มะเร็งจีสต์ภัยแฝงที่ไม่ควรมองข้าม

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--20 พ.ย.--คอร์แอนด์พีค

มะเร็งจีสต์หรือมะเร็งเนื้อเยื่อในระบบทางเดินอาหารภัยแฝงที่ไม่ควรมองข้าม แพทย์เตือนระวังภัย จากโรคมะเร็งชนิดนี้ เผยทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตกว่า 20,000 รายทุกปี ส่วนประเทศไทย ประชาชนควรระวัง หากตรวจพบเนื้องอกอยู่บริเวณในช่องท้อง ต้องเร่งให้แพทย์เร่งวินิจฉัยโดยเร่งด่วน อ.นพ. เทพ เฉลิมชัย หน่วยมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เปิดเผยถึงอันตรายของโรคมะเร็งของเนื้อเยื่อในระบบทางเดินอาหารหรือ มะเร็งจีสต์ ( GIST-Gastrointestinal Stromal Tumor) ว่า โรคมะเร็งจีสต์ ถือเป็นโรคใหม่สำหรับคนไทยโดยเป็นที่รู้จักในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมานี้เอง ซึ่งทุก ๆ ปี จะค้นพบผู้ป่วยโรคนี้มากกว่า 20,000 รายทั่วโลก และพบในเพศชายและเพศหญิงใกล้เคียงกัน มะเร็งทางเดินอาหารชนิดนี้ เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ผนังทางเดินอาหาร โดยมีการแบ่งเซลล์และเพิ่มจำนวนมากและขาดการควบคุม เมื่อมีขนาดโตขึ้น จะโตออกนอกผนังทางเดินอาหารและจะกดทับอวัยวะข้างเคียง มะเร็งจีสต์พบได้บ่อยที่สุดบริเวณกระเพาะอาหาร 55% รองลงมาพบที่ลำไส้เล็ก 30% และหลอดอาหาร 5 % อาจจะพบได้ที่อวัยวะอื่น เช่น ตับ รังไข่ และมดลูก อ.นพ. เทพ เฉลิมชัย กล่าวอีกว่า อุบัติการณ์ของมะเร็งจีสต์ จะพบ 15 คนต่อประชากร 1,000,000 คนต่อปี โดยพบในช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป และพบน้อยในเด็ก นอกจากนี้ยังพบได้ ทั้งผู้ชายและผู้หญิงซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคพบว่ามีความผิดปกติของเซลล์ ที่เรียกว่า “Interstitial cell of Cajal (ICC)” โดยพบว่ามีการกลายพันธุ์ของยีนส์พันธุกรรม บริเวณตัวจับบนผิวเซลล์ ที่เรียกว่า C-kit หรือ CD 117 ทำให้เซลล์เหล่านั้น มีการเพิ่มจำนวนมากผิดปกติและขาดการควบคุม ทำให้เกิดเนื้องอกขนาดใหญ่ สาเหตุของการกลายพันธุ์ ซึ่งไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด สำหรับ อาการที่มักจะแสดงอาการ เตือน จะมีอาการปวดท้อง ปวดจุกแน่น เสียดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเป็นเลือด ซีดลงผิดปกติ คลำได้ก้อนที่ท้อง หรือก้อนโตขึ้น ซึ่งการวินิจฉัยในอดีตบ่อยครั้งมักจะวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งของกล้ามเนื้อเรียบในระบบทางเดินอาหาร แต่ปัจจุบันมีการตรวจวินิจฉัยชนิดพิเศษที่เรียกว่า C-kit (CD117) โดยวิธี Immunohistochemistry ซึ่งถ้าพบว่าผลเป็นบวกร่วมกับปัจจัยอื่น เช่น การตรวจร่างกายสงสัยว่ามีก้อน การตรวจทางรังสีวินิจฉัยบริเวณช่องท้อง เช่น เครื่อง Ultrasound, CT scan หรือ MRI มีลักษณะที่บ่งชี้ว่ามีก้อนเนื้อในช่องท้องก็สามารถวินิจฉัยได้ ในส่วนของการรักษา มีหลายวิธี อาทิ เช่น 1. การผ่าตัด ถือเป็นวิธีการรักษาวิธีเดียว ที่ทำให้หายขาดได้ในกรณีที่โรคยังอยู่เฉพาะที่หรือระยะแพร่กระจายที่สามารถผ่าตัดได้ 2. การรักษาเฉพาะที่ในกรณีที่มะเร็งกระจายมาที่ตับ เช่น การจี้ด้วยคลื่นความถี่สูง (Radio Frequency Ablation) หรือ การฉีดสารเข้าไปทำลายเนื้องอกโดยผ่านเส้นเลือดที่มาเลี้ยง (Hepatic Arterial Embolization) และ 3. การรักษาโดยวิธีรับประทานยากลุ่มที่ออกฤทธิ์ได้จำเพาะหรือตรงเป้าหมาย ทางชีวโมเลกุลต่อโรคมะเร็งชนิดจีสต์ (Molecular Targeted) โดยไปยับยั้งการทำงานของตัวจับผิวเซลล์ ที่เรียกว่า C-kit receptor หรือ CD 117 นอกจากนี้ ในการปฏิบัติตัว สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งจีสต์ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่เผ็ด มีรสจัด ย่อยยาก พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมองดสุรา บุหรี่ ไม่เครียด สังเกตอาการผิดปกติในร่างกาย ถ้าตรวจพบ ควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษา ตรวจและพบแพทย์ อย่างสม่ำเสมอ สื่อมวลชนสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ คุณธนศักย์ อุทิศชลานนท์ (โป้ง) ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์บริษัทคอร์แอนด์พีค จำกัด โทรศัพท์ 02-439-4600 ต่อ 8202 มือถือ 081-421-5249 อีเมล์ : [email protected] สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์+ระบบทางเดินอาหารวันนี้

รพ.ธนบุรี บำรุงเมือง จัดสัมมนาให้ความรู้ "ภัยร้ายของโรคตับ"

แพทย์หญิงเกศรินทร์ ถานะภิรมย์ แพทย์อายุรกรรมทั่วไประบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ที่ให้เกียรติมาเป็นวิทยากรบรรยายในงานสัมมนา โดยมี นายแพทย์ พิชญา นาควัชระ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง และ แพทย์หญิงวโรชา มหาชัย ผู้อำนวยการศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง มอบกระเช้าขอบคุณและร่วมเป็นประธานเปิดงานสัมมนา ให้กับประชาชนที่สนใจ ที่ รพ.ธนบุรี บำรุงเมือง เร็วๆ

เมืองไทยประกันชีวิต ตอกย้ำนโยบายการตอบแทน... เมืองไทยประกันชีวิต มอบเงินสนับสนุนกว่า 16 ล้านบาท เพื่อโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย — เมืองไทยประกันชีวิต ตอกย้ำนโยบายการตอบแทนสังคมเดินหน้าโครงการเพื...

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ร่วมมือกับสภากาชาดไทย... "Check PD" แอปพลิเคชันตรวจหาความเสี่ยงเป็นพาร์กินสัน แม่นยำถึง 90% เปิดให้ดาวน์โหลดแล้ววันนี้! — โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ร่วมมือกับสภากาชาดไทย เปิดตัวแอป "Che...

ศ.พญ.ดารินทร์ ซอโสตถิกุล หัวหน้าโครงการสอ... โลหิตวิทยาและมะเร็งในเด็ก รพ.จุฬาฯ ขอเชิญร่วมทำบุญประจำปี 18 ก.พ.2568 — ศ.พญ.ดารินทร์ ซอโสตถิกุล หัวหน้าโครงการสอนเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังและศูนย์คอมพิวเตอร์เ...

ร่วมทำความดี ฉลอง 12 ปี นูเมโร ไทยแลนด์ อ... นูเมโร ไทยแลนด์ มอบเงินช่วยเหลือผู้ป่วยพาร์กินสัน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ — ร่วมทำความดี ฉลอง 12 ปี นูเมโร ไทยแลนด์ อมรสิริ บุญญสิทธิ์ บรรณาธิการบริหาร นูเมโร...