สี่ขั้นตอนในการจัดการผลการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--8 ธ.ค.--ไอบีเอ็ม ประเทศไทย

โดย เจษฏา ไกรสิงขร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจซอฟต์แวร์ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด ปัจจุบัน องค์กรหลายแห่ง มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนวิธีการบริหารจัดการระบบไอทีในองค์กร จากการใช้บิสสิเนส อินเทลลิเจนท์ (Business Intelligence – BI) ไปสู่แนวทางการจัดการผลการปฏิบัติงาน (Performance Management - PM) ทั้งนี้เพื่อการขับเคลื่อนความสำเร็จโดยรวมขององค์กร ด้วยเหตุดังกล่าว ฝ่ายไอทีจึงต้องกำหนดแนวทางว่าควรจะเริ่มต้นปรับใช้โซลูชั่น PM ที่ส่วนใดภายในองค์กรก่อน หลังจากนั้นจึงพิจารณาหาวิธีพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมเพื่อนำโซลูชั่นดังกล่าวไปปรับใช้กับส่วนงานต่าง ๆ ในขั้นตอนการพัฒนาโครงการ PM นี้ การรายงาน (Reporting) ถือเป็นส่วนประกอบหลักมักจะเป็นส่วนแรกที่องค์กรต่างๆ ให้ความสำคัญ นอกจากนั้นแล้ว การรายงานยังนับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับบริษัทในการพัฒนาต่อยอดจากระบบงานอัตโนมัติไปสู่การปรับปรุงประสิทธิภาพของธุรกิจอีกด้วย สำหรับการสร้างโซลูชั่น PM นั้น หลาย ๆ องค์กรแทนที่จะพยายามปรับใช้โซลูชั่นทั้งหมดในคราวเดียวกัน มักใช้วิธีเริ่มต้นจากการติดตั้งโซลูชั่นขนาดเล็ก ๆ ก่อน จนเมื่อประสบความสำเร็จแล้ว ก็ค่อยๆ พัฒนาต่อยอดไปเรื่อยๆ ผ่านการวางแผนอย่างรอบคอบและการปรับใช้อย่างค่อยเป็นค่อยไป วิธีการหนึ่งที่ใช้ได้ผลดีในการปรับใช้แนวทาง PM ก็คือ การดำเนินการโดยอาศัยการรายงาน (Implementing PM through reporting) ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักที่จะช่วยให้องค์กรได้รับทราบข้อมูลเชิงลึกที่จำเป็นในการตอบโจทย์พื้นฐานทางด้านธุรกิจ องค์กรต่างๆ จะสามารถปรับใช้แนวทาง PM ด้วยการดำเนินการตาม 4 ขั้นตอนที่จะกล่าวต่อไปนี้ ตั้งแต่การเริ่มต้นจากระบบการทำรายงาน แล้วค่อยๆ เพิ่มเติมความสามารถสำคัญๆ ทางด้าน BI และผนวกรวมระบบทั่วทั้งองค์กร ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ การสร้างโซลูชั่น PM ที่มีประสิทธิภาพและใช้งานอย่างสัมฤทธิ์ผล โดยโซลูชั่นดังกล่าวจะช่วยให้องค์กรสามารถใช้ข้อมูลทางด้านธุรกิจได้อย่างเต็มศักยภาพ ขั้นตอนทั้ง 4 ประกอบไปด้วย ขั้นตอนที่ 1: การตอบสนองความต้องการเบื้องต้น ในขั้นตอนแรกนี้ การตอบสนองความต้องการพื้นฐานสำหรับการรายงานข้อมูลในบางแผนก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนงานที่มีความจำเป็นมากที่สุด หรือมีศักยภาพที่จะสร้างผลตอบแทนที่คุ้มค่ามากที่สุด เป็นต้น ทั้งนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ฝ่ายไอทีจะต้องชั่งน้ำหนักระหว่างความสำคัญในการตอบสนองความต้องการใหม่ๆ ทางด้านธุรกิจ กับผลกระทบที่เกิดจากการเพิ่มเติมเทคโนโลยีอื่นเข้าไปในโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่มีความแตกต่างหลากหลายอยู่แล้ว ขั้นตอนนี้จำเป็นต้องอาศัยการประเมินผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยละเอียด เพื่อให้แน่ใจว่าโซลูชั่นที่คุณปรับใช้จะสามารถตอบสนองความต้องการทั้งในปัจจุบันและอนาคต ด้วยการตอบสนองความต้องการเบื้องต้นในเรื่องการรายงานข้อมูล ฝ่ายไอทีจะสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานขององค์กร ระบุรายงานชนิดต่างๆ และพัฒนาระบบการรายงานด้วยตนเองได้อย่างดี นอกจากนี้ ประโยชน์อีกประการหนึ่งในการทำงานขั้นตอนนี้ ยังเปิดโอกาสให้ฝ่ายไอทีสามารถสร้างรูปแบบธุรกิจร่วม และสถาปัตยกรรมการบริการ (Service-Oriented Architecture - SOA) ที่ใช้เว็บเซอร์วิส ซึ่งจะรองรับการขยายโซลูชั่นเกี่ยวกับการรายงานได้อย่างเหมาะสม ขั้นตอนที่ 2: การผลักดันการใช้ข้อมูลเชิงลึกผ่านทาง BI ในขั้นตอนที่สองของแผนการพัฒนา PM โดยเริ่มต้นจากส่วนของการรายงาน ฝ่ายไอทีจะนำเสนอโซลูชั่นการรายงานให้แก่ผู้ใช้รายอื่นๆ เ รวมถึงความสามารถขั้นสูงทางด้าน BI ทั้งนี้ในการนำเสนอโซลูชั่นที่ประสบความสำเร็จสำหรับการแก้ไขปัญหาทางธุรกิจ จำเป็นที่จะต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างส่วนงานไอทีและส่วนงานธุรกิจ ในขณะที่ฝ่ายไอทีเข้าใจเรื่องเทคโนโลยี โครงสร้างพื้นฐาน และแหล่งข้อมูล ส่วนงานธุรกิจก็มีความรู้ว่าจะต้องใช้ข้อมูลเชิงลึกประเภทใดเพื่อที่จะรองรับการปฏิบัติงานที่จะก่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยเหตุนี้ เมื่อส่วนงานไอทีและส่วนงานธุรกิจร่วมมือกัน จะก่อให้เกิดคุณประโยชน์มากกว่าการดำเนินการตามลำพังโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการตรวจสอบธุรกิจเชิงลึกและปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวมในการดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ในขั้นตอนที่สองของแผนการพัฒนา ฝ่ายไอทียังขยายความสามารถด้านการรายงาน เพื่อแสดงข้อมูลผ่านทางระบบสกอร์การ์ด (Scorecard) และแดชบอร์ด (Dashboard) ทั้งในระดับธุรกิจและระดับบริหาร โดยสกอร์การ์ดจะแสดงดัชนีชี้วัดที่สำคัญสำหรับผู้ใช้ในสายงานธุรกิจ ช่วยให้มีการปรับเปลี่ยนทีมงานและแนวทางการทำงานให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ของบริษัท รวมทั้งการสื่อสารเกี่ยวกับเป้าหมาย และการตรวจสอบผลการปฏิบัติงานตามเป้าหมายที่กำหนด นอกจากนั้น ฝ่ายไอทีควรจะเพิ่มเติมความสามารถด้านการวิเคราะห์เชิงลึก เพื่อให้ผู้ใช้ในสายงานธุรกิจสามารถเจาะลึกและเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ เพื่อค้นหาแนวโน้ม สาเหตุ หรือผลกระทบต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น การขยายโครงสร้างพื้นฐานด้านการรายงานให้ครอบคลุมแหล่งข้อมูลอื่นๆ จะช่วยให้องค์กรสามารถระบุข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ‘สาเหตุ’ ที่แท้จริงที่อยู่เบื้องหลังผลการดำเนินธุรกิจ พร้อมด้วยรายละเอียดในระดับที่เหมาะสมสำหรับแต่ละระดับชั้นขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย ขั้นตอนที่ 3: การขยาย BI ให้ครอบคลุมทั่วทั้งองค์กร ขั้นตอนที่สามของแผนการพัฒนา PM เริ่มต้นจากส่วนของการรายงานก็คือ การใช้ประโยชน์จากโซลูชั่นการรายงานเพื่อเป็นรากฐานสำหรับระบบ PM ขององค์กร ทั้งนี้หลายๆ องค์กรใช้วิธีกำหนดมาตรฐานสำหรับกระบวนการและเทคโนโลยีต่างๆ และนำเสนอการใช้งาน BI ในรูปแบบที่แปลกใหม่ การสร้างมาตรฐานสำหรับเทคโนโลยี BI ที่เชื่อถือได้: ในการเลือกมาตรฐานสำหรับระบบการรายงานและ BI