ภาวะเหล็กเกินอันตรายที่ป้องกันได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--6 ธ.ค.--คอร์ แอนด์ พีค

คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล ระบุ ผู้ป่วยที่มีภาวะซีดเรื้อรัง และต้องรับการถ่ายเลือดตลอด นับว่ามีความเสี่ยงต่อภาวะเหล็กเกินในร่างกาย จากการที่ร่างกายไม่มีกลไกในการขับเหล็กออก ซึ่งเหล็กที่รับเข้าไปเพิ่มจากการรับเลือดจะสะสมอยู่ในร่างกาย และอาจเป็นพิษได้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์นพดล ศิริธนารัตนกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า ภาวะเหล็กเกิน (Iron Overload Management) เกิดจากการถ่ายเลือด ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยโลหิตจางรู้สึกแข็งแรงขึ้น การถ่ายเลือดยังช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้น และมีความสำคัญในการช่วยให้ผู้ป่วยแข็งแรง ทุกครั้งที่ได้รับการถ่ายเลือดผู้ป่วยจะได้รับเหล็กซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญชองเซลล์เม็ดเลือดแดง เหล็กจะเริ่มสะสมภายในร่างกายหลังจากได้รับการถ่ายเลือดประมาณ 10 ครั้ง เนื่องจากร่างกายไม่สามารถกำจัดเหล็กออกได้ เมื่อเหล็กภายในร่างกายมีระดับสูงมากเกินไป จะเกิดความเป็นพิษขึ้น เรียกภาวะนี้ว่า ภาวะเหล็กเกิน ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า เป็นภาวะแทรกซ้อนอันเป็นผลมาจากการถ่ายเลือดบ่อยครั้ง โดยสถิติผู้ใหญ่และเด็กประมาณ 100,000 รายทั่วโลก ที่ได้รับเลือดอย่างเพียงพอจะเกิดภาวะเหล็กเกินขึ้น “ในการถ่ายเลือด 1 ครั้ง ย่อมจะต้องได้รับเลือดใหม่ 2 ยูนิต ซึ่งอาจเกิดภาวะเหล็กเกินได้ และแม้ว่า ผู้ที่ได้รับเลือดจะเว้นช่วงระยะเวลาของการถ่ายเลือดนานเป็นปีก็ตาม ดังนั้นการติดตามจำนวนยูนิตที่ผู้ป่วยได้รับการถ่ายเลือด ทั้งในอดีตและปัจจุบันเป็นสิ่งสำคัญ หากผู้ที่ได้รับเลือด มีความจำเป็นต้องได้รับการถ่ายเลือดให้ใกล้เคียงหรือมากกว่า 20 ยูนิต ตลอดช่วงชีวิตของผู้ป่วยควรระมัดระวังเกี่ยวกับภาวะเหล็กเกิน โดยต้องมีการพูดคุยกับแพทย์เกี่ยวกับเรื่องนี้” ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์นพดล กล่าว ภาวะเหล็กเกิน ซึ่งเกิดจากการสะสมของเหล็กในร่างกาย ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ และแม้ว่าภาวะเหล็กเกินอาจจะไม่ทำให้รู้สึกเจ็บป่วย แต่ก็มีอันตรายต่อร่างกายเมื่อเวลาผ่านไป โดยเฉพาะหากปล่อยทิ้งไว้ และไม่ได้รับการรักษา เหล็กที่มากเกินไปจะไปทำลายตับ หัวใจ และต่อมไร้ท่อ ด้านผศ.ดร.นพ.วิปร วิประกษิต แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโลหิตวิทยา ภาควิชากุมารเวชกรรม คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า ภาวะเหล็กเกินโดยส่วนใหญ่เกิดกับผู้ป่วยที่เป็นโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ซึ่งแบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ชนิดเบต้า ซึ่งถ้าเป็นรุนแรงผู้ป่วยจะซีด ม้ามโต จำเป็นต้องให้เลือด โรคโลหิตจางธาลัสซีเมียอีกชนิดคือ อัลฟ่า ถ้าเป็นรุนแรง ทารกอาจจะเสียชีวิตในท้อง อย่างไรก็ตามผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียไม่มีผลต่อสถิติปัญญา สามารถเรียนหนังสือในขั้นสูงๆ ได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับการรักษา โดยผู้ป่วยจะต้องได้รับเลือดไปตลอดชีวิต “ โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย เป็น โรคทางพันธุกรรม มีความเสี่ยงตั้งแต่อายุยังน้อย ต้องได้รับเลือด ซึ่งย่อมมีปัญหาเกิดขึ้น เพราะเลือดทุกถุงที่ผู้ป่วยได้รับ จะมีธาตุเหล็กปนมากับเม็ดเลือดแดง เฉลี่ยเลือด 1 ถุงที่ผู้ป่วยรับจะมีธาตุเหล็กประมาณ 200 มิลลิกรัม ถ้าผู้ป่วยต้องรับเลือดในหลาย ๆ ถุง จะส่งผลต่อภาวะเหล็กเกินในร่างกาย ซึ่งผู้ป่วยต้องรักษาด้วยการให้ยาขับเหล็ก” ผศ.ดร.นพ.วิปร กล่าว การพิจารณาให้ยาขับเหล็กในผู้ป่วยที่มีภาวะเหล็กเกินจากการให้เลือดนั้น จะช่วยป้องกันพยาธิสภาพที่รุนแรงดังกล่าวข้างต้นได้ การให้ยาขับเหล็กมีทั้งรูปแบบฉีด ซึ่งเป็นยามาตรฐานในการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะเหล็กเกินจากการถ่ายเลือดในเกือบทุกประเทศทั่วโลก แต่เนื่องจากเป็นยาฉีด ต้องให้เป็นระยะเวลานาน 8-12 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 5-7 วัน ทำให้ผู้ป่วยหลายรายหยุดหรือหลีกเลี่ยงที่จะให้ยาขับเหล็ก ในปัจจุบันจึงมียาขับเหล็กชนิดใหม่ในรูปแบบรับประทานวันละ 1 ครั้ง ซึ่งได้รับการอนุมัติจากสำนักงานอาหารและยาในประเทศสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และประเทศไทย โดยมีประสิทธิภาพในการขับเหล็กที่มากเกินไปได้ต่อเนื่องตลอด 24 ชม. นับเป็นความก้าวหน้าทางการแพทย์ ผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการรักษา โดยเฉพาะผู้ป่วยเด็ก ทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ยืนยาว อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับ “ ภาวะเหล็กเกินและแนวทางในการรักษาในปัจจุบัน” ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ และภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จะจัดบรรยายพิเศษสำหรับผู้ป่วยและประชาชนผู้ที่สนใจ ในหัวข้อ ภาวะเหล็กเกิน อันตรายที่ป้องกันได้ ” ในวันเสาร์ที่ 23 ธันวาคม 2549 เวลา 13.00-16.00 น. ณ ห้องประชุมสิริณธร ชั้นG อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช ในงานดังกล่าวท่านจะได้รับทราบข้อมูลเรื่องโรคที่เกี่ยวข้องกับภาวะเหล็กเกินในร่างกาย การวินิจฉัยจากการตรวจเลือด สาเหตุการเกิดโรค และแนวทางการป้องกันและการรักษา ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม และสำรองที่นั่งได้ตั้งแต่บัดนี้ที่คุณธนศักย์ โทร 02-439-4600 ต่อ 8202 ,8301 หรือ 081-421-5249 โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ คุณปาริชาติ สุวรรณ์, คุณธนศักย์ อุทิศชลานนท์ ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์ บริษัท คอร์ แอนด์ พีค จำกัด โทร.0-2439-4600 ต่อ 8202, 081-421-5249

ข่าวนพดล ศิริธนารัตนกุล+คณะแพทยศาสตร์วันนี้

จุฬาฯ หนึ่งเดียวของไทย ชนะเลิศรางวัลเอเชีย "THE Awards Asia 2025" ประเภท Technological or Digital Innovation of the Year จาก "MDCU MedUMORE"

แพลตฟอร์ม Online Learning "MDCU MedUMORE" โดยคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้รับรางวัลชนะเลิศ THE Awards Asia 2025 ในประเภทรางวัล Technological or Digital Innovation of the Year ซึ่งมีการประกาศผล Winner THE Awards Asia 2025 ในงาน THE Asia Universities Summit เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2568 ณ Macau University of Science and Technology เขตบริหารพิเศษมาเก๊าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน โดย ศ.พญ.นิจศรี ชาญณรงค์ รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

SGU ผลิตแพทย์หน้าใหม่เข้าสู่ระบบสาธารณสุข... นักศึกษาแพทย์ SGU กว่า 1,000 คน คว้าตำแหน่งแพทย์ประจำบ้านในสหรัฐฯในรอบการคัดเลือกประจำปี 2025 — SGU ผลิตแพทย์หน้าใหม่เข้าสู่ระบบสาธารณสุขของสหรัฐฯ มากที่ส...

ภาพข่าว: "มหัศจรรย์..ยิ้มสู้มะเร็ง" ปี 3 ตอน ดื้อกาย แต่ใจยิ้ม

ภาควิชาอายุรศาสตร์ สาขาโลหิตวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราช จัดงาน "มหัศจรรย์..ยิ้มสู้มะเร็ง" ปี 3 ตอน ดื้อกาย แต่ใจยิ้ม โดยมี ผศ.นพ.นพดล ศิริธนารัตนกุล (ที่ 3 จากซ้าย) หัวหน้าสาขาวิชาโลหิตวิทยา โรงพยาบาลศิริราชพยาบาล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญร่วม...

ภาพข่าว: แพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิประชุมวิชาการในงาน Thalassemia Expert Forum 2014

ผศ.นพ.นพดล ศิริธนารัตนกุล หัวหน้าสาขาวิชาโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล (ที่4จากซ้าย) รศ.ดร.นพ.วิปร วิประกษิต แพทย์ประจำ สาขาวิชาโลหิตวิทยาและอองโคโลยี ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะ...

ภาพข่าว: ชมรมโรคเอ็มพีเอ็นแห่งประเทศไทย จัดสัมมนาให้ความรู้ผู้ป่วยโรคเอ็มพีเอ็น ครั้งที่ 1 "เม็ดเลือดสูง มฤตยูเงียบ" เป็นครั้งแรกในประเทศไทย

เมื่อเร็วๆ นี้ มี ผศ.นพ.นพดล ศิริธนารัตนกุล ประธานชมรมโรคเอ็มพีเอ็น (MPN) แห่งประเทศไทย (Thai MPN Working Group) (คนกลาง) ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดงานและ...

ภาพข่าว: แพทย์ศิริราช จัดบรรยาย เรื่อง “เอ็มดีเอส (MDS)…ภัยเงียบที่ต้องรู้”

เมื่อเร็ว ๆ นี้ สาขาโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล โดย ศ. นพ. สุรพล อิสรไกรศีล หัวหน้าสาขาโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล (กลาง) , ผศ.นพ.นพดล ศิริธนารัตนกุล แพทย์ผู้...

ภาพข่าว: คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลจัดบรรยาย “ภาวะเหล็กเกินอันตรายที่ป้องกันได้”

ศาสตราจารย์เกียรติคุณแพทย์หญิงคุณหญิงสุดสาคร ตู้จินดา ประธานมูลนิธิโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแห่งประเทศไทย (กลาง) ร่วมงานบรรยายในหัวข้อ “ ภาวะเหล็กเกินอันตรายที่ป้องกันได้” ซึ่งจัดขึ้นโดยภาควิชากุมารเวชศาสตร์ ...