เดินหน้า 6 สาขา แผนร่วมมืออาเซียน-EU

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--18 ต.ค.--จร.

นายภาษิต พุ่มชูศรี นักวิชาการพาณิชย์ 9 ชช กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้เป็นผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุมสัมมนาการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียนและการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน- EU (SEOM-EU Cosultation) ครั้งที่ 13 ที่สหภาพยุโรปเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นเมื่อวันที่ 10-13 ตุลาคม 2549 ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม ได้เปิดเผยถึงผลการประชุม ดังนี้ 1. ในการสัมมนาประเทศสมาชิกอาเซียนได้มีการหารือแลกเปลี่ยนความเห็นเชิงนโยบายกับสหภาพ ยุโรปเกี่ยวกับการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ ซึ่ง EU ให้ความสำคัญกับภาพรวมของการเป็นตลาดร่วมภายใน (Internal Market) เพื่อให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ แรงงานและเงินทุนที่เสรี (4 freedom) และเน้นความสำคัญของสังคมกฎระเบียบ (Rule-based Society) ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน 2. การดำเนินงานด้านการค้าสินค้านับเป็นความสำเร็จก้าวสำคัญของสหภาพยุโรปที่ให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างเสรีในภูมิภาคและจัดตั้งสหภาพศุลกากรร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก โดยปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จดังกล่าว ได้แก่ การมีหลักปฎิบัติด้านศุลกากรร่วมกันในระดับภูมิภาค และการมีกลไกการตัดสินใจในเชิงนโยบายร่วมกันระหว่างประเทศภาคีสมาชิก ซึ่งเน้นกฎระเบียบเป็นหลัก 3. การดำเนินงานด้านการค้าบริการถึงแม้จะมีเป้าหมายการเปิดเสรีระหว่างประเทศภาคีสมาชิก แต่ในทางปฎิบัติยังมีอุปสรรคอยู่มาก เนื่องจากกฎเกณฑ์/กฎระเบียบของแต่ละประเทศที่แตกต่างกัน และจะครอบคลุมเฉพาะสาขาที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ (ไม่รวมสาขาที่เป็น Non-economic nature เช่น public education) และสาขาอื่นๆ เช่น โสตทัศน์ บริการสังคมที่เกี่ยวกับที่อยู่อาศัย การดูแลเด็ก สุขภาพ เป็นต้น 4. การดูแลการปฎิบัติตามพันธกรณีและแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศภาคีสมาชิกจะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจและสร้างการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน โดย EU ได้จัดทำระบบ Internal Market Scoreboard เพื่อทบทวน/ติดตามการดำเนินงานตามพันธกรณีของประเทศภาคีสมาชิก (Naming & Shaming System) และพัฒนาระบบแก้ไขปัญหา/ข้อร้องเรียนผ่านระบบเครือข่ายระหว่างประเทศภาคีสมาชิก ซึ่งที่ผ่านมาประสบผลเป็นที่น่าพอใจ 5. การประชุม SEOM-EU Consultation ครั้งที่ 13 ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะจัดทำแผนงานเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจร่วมกัน ซึ่งจะเริ่มต้นจาก 6 สาขาก่อน ได้แก่ การค้าบริการ การอำนวยความสะดวกทางการค้า ศุลกากร การลงทุน นโยบายการแข่งขัน มาตรการสุขอนามัยพืชและสัตว์และอุปสรรคในด้านเทคนิค สำหรับความคืบหน้าในการเตรียมการประกาศเปิดการเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป ขณะนี้ สหภาพยุโรปอยู่ระหว่างจัดทำข้อเสนอเพื่อเสนอคณะมนตรี (Council of Ministers) พิจารณา โดยในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 12 ในเดือนธันวาคม 2549 รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนจะได้ร่วมหารือกับนาย Mandelson ผู้แทนการค้าสหภาพยุโรปเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวด้วย

ข่าวกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ+การค้าระหว่างประเทศวันนี้

กรมเจรจาฯ เชิญผู้ประกอบการกาแฟไทย! เข้าร่วมโครงการส่งเสริมกาแฟไทยอย่างยั่งยืนด้วย FTA

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ขอเชิญผู้ประกอบการ สหกรณ์ และวิสาหกิจชุมชน ผู้ผลิตกาแฟและผลิตภัณฑ์กาแฟ เข้าร่วม โครงการส่งเสริมกาแฟไทยอย่างยั่งยืนด้วย FTA ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจะได้เข้าร่วม กิจกรรมอบรมเชิงลึก Boot Camp เจาะลึกตลาดจีน ด้วยการใช้ประโยชน์จาก FTA เพื่อขยายการส่งออก และยกระดับศักยภาพ แข่งขันได้ในตลาดต่างประเทศ! ไฮไลต์พิเศษ! ผู้ประกอบการที่ผ่านการคัดเลือก 10 รายสุดท้าย จะได้รับสิทธิ์ เดินทางไปสำรวจศักยภาพตลาดในประเทศจีน เจรจาการค้ากับผู้ซื้อจากต่างประเทศตัวจริงเสียงจริง!

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ร่วมกั... DEK ธุรกิจระหว่างประเทศ SPU บุกงาน FTA Fair เปิดโลกการเรียนรู้ ธุรกิจส่งออก Soft Power ไทยสู่สากล — คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ร่วมกับ กรมเจรจาการ...

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย... เชิญร่วมงานสัมมนาเผยแพร่ผลการศึกษา FTA ไทย-กลุ่มพันธมิตรแปซิฟิก (Pacific Alliance) — กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลย...