มข.ผนึกกำลัง สวทช.ร่วมพันธมิตรเครือข่าย ITAP พัฒนาเทคโนโลยีเอสเอ็มอีสานบน

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--6 ธ.ค.--สวทช.

มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ สวทช. พัฒนาเทคโนโลยีแก่ผู้ประกอบการภาคอีสานตอนบน 11 จังหวัดภายใต้เครือข่ายโครงกาสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย(ITAP) แห่งที่ 6 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ การผลิตและศักยภาพการแข่งขันให้กับ SMEs และวิสาหกิจชุมชน สอดรับนโยบายของรัฐฯ ในการช่วยแก้ปัญหาความยากจนให้กับคนในภูมิภาค รศ.ดร.สมชาย ฉัตรรัตนา ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) และผู้อำนวยการโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (ITAP) เปิดเผยว่า "จากผลสำเร็จที่ผ่านมา และแนวโน้มความต้องการบริการของโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (ITAP) ที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ สวทช. จึงมุ่งหวังที่จะขยายโครงการ ITAP ให้เป็นโครงการระดับประเทศ เพื่อสามารถให้บริการครอบคลุมพื้นที่ในส่วนภูมิภาคให้มากยิ่งขึ้น โดยการร่วมมือกับหน่วยงานและสถาบันอุดมศึกษาในส่วนภูมิภาค จัดทำเป็นเครือข่ายโครงการ ITAP และจัดให้มีที่ปรึกษาเทคโนโลยี(ITA) อยู่ประจำเครือข่ายฯ เพื่อให้บริการแก่ภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ได้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น ล่าสุด สวทช. ได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น(มข.) เพื่อเข้ามาเป็นเครือข่ายโครงการ ITAP แห่งที่ 6 สำหรับการใช้บริการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการจัดการเชิงลึกแบบครบวงจรแก่อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ซึ่งทาง สวทช. มีความมั่นใจอย่างยิ่งว่า ด้วยศักยภาพมหาวิทยาลัยขอนแก่น และความพร้อมของ สวทช. จะร่วมกันสร้างให้เป็นพลังส่งเสริมขีดความสามารถของภาคเอกชนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้อย่างมีประสิทธิภาพ" ด้าน ผศ.อารมย์ ตัตตะวะศาสตร์ รองอธิการบิดีฝ่ายแผนและสารสนเทศ มหาวิทยาลัยขอนแก่น(มข.) กล่าวว่า สำหรับความร่วมมือครั้งนี้ เป็นเสมือนการเริ่มต้นอีกโครงการหนึ่งระหว่าง สวทช. กับมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่จะได้ประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย ที่สำคัญที่สุดคือ การที่จะทำให้เกิดประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 11 จังหวัดประกอบด้วย นครพนม, หนองบัวลำภู, หนองคาย, อุดรธานี, เลย, สกลนคร, ชัยภูมิ, มุกดาหาร, กาฬสินธิ์, มหาสารคาม และขอนแก่น ในการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันในประเทศได้ตามนโยบายของรัฐบาลที่ได้กำหนดให้นำความรู้ หรือ ระบบเศรษฐกิจฐานความรู้(Knowledge Based Economy) เป็นยุทธศาสตร์หลักสู่กระบวนการจัดการทุกเรื่องโดยเฉพาะอุตสาหกรรมเกษตร ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการที่จะเพิ่มหรือแก้ไขปัญหาความยากจนของภูมิภาคแห่งนี้ได้ "ในเรื่องของบุคลากรนั้น ทางมหาวิทยาลัยฯ เองมีความพร้อมอยู่แล้วและมีความเข้าใจถึงสภาพปัญหาในท้องถิ่นเป็นอย่างดี เชื่อว่า จะทำให้การร่วมมือกันครั้งนี้ มุ่งไปข้างหน้าแบบก้าวกระโดด เพราะมีการทำงานร่วมกันแบบบูรณาการ ซึ่งจะส่งผลให้อุตสาหกรรมในพื้นที่เติบโตตามไปด้วย โดยการร่วมสร้างนวัตกรรมและองค์ความรู้ร่วมกันในเรื่องของการวิจัยและพัฒนา เพื่อให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เคยได้รับการขึ้นชื่อว่าเป็นภูมิภาคที่แห้งแล้งที่สุด มีจำนวนประชากรมากที่สุด 1 ใน 3 ของประเทศ จะสามารถนำอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็น SMEs หรือ วิสาหกิจชุมชน โดยเฉพาะที่จังหวัดขอนแก่นซึ่งเป็นจังหวัดที่โรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมาก ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้" ผส.อารมย์ กล่าว ปัจจุบัน โครงการ ITAP มีการติดต่อกับภาคเอกชนมากกว่า 2,500 บริษัท โดยมีการวิเคราะห์ปัญหาทางเทคนิคเบื้องต้นแล้วกว่า 1,000 บริษัท และสามารถพัฒนาให้วิสาหกิจมีขีดความสามารถทางเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 720 บริษัท และมีที่ปรึกษาเทคโนโลยีหรือที่เรียกว่า ITA กระจายอยู่ทุกภูมิภาคของประเทศจำนวน 34 คน ซึ่งที่ผ่านมาโครงการ ITAP ได้รับการประเมินจากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยว่าเป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จและให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงมากกว่า 6 เท่า โดยมีปัจจุบันความสำเร็จ 3 ประการคือการเน้นที่กลุ่มลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย มีการบริการที่ดีเลิศ และมีระบบเครือข่ายอย่างแท้จริง อีกทั้งยังได้รับความไว้วางใจจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ ในการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมให้อีก 15 ล้านบาทเมื่อกลางปี 2548 ในการจัดทำโครงการ"สร้างเครือข่ายการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทยในภูมิภาคอย่างเป็นระบบที่ยั่งยืน" เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและพัฒนาการรวมกลุ่มคลัสเตอร์ใน 3 กลุ่มหลักอีกด้วย สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (ITAP) โทร. 0-2619-6188--จบ--

ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี+มหาวิทยาลัยขอนแก่นวันนี้

วว. /ม.ขอนแก่น / University of Franche-Comte (UFC) ประชุมหารือการจัดทำปริญญาร่วม (double degree) หลักสูตร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและชีวนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน ภายใต้โครงการธัชวิทย์

ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนา ด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) พร้อมด้วย ดร.ธัญชนก เมืองมั่น นักวิจัยอาวุโส ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร และคณะผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประกอบด้วย ผศ.ดร.อังคณา บุญยืด คณบดี คณะวิทยาศาสตร์ ดร.สุขุม เรืองไชย ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร รศ.ดร. รินา ภัทรมานนท์ ประธานหลักสูตร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและชีวนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รวมทั้งผศ.ดร

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประ... วว. จัดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ …เสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรด้านการปกป้องดิน — สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึ...

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโล... สสวท. ชวนครูเตรียมพร้อมรับเปิดเทอมกับ "ระบบจัดการเรียนรู้ออนไลน์ My IPST" — สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ชวนคุณครูเตรียมพร้อมรับเปิ...

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโล... สำหรับนักเรียนทุน พสวท. ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2567 — สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดค่ายวิทยาศาสตร์ภาคฤดูร้อนสำหรับนักเรียนทุ...

ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกร... วว. จับมือพันธมิตรไทย-จีน เสริมสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม — ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทย...