“ซอฟต์แวร์โรงพยาบาล” สานต่อระบบสุขภาพ จุดเชื่อมโยงสู่ “ชุมชนแห่งการเรียนรู้ยั่งยืน”

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--26 ธ.ค.--ทีเอ็มซี

ปัญหาของระบบการรักษาผู้ป่วยในถิ่นทุรกันดารมีความยากลำบากนานัปการ ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรทางการแพทย์ไม่เพียงพอ ผู้ป่วยมีจำนวนมาก แต่สารสนเทศในการบริหารจัดการกลับไม่มี ทำให้การปฏิบัติงานล่าช้า เสียเวลาและเกิดความซ้ำซ้อน ความพยายามในการนำเทคโนโลยีมาใช้จัดการกับปัญหาเหล่านี้จึงเกิดขึ้น โดยฝีมือแพทย์ไทยที่พยายามค้นหาระบบปฏิบัติการมารองรับกับความต้องการทางการแพทย์ที่เพิ่มขึ้น นายแพทย์ก้องเกียรติ เกษเพ็ชร์ บริษัท โอเพ่นซอร์ส เทคโนโลยี จำกัด กล่าวว่า ได้พัฒนาโปรแกรมที่ใช้ในการบริหารโรงพยาบาล หรือ Hospital OS เพื่อให้โปรแกรมดังกล่าวสามารถรองรับการทำงานในส่วนลงทะเบียนผู้ป่วยและงานเอกสาร รวมทั้งงานบริหารจัดการเพื่อให้การปฏิบัติงานของบุคลากรทำได้สะดวก รวดเร็ว เริ่มต้นพัฒนาโปรแกรม Hospital OS จากสร้างชุมชนในการเข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาโปรแกรมเพื่อให้รู้จัก เข้าใจและดูแลระบบเองได้โดยร่วมมือและช่วยเหลือกันจากทีมงานสู่สมาชิกและจากสมาชิกสู่สมาชิกด้วยกันเอง จุดเด่นของโปรแกรม Hospital OS คือ มีชุมชนเกิดขึ้นก่อนจะพัฒนาโปรแกรม Hospital OS ผ่านเว็บไซต์www.Hospital-OS.com ที่ช่วยกันสร้างและเปิดสมาชิกเข้ามาให้ความคิดเห็น จึงทำให้เกิดเรียนรู้ร่วมกัน โดยเมื่อสมาชิกเรียนรู้อะไรก็จะมาแบ่งปัน เนื่องจากเป็นนักพัฒนาโปรแกรมจึงไม่มีโอกาสรู้ว่า ปัญหาสาธารณสุขของประเทศคืออะไร แต่เมื่อมีความคิดเห็นจากผู้ใช้งานมาเป็นส่วนเติมเต็มกันและกันเหมือนกับว่าทุกคนมีส่วนช่วยในการออกแบบโปรแกรม จากนั้นจึงเริ่มเขียนโปรแกรมโดยการใช้โอเพ่นซอร์ส(Open Source) ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่เปิดให้ใช้ได้ฟรีเพื่อให้ทุกคนสามารถนำไปใช้ประโยชน์แม้ไม่มีทุน และความยากอีกอย่างได้แก่ ทำอย่างไรถึงจะสอนให้ใช้ระบบปฏิบัติการแบบนี้ได้ จึงมีการจัดอบรมหรือสอนผ่านเว็บไซต์ โปรแกรมแชต และผ่านทางโทรศัพท์บ้าง จนทำให้พบว่าสามารถดึงศักยภาพของบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชนให้ดูแลระบบเองได้ “ณ วันนี้ทำให้มีผู้ดูแลระบบซึ่งเดิมเป็นคนขับรถ เป็นพนักงานห้องบัตร เป็นผู้ช่วยเภสัชกร หรือแม้แต่เป็นพ่อบ้านที่ไม่เคยมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์มาก่อน เราสอนเขาจนดูแลระบบได้ ซึ่งสร้างแรงบันดาลใจให้กับโรงพยาบาลอื่นๆว่าคงไม่ยากเกินไป ทำให้โปรแกรม Hospital Os มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง ช่วยตอบโจทย์และแก้ปัญหาได้ค่อนข้างเร็ว และยังแจกให้ดาวน์โหลด โดยไม่มีค่าลิขสิทธิ์” นายแพทย์ก้องเกียรติ กล่าวว่า สำหรับการใช้งานของโปรแกรม Hospital OS นั้นครอบคลุมตั้งแต่เรื่องการลงทะเบียนคนไข้ไปถึงงานรักษาในโรงพยาบาล สมมุติว่าผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลต้องมาที่แผนกเวชทะเบียนเพื่อลงประวัติ จากนั้นคนไข้หรือเจ้าหน้าที่ก็ต้องถือบัตรไปถึงห้องตรวจ เพื่อให้หมอดูอาการและสั่งยา แต่ระบบนี้ไม่ต้องใช้กระดาษ เพียงคนไข้กรอกประวัติผ่านคอมพิวเตอร์ ระบบก็จะทำงาน ทำให้แพทย์สามารถสั่งยาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้ แพทย์นักพัฒนาโปรแกรม กล่าวอีกว่า อดีตเมื่อวางแผนสาธารณสุขในอำเภอหรือจังหวัดกว่าจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องและเหมาะสมต้องใช้เวลานาน แต่ปัจจุบันสามารถวางแผนได้ทันที เช่น พบว่าคนไข้เบาหวานมานอนรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย หากสามารถรักษาคนไข้ที่สถานีอนามัยใกล้บ้านจะเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ดังนั้นข้อมูลเหล่านี้สามารถดึงออกมาได้ทันทีที่มีโจทย์หรือปัญหา หรืออย่างคนไข้ที่เป็นโรคไข้เลือดออกมานอนในโรงพยาบาลก็ตรวจสอบได้ว่ามาจากเขตไหน จังหวัดอะไร มีใครดูแล และสามารถไปพ่นยาฆ่ายุงได้ถูกจุด ขณะนี้มีการนำโปรแกรมดังกล่าวไปใช้ในโรงพยาบาลประมาณ 85 แห่งและคลินิกขนาดเล็กในกรุงเทพฯประมาณ 200 แห่ง รวมทั้งสถานีอนามัยที่เป็นเครือข่ายโรงพยาบาลอีก 200 กว่าแห่ง โดยการใช้งานในโปรแกรมดังกล่าวยังทำข้อมูลของสถานพยาบาลเครือข่ายเหล่านี้สามารถเชื่อมโยงถึงกันหมด ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการรักษาและวางแผนป้องกันโรค นอกจากนี้จากความพยายามในการสร้างสรรค์โปรแกรมที่มีประโยชน์เพื่อสังคม ทำให้บริษัทฯได้มีโอกาสเข้าร่วมในโครงการซอฟต์แวร์เพื่อสังคม(Software for Society) เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย(ซอฟต์แวร์พาร์ค) ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) นายแพทย์ก้องเกียรติ กล่าวถึงงานนี้ว่า เนื่องจากโอกาสครบรอบ 10 ปีซอฟต์แวร์พาร์ค จึงได้เชิญชวนกันทำประโยชน์เพื่อสังคม โดยทางบริษัทฯมอบซอฟต์แวร์ Hospital OS ฟรีอยู่แล้วแต่ยังขาดงบประมาณในการจัดอบรม จึงเสนอโครงการนี้มาที่ซอฟต์แวร์พาร์ค และได้รับการสนับสนุน ทำให้หลายๆโรงพยาบาลที่ขาดงบประมาณสามารถส่งเจ้าหน้าที่มาอบรมการใช้งานในโปรแกรมดังกล่าวได้ “โปรแกรม Hospital OS ไปอุดช่องว่าง เนื่องจากโรงพยาบาลบางแห่งไกลมาก ไม่มีใครอยากไปขายซอฟต์แวร์หรือบางโรงพยาบาลอยากใช้ซอฟต์แวร์แต่ไม่มีงบประมาณ ก็จะอุดช่องว่างตรงนี้เป็นภาวะพึ่งพากัน ให้มีใจอย่างเดียวอยากดูแลคนไข้ให้ดี ถ้ามองว่าโรงพยาบาลบางแห่งอุตส่าห์ไปอยู่ไกลถึงถิ่นทุรกันดาร แต่เราไม่มีกลไกอะไรไปช่วยเขาเลย เขาก็หมดแรง ยิ่งมีผู้ใหญ่ใจดีอย่างซอฟต์แวร์พาร์ค ความช่วยเหลือก็เกิดเร็วขึ้น เช่นโรงพยาบาลอาจมีงบประมาณให้เจ้าหน้าที่มาได้คนเดียว แต่พอซอฟต์แวร์พาร์คช่วยก็อาจส่งมาได้สองคน คือ เสียเฉพาะค่าสถานที่พัก โดยไม่เสียค่าอบรม” นายแพทย์ก้องเกียรติ กล่าวเพิ่มเติมว่า ล่าสุดยังมีต่างประเทศเข้ามาดาวน์โหลดโปรแกรมดังกล่าวไปทดลองนำใช้ เช่น ประเทศแถบแอฟริกาติดต่อเข้ามาเพื่อนำไปช่วยในโรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยโรคเอดส์ 200 กว่าแห่งแต่ขาดงบประมาณรวมถึงข้อจำกัดอื่นๆ แต่สำหรับประเทศไทยยังมีโอกาสที่ดีและมองว่ายังเป็นสังคมเปิด ทุกคนมีทางเลือก บางโรงพยาบาลไม่มีเงินก็สามารถใช้ระบบปฏิบัติการที่เปิดให้ใช้ได้ฟรีและการพัฒนาโปรแกรมนี้จึงพยายามไปเติมเต็มสำหรับกลุ่มที่ยังขาดโอกาส ด้านผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย นางสุวิภา วรรณสาธพ กล่าวด้วยว่า ซอฟต์แวร์พาร์คมีความยินดียิ่งในการเปิดโอกาสให้มีการนำโปรแกรม Hospital OS ไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะทางการแพทย์ที่บ้านเรายังขาดแคลนระบบสารสนเทศที่มีการปรับใช้ให้เข้ากับวัฒนธรรมการทำงานอย่างตรงจุด จึงร่วมสนับสนุนทุนให้การอบรมแก่บุคลากรของโรงพยาบาลทั่วประเทศและนำไปมอบเพื่อเป็นประโยชน์แก่สาธารณะผ่านโครงการซอฟต์แวร์เพื่อสังคม โดยมองว่าจะเป็นการเปิดโอกาสและสร้างศักยภาพของบุคลากรที่แม้ไม่ได้เป็นคนไอทีให้สามารถนำระบบสารสนเทศมาใช้งานได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป งานประชาสัมพันธ์ ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี โทร. 0 2564-7000 ต่อ 1476-8 www.tmc.nstda.or.th สอบถามเพิ่มเติม ติดต่อ : ธณาพร (เอ็ม), สุธิดา (ไก๋) โทร. 0 2270 1350-4 ต่อ 104-105 มือถือ 08 6612 0912, 08 5930 7166 อีเมล : [email protected] สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวก้องเกียรติ เกษเพ็ชร+การบริหารจัดการวันนี้

ธ.ไทยเครดิต ได้รับการรับรอง 'คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (CFO)' เป็นปีแรก ตอกย้ำการขับเคลื่อนธนาคารเพื่อความยั่งยืน ด้วยเป้าหมายเป็นกลางทางคาร์บอน

ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน) ได้รับประกาศนียบัตรเครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization: CFO) ประจำปี 2568 จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. ถือเป็นปีแรกที่ธนาคารผ่านการรับรองอย่างเป็นทางการ สะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการบริหารจัดการและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2568 ณ ห้อง Conference Hall สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) นายศราวุธ เศวตณรงค์

ดร.จิตรา ชัยวิมล รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์แล... วว. จับมือ ธนาคารออมสิน เสริมสร้างศักยภาพกลุ่มองค์กรชุมชน ยกระดับผลิตภัณฑ์สู่มาตรฐานสากล — ดร.จิตรา ชัยวิมล รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์และจัดการนวัตกรรมการ สถา...

มาแรงไม่มีแผ่ว! บริษัท เจนก้องไกล จำกัด (... JPARK คว้างานใหญ่ มูลค่ากว่า 100 ล้าน! — มาแรงไม่มีแผ่ว! บริษัท เจนก้องไกล จำกัด (มหาชน) ภายใต้การนำของ นายสันติพล เจนวัฒนไพศาล CEOคนเก่ง! คว้างาน CIPS ...

บริษัท อาร์ แอนด์ บี ฟู้ด ซัพพลาย จำกัด (... RBF รับประกาศนียบัตรเครื่องหมายรับรอง "คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร" — บริษัท อาร์ แอนด์ บี ฟู้ด ซัพพลาย จำกัด (มหาชน) หรือ RBF โดยนางสาวพรรวินท์ กันเกิดผลว...

นพ.ก้องเกียรติ เกษเพ็ชร ประธานคณะผู้บริหา... โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยาคว้า 3 รางวัลจากงาน Healthcare Asia Awards 2019 — นพ.ก้องเกียรติ เกษเพ็ชร ประธานคณะผู้บริหารกลุ่ม 3 นพ.สีหราช โลหชิตรานนท์ ผู้อำนวยกา...

โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต แถลงข่าวเปิดตัว Brain Health Institute ศูนย์ตรวจวิเคราะห์และเสริมสร้างศักยภาพทางสมองแห่งแรกในไทย

โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต มีความยินดีขอเรียนเชิญท่านสื่อมวลชนเข้าร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัว "Brain Health Institute" ศูนย์ตรวจวิเคราะห์และเสริมสร้างศักยภาพทางสมอง แห่งแรกในประเทศไทย ...