สกว. ขอเชิญร่วมงาน “ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น : เส้นทางสู่อนาคต”

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--19 เม.ย.--สกว.

การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นนับเป็นแนวการศึกษาที่ค่อนข้างใหม่สำหรับแวดวงการศึกษาด้านประวัติศาสตร์ ทั้งในแง่ของการเก็บข้อมูลจากคำบอกเล่า เรื่องราวของคนในท้องถิ่นผ่านเวทีเสวนา อันเป็นการเริ่มใช้ “พยาน” มาประกอบกับ “หลักฐาน” ที่เป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ ยิ่งไปกว่านั้นการเล่าเรื่องราวของ “ท้องถิ่น” ก็ยังเป็นเรื่องค่อนข้างใหม่เช่นเดียวกัน เพราะส่วนใหญ่เรื่องราวประวัติศาสตร์ของชาติไทยมักเป็นเรื่องของผู้คนที่เป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ชาติ และราชวงศ์ต่าง ๆ การหันมาให้ความสำคัญกับคนในท้องถิ่นและเรื่องราวของท้องถิ่นจึงเป็นการหักเลี้ยวที่สำคัญ เป็นการเริ่มต้นของการยอมรับความหลากหลายของท้องถิ่นต่าง ๆ ที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นราชอาณาจักรไทย เป็นการทำให้ลูกหลานยุคปัจจุบันได้เริ่มเรียนรู้และเห็นความสำคัญของรากเหง้าเผ่าพันธุ์ที่ไปที่มาของเขา อันนำไปสู่การสร้างสำนึกของความผูกพันและรักท้องถิ่นแผ่นดินเกิด และเป็นการทำให้ทุกฝ่ายได้หันไปค้นหา “พลังของท้องถิ่น” ที่เคยมีมาแต่เดิม ไม่ว่าจะเป็นความรู้ภูมิปัญญา ฐานทรัพยากร หรือสายใยความผูกพันของผู้คนที่จะเป็นพลังสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่นต่อไปในอนาคต สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยฝ่ายชุมชนและสังคม ได้ให้การสนับสนุนชุดโครงการวิจัย “ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น” มาตั้งแต่ปี ๒๕๔๓ จนกระทั่งปัจจุบัน รวม ๓๙ โครงการ อาทิ ชุดโครงการวิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น 4 ภาค (ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคใต้) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์จากความเปลี่ยนแปลงภายในของสังคมท้องถิ่นเอง โดยการทำงานร่วมกันของนักวิจัยหลากหลายสาขาวิชา และการใช้กระบวนการศึกษาที่มีชาวบ้านในสังคมท้องถิ่นเข้ามาร่วมงานวิจัยอย่างเข้มข้น จนก่อให้เกิดความเข้าใจและมองเห็นภาพที่สลับซับซ้อนในความเปลี่ยนแปลงมิติต่างๆของสังคมท้องถิ่นอย่างชัดเจน แม้ว่าในปัจจุบันวงวิชาการโดยรวมจะตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นว่าเป็นรากฐานที่สำคัญที่สุดของการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศชาติ แต่รูปธรรมของการคืนประวัติศาสตร์ให้แก่สังคมท้องถิ่นยังไม่ปรากฏขึ้น ดังนั้นสกว.จึงร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) โครงการจัดตั้งสถาบันรามจิตติ และคณะนักวิจัยจากชุดโครงการ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น” กำหนดให้มีการประชุมวิชาการ “ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น : เส้นทางสู่อนาคต” ขึ้น เพื่อแพร่เผยผลการวิจัย และประสบการณ์ที่ได้รับจากการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นนี้ งานจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25-27 เมษายน 2548 นี้ ณ หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ โดยคาดหวังว่าผลจากการจัดงานดังกล่าว จะสามารถจุดประกายความคิด และขับเคลื่อนให้ “ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น” ได้เข้าไปสร้างปัจจุบันและอนาคตที่เข้มแข็งให้กับชุมชนท้องถิ่นไทยได้อย่างยั่งยืน ภายในงานจัดให้มีการนำเสนอและอภิปรายผลงานวิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในประเด็นต่าง ๆ รวมทั้งการเสวนาและปาฐกถา ในหัวหน้าที่น่าสนใจ อาทิ การปาฐกถาเรื่องการสร้างสำนึกท้องถิ่นท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์,เส้นทางใหม่ของการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นไทย, ความหลากหลายทางวัฒนธรรมในท้องถิ่นไทย, วิธีศึกษา : บทเรียนจากการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น,การถอดบทเรียน “ครูผู้สร้างประวัติศาสตร์ท้องถิ่น”,และปาฐกถาเรื่อง “พรุ่งนี้ของท้องถิ่นไทย” เป็นต้น โดยผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วย ครูและอาจารย์ผู้สอนวิชาที่เกี่ยวข้องในระดับมัธยม-อุดมศึกษา สภาวัฒนธรรมจังหวัด ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัด สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องและสนใจใช้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเป็นเครื่องมือในการฟื้นสำนึกรักท้องถิ่น รวมถึงผู้สนใจทั่วไป กว่า 600 คน คณะผู้จัดจึงขอเชิญท่านเข้าร่วมงานในวันและเวลาดังกล่าว (รายละเอียดตามกำหนดการ) และหวังอย่างยิ่งที่จะได้รับความอนุเคราะห์จากท่านในการเผยแพร่ผลการศึกษา เนื้อหาสาระข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนต่อไป กำหนดการการประชุมวิชาการเรื่อง “ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น : เส้นทางสู่อนาคต” วันที่ 25-27 เมษายน 2548 ณ หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) และโครงการจัดตั้งสถาบันรามจิตติ วันจันทร์ที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๔๘ ๐๘.๓๐ – ๐๙.๐๐ น. ลงทะเบียนและรับเอกสารการประชุม ๐๙.๐๐ - ๐๙.๑๐ น. กล่าวต้อนรับ โดย คุณปริศนา พงษ์ทัดศิริกุล เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ๐๙.๑๐ – ๐๙.๒๕ น. รายงานความเป็นมาของโครงการและการจัดประชุม โดย ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย ผู้อำนวยการฝ่ายชุมชนและสังคม สกว. ๐๙.๒๕ - ๐๙.๔๐ น. เปิดการประชุม โดย คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ๐๙.๔๐ - ๑๐.๓๐ น. ปาฐกถา เรื่อง “การสร้างสำนึกท้องถิ่นท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์” โดย ศาสตราจารย์ เสน่ห์ จามริก ๑๐.๓๐ - ๑๐.๔๕ น. พักรับประทานอาหารว่าง ๑๐.๔๕ – ๑๑.๐๐ น. การนำเสนอวิดีทัศน์ เรื่อง “ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นคือทุนทางสังคม” ๑๑.๐๐ - ๑๒.๓๐ น. การอภิปราย เรื่อง “เส้นทางใหม่ของการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นไทย” รองศาสตราจารย์ ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ ผู้ประสานงานชุดโครงการประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาคเหนือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ ผู้ประสานงานชุดโครงการประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาคอีสาน อาจารย์ ชูพินิจ เกษมณี ผู้ประสานงานชุดโครงการประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาคกลาง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ยงยุทธ ชูแว่น ผู้ประสานงานชุดโครงการประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาคใต้ ดำเนินรายการ โดย ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย ๑๒.๓๐ - ๑๓.๓๐ น. พักรับประทานอาหารกลางวัน ๑๓.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. การนำเสนองานวิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในประเด็น “การเปลี่ยน แปลงฐานทรัพยากร ระบบความรู้ กับวิถีการทำมาหากินในท้องถิ่น” ห้อง ๑ - หอประชุมเล็ก พัฒนาการการใช้ทรัพยากรในทะเลสาบสงขลา : ศึกษากรณีชุมชนประมงพื้นบ้าน โดย ดร.เลิศชาย ศิริชัย พลวัตประวัติศาสตร์วัฒนธรรมท้องถิ่นท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงตำบลคลอง ด่าน โดย คุณเรวดี ประเสริฐเจริญสุข วัฒนธรรมปลาและอาชีพประมงในชุมชนลุ่มแม่น้ำชี โดย นายสัตวแพทย์ ดร. วรพล เองวานิช ผู้ร่วมอภิปราย ศาสตราจารย์ ดร. อานันท์ กาญจนพันธ์ ผู้ดำเนินรายการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ยงยุทธ ชูแว่น ห้อง ๒ – ห้องประชุม ๑ หอไทยนิทัศน์ "ของหน้าหมู่" ประวัติศาสตร์ตัวตนของชุมชนกลางหุบเขาแม่แจ่ม โดย คุณสันติพงษ์ ช้างเผือก ความหลากหลายทางชีวภาพกับชุมชนท้องถิ่นลุ่มน้ำชี โดย ดร.ศุภชัย สมัปปิโต วิวัฒนาการของการใช้ประโยชน์จากที่ดินและป่าไม้บริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลา โดย รองศาสตราจารย์ ดร. สุธัญญา ทองรักษ์ ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมท้องถิ่นชุมชนบ้านป่าต้นน้ำคลองระบม-สียัด โดย อาจารย์ อิงตะวัน แพลูกอินทร์ ผู้ร่วมอภิปราย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชุลีพร วิรุณหะ ผู้ดำเนินรายการ รองศาสตราจารย์ ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ ห้อง ๓ - ห้องประชุม ๒ หอไทยนิทัศน์ รูปแบบการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนลุ่มน้ำชี โดย อาจารย์ ไพบูลย์ บุญไชย ชุมชนลุ่มน้ำนครชัยศรี : พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ และสังคม-วัฒนธรรม พลวัตและการท้าทาย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เสาวภา พรสิริพงษ์ สืบสร้างประวัติศาสตร์วัฒนธรรมอัมพวาสวนนอก ตำบลบางนางลี่ โดย คุณอนุสรณ์ อุณโณ ผู้ร่วมอภิปราย ดร. เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ ผู้ดำเนินรายการ อาจารย์ชูพินิจ เกษมณี หมายเหตุ อาหารว่างในห้องประชุม พิธีกรประจำวัน อาจารย์ธวัช มณีผ่อง วันอังคารที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๔๘ ๐๙.๐๐ - ๑๐.๑๕ น. ปาฐกถา เรื่อง “ความหลากหลายทางวัฒนธรรมในท้องถิ่นไทย” โดย รองศาสตราจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม ๑๐.๑๕ - ๑๐.๓๐ น. พักรับประทานอาหารว่าง ๑๐.๓๐ - ๑๒.๑๕ น. การนำเสนองานวิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในประเด็น “กลุ่มชาติพันธุ์ : หยั่งรากใน ท้องถิ่น” ห้อง ๑ - หอประชุมเล็ก ประวัติศาสตร์ชุมชนท้องถิ่นกับการจัดการทรัพยากรสาธารณะของชุมชนริมฝั่ง แม่น้ำโขง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย โดย อาจารย์ธวัช มณีผ่อง ประวัติศาสตร์ชุมชนไทใหญ่ ท้องถิ่นภาคเหนือของประเทศไทยลุ่มน้ำแม่กก แม่อายและแม่มาว อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดย อาจารย์ เรณู อรรฐาเมศร์ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นการจัดการทรัพยากรส่วนรวมของชุมชนบริเวณลุ่มแม่น้ำลาง-น้ำ ของ อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดย คุณอารยะ ภูสาหัส ประวัติศาสตร์ชุมชนในเชียงใหม่ : การสร้างประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดย รองศาสตราจารย์ สมโชติ อ๋องสกุล ผู้ร่วมอภิปราย คุณพรพิไล เลิศวิชา ผู้ดำเนินรายการ คุณสันติพงษ์ ช้างเผือก ห้อง ๒ – ห้องประชุม ๑ หอไทยนิทัศน์ ขุนนิพัทธ์จีนนคร (เจีย กีซี) : พ่อค้าคนจีนผู้สร้างประวัติศาสตร์หาดใหญ่และ หัวเมืองภาคใต้ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศุลีมาน นฤมล วงศ์สุภาพ คนจีนกับการขยายตัวของเมืองบริเวณลุ่มน้ำชี โดย อาจารย์ นารีรัตน์ ปริสุทธิวุฒิพร การศึกษาสถานที่สำคัญของท้องถิ่นในลุ่มแม่น้ำชีโดยกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธัญญา สังขพันธานนท์ สืบสร้างประวัติศาสตร์วัฒนธรรมอัมพวาสวนนอก ตำบลนางลี่ โดย คุณเดช พุ่มคชา ผู้ร่วมอภิปราย รองศาสตราจารย์ ฉลอง สุนทราวณิชย์ ผู้ดำเนินรายการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ ห้อง ๓ - ห้องประชุม ๒ หอไทยนิทัศน์ ประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อการเข้าถึงทรัพยากรของคนเมืองน่าน โดย ดร. ชูศักดิ์ วิทยาภัค เมื่อกะเหรี่ยงสวนผึ้งลุกขึ้นพูด โดย คุณวุฒิ บุญเลิศ ย้อนรอยอดีตชนเผ่าซู โดย คุณเบญจมาศ ชุมวรฐายี ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมท้องถิ่นชุมชนบ้านป่าต้นน้ำคลองระบม-สียัด โดย คุณศักดิ์ชัย ชาตาดี ผู้ร่วมอภิปราย ดร. ชยันต์ วรรธนะภูติ ผู้ดำเนินรายการ อาจารย์ ชูพินิจ เกษมณี ๑๒.๑๕ – ๑๓.๓๐ น. พักรับประทานอาหารกลางวัน ๑๓.๓๐ – ๑๕.๑๕ น. การอภิปราย “วิธีศึกษา : บทเรียนจากการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น” รองศาสตราจารย์ สมโชติ อ๋องสกุล อาจารย์ เรณู อรรฐาเมศร์ นายสัตวแพทย์ ดร.วรพล เองวานิช อาจารย์ มนัสสวาส กุลวงศ์ อาจารย์นิรันดร์ เรือนอินทร์ อาจารย์ สารูป ฤทธิ์ชู ผู้ดำเนินรายการ รองศาสตราจารย์ ดร. อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ ๑๕.๑๕ – ๑๕.