ไซแมนเทคเผยผลวิจัยระดับโลกบ่งชี้ ผู้ดูแลดาต้าเซ็นเตอร์ กำลังเผชิญความกดดันให้ได้ “ผลงานมากขึ้นด้วยค่าใช้จ่ายที่ลดลง”

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--4 ก.พ.--เอพีพีอาร์ มีเดีย

แม้ว่าจะขาดแคลนบุคลากร ผู้ดูแลศูนย์คอมพิวเตอร์ทั่วโลกได้รับแรงกดดันให้นำเสนอบริการที่ดีขึ้นด้วยค่าใช้จ่ายที่ลดลง ไซแมนเทค คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยถึงผลการรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์ดาต้าเซ็นเตอร์ ที่จัดทำขึ้นปีนี้เป็นปีที่สอง พบว่าผู้ดูแลดาต้าเซ็นเตอร์ กำลังติดอยู่ในสภาพกลืนไม่เข้าคายไม่ออกจากเป้าหมายที่ขัดแย้งกัน ระหว่างความคาดหวังของลูกค้าที่เพิ่มขึ้น ความต้องการประสิทธิภาพการทำงานที่สูงขึ้น แต่ลดค่าใช้จ่าย จากรายงานพบว่าดาต้าเซ็นเตอร์ยังคงประสบปัญหาขาดแคลนบุคลากร ระบบเซิร์ฟเวอร์และสตอเรจถูกใช้งานไม่เต็มประสิทธิภาพ อีกทั้งแผนงานกู้คืนระบบ (Disaster Recovery Plan) ก็ล้าหลัง สุดท้ายข้อมูลจากแบบสอบถามระบุว่าความริเริ่มด้านระบบดาต้าเซ็นเตอร์สีเขียวที่กำลังทำอยู่นั้น เขาก็ทำอยู่เช่นกันแต่เป็นการทำเพื่อลดค่าใช้จ่ายเป็นหลัก “การวิจัยครั้งนี้ เป็นการยืนยันถึงสิ่งที่เราเห็นเช่นกัน” ร็อบ โซเดอร์เบอรี รองประธานอาวุโส กลุ่มบริหารจัดการด้านสตอเรจและความพร้อมของระบบงาน ของไซแมนเทค กล่าว “ความสนใจขององค์กรมุ่งมาที่ความริเริ่มใหม่ๆ ที่สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ทันที แทนโครงการที่จะช่วยผลักดันให้เกิดการคืนทุนในระยะยาว ระบบสตอเรจได้กลายเป็นเป้าหมายสำหรับแนวคิดริเริ่มเหล่านี้ เนื่องจากความต้องการในเรื่องของปริมาณการจัดเก็บข้อมูลยังคงเพิ่มอย่างต่อเนื่องแม้จะมีภาวะเศรษฐกิจที่ท้าทายในปัจจุบัน” ทำงานมากขึ้นด้วยค่าใช้จ่ายที่ลดลง จากผลการสำรวจ ร้อยละ 75 ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุถึงความคาดหวังของผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้นทั้งแบบค่อยเป็นค่อยไปและอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ร้อยละ 60 มองว่าการตอบสนองความต้องการการบริการในระดับที่สูงขึ้นขององค์กรนั้น เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก หรือยากมาก มีเพียงร้อยละ 10 ที่เห็นว่าสามารถทำได้ง่าย อย่างไรก็ดี เมื่อมีการขอให้ผู้ตอบแบบสอบถามระบุถึงวัตถุประสงค์หลักในปีนี้ พบว่าการลดค่าใช้จ่ายเป็นเป้าหมายที่คนพูดถึงบ่อยที่สุด กล่าวคือจำนวนบริษัทที่มีเป้าหมายในการลดค่าใช้จ่ายมีจำนวนมากกว่าบริษัทที่มีเป้าหมายที่ต่างกัน 2 อันดับถัดไปรวมกัน (คือการปรับปรุงระดับการบริการและการตอบสนองความต้องการ) ความริเริ่มหลักในส่วนดาต้าเซ็นเตอร์ในการทำไปสู่เป้าหมาย“ผลมากขึ้นด้วยค่าใช้จ่ายที่ลดลง” มีตั้งแต่ระบบการทำงานอัตโนมัติ (ร้อยละ 42 ของผู้ตอบแบบสอบถามอ้างถึงเรื่องนี้) การจัดฝึกอบรมข้ามแผนก (ร้อยละ 40) และลดความซับซ้อนของดาต้าเซ็นเตอร์ (ร้อยละ 35) เรื่องบุคลากรยังคงเป็นปัญหาใหญ่ จากผลการศึกษา บุคลากรยังคงเป็นปัญหาสำคัญ โดยผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนร้อยละ 36 รายงานถึงการขาดแคลนบุคลากร มีเพียงร้อยละ 4 ที่แจ้งว่ามีบุคลากรมากเกินความต้องการ นอกจากนี้ ร้อยละ 43 พบว่าการหาผู้สมัครงานที่มีคุณสมบัติเหมาะสมนั้นนับเป็นปัญหาหลักหรือเป็นปัญหาใหญ่ การตอบโจทย์เรื่องของบุคลากรนั้น ต้องอาศัยการจัดจ้างแบบเอาท์ซอร์สรวมถึงการฝึกอบรม เกือบครึ่งของผู้ตอบแบบสอบถาม (ร้อยละ 45) มีการเอาท์ซอร์สงานหลักออกไป เพื่อให้พนักงานที่ดูแลดาต้าเซ็นเตอร์มีเวลามากขึ้นในการมุ่งเน้นงานส่วนอื่น หน้าที่การทำงานด้านไอทีหลักๆ 3 ประการที่มีการเอาท์ซอร์สออกไปได้แก่เรื่องของการดูแลความต่อเนื่องของธุรกิจ (ร้อยละ 46) งานแบ็กอัพ (ร้อยละ 43) และการบริหารจัดการสตอเรจ (ร้อยละ 39) ร้อยละ 68 ของผู้ตอบแบบสอบถามมองว่าการฝึกอบรมเป็นเรื่องกลยุทธ์ โดยร้อยละ 78 คาดหวังงบประมาณด้านการฝึกอบรมที่มากขึ้นหรือคงที่ต่อเนื่องตลอดสองปีข้างหน้า เซิร์ฟเวอร์ และสตอเรจ ยังคงทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ องค์กรธุรกิจในปี 2552 รายงานว่าเซิร์ฟเวอร์ดาต้าเซ็นเตอร์ทำงานเพียงแค่ 53 เปอร์เซ็นต์ของความสามารถทั้งหมด การใช้งานสตอเรจของดาต้าเซ็นเตอร์ยิ่งต่ำไปกว่านั้น คือมีการใช้งานเพียงแค่ 50 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่ไซแมนเทคพบว่ามีกิจกรรมมากมายที่พุ่งเป้าไปที่การทำให้ทั้งระบบงานทั้งสองส่วนที่กล่าวมาสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ทั้งนี้ความริเริ่มหลักๆ ที่เกี่ยวกับเซิร์ฟเวอร์ รวมถึงการรวมระบบงานของเซิร์ฟเวอร์ (Server Consolidation) (80 เปอร์เซ็นต์) และการทำเวอร์ชวลไลเซชันบนเซิร์ฟเวอร์ (Server Virtualization) (80 เปอร์เซ็นต์) สำหรับในส่วนของสตอเรจนั้น ความริเริ่มอันดับต้นคือการทำเวอร์ชวลไลเซชันบนระบบสตอเรจ (76 เปอร์เซ็นต์) การปกป้องข้อมูลอย่างต่อเนื่อง (71 เปอร์เซ็นต์) และการบริหารจัดการทรัพยากรสตอเรจ (71 เปอร์เซ็นต์) แผนกู้คืนข้อมูลที่ล้าหลัง การบริหารศูนย์คอมพิวเตอร์แสดงให้เห็นช่องว่างที่ต้องปรับปรุงในส่วน Disaster Recovery อันที่จริงมีเพียง 35 เปอร์เซ็นต์ ที่แสดงให้เห็นว่ามีแผนการกู้คืนจากภัยพิบัติที่ดีกว่าค่าเฉลี่ย ขณะที่ 27 เปอร์เซ็นต์ต้องได้รับการปรับปรุง และ 9 เปอร์เซ็นต์มีแผนแบบไม่เป็นทางการหรือไม่มีการทำเป็นเอกสารชัดเจน องค์กรยังคงพบว่าความผิดพลาดของผู้ใช้เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาระบบหยุดทำงาน (unplanned downtime) ประมาณ 25เปอร์เซ็นต์ ขณะที่การหยุดทำงานจากความล้มเหลวของฮาร์ดแวร์/ซอฟต์แวร์ และไฟดับเป็นสาเหตุในสัดส่วนที่ใกล้เคียง ดาต้าเซ็นเตอร์สีเขียวผลักดันด้วยเป้าหมายด้านค่าใช้จ่าย แนวโน้มที่ถูกจับตามองมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2550 คือการมุ่งเน้นเรื่องของดาต้าเซ็นเตอร์สีเขียว ซึ่งมีการผลักดันสืบเนื่องมาจากการลดค่าใช้จ่ายในปี 2551 และด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมที่เพิ่มขึ้น จากการศึกษาได้มีการสอบถามองค์กรธุรกิจถึงเหตุผลว่าทำไมการสร้างดาต้าเซ็นเตอร์สีเขียวจึงนับเป็นเรื่องสำคัญสำหรับองค์กร ร้อยละ 54 ของผู้ตอบได้อ้างถึงการลดการใช้ไฟฟ้าเป็นหลัก ตามด้วยการลดค่าใช้จ่ายจากการที่ระบบทำงานน้อยลง (ร้อยละ 51) และความรู้สึกของการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคม (ร้อยละ 42) ผลการรายงานชี้ให้เห็นถึงความต้องการด้านโซลูชัน การศึกษาที่จัดทำขึ้นในปีนี้ แสดงให้เห็นความสำคัญอย่างต่อเนื่องสำหรับองค์กรธุรกิจในการดูแลควบคุมในเรื่องของค่าใช้จ่ายและความซับซ้อนของดาต้าเซ็นเตอร์ องค์กรธุรกิจจึงขวนขวายหาโซลูชันที่ใช้แล้วเห็นผลลัพธ์ทันทีในเรื่องการลดค่าใช้จ่ายลงแต่ให้ประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้น “ผู้ดูแลระบบไอทีและผู้บริหารต่างตกอยู่ในสถานภาพที่ลำบาก” นายโซเดอร์เบอรี กล่าว “การลดค่าใช้จ่ายเป็นวัตถุประสงค์ที่ไม่สามารถต่อรองได้ในปีนี้ ในขณะที่ผู้ใช้ยังคงคาดหวังการบริการที่สูงและมีความต้องการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เราเห็นว่าสิ่งนี้เป็นเรื่องน่าสนใจในการนำเสนอโซลูชันที่ช่วยให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจอีกทั้งสามารถให้ผลประโยชน์แก่ลูกค้าได้เห็นผลในทันที ในเรื่องของการลดค่าใช้จ่ายด้านเซิรฟเวอร์และสตอเรจ โดยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน” เกี่ยวกับรายงานสถานการณ์ของดาต้าเซ็นเตอร์ รายงานสถานการณ์ของดาต้าเซ็นเตอร์ประจำปีในปีที่สองนี้ เป็นผลที่ได้จากการจัดทำสำรวจในเดือนกันยายนและตุลาคม 2551 โดยมุ่งเน้นการศึกษาที่ผู้ดูแลดาต้าเซ็นเตอร์จำนวนกว่า 1,600 คน จากองค์กรชั้นนำในกลุ่ม 5000 (Global 5000) และองค์กรภาครัฐขนาดใหญ่ใน 21 ประเทศ ทั้งนี้ สามารถศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายงานสถานการณ์ดาต้าเซ็นเตอร์ในปี 2550 และ ปี 2551 หรือดูข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ดาต้าเซ็นเตอร์ได้ที่ ชุดข้อมูลออนไลน์สำหรับสื่อที่ State of the Data Center เกี่ยวกับ ไซแมนเทค ไซแมนเทค เป็นผู้นำระดับโลกด้านโซลูชั่นที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่องค์กรและผู้บริโภคภายใต้โลกที่เชื่อมต่อถึงกัน และยังช่วยปกป้องโครงสร้างพื้นฐานระบบไอที ข้อมูลสารสนเทศ และการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ด้วยซอฟต์แวร์และบริการที่ช่วยจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัยได้ครอบคลุมทุกจุดมากยิ่งขึ้น ให้ประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยสร้างความมั่นใจไม่ว่าจะมีการใช้งานหรือจัดเก็บข้อมูลอยู่ที่ใดก็ตาม สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถเยี่ยมชมได้ที่ www.symantec.com สำหรับสื่อมวลชน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ ที่ปรึกษาฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท เอพีพีอาร์ มีเดีย จำกัด คุณกณวรรธน์ อิศรางกูร ณ.อยุธยา 02-655-6633, 089-990-1911 [email protected] คุณบุษกร ศรีสงเคราะห์ 02-655-6633, 081-9110931 [email protected] สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวไซแมนเทค คอร์ปอเรชั่น+ดาต้าเซ็นเตอร์วันนี้

ภาพข่าว: ไทยเซิร์ต สพธอ.จับมือ ไซแมนเทค สหรัฐ จัดตั้งระบบระวังภัยและวิเคราะห์ข้อมูลภัยคุกคามทางอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นประธานงานแถลงข่าวพิธีลงนาม ความร่วมมือในการจัดตั้งระบบระวังภัยและวิเคราะห์ข้อมูลภัยคุกคามทางอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ ระหว่าง ศูนย์ประสานงานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย (ไทยเซิร์ต) สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) และ บริษัท ไซแมนเทค คอร์ปอเรชั่น จากประเทศสหรัฐอเมริกา ณ ห้อง BB 201 โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการและ คอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ สำหรับความร่วมมือดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อ

ไทยเซิร์ต สพธอ.จับมือ ไซแมนเทค สหรัฐ จัดตั้งระบบระวังภัยและวิเคราะห์ข้อมูลภัยคุกคามทางอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานงานแถลงข่าวพิธีลงนาม ความร่วมมือในการจัดตั้งระบบระวังภัยและวิเคราะห์ข้อมูลภัยคุกคามทางอิเล็กทรอนิกส์...

ไซแมนเทค คอร์ปอเรชั่น ประเทศไทย จัดงาน Symantec Resilient Data Center 2012 และแถลงข่าวเปิดตัว Symantec Backup Exec 2012 & NetBackup 7.5

หากการจัดการข้อมูลและสำรองข้อมูลที่ใช้อยู่เกิดขัดข้อง และเพื่อฟื้นฟูระบบป้องกันข้อมูลให้ทันสมัยยิ่งขึ้น บริษัท ไซแมนเทค คอร์ปอเรชั่น ประเทศไทย จำกัด ...

ภาพข่าว: ไซแมนเทคมอบเสื้อชูชีพ 500 ตัวพร้อม 500 ไลเซ่นส์โซลูชั่นกู้คืนข้อมูล เพื่อผู้ประสบอุทกภัยกับครอบครัวข่าว 3

เมื่อเร็วๆนี้ บริษัท ไซแมนเทค คอร์ปอเรชั่น ประเทศไทย จำกัด นำโดย นายประมุท ศรีวิเชียร (ที่ 2 จากขวา) ผู้จัดการประจำประเทศไทย นายนพชัย ตั้งไตรธรรม ผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิค (ขวาสุด) และนางสาว...

ไซแมนเทค ช่วยวิกฤตน้ำท่วมด้วยการมอบฟรี 500 ไลเซ่นส์ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม

ไซแมนเทค ช่วยวิกฤตน้ำท่วมด้วยการมอบฟรี 500 ไลเซ่นส์ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมโซลูชั่น Symantec Backup Systems Recovery – Server Edition (SSR)เพื่อกู้ข้อมูลสำคัญ จากสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นหลายจังหวัดในภาคกลางของประเทศไทย...

ภาพข่าว: นายประมุท ศรีวิเชียร ผู้จัดการประจำประเทศไทย ไซแมนเทค ได้รับโล่ห์เกียรติยศ

นายประมุท ศรีวิเชียร ผู้จัดการประจำประเทศไทย ไซแมนเทค ได้รับโล่ห์เกียรติยศรางวัลบุคคลตัวอย่างในภาคธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งปี 2011จากมูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.) เมื่อเร็วๆ นี้...

ไซแมนเทค คอร์ปอเรชั่น จัดงานแถลงข่าว “ไซแมนเทคประกาศเปิดตัว Symantec Endpoint Protection 12.1 ที่มาพร้อมกับการป้องกันภัยคุกคามได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว”

บริษัท ไซแมนเทค คอร์ปอเรชั่น ประเทศไทย จำกัด ผู้นำระดับโลกด้านโซลูชันเพื่อความปลอดภัย ระบบจัดเก็บข้อมูล และการบริหารระบบ ใคร่ขอเรียนเชิญท่านสื่อมวลชน...

ไซแมนเทคประกาศแต่งตั้งตัวแทนจำหน่าย (Distributor) บริการ Symantec.Cloud รายแรกในไทย

“ไซแมนเทคประกาศแต่งตั้งตัวแทนจำหน่าย (Distributor) บริการ Symantec.Cloud รายแรกในไทย” บริษัท ไซแมนเทค คอร์ปอเรชั่น ประเทศไทย จำกัด ผู้นำระดับโลกด้านโซลูชันเพื่อความปลอดภัย ระบบจัดเก็บข้อมูล และการบริหารระบบ ใคร่ขอ...

ไซแมนเทค คอร์ปอเรชัน จัดงานแถลงข่าว รายงานสถานการณ์ภัยคุกคามบนอินเทอร์เน็ตฉบับที่ 16

บริษัท ไซแมนเทค คอร์ปอเรชัน จำกัดขอเรียนเชิญท่านสื่อมวลชนเข้าร่วมงานแถลงข่าวรายงานสถานการณ์ภัยคุกคามบนอินเทอร์เน็ตฉบับที่ 16โดย คุณประมุท ศรีวิเชียร ผู้จัดการประจำประเทศไทย คุณนพชัย ตั้งไตรธรรม...

ไซแมนเทค เผยผลวิจัย SMB ไม่ได้มีการเตรียมตัวรับมือภัยพิบัติและไม่ดำเนินการใดