ผนึกกำลัง 437 โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร ปลุกพลังเยาวชนร่วมสร้างวัฒนธรรม "รักษ์วินัยจราจร" ผ่านกิจกรรมโรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยทางถนน ปี 3

กรุงเทพมหานคร โดยสำนักการจราจรและขนส่ง เดินหน้าขับเคลื่อนกิจกรรม "โรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยทางถนน (Road Safety Culture School)" ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ภายใต้โครงการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนกรุงเทพมหานคร โดยเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันนี้ (29 เมษายน 2568) ณ ห้องบางกอก ชั้น B2 อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 โดยมีนายสิทธิพร สมคิดสรรพ์ ผู้อำนวยการ สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วยผู้บริหาร ผู้แทนโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร และภาคี

นายสิทธิพร สมคิดสรรพ์ ผู้อำนวยการสำนักการ... กทม. แจงจัดซื้อกรวยล้มลุกเปิดให้แข่งขันราคาอย่างโปร่งใส-พร้อมให้ความร่วมมือหน่วยงานตรวจสอบ — นายสิทธิพร สมคิดสรรพ์ ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.)...

กทม. แจงหลักเกณฑ์ตั้งป้ายรถเมล์ คำนึงถึงความเหมาะสมกายภาพทางเท้า-ความสะดวกประชาชน

นายสิทธิพร สมคิดสรรพ์ ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กทม. กล่าวกรณีมีข้อสังเกตสถานที่ตั้งศาลาที่พักผู้โดยสารและป้ายหยุดรถประจำทางของ กทม. หลายแห่งยังไม่เหมาะสมและไม่สะดวกต่อผู้ใช้บริการว่า หลัก...

นายสิทธิพร สมคิดสรรพ์ ผู้อำนวยการสำนักการ... กทม. แจงคุณสมบัติหลักล้มลุกพลาสติกสะท้อนแสง ช่วยแก้ไขจุดเสี่ยง-ลดอุบัติเหตุบนถนน — นายสิทธิพร สมคิดสรรพ์ ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กทม. กล่า...

กทม. ชี้แจงศาลาที่พักผู้โดยสารบริเวณประตูน้ำ ไม่กระทบงานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม

นายสิทธิพร สมคิดสรรพ์ ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กทม. กล่าวกรณีมีข้อวิจารณ์ กทม. เตรียมตั้งศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทางบริเวณประตูน้ำ เกรงอาจต้องรื้อถอนออกในไม่ช้า เนื่องจากบริ...

กทม. เร่งเก็บข้อมูลพิจารณาทำ X-Crosswalks เพิ่มความสะดวก-ลดเวลาข้ามถนน

นายสิทธิพร สมคิดสรรพ์ ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กทม. กล่าวกรณีมีข้อเสนอแนะให้ กทม. ทำ X-Crosswalks (ทางม้าลายทแยงมุม) ว่า กทม. มีความเห็นสอดคล้องกับข้อเสนอแนะการพิจารณาจัดทำทางม้าลายทแยงมุม (X-Crosswalks) ...

กทม. แจงคุณสมบัติกระจกโค้ง ติดตั้งทางร่วม-ทางแยกใน 50 เขต

นายสิทธิพร สมคิดสรรพ์ ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กทม. กล่าวกรณีมีข้อสังเกตโครงการจัดซื้อแผ่นสะท้อนภาพ (กระจกโค้ง) กทม. ราคาสูงกว่าราคาตลาดว่า สจส. ได้รับงบประมาณปี 2568 เพื่อจัดซื้อแผ่นสะท้อนภาพ (กระจกโค้ง) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 60...

กทม. เตรียมปรับปรุงรูปแบบเก้าอี้พักคอยป้ายรถเมล์ อำนวยความสะดวกผู้ใช้บริการ

นายสิทธิพร สมคิดสรรพ์ ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กทม. กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทางรูปแบบใหม่ว่า โครงการก่อสร้างศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทาง ประจำปีงบประมาณ 2568 จำนวน 300 หลัง...

นายสิทธิพร สมคิดสรรพ์ ผู้อำนวยการสำนักการ... กทม. เดินหน้าเสริมประสิทธิภาพกล้อง CCTV รองรับการบังคับใช้กฎหมาย-ดูแลความปลอดภัย — นายสิทธิพร สมคิดสรรพ์ ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กทม. กล่า...