ก.ยุติธรรมชง กม. จำคุกนอกเรือนจำ รับมือ “อาชญากรรม” ในทศวรรษใหม่ สำนักงานกิจการยุติธรรม (สกธ.) กระทรวงยุติธรรม

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--10 ก.ย.--กระทรวงยุติธรรม

ก.ยุติธรรม ชง กม. จำคุกนอกเรือนจำ รับมือ “อาชญากรรม” ในทศวรรษใหม่ ชี้ข้อดีแก้ปัญหาคนล้นคุก และเอื้อต่อการฟื้นฟูผู้กระทำผิดให้เป็น “คนดี” กลับคืนสู่สังคม ผลวิจัยระบุประชาชนเห็นด้วย ด้านผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขานรับ แต่หวั่นจะเปิดช่องคอรัปชั่น และความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวย – คนจน นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม (สกธ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางกระทรวงยุติธรรมได้ผลักดันร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งเป็นการนำเสนอให้มีการปรับปรุงวิธีการคุมขังและจำคุก กับผู้ต้องขังบางลักษณะ โดยกำหนดวิธีการหรือสถานที่ในการขังหรือจำคุกนอกเรือนจำให้เหมาะสมกับสภาพของผู้ต้องขัง ออกมาบังคับใช้ โดยร่างกฎหมายดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว และอยู่ในระหว่างรอการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งหากกฎหมายดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้วจะทำให้สามารถนำวิธีการควบคุมผู้กระทำผิดนอกเรือนจำ โดยใช้ระบบการควบคุมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (EM- Electronic Monitoring) มาใช้ในประเทศไทยได้ นายวิศิษฏ์ กล่าวถึงที่มาของการปรับปรุงกฎหมายดังกล่าวว่า สืบเนื่องมาจากปัจจุบันมาตรฐานการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดในประเทศไทยยังคงมุ่งเน้นการควบคุมตัวในเรือนจำเป็นหลัก ในขณะที่จำนวนผู้กระทำผิดเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เรือนจำมีสภาพแออัด อันเป็นอุปสรรคในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดค่อนข้างมาก อีกทั้งรัฐยังต้องแบบรับภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้กระทำผิดเป็นงบประมาณจำนวนมหาศาล ประกอบกับปัจจุบันเทคโนโลยีในการควบคุมตัวมีความก้าวหน้าเป็นอันมาก ซึ่งในประเทศพัฒนาหลายแห่งได้นำระบบดังกล่าวมาใช้แล้วอย่างได้ผล ดังนั้นการนำระบบ EM มาใช้ในการควบคุมผู้กระทำผิดจึงเป็นทางเลือกของการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดแทนการจำคุกในเรือนจำคุก เพื่อเอื้อต่อการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดกลับคืนสู่สังคมได้ดีขึ้น ผอ.สกธ.เปิดเผยว่า ทางกระทรวงยุติธรรมได้ร่วมกับ อาจารย์สุมนทิพย์ จิตสว่าง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำการวิจัยเรื่อง โครงการติดตามประเมินผลการนำระบบการควบคุมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับผู้กระทำผิด เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการนำระบบดังกล่าวมาใช้ในประเทศไทย ทั้งด้านความเหมาะสม ความคุ้มค่า รวมทั้งข้อดีข้อเสีย และภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาล และผู้กระทำผิด ผลการวิจัยจากการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งประกอบด้วยกลุ่มผู้กระทำผิด ผู้ปฏิบัติงาน และประชาชน พบว่า กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วย และเห็นว่าเป็นไปได้ และยินดีให้นำมาใช้ โดยต้องประยุกต์อุปกรณ์ให้กับเข้ากับสังคมไทย อีกทั้งเห็นว่า ควรใช้ระบบ EM กับผู้กระทำผิดครั้งแรกที่กำหนดโทษไม่สูง และควรใช้กับผู้กระทำผิดทุกประเภทคดี โดยกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้กระทำผิดส่วนใหญ่ยอมรับการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เข้มงวดของระบบ EM มากกว่า การคุมประพฤติในสภาวะปกติ ในส่วนค่าใช้จ่ายนั้น กลุ่มตัวอย่าง เห็นว่าทางรัฐบาลควรรับผิดชอบค่าใช้จ่ายร่วมกับผู้กระทำผิด และผู้กระทำผิดควรรับผิดชอบค่าใช้จ่ายไม่ควรเกิน 100 บาทต่อเดือน ในขณะเดียวกันกลุ่มผู้บริหารระดับสูงสุดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อาทิ กรมคุมประพฤติ กรมราชทัณฑ์ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ก็เห็นด้วยกับการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการควบคุมตัวผู้กระทำผิด โดยให้เหตุผลว่า เพื่อเป็นการให้โอกาสทางสังคมแก่ผู้กระทำผิด และเป็นการสร้างทางเลือกในการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดในระดับกลางที่มีค่อนข้างน้อยในประเทศไทยให้แก่ผู้กระทำผิดมากขึ้น และความเหมาะสมของการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่อผู้ต้องโทษระหว่าง 2-5 ปี สำหรับผู้กระทำผิดเพศหญิง ผู้สูงอายุ เด็ก และเยาวชนที่กระทำผิด ผู้ที่เมาแล้วขับ (ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ และความสูญเสีย) และผู้กระทำผิดทุกประเภทคดีที่กำหนดโทษไม่สูงตามความเหมาะสม ซึ่งอาจกำหนดเงื่อนไขเป็นผู้สำนึกผิดต่อการกระทำ มีการชดใช้แก่เหยื่ออาชญากรรม และมีงานทำ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้บริหารระดับสูงฯ มีความเห็นเพิ่มเติมว่า ในการควบคุมตัวด้วยระบบ EM ควรมีการใช้โปรแกรมในการตรวจตราที่เข้มงวด และการแก้ไขฟื้นฟูที่มีความเหมาะสมควบคู่ไปด้วย อีกทั้งในทัศนะของผู้บริหารฯ เห็นว่า ปัญหาอุปสรรค ในการใช้อุปกรณ์ EM ในการควบคุมตัวผู้กระทำผิด ได้แก่ ปัญหาความไม่แน่นอนของเทคโนโลยี ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาความไม่เชื่อมั่นในอุปกรณ์ EM ของผู้กระทำผิด ปัญหางบประมาณ ปัญหาความยุติธรรมระหว่างคนรวยกับคนจน และปัญหาคอรัปชั่นที่อาจเกิดขึ้น ในประเด็นนี้ ผอ.สกธ. ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า “ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เป็นกฎหมายที่ปรับปรุงขึ้นมารองรับกับสภาพสังคมในโลกยุคใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม แต่เนื่องจากเป็นวิธีการ และเป็นระบบใหม่สำหรับสังคมไทย การผลักดันไปสู่การปฏิบัติจริง และเกิดประโยชน์ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และเอกชนผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยี มาช่วยกันคิด เพราะมีประเด็นที่ต้องดำเนินการเพื่อเตรียมความพร้อมค่อนข้างมาก อาทิ การเลือกประเภทของผู้ต้องขัง ที่ควรได้รับการควบคุมตัวด้วยระบบ EM ความพร้อมของอุปกรณ์ ความพร้อมของระบบการควบคุมดูแล และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง และงบประมาณ เป็นต้น ทั้งนี้อาจจะเริ่มจากดำเนินการในลักษณะโครงการนำร่อง เพื่อติดตามประเมินผล ให้เกิดความมั่นใจก่อน”

ข่าวสำนักงานกิจการยุติธรรม+วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถวันนี้

ภาพข่าว: ชื่นใจ..คนไทยรู้กฎหมาย

พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง (ที่ 4 จากซ้าย) รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานเปิดตัวรถให้ความรู้เคลื่อนที่ (Transit Advertising) สร้างการรับรู้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรรมให้กับประชาชนและหน่วยงานของรัฐ ในหัวข้อ "ชื่นใจ..คนไทยรู้กฎหมาย" โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม, นายวัลลภ นาคบัว ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม รวมถึงเหล่าศิลปิน "ครูเทียม" ชุติเดช ทองอยู่, แฟ้ม บุญมา, ดาว มยุรีย์ ร่วมงาน ณ ลานทิศเหนือ ชั้น ๒ อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์

ยธ.ดันแผนแม่บทยุติธรรมชาติที่ประชาชนต้องการ

สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม นาย วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า สืบเนื่องตาม พ.ร.บ. พัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ.2549 ได้กำหนดให้คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ดำเนินการจัดทำ...

ประกวดโครงการ “เยาวชนพลยุติธรรม” ระดับประเทศ

นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม (สกธ.) กระทรวงยุติธรรม เปิดเผยว่า สำนักงานกิจการยุติธรรม ร่วมกับ โครงการเยาวชนพลยุติธรรมฯ กำหนดจัดกิจกรรมการประกวดระดับประเทศ โครงการเยาวชนพลยุติธรรม เรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท เฉลิมพระเกียรติเนื่อง...

สกธ.จัดประกวดกิจกรรมสร้างสรรค์ “เยาวชนพลยุติธรรม” ระดับประเทศ

เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม (สกธ.) กระทรวงยุติธรรม เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานกิจการยุติธรรมได้ริเริ่มและดำเนินโครงการเยาวชนพลยุติธรรมขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 จนถึงปัจจุบันซึ่งเปลี่ยนชื่อโครงการ...

สกธ.จัดประกวดกิจกรรมสร้างสรรค์ “เยาวชนพลยุติธรรม” ระดับประเทศ

เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม (สกธ.) กระทรวงยุติธรรม เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานกิจการยุติธรรมได้ริเริ่มและดำเนินโครงการเยาวชนพลยุติธรรมขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 จนถึงปัจจุบันซึ่งเปลี่ยนชื่อโครงการ...

ภาพข่าว: อบรมนักบริหารกิจการยุติธรรมแก้ปัญหาคอร์รัปชัน

สถาบันพัฒนาบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม สำนักงานกิจการยุติธรรม จัดฝึกอบรมหลักสูตร นักบริหารกิจการยุติธรรม หัวข้อเรื่อง มาตรการในการแก้ปัญหาคอร์รัปชัน และการศึกษาดูงานหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ให้กับบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมระดับบริหาร จำนวน 35...

สกธ.ร่วมเฉลิมพระเกียรติฯ 80 พรรษา ขยายผล “เยาวชนพลยุติธรรม” ทั่วประเทศ

ผอ.สกธ. ร่วมเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคล 80 พรรษา หนุนขยายผล โครงการเยาวชนพลยุติธรรมครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ เน้นสร้างสำนึกในความยุติธรรม และความซื่อสัตย์สุจริตในกลุ่มเยาวชน เพื่อเสริมสร้างสังคมแห่งความเป็นธรรม นายวิศิษฏ์...

กองทุนยุติธรรม “อนุมัติ” แล้วช่วยคนจนสู้คดี บรรดาคนยากที่เดือดร้อนแห่ขอพึ่งกว่า 100 ราย

เผยคนยากจนที่ไม่มีเงินสู้คดียื่นเรื่องขอพึ่ง “กองทุนยุติธรรม” กว่า 100 ราย จากหลายจังหวัดรวมทั้ง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนใหญ่ขอเป็นค่าธรรมเนียมศาล ค่าจ้างทนาย และเงินประกันตัวสู้คดี ทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา...

สกธ. จับมือ สถาบันคีนันแห่งเอเซีย ระดมสมองพัฒนากฎหมาย

กระทรวงยุติธรรม จับมือสถาบันคีนันแห่งเอเซีย ลงนามความร่วมมือจัดการประชุมระดมความคิดเห็นทางกฎหมายกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อเป็นการระดมสมองและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาความร่วมมือทางด้านกฎหมายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เมื่อวันพุธที่...