ฝ่ายไอทีจำเป็นที่จะต้องพิจารณาเกี่ยวกับผู้ขาย (“เป็นผู้นำตลาดและผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมทางด้าน BI และ PM หรือไม่?”) รวมถึงโซลูชั่น (“โซลูชั่นดังกล่าวประกอบด้วยฟีเจอร์ที่จำเป็นสำหรับผู้ใช้ในสายงานธุรกิจของเราอย่างครบถ้วนหรือไม่?”) หลังจากที่เลือกโซลูชั่นได้แล้ว ฝ่ายไอทีก็จะยกเลิกการใช้งานหลายๆ ระบบ และหันไปใช้โซลูชั่นที่เชื่อถือได้แทน ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายโดยรวมในการดูแลรักษาระบบในระยะยาว เนื่องจากโซลูชั่นดังกล่าวมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า ทั้งในส่วนของการบำรุงรักษา บริการสนับสนุน และการฝึกอบรม การสร้างศูนย์ความเชี่ยวชาญด้าน BI (BI Competency Center - BICC): หลายๆ องค์กรมองเห็นประโยชน์ในการสร้างศูนย์ความเชี่ยวชาญด้าน BI ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ตัวแทนจากสายงานธุรกิจและไอทีได้ทำงานร่วมกันเพื่อเสริมสร้างความเชี่ยวชาญและแนวทางปฏิบัติด้าน BI โดยครอบคลุมทั่วทั้งองค์กร ศูนย์ BICC จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม เช่น ลดค่าใช้จ่ายโดยรวมในการดูแลรักษาระบบ เพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการทำความเข้าใจและปรับใช้แนวทาง BI และ PM อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังรองรับการบังคับใช้มาตรฐานทั่วทั้งองค์กรอีกด้วย การเข้าถึงผู้ใช้มากขึ้นด้วย BI: ผู้ใช้ในสายงานธุรกิจ ต่างต้องการให้ BI สามารถผสานรวมอย่างกลมกลืนกับชีวิตการทำงาน โดยจะต้องมีการผนวกรวมเข้ากับพอร์ทัลของบริษัทและฟีเจอร์การค้นหา ซึ่งสามารถเข้าถึงและใช้งานได้ผ่านทางอุปกรณ์พกพาต่าง ๆ นอกจากนั้นแล้ว การฝึกอบรมที่เหมาะสมจะช่วยให้ผู้ใช้ยอมรับและเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีและกระบวนการ BI ได้รวดเร็วขึ้น ทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านบริการสนับสนุน และช่วยให้องค์กรได้รับผลตอบแทนรวดเร็วขึ้นจากการปรับใช้โซลูชั่นที่มีในองค์กร หากฝ่ายไอทีปฏิบัติตามแนวทางเหล่านี้ ก็จะมีโอกาสทำให้ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจภายในองค์กรรับทราบถึงสถานะการดำเนินงานขององค์กร รวมถึงสาเหตุที่มาที่ไป และนอกจากนั้นยังช่วยเสริมสร้างจุดยืนของฝ่ายไอทีในการดำเนินการตามขั้นตอนสุดท้ายของแผนการพัฒนานี้ และปรับปรุงระบบงานธุรกิจอย่างต่อเนื่องโดยการพัฒนาระบบ PM ในองค์กรอีกด้วย ขั้นตอนที่ 4: การปรับปรุงธุรกิจด้วย PM ในขั้นตอนสุดท้ายของการพัฒนา PM องค์กรสามารถทำได้โดยเริ่มต้นจากส่วนของการรายงาน โดยจะต้องสร้างส่วนเชื่อมโยงที่แข็งแกร่งและต่อเนื่องระหว่างแง่มุมต่างๆ ทั้งหมดในผลการปฏิบัติงานขององค์กร ทั้งในส่วนของทรัพยากร กระบวนการ และโครงการริเริ่มต่างๆ รวมทั้งปรับเปลี่ยนการดำเนินการนั้นให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์กร ซึ่งจะต้องใช้สกอร์การ์ดเพื่อสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้องเหมาะสมให้แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องอย่างรวดเร็ว และจะต้องรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรที่ทำงานในระบบส่วนหน้า เพื่อระบุโอกาสและปรับเปลี่ยนการทำงานให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ นอกจากนั้น ในขั้นตอนนี้ยังต้องระบุปัญหาช่องว่างที่สำคัญในเรื่องผลการปฏิบัติงาน เพื่อเปลี่ยนไปใช้กลยุทธ์ทางเลือกอื่นหากจำเป็น และเร่งดำเนินการตามกลยุทธ์ดังกล่าวทันที กระบวนการผนวกรวมดังกล่าวนี้ รวมถึงกระบวนการอื่นๆ จะเกิดผลสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อโซลูชั่นการรายงานและ BI ขององค์กรมีการวางแผนที่ดี การจัดสรรงบประมาณอย่างเหมาะสม และการคาดการณ์อย่างรอบคอบ เพื่อให้ทุกๆ คนภายในองค์กรมีความเข้าใจร่วมกัน ซึ่งนับเป็นปัจจัยที่จำเป็นสำหรับการผลักดันการปฏิบัติงานที่แข็งแกร่งและสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขัน ในทางกลับกัน องค์กรจะสามารถจัดสรรทรัพยากรให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทั้งยังสามารถไขว่คว้าโอกาสทางธุรกิจ และมั่นใจได้ว่าการดำเนินงานจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับกลยุทธ์โดยรวมขององค์กร แนวทางสู่ความสำเร็จในการพัฒนา PM ขององค์กร การพัฒนา PM โดยเริ่มต้นจากส่วนของการรายงาน ถือว่าเป็นวิธีการที่แน่นอนสำหรับการปรับใช้โซลูชั่น PM ในองค์กร ซึ่งประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับจากการปรับใช้ดังกล่าว มีมากมาย เช่น: - เพิ่มความสามารถด้านการวางแผน การคาดการณ์ และการจัดสรรงบประมาณให้แก่โซลูชั่นการรายงาน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้ในสายงานธุรกิจเข้าใจว่าตนเองควรทำอย่างไรเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ - เพิ่มความสามารถในการปรับเปลี่ยนวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ แผนการปฏิบัติงาน บุคลากร และกิจกรรมต่างๆ ให้สอดคล้องกันทั่วทั้งองค์กร เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวม - เพิ่มความสามารถในการแปลงข้อมูลจำนวนมหาศาลจากแหล่งต่างๆ ให้กลายเป็นข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ในทางปฏิบัติ โดยข้อมูลดังกล่าวจะถูกใช้ในการตรวจวัดและจัดการผลการปฏิบัติงาน เพื่อขับเคลื่อนความสำเร็จและสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง - เพิ่มความสามารถในการปฏิรูปธุรกิจโดยอาศัยแนวทาง PM ที่ใช้การรายงานเป็นพื้นฐาน รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและขยายขีดความสามารถด้านการแข่งขันขององค์กร และช่วยให้องค์กรเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต ด้วย 4 ขั้นตอนในการทำ PM ดังกล่าว สามารถช่วยให้องค์กรปรับปรุงระบบ การจัดการและแผนงานต่าง ๆ ทางด้านไอที เพื่อให้องค์กรดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้นอกจากจะเป็นผลผลิตที่สูงขึ้น และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันที่ดีขึ้นขององค์กรแล้ว ในท้ายที่สุดประสิทธิภาพที่ดีขึ้นดังกล่าว ก็มีส่วนช่วยเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้าด้วยเช่นเดียวกัน ข้อมูลเพิ่มเติม: บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด ติดต่อคุณวีระกิจ โล่ทองเพชร โทร : 0 2273 4117 อีเมล์: [email protected] สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวไอบีเอ็ม ประเทศไทย+การบริหารจัดการวันนี้

MCC ร่วมมือ IBM จัดงาน "Transforming Industries with watsonx's AI-Powered Solutions"

MCC ร่วมมือ IBM จัดงาน "Transforming Industries with watsonx's AI-Powered Solutions" มุ่งนำเสนอกลยุทธ์ใหม่ ให้เห็นถึงศักยภาพของ IBM Watsonx บริษัท เมโทรคอนเนค จำกัด (MCC) ร่วมมือกับ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด จัดงานสัมมนา "Transforming Industries with watsonx's AI-Powered Solutions" เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2568 ณ โรงแรม นิกโก้ กรุงเทพฯ โดย คุณวรัชญ์ รัตนธรรมมา Assistant Vice President บริษัท เมโทรคอนเนค จำกัด ให้เกียรติกล่าวเปิดงาน และมีผู้เชี่ยวชาญบรรยายโซลูชั่นต่างๆ ดังต่อไปนี้

บริษัท เมโทรคอนเนค จำกัด หรือ MCC คว้าราง... MCC คว้ารางวัล 2024 Transformation Chapter Distributor Award จากงาน IBM Executive Partner Connect 2025 — บริษัท เมโทรคอนเนค จำกัด หรือ MCC คว้ารางวัล "202...

บริษัท เมโทรซิสเต็มส์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (... MSC คว้า 4 รางวัลใหญ่จาก IBM ในงาน IBM Executive Partner Connect 2025 — บริษัท เมโทรซิสเต็มส์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ MSC ผู้นำในธุรกิจเทคโนโลยีสาร...

บริษัท เมโทรซิสเต็มส์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (... MSC รับรางวัล 2021 Storage Solution Partner of the Year จากงาน IBM Partner Connect 2022 — บริษัท เมโทรซิสเต็มส์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้รับรางวัล "20...

บริษัท เมโทรซิสเต็มส์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (... Metro Systems คว้ารางวัล 2020 IBM Partner Awards and Recognitions: Automation Solution Partner of the Year — บริษัท เมโทรซิสเต็มส์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาช...

ลงทะเบียนวันนี้! ฟรี เข้าร่วมงาน "Digital... ลงทะเบียนวันนี้! ฟรี เข้าร่วมงาน "Digital Solutions & IOT Asia 2021 (DSA)" — ลงทะเบียนวันนี้! ฟรี เข้าร่วมงาน "Digital Solutions & IOT Asia 2021 (DSA)" คร...

บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด นำโดยนางส... ไอบีเอ็ม ประเทศไทย บริษัทไอทีข้ามชาติหนึ่งเดียว คว้ารางวัล Thailand Corporate Excellence Awards 2020 — บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด นำโดยนางสาวปฐมา จัน...