ผู้นำในธุรกิจของประเทศไทยเชื่อมั่นในเศรษฐกิจน้อยกว่าประเทศ เพื่อนบ้านใน เอเชีย
เจ้าของธุรกิจในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นที่ลดลงอย่าง
เห็นได้ชัด
ประเทศที่มีอำนาจในยุค 60-80 อย่างญี่ปุ่นและเยอรมนี แสดงให้เห็นถึงการยึดถือหลัก
ตัวเลขดีที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก
ผลสำรวจแรกจาก Grant Thornton International Business Owners Survey 2006
(IBOS) ซึ่งดำเนินการใน 30 ประเทศทั่วโลกและจัดพิมพ์เผยแพร่ในวันนี้ (11 มกราคม 2549) นั้น
แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนในบรรยากาศของผู้นำทางเศรษฐกิจทั่วโลกและการเปลี่ยนแปลงใน
ด้านความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจในเชิงบวก (optimistic)ที่แตกต่างจากผู้ประกอบการที่แข็งแกร่งในช่วงปีที่
ผ่านมา อย่างเช่น สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร
ความเชื่อมั่นของเจ้าของธุรกิจในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเกี่ยวกับเศรษฐกิจนั้นลดลงเกือบครึ่งหนึ่ง
จากยอดดุลตัวเลขด้านความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจในเชิงบวก ต่อเชิงลบ (optimistic/pessimistic)
(*ดูหมายเหตุด้านล่าง) จำนวน + 62 ถึง + 32 ในเวลาหนึ่งปี และในสหราชอาณาจักรนั้นมีการลดลง
ที่ชัดเจนจาก +46 ถึงแค่ +8 เมื่อเทียบกันแล้วประเทศที่มีความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจในยุค 60-80
อย่างญี่ปุ่น และเยอรมนีแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ยอดตัวเลขของเยอรมนีในปีนี้อยู่
ที่ +41 เพิ่มขึ้นจาก +17, -6 และ -37 ในปีก่อน ๆ และประเทศญี่ปุ่นนั้น ถึงแม้ว่าจะยังคงติดลบที่
-14 อาจจะฟื้นคืนความเชื่อมั่นโดยเห็นได้จากตัวเลขซึ่งเพิ่มขึ้นจากยอดตัวเลข -27, -46 และ -71
ตลอดช่วงเวลาสามปีที่ผ่าน
International Business Owners Survey ปีที่สี่นั้นได้มีการจัดขึ้นในประเทศไทยเป็น
ครั้งแรกในปีนี้ โดยได้รับการสนับสนุนจาก Grant Thornton ประเทศไทย ผลลัพธ์ที่ได้จากเจ้าของ
ธุรกิจในประเทศไทยแสดงให้เห็นถึงระดับตัวเลขความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจในเชิงบวก(optimistic) ที่
ค่อนข้างต่ำ โดยที่มีคะแนนเพียง 9% จากค่าเฉลี่ยในภูมิภาคเอเชียตะวันออก 42% ประเทศเพื่อนบ้าน
บางประเทศแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นเกี่ยวกับภาพอนาคตของธุรกิจที่ดียิ่งขึ้น ได้แก่สิงคโปร์ซึ่งอยู่ที่ 64%
และมาเลเซียซึ่งอยู่ที่ 36% เนื่องจากว่า การสำรวจครั้งนี้เป็นการสำรวจครั้งแรกที่จัดขึ้นในประเทศไทย
จึงทำให้ไม่มีข้อมูลเก่ามาเปรียบเทียบ ดังนั้น จึงไม่สามารถยืนยันการกำหนดรู้ได้ว่าความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
ได้ลดลงในช่วงปีที่ผ่านมาไม่นานนี้หรือไม่ นายปีเตอร์ วอล์คเกอร์ หุ้นส่วนของ Grant Thornton
ประเทศไทย ให้ข้อเสนอแนะว่า “ในระหว่างระยะเวลาการสำรวจนั้น มีประเด็นต่าง ๆ หลายประเด็น
ซึ่งได้แก่ ไข้หวัดนก การฟื้นตัวของการท่องเที่ยวหลังเหตุการณ์สึนามิที่ซบเซา ความไม่สงบในจังหวัดทาง
ภาคใต้ ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นและการขัดแย้งกันอย่างต่อเนื่องระหว่างสื่อและรัฐบาล ซึ่งนำไปสู่ความเชื่อมั่น
ทางธุรกิจที่ลดลง”
โดยทั่วไปแล้ว การสำรวจแสดงให้เห็นว่าธุรกิจใน 26 ประเทศจากทั้งหมด 30 ประเทศ
นั้นเป็นความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจในเชิงบวก เกี่ยวกับผลการดำเนินการทางเศรษฐกิจของพวกเขา และใน
ประเทศ 13 ประเทศ นั้นได้มีตัวเลขความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจในเชิงบวก(optimistic) เพิ่มขึ้นจริง ๆ
ในปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มประเทศ G8 ที่สำคัญๆ ซึ่งได้แก่สหรัฐอเมริกา แคนาดา สหราช
อาณาจักร ฝรั่งเศส และอิตาลี นั้น บรรยากาศในเวลานี้มีความเชื่อมั่นที่น้อยลง ซึ่งสี่ในประเทศที่ใหญ่ที่
สุดที่มีความเชื่อมั่นลดลงในการสำรวจโดยรวมนั้นอยู่ในกลุ่มประเทศ G8
จิม โรเจอร์ส แห่ง Grant Thornton กล่าวว่า “ความไม่แน่นอนในเศรษฐกิจของ
ประเทศใหญ่ ๆหลายประเทศได้เกิดขึ้นมาเป็นปีแล้ว ถึงแม้ว่าตัวชี้วัดการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชัดเจนทั้งหมด
ยังคงออกมาเป็นบวก แต่บรรยากาศความท้อแท้ก็ยังเพิ่มมากขึ้น ซึ่งทำให้ความเชื่อมั่นลดลง ไม่ว่าเป็น
ความขัดแย้งของอิรักในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรที่ต่อเนื่องกันมา
เฮอริเคนในสหรัฐอเมริกา ความสัมพันธ์อันตึงเครียดระหว่างชนชาติในฝรั่งเศส เหตุการณ์
ทางสังคมและการเมืองที่มีผลกระทบต่อบรรยากาศของโลกธุรกิจ
อดีตประเทศที่มีอำนาจในยุค 60, 70 และ 80 อย่างเช่น ญี่ปุ่นและเยอรมนีดูมีความ
เชื่อมั่นในสิ่งที่พวกเขาคาดหวังมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และผู้ได้รับชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ในปีที่ผ่านไม่นานนี้ ซึ่ง
เป็นผู้มีอำนาจทางเศรษฐกิจรายใหม่ของโลกที่ปรากฏให้เห็นชัดเจน อย่างจีนและอินเดียนั้นยังคงมีความ
เชื่อมั่นทางเศรษฐกิจสูงมากขึ้น”
เจ้าของธุรกิจทั้งหมดที่มีตัวเลขความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจในเชิงบวก(optimistic) สำหรับปีที่
สามนั้นส่วนใหญ่อยู่ในอินเดียโดยมียอดดุลตัวเลขด้านความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจในเชิงบวก ต่อเชิงลบ
(optimistic/pessimistic) อยู่ที่ +93 (+88, +83 และ +25 ในการสำรวจสามปีก่อน) และ
ในจีนซึ่งเป็นที่ที่เจ้าของธุรกิจเข้ามีส่วนร่วมในการสำรวจเป็นครั้งแรก มีคะแนนความมั่นใจอยู่ที่ +77
ดุลตัวเลขด้านความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจในเชิงบวก ต่อเชิงลบ (optimistic vs pessimistic) เปรียบเทียบ ปีต่อปี 2548-2549
เชื่อมั่นมากขึ้น (more optimistic) 2548 2549 เชื่อมั่นน้อยลง( less optimistic) 2548 2549
เยอรมนี 17 41 ออสเตรเลีย 78 64
ฮ่องกง 60 61 แคนาดา 72 57
อินเดีย 88 93 ฝรั่งเศส 19 1
ไอร์แลนด์ 79 84 กรีซ 29 1
ญี่ปุ่น -27 14 อิตาลี 7 -8
เม็กซิโก 47 68 นิวซีแลนด์ 64 23
เนเธอร์แลนด์ 31 63 แอฟริกาใต้ 84 80
ฟิลิปปินส์ 50 71 สวีเดน 52 51
โปแลนด์ 21 26 ไต้หวัน 14 -19
รัสเซีย 14 21 สหราชอาณาจักร 46 8
สิงคโปร์ 62 64 สหรัฐอเมริกา 62 32
สเปน 9 14
ตุรกี 49 58
ถึงแม้ว่าธุรกิจในสหรัฐอเมริกาจะยังคงดำเนินไปได้ด้วยดี แต่ก็มีบรรยากาศที่แตกต่างกันกับ
เศรษฐกิจในปีนี้ นับจากปัญหาในอิรัก จนถึงเฮอริเคนและความกังวลเกี่ยวกับน้ำมัน นักธุรกิจจะมีความ
ระมัดระวังกันมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีความกังวลในเรื่องหนี้สินของผู้บริโภค อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นและ
การขาดดุลงบประมาณและการขาดดุลการชำระเงิน
ในสหราชอาณาจักร อัตราดอกเบี้ยและภาษีที่สูงขึ้นได้ลดรายได้ที่สามารถใช้สอยได้อย่างอิสระ
และการใช้จ่ายของผู้บริโภคชะลอตัวลงเร็วกว่าที่คาดไว้ การเติบโตของเศรษฐกิจมีการชะลอตัวมากที่สุด
ตั้งแต่ปี 2535 และตัวเลขความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจในเชิงบวก(optimistic) ก็ลดลงอย่างเห็นได้ชัด
ตัวเลขความเชื่อมั่นในสหราชอาณาจักรต่ำกว่าตัวเลข EU โดยรวมเป็นครั้งแรกในช่วงเวลาหลายปี
วิเชช จันดิลก International Practice Partner Grant Thornton อินเดียให้
ข้อคิดเห็นว่า “เจ้าของธุรกิจในอินเดียมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องและยังคงมีความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจใน
เชิงบวก(optimistic)อย่างมาก โดยที่ไม่มีสัญญาณที่แสดงถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจ การให้ความ
เชื่อมั่นในภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นและการเปิดเสรีทางการค้า อย่างเช่นในประเทศจีนนั้นพิสูจน์ให้เห็นถึงดอกผล
ที่ดีสำหรับบริษัทขนาดกลางที่ได้รับผลประโยชน์และมีการเติบโตเป็นผลลัพธ์”
นายเอียน แพสโคผู้บริหารของ Grant Thornton ประเทศไทย แสดงความคิดเห็นว่า
“ประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้มีบทบาททางด้านเศรษฐกิจที่มีขนาดค่อนข้างเล็กมักจะประสบปัญหาในการขาดความ
เชื่อมั่นในเศรษฐกิจ และได้รับผลกระทบจากทั้งปัญหาภายในประเทศและผลของความวุ่นวายทางเศรษฐกิจ
ทั่วโลก ประชาคมธุรกิจจะต้องส่งเสริมรัฐบาลอย่างต่อเนื่องเพื่อลดผลกระทบเกี่ยวกับประเด็นทางการเมือง
ภายในประเทศ โดยการจัดให้มีระดับและเขตการดำเนินการเสรี สินทรัพย์ของประเทศไทยประกอบด้วย
ประชากรที่เป็นผู้ประกอบการ ทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และวิถีชีวิตที่งดงาม ถ้าหากมีการส่งเสริม
และสนับสนุนข้อดีเหล่านี้ ประเทศไทยก็จะยังคงเป็นสถานที่ที่ดีในการทำธุรกิจต่อไป”
* ตัวเลขเป็นยอดที่คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบซึ่งเป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจในเชิงบวก
ต่อผู้มีความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจในเชิงลบ
บันทึกถึงบรรณาธิการ
The Grant Thornton International Business Owners Survey (IBOS)
ได้ทำการสำรวจบรรดาเจ้าของธุรกิจกว่า 7,000 รายจาก 30 ประเทศ ในระหว่างปี 2548
ที่ผ่านมา IBOS เริ่มต้นขึ้นในปี 2545 ต่อเนื่องจาก European Business Survey (EBS)
ซึ่ง Grant Thornton ดำเนินการตั้งแต่ปี 2536 ถึง 2544 โดยมีการทำการวิจัยโดย Experian
Business Strategies Limited และ Harris Interactive นอกจากคำถามเกี่ยวกับความ
เชื่อมั่น/การมองโลกในแง่ดีแล้ว ยังได้มีการสำรวจความคิดเห็นในประเด็นใหญ่ ๆ อีกหลายประเด็นด้วย
ซึ่งจะมีการวิเคราะห์และถ่ายทอดให้ทราบในอีก 2-3 เดือนข้างหน้านี้
ข้อมูลเกี่ยวกับ Grant Thornton International
Grant Thornton International เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีบริษัทสมาชิกซึ่ง
มีเครือข่ายทั่วโลกแต่ละประเทศมีเจ้าของและดำเนินการโดยอิสระจากกัน
ข้อมูลเกี่ยวกับ Grant Thornton ประเทศไทย
Grant Thornton ประเทศไทยได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในบริษัทที่ให้บริการด้านวิชาชีพ
ชั้นนำในประเทศไทย ได้จัดตั้งขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2534 ให้บริการให้คำปรึกษาทางด้าน IT และ
ธุรกิจ ระบบการบัญชี การตรวจสอบบัญชีและการตรวจสอบภายใน การวางแผนด้านภาษีภายในประเทศ
และระหว่างประเทศ การให้คำปรึกษาด้านการเงินของบริษัท การปรับโครงสร้างหนี้และการปรับ
โครงสร้างองค์กร การจัดหาผู้บริหาร การวางแผนผู้สืบทอดธุรกิจและผลตอบแทน
ท่านสามารถเข้าไปในเว็บไซต์ www.gt-thai.com เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัท
ของเรา
กรุณาติดต่อบุคคลด้านล่างนี้เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม
ในกรุงเทพฯ
ปีเตอร์ วอร์คเกอร์ หรือนนทกร กิจธนไพศาล Grant Thornton ประเทศไทย
โทร. 02-654-3330 หรือ perer,
[email protected]
หรือในลอนดอน
นัน วิลเลี่ยมส์ หรือ เกรก มัวร์ Grant Thornton International Press Office
โทร. 0870 420 3256 / 07774 518 หรือ
[email protected]จบ--