สายงานวิจัย TMC เร่งสร้างความแข็งแกร่งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชู 5 แนวทางยกระดับความสามารถในการแข่งขันตามเกณฑ์ IMD

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--19 ต.ค.--พีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง

สายงานวิจัยนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (Technology Management Center: TMC) แนะ 5 แนวทางหลักเสริมสร้างขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย ควบคู่ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศที่ถูกจัดอันดับโดย IMD โดยเร็ว ดร.ญาดา มุกดาพิทักษ์ รองผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) เปิดเผยว่าที่ผ่านมา สถาบันนานาชาติเพื่อพัฒนาการจัดการ หรือ IMD (International Institute for Management Development) ได้จัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยประเมินจาก 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 1) สมรรถนะด้านเศรษฐกิจ 2) ประสิทธิภาพของภาครัฐ 3) ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ และ 4) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ล่าสุดเมื่อปี 2550 ไทยได้ที่ 33 จาก 55 ประเทศ ปัจจัยหลักที่เราอ่อนแอมากที่สุดคือโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ เราได้ลำดับที่ 49 และโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีได้ลำดับที่ 48 ซึ่งตกต่ำจากปีที่แล้ว ดร. ญาดาฯ เผย 5 แนวทางหลักในการขับเคลื่อนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศให้เข้มแข็ง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว ต้องพุ่งเป้าไปที่การพัฒนาปัจจัยที่เป็นดัชนีชี้วัดสำคัญของ IMD ได้แก่ 1) เพิ่มเงินลงทุนวิจัยและพัฒนา โดยสนับสนุนให้มีการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนามากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคเอกชน ตัวเลขจากการสำรวจเมื่อปี 2550 พบว่าค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาของไทยในปี 2548 มีมูลค่ารวมเพียง 16,667 ล้านบาท หรือคิดเป็น 0.24% ของ GDP ในขณะที่ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน และสิงคโปร์ เค้าทุ่มกันที่ 3.3% 2.9% และ 2.5% และ 2.3% ของ GDP ตามลำดับ มาตรการทางการเงินการคลังที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่กรมสรรพากรให้หน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนหักลดค่าใช้จ่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาได้ 200% ของรายจ่ายจริง มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการพัฒนาทักษะ เทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาระหว่างภาคอุตสาหกรรมและสถาบันการศึกษาของ BOI เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ การร่วมลงทุน การให้บริการคำปรึกษาทางเทคนิค หรือแม้แต่ทุนวิจัยและพัฒนาแบบให้เปล่าของหน่วยงานภาครัฐหลายแห่ง ก็ยังไม่เพียงพอ เราต้องเพิ่มมาตรการใหม่ๆ เช่น ตั้งกองทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย พัฒนาธุรกิจเงินร่วมลงทุน เป็นต้น 2) สร้างบุคลากรวิจัย ปัจจุบันไทยมีบุคลากรวิจัยประมาณ 4 หมื่นคนถ้าคิดแบบทำงานเต็มเวลา หรือเท่ากับ 5.9 คนต่อประชากร 10,000 คน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่น้อยกว่าญี่ปุ่น 12 เท่า เราน่าจะเพิ่มสัดส่วนให้เป็น 10 คนต่อประชากร 10,000 คนให้ได้ภายใน 5 ปีข้างหน้า สิ่งที่น่าจะทำคือการพัฒนานักวิจัยให้มีปริมาณและคุณภาพเพิ่มขึ้นโดยใช้กลไกศูนย์แห่งความเป็นเลิศ (Center of Excellence: COE) ที่เชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรม สร้างความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัย และอุตสาหกรรมผลิตบัณฑิตปริญญาโทและปริญญาเอกให้เป็นนักวิจัย ปลูกฝังให้เยาวชนรักที่จะทำวิจัยตั้งแต่วัยเยาว์และอยากเป็นนักวิจัยเมื่อเติบโตขึ้น รวมไปถึงการสร้างเส้นทางอาชีพให้นักวิจัยไทย 3) กระตุ้นให้เยาวชนสนใจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับเยาวชนในรูปแบบต่างๆ ที่น่าสนใจ เช่น โครงการค่ายวิทยาศาสตร์ถาวร ค่ายเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 4) ส่งเสริมให้มีการจดสิทธิบัตร โดยสนับสนุนให้ภาคการผลิตและนักวิจัยตระหนักในความสำคัญของสิทธิบัตร สนใจที่จะสร้างผลงานที่มีคุณค่าเพื่อจดสิทธิบัตร และใช้ประโยชน์จากสิทธิบัตรที่มีอยู่ให้มากขึ้น ในปี 2549 ประเทศไทยมีสิทธิบัตรที่ได้รับการจด 1,878 รายการ ในจำนวนนี้มีเพียง 30% ที่ได้รับการจดโดยคนไทย เราจำเป็นต้องปรับกฎระเบียบบางอย่างให้คล่องตัวและเอื้ออำนวยให้นักวิจัยได้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญามากขึ้น การจดสิทธิบัตรเป็นไปด้วยความรวดเร็วและสะดวกขึ้น 5) เพิ่มผลงานตีพิมพ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยส่งเสริมให้นักวิจัยไทยตีพิมพ์ผลงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในวารสารทั้งในและต่างประเทศ กำหนดให้ผลงานตีพิมพ์เป็นดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพการทำงานที่สำคัญของหน่วยงาน สร้างแรงจูงใจโดยการให้รางวัลสำหรับนักวิจัยหรือสถาบันที่มีการตีพิมพ์ผลงาน ในปี 2549 ประเทศไทยมีผลงานตีพิมพ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในวารสารวิชาการในประเทศทั้งสิ้นเพียง 2,855 บทความ และมีผลงานตีพิมพ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในฐานข้อมูล Science Citation Index (SCI) จำนวน 3,075 บทความ นับว่ายังน้อยมาก “อันดับความสามารถในการแข่งขันของไทยที่ลดลง เป็นสัญญาณเตือนให้เราปรับปรุงแก้ไขปัจจัยที่เป็นจุดอ่อน เรากำลังก้าวเข้าสู่สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge –Based Economy/ Society) เช่นเดียวกับนานาอารยประเทศ การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญที่เราต้องดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างยั่งยืน” ดร. ญาดาฯ กล่าว

ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี+ญาดา มุกดาพิทักษ์วันนี้

FoSTAT และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ จับมือ ProPak Asia 2025 จัดสัมมนา ปั้นอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารสู่มาตรฐานสากล ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ และ สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย (FoSTAT) และ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ผู้จัดงาน ProPak Asia 2025 งานแสดงเทคโนโลยี เครื่องจักร และโซลูชันด้านกระบวนการผลิต การแปรรูป และบรรจุภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรมอาหาร อาหารแปรรูป เครื่องดื่ม และบรรจุภัณฑ์ ยังคงยึดมั่นในพันธกิจที่จะส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตไทยให้แข็งแกร่งเป็นฟันเฟืองสำคัญของเศรษฐกิจประเทศ เพื่อเดินหน้ายกระดับองค์ความรู้สู่ผู้ประกอบการในทุกภูมิภาค ดังนั้นทั้ง 3

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโล... สำหรับนักเรียนทุน พสวท. ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2567 — สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดค่ายวิทยาศาสตร์ภาคฤดูร้อนสำหรับนักเรียนทุ...

ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกร... วว. จับมือพันธมิตรไทย-จีน เสริมสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม — ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทย...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... สวทช. โดย นาโนเทค เฟ้นหา 8 ผู้ประกอบการ ต่อยอดนวัตกรรมสมุนไพรสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยศูนย์นาโนเท...

ดร.กุศลิน มุสิกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบั... สสวท. ประกาศชัยครู - นักเรียน ยอดฝีมือ เวทีประกวดงานวิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม GLOBE SRC 2025 — ดร.กุศลิน มุสิกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนว...

"การใช้สื่อชุดกิจกรรม IPST SMART BOX สร้า... สสวท. อบรมครูวิทย์และเทคโนโลยี 4 ภาค สมัครได้ถึง 3 พฤษภาคมนี้ — "การใช้สื่อชุดกิจกรรม IPST SMART BOX สร้างผลงานโดยไม่เขียนโปรแกรม" สถาบันส่งเสริมการสอนวิท...

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัย... วว. ต้อนรับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในโอกาสเยี่ยมชมโครงสร้างพื้นฐาน วทน. — ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโ...