ธสน. แจงโครงการ Contract Farming สร้างฐานอุตสาหกรรมไทยในประเทศเพื่อนบ้าน

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--8 ธ.ค.--ธสน.

นายสถาพร ชินะจิตร กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ชี้แจงเกี่ยวกับการร่วมเดินทางไปเยือนพม่ากับคณะของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เมื่อวันที่ 2-3 ธันวาคมที่ผ่านมาว่า การเยือนพม่าในครั้งนี้เป็นผลจากการที่ ธสน. สนับสนุนโครงการส่งเสริมการปลูกอ้อยในพม่าเพื่อป้อนให้แก่โรงงานน้ำตาลตามข้อตกลงรับซื้อในลักษณะ Contract Farming อยู่แล้วตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล โดย ธสน. กำลังพิจารณาให้การสนับสนุนนักธุรกิจภาคเกษตรของไทยไปลงทุนเพาะปลูกบริเวณชายแดนพม่า ลาว และกัมพูชา เพื่อป้อนผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ให้กับโรงงานอุตสาหกรรมในไทยหรือในประเทศเพื่อนบ้าน อันเป็นการสร้างงานและรายได้ให้แก่ประชาชนท้องถิ่นและรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศเข้าสู่ประเทศที่เข้าร่วมโครงการ Contract Farming โดยอาศัยประสบการณ์และความก้าวหน้าทางวิชาการเกษตรของไทยเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาภาคเกษตรและอุตสาหกรรม ตลอดจนเศรษฐกิจของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงโดยรวม กรรมการผู้จัดการ ธสน. กล่าวว่า ธสน. พร้อมจะให้สินเชื่อแก่นักธุรกิจภาคเกษตรของไทยที่สนใจจัดทำโครงการ Contract Farming กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยจะพิจารณาอนุมัติเป็นรายโครงการจากความเป็นไปได้ของโครงการในเชิงพาณิชย์ ประสบการณ์และความสามารถของนักลงทุนไทย ตลอดจนความชัดเจนและความแน่นอนของข้อตกลงรับซื้อผลผลิตทางการเกษตรที่เพาะปลูกได้ โดยล่าสุด ธสน. กำลังจะให้การสนับสนุนวงเงินสินเชื่อแก่นักธุรกิจภาคเกษตรเจ้าของไร่อ้อยในจังหวัดกาญจนบุรีซึ่งมีประสบการณ์ทำไร่อ้อยมานานกว่า 30 ปี เพื่อนำเงินไปใช้ซื้อเครื่องจักรของไทยสำหรับการเข้าไปเพาะปลูกอ้อยในพม่า โดยเจ้าของโครงการได้ทำสัญญาขายผลผลิตให้แก่โรงงานน้ำตาลในพม่า ทั้งนี้ ในการดำเนินนโยบายส่งเสริม Contract Farming เพื่อสนับสนุนธุรกิจไทยให้เติบโตในต่างประเทศ ธสน. จะเริ่มจากประเทศเพื่อนบ้านของไทย ซึ่งได้แก่ พม่า ลาว และกัมพูชา ก่อนจะนำแนวคิดดังกล่าวไปปรับใช้ในประเทศอื่น เช่น ติมอร์ตะวันออก ต่อไป เกี่ยวกับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) เป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐที่อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงการคลัง จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2536 ซึ่งกำหนดขอบเขตอำนาจให้ธนาคารสามารถทำธุรกิจทุกประเภทที่ธนาคารพาณิชย์ทำได้ ยกเว้นเพียงการรับฝากเงินจากประชาชนทั่วไป โดยมีวัตถุประสงค์ในการให้บริการทางการเงินเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกไทยและนักลงทุนไทยในต่างประเทศ และสนับสนุนการได้มาซึ่งเงินตราต่างประเทศของไทยหรือประหยัดเงินตราต่างประเทศ ต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักบริหาร โทร. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ต่อ 1140–6--จบ--

ข่าวธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย+ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าวันนี้

EXIM BANK ประสบความสำเร็จในการออกพันธบัตรสกุลบาท มูลค่ารวม 6,000 ล้านบาท ตอกย้ำบทบาทธนาคารเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

นายบัณฑิต สะเพียรชัย กรรมการ และรักษาการกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า EXIM BANK ประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูงในการเสนอขายพันธบัตรสกุลบาท จำนวน 2 ชุด เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2568 โดยได้รับความสนใจจากนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายใหญ่ (II/HNW) อย่างท่วมท้น ด้วยยอดจองซื้อรวมสูงกว่า 2.4 เท่าของมูลค่าเสนอขายรวม 6,000 ล้านบาท สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อ EXIM BANK ในฐานะสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไท... EXIM BANK จัดเต็ม โปรโมชันเพื่อผู้ส่งออก ในงานมหกรรมการเงินกรุงเทพ ครั้งที่ 25 — ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) จัดเต็ม บริการทางก...

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไท... EXIM BANK จัดเต็ม โปรโมชันดี ๆ ช่วยผู้ส่งออกฝ่ามรสุมทรัมป์ 2.0 — ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) จัดเต็ม บริการทางการเงิน พร้อมโปรโ...