กรมศุลกากรแถลงผลการจับกุมไม้พะยูงลักลอบส่งออก

05 Aug 2008

กรุงเทพฯ--5 ส.ค.--กรมศุลกากร

วันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม 2551 เวลา 11.00 น. นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ อธิบดีกรมศุลกากร แถลงข่าวผลการจับกุมไม้พะยูงลักลอบส่งออกของกรมศุล กากร ณ บริเวณลานวางตู้คอนเทนเนอร์ขาออก (โกดัง1-2) การท่าเรือแห่งประเทศไทย คลองเตยอธิบดีกรมศุลกากร กล่าวว่า ตามนโยบายกระทรวงการคลังให้กรมศุล กากรเฝ้าระวังการลักลอบส่งออกไม้พะยูง เพื่อคุ้มครองและรักษาทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อสนองพระราชเสาวนีย์สมเด็จ- พระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถในการดูแล พื้นที่ป่า กรมศุลกากรจึงได้เข้มงวดกวดขันการลักลอบส่งออกไม้พะยูง ซึ่งมีผลการจับกุมไม้พะยูงลักลอบส่งออกโดยระบบคอนเทนเนอร์ไปจำหน่ายยังประเทศจีน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2548 จนถึงปัจจุบัน จำนวนคดี 237 ราย เป็นจำนวน 568 ตู้คอนเทนเนอร์ จำนวน 113,600 ท่อน คิดเป็นปริมาตร 9,324 ลูกบาศ์กเมตร มูลค่าประมาณ 568 ล้านบาท

สำหรับไม้ของกลางดังกล่าวได้มีการเก็บรักษาที่ท่าเรือต่าง ๆ รวมทั้งที่ท่าเรือคลองเตย ซึ่งมีข่าวว่าอาจมีการลักลอบขนย้ายออกจากสถานที่ เก็บรักษาได้นั้น จากการตรวจสอบสถานที่จัดเก็บไม้ของกลางที่เก็บรักษาไว้ภายในท่าเรือคลองเตย พบว่ามีรั้วรอบขอบชิด และมีการจัดเจ้าหน้าที่ศุลกากร ควบคุมดูแลตลอดเวลา การจะถูกขโมยหรือสับเปลี่ยนนั้นเป็นไปได้ยาก เนื่องจากต้องอาศัยเครื่องมือทุ่นแรงในการยกตู้คอนเทนเนอร์ นอกจากนี้ กรมศุลกากร และการท่าเรือแห่งประเทศไทยยังมีระบบการควบคุมตู้คอนเทนเนอร์ การเข้า-ออกของแต่ละท่าเรือต่างๆที่เข้มงวด การเคลื่อนย้ายไม้ของกลางต้องได้รับการ อนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าหน้าที่ศุลกากรและเจ้าหน้าที่การท่าเรือฯ จึงจะสามารถดำเนินการต่อตู้สินค้านั้นได้ อย่างไรก็ตามอธิบดีกรมศุลกากร ได้กำชับให้สำนักงานศุลกากรที่รับผิดชอบเก็บรักษาไม้ของกลาง เพิ่มความเข้มงวดและความระมัดระวังในการดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด

อธิบดีกรมศุลกากรกล่าวว่า เนื่องจากไม้ของกลางเหล่านี้ ยังอยู่ระหว่างพิจารณาที่ต้อง ขอความเห็นจากพนักงานสอบสวน และอยู่ระหว่างการ ดำเนินการตรวจวัดจำนวนปริมาณร่วมกันระหว่างกรมศุลกากรและกรมป่าไม้ รวมทั้งต้องเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการกับไม้ของกลาง ดังนั้นจึงขอเตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อหากมีการแอบอ้างว่าจะนำไม้ของกลางไปจำหน่ายให้ เพราะต้องรอมติครม.ก่อนดำเนินการกับไม้ของกลางดังกล่าว สำหรับปัญหาที่ผู้ประกอบการผู้เป็นเจ้าของตู้คอนเทนเนอร์ร้องเรียนขอคืนตู้คอนเทนเนอร์นั้น กรมศุลกากรยังไม่สามารถดำเนินการคืนตู้ได้ เนื่องจาก อยู่ในระหว่างการพิจารณาของพนักงาน

ข้อมูลเพิ่มเติม

ไม้พะยูงที่กรมศุลกากรจับมาได้นั้น เป็นการสำแดงชนิดสินค้าในเอกสารการส่งออกเป็นเท็จ และส่วนใหญ่แอบอ้างใช้ชื่อผู้ส่งออกรายอื่นที่ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง อันเป็นความผิดตามกฎหมายศุลกากรในการสำแดงชนิดสินค้าเป็นเท็จและพยายามส่งของต้องกำกัดออกไปนอกราชอาณาจักร ตามมาตรา 99,27 พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 ประกอบประกาศกระทรวงพาณิชย์ พ.ศ.2549 กรมศุลกากรได้ส่งให้พนักงานสอบสวนพิจารณาความผิดตามกฎหมายป่าไม้ ซึ่งเป็นไปตามมติ ค.ร.ม. วันที่ 30 เมษายน 2534 ที่ให้ดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดทุกตัวบทกฎหมาย

จากจำนวนตู้คอนเทนเนอร์ที่มีจำนวนมากถึง 568 ตู้ ส่งผลให้เกิดความเดือดร้อนต่อผู้ประกอบการที่สุจริตขนสินค้าระหว่างประเทศที่เป็นเจ้า ของตู้ ซึ่งได้มีการร้องเรียนต่อรัฐบาลในสมัยพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ และนายสมัคร สุนทรเวช เพื่อขอคืนตู้คอนเทนเนอร์โดยอ้างความเสียหายในค่าเสีย โอกาสดำเนินธุรกิจโดยเฉลี่ยเป็นจำนวน 11,100 บาท ต่อตู้ /เดือน โดยในส่วนของกรมศุลกากรไม่สามารถดำเนินการคืนตู้ได้เพียงลำพังเพราะอยู่ในระหว่าง การพิจารณาของพนักงานสอบสวน สำหรับในส่วนของการจำหน่ายของกลางซึ่งกฤษฎีกาได้แจ้งว่า เป็นอำนาจของกรมศุลกากรแต่เนื่องจากของกลางมีจำนวนมากและมีผลกระทบต่อหลายหน่วยงาน กรมศุล กากรจึงได้ดำเนินการขอมติ ค.ร.ม. ในการดำเนินการเพื่อให้เกิดความรอบคอบและรัดกุมต่อไป

กระบวนการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

กระบวนการ

1. มีการลักลอบตัดไม้พะยูง ในพื้นที่จังหวัดทางภาคอีสานและจังหวัดที่มีพื้นที่ติดชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน

2. การขนส่ง

  • นำตู้คอนเทนเนอร์ไปบรรจุบริเวณที่ตัดไม้
  • นำรถบรรทุกไปบรรทุกแล้วนำมารวมบริเวณจุดรวมหมอนไม้ตามโกดังหรือพื้นที่รอบกทม./ ปริมณฑล เช่นจังหวัด ปทุมธานี อยุธยา ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ฯลฯ
  • นำตู้เข้าท่าเรือต่าง ๆ เพื่อปฏิบัติพิธีการศุลกากรในการส่งออก

จะเห็นว่าในกระบวนการดังกล่าว ในส่วนของกรมศุลกากรมีการเกี่ยวข้องในขั้นตอนสุดท้ายคือนำตู้คอนเทนเนอร์เข้ามาในท่าเรือและปฏิบัติพิธีการ ศุลกากร

ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

1. ผู้ส่งออกตามเอกสารใบขนสินค้าขาออก

2. ตัวแทนเรือ

3. ตัวแทนรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ หรือ forwarder

4. ผู้ขนส่ง (บริษัทผู้รับขนส่ง / คนขับรถ)

5. ตัวแทนออกของหรือชิปปิ้ง

6. จุดบริการรับส่งข้อมูลใบขนสินค้า (เคาน์เตอร์เซอร์วิส)

การเก็บรักษาของกลาง

ตู้คอนเทนเนอร์ของกลางเก็บรักษาและอยู่ในความดูแลของสำนักงานศุลกากรหรือด่านศุลกากรที่มีการจับกุม โดยส่วนใหญ่เก็บรักษาไว้ที่ท่าเรือ ต่าง ๆ ซึ่งมีท่าเรือกรุงเทพ , ท่าเรือแหลมฉบัง , ท่าเรือเอกชนต่าง ๆ แยกรายละเอียดดังนี้

-

สำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ

จำนวน 121 ราย 308 ตู้

-

สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง

จำนวน 61 ราย 113 ตู้

-

ด่านศุลกากรสมุทรปราการ สกท.

จำนวน 15 ราย 55 ตู้

-

ด่านศุลกากรลาดกระบัง สกท.

จำนวน 2

ราย 3

ตู้

-

ด่านศุลกากรพระประแดง สกท.

จำนวน 4

ราย 10 ตู้

-

ด่านศุลกากรสำโรงใต้ สกท.

จำนวน 21 ราย 36 ตู้

-

ด่านศุลกากรฉะเชิงเทรา ศภ.1

จำนวน 8

ราย 33 ตู้

-

ด่านศุลกากรพระสมุทรเจดีย์ สกท.

จำนวน 2

ราย 2

ตู้

-

ด่านศุลกากรปาดังเบซาร์ ศภ.4

จำนวน 2

ราย 7

ตู้

-

ด่านศุลกากรสะเดา

จำนวน 1

ราย 1

ตู้

จำนวน 237

ราย 568

ตู้