“กพช” เห็นชอบ กรอบแผนอนุรักษ์พลังงาน ในช่วงปี 2551-2554 และแนวทางในการบริหารกองทุน น้ำมันเชื้อเพลิงหลังปลดภาระหนี้

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--1 ต.ค.--กพช.

“กพช” เห็นชอบ กรอบแผนอนุรักษ์พลังงาน ในช่วงปี 2551-2554 และแนวทางในการบริหารกองทุน น้ำมันเชื้อเพลิงหลังปลดภาระหนี้ นอกจากนี้เตรียมออกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการใช้พลังงาน ในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม และกำหนดมาตรฐานเครื่องจักรอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงและวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน 8 รายการ นายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มีมติเห็นชอบกรอบแผนอนุรักษ์พลังงานระยะที่ 3 ในช่วงปี 2551-2554 โดยมีรายละเอียดดังนี้ การเร่งรัดการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2535 โดยใช้มาตรการส่งเสริมและจูงใจทั้งด้านการเงิน มาตรการทางด้านภาษี การให้คำแนะนำ และเพิ่มแนวทางใหม่ เพื่อเสริมกับมาตรการที่มีอยู่เดิม เพื่อช่วยผู้ประกอบการมีทางเลือกที่จะลงทุนเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานเพิ่มขึ้น เช่น การส่งเสริมการใช้อุปกรณ์แสงสว่างประสิทธิภาพสูง ด้วยการรณรงค์ให้ประชาชนหันมาใช้หลอดผอมใหม่เบอร์ 5 แทนหลอดฟูลออเรสเซนต์ T8 หรือหลอดผอมเดิม คาดว่าจะลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้ 4,790 ล้านหน่วยต่อปี นับตั้งแต่ปี 2555 ลดความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดได้ 1,040 เมกะวัตต์ และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 2.1 ล้านตันต่อปี สำหรับการสนับสนุนธุรกิจบริษัทจัดการด้านพลังงาน ESCO ได้มีการจัดกองทุนเพื่อร่วมลงทุนและส่งเสริมการลงทุนในโครงการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน โดยใช้เงินจากกองทุนฯเข้าร่วมในโครงการ หรือการเข้าร่วมทุนกับบริษัทจัดการพลังงาน เช่นการเช่าซื้ออุปกรณ์ประหยัดพลังงาน หรือพลังงานทดแทนให้ผู้ประกอบการก่อน แล้วให้ผ่อนชำระทีหลัง โดยเบื้องต้นปี 2551 จะทดลองดำเนินการดังกล่าวในวงเงิน 500 ล้านบาท และส่งเสริมการจัดการด้านการใช้พลังงานโดยวิธีประกวดราคา (DSM Bidding) เพื่อจูงใจให้ผู้ประกอบการโรงงานและอาคารตัดสินใจเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในกิจการให้เร็วขึ้น โดยจะใช้เงินกองทุนฯเข้าไปสนับสนุนอัตราต่อหน่วยพลังงานที่ประหยัดได้ ด้วยการเชิญชวนผู้ประกอบการยื่นข้อเสนอเข้าร่วมโครงการ และขอรับการสนับสนุนงบต่อค่าพลังงานที่ประหยัดได้ โดยโครงนี้จะมีระยะเวลาในการดำเนินการ 2 ปี นอกจากนี้ยังได้ส่งเสริมลดการใช้พลังงานในสาขาขนส่ง เช่น การจัดเตรียมพื้นที่จอดแล้วจร เพิ่มเติมพร้อมทั้งจัด Feeder อำนวยความสะดวกในการเดินทางระหว่างที่จอดรถไปยังระบบขนส่งมวลชน และกำหนดอัตราความเร็วในการขับรถยนต์ไม่ให้เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดในแต่ละเขต พร้อมกับศึกษาหาแนวทางในการช่วยเหลือผู้ประกอบการขนส่งสินค้า เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและจูงใจให้หันมาใช้พลังงานทดแทน ด้วยการผลักดันพลังงานทดแทนที่เหมาะสมกับประเทศไทย โดยเน้นดำเนินการในสิ่งที่มีอยู่ในประเทศ เช่น น้ำเสีย ขยะ วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ซึ่งเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงของรัฐบาล เช่น ก๊าซชีวภาพ การผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ การแปรรูปขยะเป็นพลังงาน การส่งเสริมวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นพลังงาน “การดำเนินงานตามแผนอนุรักษ์พลังงาน จะสามารถลดการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ ในปี 2554ได้ประมาณ 18,294 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ หรือเทียบเท่าการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้ 14,829 ล้านลิตร และประหยัดไฟฟ้าได้ 45,165 ล้านหน่วย คิดเป็นมูลค่าประมาณ 467,000 ล้านบาทต่อปี” วันนี้ กพช. ได้เห็นชอบกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีจัดการเพื่อให้โรงงานและอาคารควบคุมใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และเห็นชอบกฎกระทรวงกำหนดเครื่องจักรอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงและวัสดุเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน รวม 8 ฉบับ สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้า ประเภทเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น พัดลมไฟฟ้า เครื่องทำน้ำอุ่น หม้อหุงข้าว กระติกน้ำร้อน เครื่องทำน้ำเย็นสำหรับระบบปรับอากาศ (Chiller) และกระจก ซึ่งจะช่วยให้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ผลิตและจำหน่ายในประเทศได้มาตรฐานและใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์กับประชาชน และในปี 2552 กระทรวงพลังงานจะดำเนินการอีก 27 รายการ นายวีระพล กล่าวว่า ที่ประชุม กพช. ได้มีมติเห็นชอบแนวทางการบริหารกองทุนน้ำมันฯภายหลังการใช้หนี้หมดแล้วจะจัดสรรอัตราการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ 1.ลดราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงให้กับประชาชน 50 สตางค์ต่อลิตร 2. โอนอัตราการเก็บเงินสำหรับน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซล 50 สตางค์ต่อลิตร เข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อใช้ในการลงทุนพัฒนาระบบขนส่ง เช่น โครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต รถไฟทางคู่สายฝั่งทะเลตะวันออก เป็นต้น และ 3. ส่วนที่เหลือเก็บเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อสะสมไว้เป็นค่าใช้จ่ายในภาวะฉุกเฉินที่อาจจำเป็นต้องรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันในประเทศในช่วงสั้นๆ และใช้สนับสนุนการดำเนินการตามแผนอนุรักษ์พลังงานและส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน

ข่าวกระทรวงกำหนดมาตรฐานการใช้พลังงาน+กรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติวันนี้

บอร์ด ปตท. เคาะแนวทางช่วยเหลือค่าไฟฟ้ากลุ่มเปราะบาง ยึดมั่นธรรมาภิบาลต่อทุกภาคส่วน

เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ลดต้นทุนเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้าเทียบเท่า 6,000 ล้านบาท มุ่งช่วยเหลือประชาชน มั่นใจไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ดูแลผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างสมดุล นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มีมติเห็นชอบแนวนโยบายการบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ เพื่อลดภาระค่าไฟฟ้าในช่วงวิกฤตราคาพลังงาน (ตั้งแต่มกราคม เมษายน 2566) และขอความร่วมมือ ปตท

กระทรวงพลังงาน โดยสำนักงานนโยบายและแผนพลั... สนพ. จัดกิจกรรมสัมมนา “สร้างความรู้ ความเข้าใจ ต่อแผนPDP 2018” จังหวัดพระนครศรีอยุธยา — กระทรวงพลังงาน โดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จัดกิจกรรมสัม...

กิจกรรมสัมมนา “การสร้างความรู้ ความเข้าใจ ต่อแผน PDP 2018 " ภาคตะวันออก

กระทรวงพลังงาน โดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จัดกิจกรรมสัมมนา "การสร้างความรู้ ความเข้าใจ ต่อแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2561-2580 (Power Development Plan : PDP 2018) ภาคตะวันออก" ซึ่งแผนดังกล่าวได้ผ่านความ...

หลังผลประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน... นักลงทุนข้ามชาติ ห่วงรัฐไม่เร่งต่อสัญญา SPPกระทบอุตสาหกรรม ฉุด EEC สะดุด — หลังผลประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) วันที่ 9 สิงหาคม 2561 ระบุว่า ...

รายงานผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม 2561

วันนี้ (8 มีนาคม 2561) ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล การประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ครั้งที่ 1/2561 (ครั้งที่ 14) ซึ่งมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ...

กพช. รับทราบแนวทางการบริหารจัดการแหล่งก๊าซธรรมชาติที่สัมปทานจะสิ้นอายุ

วันนี้ (8 มีนาคม 2561) ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล การประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ครั้งที่ 1/2561 (ครั้งที่ 14) ซึ่งมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้มีวาระรับทราบในหลักการการบริหารจัดการ...