กทม.จับมือสำนักงานสถิติฯ สำรวจข้อมูลที่แท้จริงเพื่อพัฒนาเมืองให้ถูกทาง

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--28 ก.ย.--กทม.

ดร.พงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์ ณ อยุธยา ปลัดกรุงเทพมหานคร และ นางธนนุช ตรีทิพยบุตร เลขาธิการสิถิติแห่งชาติ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการด้านข้อมูลสถิติ ระหว่างสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) และกรุงเทพมหานคร (กทม.) จากนั้นนางวรรณวิไล พรหมลักขโณ รองปลัดกรุงเทพมหานคร บรรยายเรื่อง “บทบาท ภารกิจ ความต้องการใช้ข้อมูลสถิติของกรุงเทพมหานคร และแนวทางการสนับสนุนของ สสช.” โดยมีตัวแทนเจ้าหน้าที่จากทั้ง 2 หน่วยงาน จำนวน 150 คน ร่วมในกิจกรรมสัมมนา “ประสานเครือข่ายและความร่วมมือกับ กทม.” รองปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกและครั้งประวัติศาสตร์ในการพัฒนากรุงเทพมหานคร โดยทาง สสช. มีนโยบายเชิงรุกในการเข้าถึงประชาชนในชุมชน เพื่อเก็บข้อมูลที่เป็นจริงให้ได้มากขึ้นที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับเป้าประสงค์ของ กทม. ที่ต้องการข้อมูล สภาพปัญหาที่แท้จริง แบบเจาะลึกให้มากที่สุด โดยเชื่อมั่นว่า สถิติ ตัวเลข ต่างๆ ที่ได้จากการเก็บข้อมูลโดย สสช.และ กทม. จะสามารถนำไปเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาชาวกรุงเทพมหานครได้อย่างตรงจุด ทั้งนี้ สสช.จะส่งเจ้าหน้าที่ ร่วมกับ กทม.เข้าไปในพื้นที่เพื่อทำกิจกรรมร่วมกับประชาชนในชุมชนและจัดเก็บข้อมูลที่เป็นจริง รองปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวด้วยว่า ตัวเลขสถิติที่ กทม. ต้องการมากที่สุดในขณะนี้ คือ จำนวน ประชากรที่แท้จริงในกรุงเทพฯ เนื่องจากปัจจุบันไม่มีการยืนยันที่แท้ชัดว่า กทม.ต้องรับผิดชอบดูแลประชาชนจำนวนเท่าไร นอกเหนือจากที่มีชื่อในทะเบียนบ้านเขตกรุงเทพฯประมาณ 5 ล้านคน แล้วยังมีประชากรแฝงจากต่างจังหวัด และผู้ที่เดินทางเข้าออกรายวัน มาทำงาน เรียนหนังสือ อีกเป็นจำนวนเท่าไร ซึ่งสถิติที่แท้จริงเหล่านี้จะสามารถใช้เป็นฐานในการพัฒนาเมืองทุกๆ ด้านให้สอดรับกับจำนวนประชากรที่แท้จริง รวมทั้งจัดสรรงบประมาณทั้งของ กทม.เอง และเงินอุดหนุนรัฐบาลได้ถูกต้องตามรายหัวด้วย

ข่าวสำนักงานสถิติแห่งชาติ+ความร่วมมือทางวิชาการวันนี้

สคล. ผนึกกำลังชุมชน รณรงค์ลด ละ เลิกเหล้า ต่อเนื่อง พุ่งเป้า "ป้องกันนักดื่มหน้าใหม่" มุ่งสร้างสังคมสุขภาวะ

จากข้อมูลสถิติที่ชี้ว่าจังหวัดพะเยามีความชุกของปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์ในเยาวชนสูงติดอันดับต้น ๆ ของประเทศ โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติย้อนหลังตั้งแต่ปี 2554 ความชุกของประชากรายุ 15 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 54 เป็นอันดับหนึ่งของประเทศ และจากข้อมูลศูนย์วิจัยปัญหาสุรา ปี 2564 พบความชุกร้อยละ 40.7 อยู่ในลำดับที่ 5 ของประเทศ สำหรับพื้นที่อำเภอแม่ใจ ปี 2567 มีผลการคัดกรองพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชน อายุ 12-15 ปี (นักดื่มหน้าใหม่ 12-15ปี) จากเยาวชนจำนวน 734 คน ได้รับการคัดกรอง 477 คน พบว่า ดื่ม

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล... สคส. จับมือ สนง.สถิติ เก็บข้อมูลประชากรครั้งใหญ่รอบ 10 ปี ย้ำชัด มั่นใจ-ปลอดภัย-พร้อมพัฒนาประเทศ — สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จับมือ สำนักง...

ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างส... เจาะลึกหัวใจคนโสดยุค "Solo Economy" กับการวางแผนที่อยู่อาศัยในฝัน — ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (Aged Society) โดยประชากรเกิดใหม่ลดลงอ...

K PLUS ตอกย้ำความเป็นผู้นำดิจิทัล แบงกิ้ง... K PLUS พัฒนาฟีเจอร์บริหารเงิน "ตั้งงบ-วางแผน-ลงทุน" ครบวงจร หนุนคนไทยมีสุขภาพการเงินที่ดี — K PLUS ตอกย้ำความเป็นผู้นำดิจิทัล แบงกิ้ง มุ่งสนับสนุนวินัยการ...