เตือนภัยหนอน ไอเอ็ม ตัวใหม่ ใช้ชื่อของโปรแกรมดาวน์โหลดเพลงยอดฮิต “ไอทูนส์” ลวง

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--26 ก.ค.--คอร์ แอนด์ พีค

เทรนด์ ไมโครตรวจพบ “WORM_OPANKI.Y” หนอนอินเทอร์เน็ตตัวใหม่ที่พุ่งเป้าโจมตีไปที่โปรแกรมสนทนาออนไลน์ หรือ ไอเอ็ม โดยใช้ไฟล์ ITUNES.EXE เป็นตัวกลางในการแพร่ระบาด หนอนร้ายดังกล่าวได้โจมตีโปรแกรมเอโอแอล อินสแตนท์ เมสเซ็นเจอร์ หนึ่งในสามโปรแกรมไอเอ็มยอดนิยมของโลก ด้วยการใช้ชื่อของโปรแกรมดาวน์โหลดเพลงยอดฮิต “ไอทูนส์” เป็นตัวลวง หนอน OPANKI.Y ได้จัดส่งข้อความว่า “this picture never gets old” ไปยังผู้เล่นออนไลน์ที่มีรายชื่ออยู่ในระบบของเหยื่อที่ติดไวรัสร้ายตัวนี้ ข้อความดังกล่าวมาพร้อมกับลิงค์ดาวน์โหลดไฟล์ในสกุลเจเพ็ค (JPG) ซึ่งดูน่าเชื่อถือ หลังจากดาวน์โหลดมาแล้ว ไฟล์ดังกล่าวจะถูกบันทึกเป็น ITUNES.EXE ในระบบของผู้ใช้แทน หนอนร้าย OPANKI.Y ยังได้เปิดประตูหลังของระบบ ด้วยการทิ้งโปรแกรมแอดแวร์/เกรย์แวร์ไว้ 4 ตัว ได้แก่ ADW_DYFUCA.EI: โปรแกรมแอดแวร์ตัวนี้ จะสร้างโฟลเดอร์ที่ชื่อว่า "Internet Optimizer" และทิ้งโปรแกรมสอดแนม หรือสปายแวร์ เพื่อทำให้เกิดการแสดงโฆษณาป๊อปอัพในระบบที่ติดไวรัส ADW_MEDTICKS.A: เป็นโปรแกรมแอดแวร์ยอดนิยมที่ชื่อว่า “Media Tickets” (www.mediatickets.net) มีความสามารถในการติดตามทุกคลิกที่เหยื่อคลิก รวมทั้งความถี่ในการคลิกด้วย เพื่อประโยชน์ในการแสดงโฆษณาป๊อปอัพ โดยแอดแวร์ตัวนี้สัญญาว่าจะจ่ายให้เหยื่อ 15 เซ็นต์กับทุกคลิกที่เหยื่อคลิกแอดแวร์ดังกล่าว นอกจากนี้ แอดแวร์ตัวนี้ ยังเคยบรรจุอยู่ในหนอนหลากสายพันธุ์ในตระกูลมายท็อบ (MYTOB) ซึ่งแพร่ระบาดในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาด้วย รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่ Trend Micro Virus Encyclopedia (http://www.trendmicro.com/vinfo/virusencyclo/default5.asp?VName=WORM_MYTOB.BI) ADW_SOLU180.H: แอดแวร์ตัวนี้ รู้กันดีว่าเป็นโปรแกรม greyware ที่ชื่อ "180 Search Assistant" โปรแกรมนี้จะตรวจสอบการทำงานของโปรแกรมอินเทอร์เน็ต เอ็กซ์พลอเรอร์ หรือไออีของเหยื่อที่ติดไวรัส โดยจะติดตามพฤติกรรมการท่องเวบของเหยื่อ เพื่อสร้างโฆษณาป๊อปอัพให้ได้ตรงกับพฤติกรรมของเหยื่อแต่ละคน ADW_SOLU180.K: โดยปกติแล้วแอดแวร์ตัวนี้ จะถูกบรรจุมาพร้อมกับโปรแกรมแอดแวร์อื่นๆ และในกรณีนี้ก็เช่นกัน ภัยคุกคามโปรแกรมไอเอ็มไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะเมื่อเดือนพฤษภาคม 2544 ได้มีหนอนอินเทอร์เน็ต WORM_MENGER.A หวังผลโจมตีโปรแกรมไอเอ็มเกิดขึ้นมาแล้ว ภัยร้ายที่กระทำต่อโปรแกรมไอเอ็มส่วนใหญ่ พุ่งเป้าไปที่โปรแกรมยอดนิยม 3 รายใหญ่ ได้แก่ เอไอเอ็ม, เอ็มเอสเอ็น เมสเซ็นเจอร์ และ ยาฮู! เมสเซ็นเจอร์ และด้วยเหตุที่โปรแกรมสนทนาออนไลน์กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้น จึงกลายเป็นสื่อยอดฮิตสำหรับนักเขียนไวรัส เพราะมีเหยื่อนับล้านราย ที่ไม่ตระหนักถึงภัยคุกคามในโปรแกรมดังกล่าว เจมี ลินดอน “แจมซ์” เอ. ยาเนซา วิศวกรอาวุโสฝ่ายวิจัยโปรแกรมต้านไวรัส บริษัท เทรนด์ ไมโคร ธุรกิจรักษาความปลอดภัยคอนเทนท์และต้านไวรัส เชื่อว่า “ความนิยมของไอพ็อด และไอทูนส์ ทำให้ง่ายที่ผู้ใช้จะหลงเชื่อว่าไฟล์ ITUNES.EXE เป็นไฟล์ที่ถูกต้อง และเทคนิคการปล่อยหนอนไวรัสทำลายสังคมในครั้งนี้ ใช้ความสนใจของคนมาเป็นประโยชน์ ซึ่งเป็นเทคนิคที่นักเขียนไวรัสใช้มาโดยตลอด” สำหรับการป้องกันภัยร้ายครั้งนี้ บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยแนะนำให้ผู้ใช้ตรวจสอบข้อความของโปรแกรมเอไอเอ็มที่ได้รับให้แน่ใจก่อนทุกครั้ง แม้ว่าข้อความนั้นจะมาจากเพื่อนหรือคนที่รู้จักก็ตาม รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ WORM_OPANKI.Y และวิธีกำจัดหนอนร้ายออกจากระบบ เข้าไปดูได้ที่ Trend Micro Virus Encyclopedia (http://www.trendmicro.com/vinfo/virusencyclo/default5.asp?VName=WORM_OPANKI.Y) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ: คุณศรีสุพัฒ เสียงเย็น ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์ บริษัท คอร์ แอนด์ พีค จำกัด โทร. 0-2-439-4600 ต่อ 8300, 8302 อีเมล์: [email protected]จบ--

ข่าวเทรนด์ ไมโคร+อินเทอร์เน็ตวันนี้

MSC คว้ารางวัล Growth Partner of the Year 2022 จาก Trend Micro

บริษัท เมโทรซิสเต็มส์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ MSC ผู้นำในธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศครบวงจร คว้ารางวัล "Growth Partner of the Year 2022" ในงาน Trend Micro Executive Partner Awards โดย คุณชัยวัฒน์ ลิขิตจรรยากุล รองกรรมการผู้จัดการกลุ่มธุรกิจซอฟท์แวร์โซโลูชั่น รับมอบรางวัลจาก คุณปิยธิดา ตันตระกูล ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท เทรนด์ ไมโคร (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ณ โรงแรมเรเนซองส์ กรุงเทพฯ ราชประสงค์ รางวัล "Growth Partner of the Year" เป็นรางวัลสำหรับ Partner

โดยนายเอ็ด คาบรีรา ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายก... โจมตีเครื่องเอทีเอ็ม: ช่องทางทำเงินของมัลแวร์เอทีเอ็ม — โดยนายเอ็ด คาบรีรา ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ บริษัท เทรนด์ ไมโคร บริษัท เ...

เอ็นเอสเอส แล็บส์ จัดอันดับให้ ทีเอ็กซ์ ซ... เทรนด์ ไมโคร เปิดตัว TippingPoint TX Series ล่าสุดผลิตภัณฑ์ตรวจสอบเครือข่ายที่จิ๋วแต่แจ๋ว — เอ็นเอสเอส แล็บส์ จัดอันดับให้ ทีเอ็กซ์ ซีรี่ส์ ของเทรนด์ ไมโค...

คะแนนเต็ม100 % ด้านการตรวจจับการบุกรุกปี 2560 สำหรับ Trend Micro Deep Discovery จากการประเมินของNSS Labs เป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน

ความต้องการด้านการป้องกันภัยคุกคามที่มีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการดำเนินงานในชีวิตประจำวันและยิ่งมีความสำคัญเพิ่มขึ้นอีกเมื่อการโจมตีขั้นสูงยังคง...

การประเมินด้านความปลอดภัยกลางปี 2560 แสดง... รายงานกลางปีของเทรนด์ ไมโครชี้ให้เห็นความจำเป็นของการรักษาความปลอดภัยเชิงรุก — การประเมินด้านความปลอดภัยกลางปี 2560 แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการลงทุนด้าน...