ม.เชียงใหม่ เจ๋งสร้างเครื่องผลิตไบโอดีเซลขนาด 150 ลิตร รัฐเล็งต่อยอดชุมชนผลิตไบโอดีเซลใช้เอง

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--15 ส.ค.--สนพ.

กระทรวงพลังงาน สนับสนุนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่สร้างเครื่องผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้วขนาดเล็ก กำลังการผลิตไม่เกิน150 ลิตร/ครั้ง เผยต้นทุนค่าสร้างชุดผลิตราคาเพียง 120,000 บาท ชี้เหมาะผลิตไบโอดีเซลใช้เองในชุมชน นายประเสริฐ ฤกษ์เกรียงไกร ผู้อำนวยการสถานจัดการและอนุรักษ์พลังงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) เปิดเผยว่า จากการดำเนินโครงการสำรวจข้อมูลน้ำมันพืชใช้แล้วเพื่อนำมาผลิตเป็นไบโอดีเซล โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน พบว่า ประเทศไทยมีปริมาณน้ำมันพืชใช้แล้วสูงถึง 74.5 ล้านลิตร/ปี ซึ่งหากนำมาผลิตเป็นไบโอดีเซลจะสามารถทดแทนการใช้น้ำมันดีเซลได้มากถึง 1,570 ล้านบาท/ปี (คำนวณที่น้ำมันดีเซลราคาลิตรละ 23 บาท) ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการจัดหาพลังงานทดแทนของรัฐบาลที่ต้องการลดการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศตามเป้าหมายร้อยละ 20 หรือคิดเป็นเงินรวม 200,000 ล้านบาท ในปี 2552 มช.จึงได้ดำเนิน “โครงการใช้ไบโอดีเซลที่ผลิตจากน้ำมันพืชใช้แล้ว สำหรับรถราชการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่” ด้วยการสร้างเครื่องผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้วขนาดเล็กที่มีกำลังการผลิตไม่เกิน 150 ลิตร/ครั้ง สำหรับต้นทุนการสร้างชุดผลิต ที่ไม่รวมถังเก็บน้ำมันพืชใช้แล้ว และถังเก็บไบโอดีเซลที่ผลิตได้ประมาณ 120,000 บาท ทั้งนี้ การผลิตไบโอดีเซลจะมีต้นทุนประมาณ 16 บาท/ลิตร แต่กรณีที่ต้องซื้อน้ำมันพืชใช้แล้วจากท้องตลาดที่มีราคาประมาณลิตรละ 8 บาท รวมค่าผลิตอีกประมาณ 8 บาท ซึ่งประกอบด้วย ค่าสารเคมี ไฟฟ้า น้ำประปา และแรงงาน สำหรับการทดสอบใช้ไบโอดีเซลกับรถราชการในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยใช้สูตร B20 คือ อัตราส่วนผสมน้ำมันดีเซล 80% และไบโอดีเซล 20% ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ยอมรับและใช้ได้ในเชิงพาณิชย์ ปรากฏผลเป็นที่น่าพอใจ โดยคาดว่าเมื่อเสร็จสิ้นโครงการฯ ภายในเดือนกันยายน 2548 จะสามารถประหยัดค่าเชื้อเพลิงสำหรับรถราชการของมหาวิทยาลัยได้ประมาณ 92,000 บาท ทั้งนี้ เครื่องผลิตไบโอดีเซลดังกล่าวมีต้นทุน และกำลังการผลิต เหมาะสมที่จะใช้สำหรับชุมชน ดังนั้น สถานจัดการและอนุรักษ์พลังงาน จะเปิดให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชน และหน่วยงานต่างๆ ในการให้คำปรึกษาตลอดจนฝึกอบรมด้านเทคนิค ขั้นตอน วิธีการ และความปลอดภัยในการผลิต รวมทั้งมอบแบบการสร้างชุดผลิต เพื่อให้ผู้ที่ผ่านการอบรมสามารถสร้างและผลิตไบโอดีเซลสำหรับใช้ในชุมชน หรือหน่วยงานต่อไป--จบ--

ข่าวกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน+ประเสริฐ ฤกษ์เกรียงไกรวันนี้

มช.เดินหน้าศึกษาระบบผลิตก๊าซชีวภาพอัดทดแทนก๊าซLPG เตรียมขยายใช้จริงในชุมชน

กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ทุ่มงบกว่า 33 ล้านบาท ส่งเสริม มช. เดินหน้าศึกษาระบบผลิตก๊าซชีวภาพอัดทดแทนก๊าซแอลพีจี เพื่อใช้ในครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม อนาคตเตรียมขยายผลการทดลองใช้จริงในชุมชนต้นแบบไม่น้อยกว่า 100 ครัวเรือน ภายในเดือน มี.ค.2557 รองศาสตราจารย์ประเสริฐ ฤกษ์เกรียงไกร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยก็มีศักยภาพด้านการผลิตก๊าซชีวภาพทั้งภาคปศุสัตว์ โรงงานอุตสาหกรรม และชุมชน ที่มีมากถึง 1,170 ล้านลบ.ม.ต่อปี

ม.เชียงใหม่ สาธิตการผลิต “พลังงานทดแทน”

สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานทดแทน ม.เชียงใหม่ เตรียมออกบูธ “พลังงานทดแทน” โชว์ขั้นตอนการผลิตไบโอดีเซล และวิธีการผลิตก๊าซชีวภาพ ในงาน “มหกรรมจุดเปลี่ยน” 6 ปี ทีวีบูรพา วันที่ 11-13 ก.ค.นี้ รองศาสตราจารย์ประเสริฐ ฤกษ์เกรียงไกร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงาน...

กองทุนฯ หนุน มช. สร้างเครื่องผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้วขนาดเล็ก ต่อยอดใช้ในชุมชน

กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สนับสนุนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่สร้างเครื่องผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้วขนาดเล็ก กำลังการผลิตไม่เกิน 150 ลิตร/ครั้ง เผยต้นทุนค่าสร้างชุดผลิตราคาเพียง 120,000 บาท ชี้เหมาะผลิตไบ...

สถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรร... ส.อ.ท. ร่วมกับกระทรวงพลังงาน จัดงาน Thailand ESCO Fair 2020 "Move Forwards to Smart Industry by ESCO" — สถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประ...

ความภูมิใจกับรางวัลนวัตกรรมจากกระทรวงพลัง... นวัตกรรมหม้อแปลงไฟฟ้าเจริญชัยกับการลดต้นทุนค่าไฟฟ้าสูงสุด 22.16% — ความภูมิใจกับรางวัลนวัตกรรมจากกระทรวงพลังงานและการสนับสนุนจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (...