เปิดตำนานยุคจูแรสสิก ฟอสซิลแหล่งใหม่พบ “ไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยพบในเมืองไทย” และ “ปลาเลปิโดเทสขนาดใหญ่กว่า 1 เมตร”

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--24 ต.ค.--สวทช.

จากกรณีค้นพบซากฟอสซิลไดโนเสาร์ และซากสัตว์โบราณ ที่บริเวณภูน้อย ติดกับเขตเทือกเขาภูพาน บ้านโคกสนาม ต.ดินจี่ อ.คำม่วง จ.กาฬสินธุ์ ดร. วราวุธ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซากดึกดำบรรพ์และพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี และที่ปรึกษาด้านวิชาการศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย เปิดเผยว่า แหล่งฟอสซิลที่พบมีความน่าสนใจมาก เพราะเป็นฟอสซิลที่พบในชั้นหินภูกระดึง หรือชั้นหินในยุคจูแรสสิกตอนปลาย (Jurassic period) อายุราว 150 ล้านปีก่อน นับเป็นยุคที่ไดโนเสาร์รุ่งเรืองมาก ขณะที่ประเทศไทยยังมีข้อมูลเกี่ยวกับยุคจูแรสสิกน้อย “ ผลการสำรวจเบื้องต้นพบซากกระดูกฟอสซิลไดโนเสาร์และสัตว์ร่วมยุคกระจัดกระจายเป็นจำนวนมาก ซึ่งในจำนวนนี้พบกระดูกท่อนขาขวาไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ ซึ่งเมื่อนำข้อมูลไปเปรียบเทียบกับกระดูกท่อนขาขวาของฟอสซิลไดโนเสาร์ขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยพบคือ ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน (Phuwiangosauraus sirindhornae) ในอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่นแล้ว พบว่ามีขนาดใหญ่กว่า 20-30 % จึงเป็นเรื่องที่น่ายินดีว่าเราอาจจะได้พบฟอสซิลไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบมาในประเทศไทย นอกจากนี้ทีมสำรวจยังพบฟอสซิลเกล็ดปลาเลปิโดเทส (Lepidotes) คล้ายกับที่เคยพบในแหล่งภูน้ำจั้นที่ จ.กาฬสินธุ์ แต่มีขนาดใหญ่กว่าที่เคยเจอแล้วถึง 2 เท่า และคาดว่าตัวปลาน่าจะมีขนาดใหญ่ไม่ต่ำกว่า 1 เมตรทีเดียว เพราะฟอสซิลปลาเลปิโดเทสที่เคยพบมีความยาวประมาณ 30-60 เซนติเมตรเท่านั้น” ดร. วราวุธ กล่าวว่า ขณะนี้ยังอยู่ในช่วงการสำรวจเบื้องต้น คงต้องใช้เวลาอีกสักพักหนึ่งจึงจะบอกได้แน่ชัดว่าพบฟอสซิลชนิดใดบ้าง แต่เชื่อว่าฟอสซิลแหล่งใหม่ที่พบนี้ จะช่วยเพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับไดโนเสาร์และสัตว์ร่วมสมัยในยุคจูแรสสิกให้แก่ประเทศไทยได้มากยิ่งขึ้น คำอธิบายภาพประกอบ 01 : ฟอสซิลกระดูกท่อนขาขวาไดโนเสาร์กินพืชที่พบ 02 : ฟอสซิลเกล็ดปลาเลปิโดเทส สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย ส่วนงานกลาง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โทรศัพท์ 0-2564-7000 ต่อ 1461-1462 โทรสาร 0-2564-7000 ต่อ 1482 e-mail : [email protected] สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวกรมทรัพยากรธรณี+วราวุธ สุธีธรวันนี้

“ไดโน ทริป # 2” เปิดโลกดึกดำบรรพ์ มหัศจรรย์ไดโนเสาร์ 21-24 ตุลาคม 2554

นิตยสาร a day และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมด้วยกรมทรัพยากรธรณี ขอชวนผู้อ่านเปิดโลกดึกดำบรรพ์ มหัศจรรย์ไดโนเสาร์ ใน Dino Trip #2 ร่วมตามรอยไดโนเสาร์ภาคอีสานกับนักบรรพชีวินวิทยามือหนึ่งของประเทศไทย ดร.วราวุธ สุธีธร ชมห้องแล็บของนักบรรพชีวินวิทยาที่ล้ำที่สุดในเมืองไทยซึ่งคนทั่วไปไม่มีสิทธิ์เข้า ชมพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์อันดับ 1 ของเมืองไทยแบบอินไซด์กว่า ดูกระดูกช้างดึกดำบรรพ์ (รุ่นแมมมอธ) ยีราฟคอสั้น และแรด ซึ่งขุดพบในเมืองไทย รวมทั้งพิพิธภัณฑ์แพนด้าโบราณ เมืองไทยเคยมีแพนด้า!

นักวิชาการเผยภาพฟิล์มเอกซเรย์ช้างน้ำ ไม่ใช่ช้าง แต่อาจเป็นสัตว์จำพวกหนู หรือ หนูผี

จากกรณีข่าวการค้นพบ ช้างน้ำ ขนาดตัวยาวประมาณ 7 เซนติเมตร มีงา งวงและหางเหมือนช้างอย่างชัดเจน พร้อมทั้งมีภาพฟิล์มเอกซเรย์ที่ยืนยันได้ว่าเป็นซากสิ่งมีชีวิตจริง เพราะมีโครงสร้างของกระดูกอยู่ภายในนั้น ดร.วราวุธ สุธีธร...

กรมทรัพยากรธรณีเอาจริง! เตรียมใช้กฎหมายเอาผิดผู้ครอบครอง-ผู้ค้าฟอสซิล

ดร.วราวุธ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซากดึกดำบรรพ์และพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี ที่ปรึกษาด้านวิชาการศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย (สวทช.) กล่าวว่า พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)คุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ. 2551 ได้ประกาศบังคับใช้แล้ว...

ผู้เชี่ยวชาญด้านซากดึกดำบรรพ์ ชี้สิ่งที่ชาวบ้านหนองกรดพบคือ “ฟันช้างปัจจุบัน” ไม่ใช่ “ฟอสซิลโบราณ”

ผู้เชี่ยวชาญด้านซากดึกดำบรรพ์ กรมทรัพยากรธรณี ระบุสิ่งที่มีลักษณะคล้ายฟอสซิลโบราณที่ชาวบ้านหนองกรดพบคือ ฟันกรามของช้างเอเชียปัจจุบัน เนื่องจากมีลักษณะเป็นแผ่นซ้อนกัน เผยฟันฟอสซิลช้างโบราณจะมีลักษะ...

ผู้เชี่ยวชาญด้านซากดึกดำบรรพ์ ชี้สิ่งที่ชาวบ้านหนองกรดพบคือ "ฟันช้างปัจจุบัน" ไม่ใช่ "ฟอสซิลโบราณ"

ผู้เชี่ยวชาญด้านซากดึกดำบรรพ์ กรมทรัพยากรธรณี ระบุสิ่งที่มีลักษณะคล้ายฟอสซิลโบราณที่ชาวบ้านหนองกรดพบคือ ฟันกรามของช้างเอเชียปัจจุบัน เนื่องจากมีลักษณะเป็นแผ่นซ้อนกัน เผยฟันฟอสซิลช้างโบราณจะมีลักษะ...

รองผู้ว่าราชการจังหวัดตาก พร้อมด้วยรองอธิ... ตาก เตรียมบันทึกสถิติโลก ไม้กลายเป็นหินที่ยาวที่สุดในโลก 8 ก.ค. นี้ — รองผู้ว่าราชการจังหวัดตาก พร้อมด้วยรองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี และนายก อบจ. ตากในฐานะผู...