๓๐ น. พักรับประทานอาหารว่าง ๑๕.๓๐ - ๑๗.๐๐ น. การอภิปราย “แนวคิดหลักในการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น” ผู้ร่วมอภิปราย ศาสตราจารย์ สุธิวงศ์ พงษ์ไพบูลย์ รองศาสตราจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม ดร.สุเทพ สุนทรเภสัช ผู้ดำเนินรายการ รองศาสตราจารย์ ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ พิธีกรประจำวัน คุณสันติพงษ์ ช้างเผือก วันพุธที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๔๘ ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. การนำเสนองานวิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในประเด็น “รัฐไทยกับท้องถิ่น : การเบียดขับและชักเย่อ” ห้อง ๑ พื้นที่เศรษฐกิจ - หอประชุมเล็ก ประวัติศาสตร์ชาวบ้านทุ่งสาน ในเขตอำเภอพรหมพิราม และวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก โดย รองศาสตราจารย์ ดร. จิราภรณ์ สถาปนะวรรธนะ เศรษฐกิจท้องถิ่นลุ่มทะเลสาบสงขลา : ศึกษาเฉพาะกรณีข้าวและยางพารา ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๙-๒๕๓๙ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กิตติ ตันไทย เศรษฐกิจที่ไม่เป็นทางการในลุ่มน้ำชี โดย ดร.ชินสัคค สุวรรณอัจฉริยะ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นวิถีวัฒนธรรมริมน้ำย่านตลาดพูลจากคลองบางหลวงถึง คลองด่าน โดย อาจารย์ มนัสสวาส กุลวงศ์ เศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลาในมิติประวัติศาสตร์ โดย อาจารย์ประมวล มณีโรจน์ ผู้ร่วมอภิปราย ศาสตราจารย์ ดร. ฉัตรทิพย์ นาถสุภา ผู้ดำเนินรายการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ยงยุทธ ชูแว่น ห้อง ๒ พื้นที่การเมือง - ห้องประชุม ๑ หอไทยนิทัศน์ การเมืองท้องถิ่นบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลา พ.ศ. ๒๔๓๙-๒๕๓๔ โดย อาจารย์ สารูป ฤทธิ์ชู ประวัติศาสตร์ชุมชนบริเวณป่าพรุควนเคร็งในเขตรอยต่อจังหวัดพัทลุง สงขลาและนครศรีธรรมราช โดย อาจารย์สมคิด ทองสง และคุณพิเชฐ แสงทอง พลวัตประวัติศาสตร์วัฒนธรรมท้องถิ่นท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงตำบลคลองด่าน โดย คุณเรวดี ประเสริฐเจริญสุข เมื่อกะเหรี่ยงสวนผึ้งลุกขึ้นพูด โดย คุณวุฒิ บุญเลิศ ผู้ร่วมอภิปราย ศาสตราจารย์ ดร. อมรา พงศาพิชญ์ ผู้ดำเนินรายการ ดร.เลิศชาย ศิริชัย ห้อง ๓ พื้นที่กายภาพ และพื้นที่วัฒนธรรม - ห้องประชุม ๒ หอไทยนิทัศน์ การศึกษาวิวัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางกายภาพของชุมชน ริมฝั่งลุ่มน้ำชี โดย อาจารย์ สักรินทร์ แซ่ภู่ การขยายตัวของชุมชนเมืองลุ่มน้ำชี โดย อาจารย์ ถนอม ตะนา พัฒนาของพุทธศาสนาและศาสนาอิสลามในบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลา ระหว่างพุทธศักราช ๒๔๔๒-๒๕๔๒ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เอี่ยม ทองดี และ อาจารย์ ชัยวุฒิ พิยะกุล การแสดงพื้นบ้าน : การเปลี่ยนแปลงและความสัมพันธ์กับสังคมและวัฒนธรรม บริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลา กรณีศึกษาหนังตะลุงและโนราหลังปฏิรูปการปกครองสมัย รัชกาลที่ ๕ (พ.ศ. ๒๔๓๗-ปัจจุบัน) โดย อาจารย์ พิทยา บุษรารัตน์ ผู้ร่วมอภิปราย รองศาสตราจารย์ ดร. มรว. อคิน รพีพัฒน์ ผู้ดำเนินรายการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ หมายเหตุ อาหารว่างในห้องประชุม ๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐ น. พักรับประทานอาหารกลางวัน ๑๓.๐๐ – ๑๕.๐๐ น. การถอดบทเรียน “ครูผู้สร้างประวัติศาสตร์ท้องถิ่น” อาจารย์ อิงตะวัน แพลูกอินทร์ อาจารย์ จรรยา พนาวงศ์ อาจารย์ สุวิทย์ มาประสงค์ ผู้ดำเนินรายการ รองศาสตราจารย์ ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ ๑๕.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ปาฐกถา เรื่อง “พรุ่งนี้ของท้องถิ่นไทย” โดย ศาสตราจารย์ ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ พิธีกรประจำวัน อาจารย์ ธวัช มณีผ่อง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โทร.0-2619-6188,6199701--จบ--

ข่าวประวัติศาสตร์ท้องถิ่น+เรื่องราววันนี้

ผศ. ปริญญา ชูแก้ว พลังขับเคลื่อน KMITL ASA VERNADOC ส่งต่อชุมชนมีส่วนร่วม กับการอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปริญญา ชูแก้ว อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เจ้าของรางวัล ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น ประเภทบุคคล ประจำปี 2561 สมาคมสถาปนิกสยามฯ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และรางวัลบุคคลที่ได้ทำคุณประโยชน์และชื่อเสียงให้แก่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ด้านบริการสังคม ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2561 ที่ผ่านมา จุดเริ่มต้น ผศ. ปริญญา ชูแก้ว หรือ อาจารย์แป่ง ได้ดำเนินโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมของย่านชุมชน

ร่วมสถาปนามหาวิทยาลัย ครบรอบ 77 ปี คณะมนุ... มจษ. เชิญฟังปาฐกถาพิเศษ“ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นไทย” — ร่วมสถาปนามหาวิทยาลัย ครบรอบ 77 ปี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม (มจษ.) ขอ...

มรภ.สงขลา ชงแผนแก้ชายแดนใต้ เสนอรัฐผ่านงบ 280 ล. พัฒนาการศึกษา

มรภ.สงขลา เสนอแผนงานแก้ปัญหาชายแดนใต้ มูลค่ากว่า 280 ล้าน ชง 7 โครงการ อาทิ อบรมภาษาอังกฤษ มลายู จีน ทำหลักสูตรประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพิ่มทักษะบริการภาคธุรกิจโรงแรม หวังพัฒนาการศึกษารอบด้าน ดร.แสนศักดิ์ ศิริพานิช รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย...

กระทรวงวัฒนธรรม หาแนวทางดึงเด็กและเยาวชนเรียนประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

นางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวในการเปิดประชุมสัมมนาวิชาการ ๑๕๐ ปี สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย ที่โรงแรมรอยัลปริ๊นเซส เมื่อเร็วๆนี้ว่า สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ...

หอจดหมายเหตุพุทธทาสทำหนังสือการ์ตูนธรรมะเณรแก้ว น้อยไชยา ไว้ใจ นานมีบุ๊คส์ บุกตลาด สอนเยาวชนเข้าใจพุทธศาสนา

หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ จับมือนานมีบุ๊คส์ ทำการ์ตูนความรู้ธรรมะสอนเยาวชนชุด เณรน้อยแก้วไชยาเพื่อสอนศีลธรรมอย่างง่ายให้เด็กเข้าใจในคำสอนของท่านพุทธทาสพร้อมความรู้ด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่น...

สกว. – สวช. หนุนเด็กนำประวัติศาสตร์ท้องถิ่นสร้างหนัง เชื่อส่งเสริมให้เด็กรักท้องถิ่นจะนำไปสู่การรักชาติ

ดร. สีลาภรณ์ บัวสาย รองผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เปิดเผยว่า จากการที่ สกว. ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของท้องถิ่น และสนับสนุนให้เด็กนัก...

สวช. –สกว. จับมือเปิดตัว “โรงเรียนทำหนังวัฒนธรรม” หวังหนุนเยาวชนสร้างสารคดีประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เสริมสร้างภูมิคุ้มทางวัฒนธรรม

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เปิดตัว “โรงเรียนทำหนังวัฒนธรรม” เพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของเยาวชนใน...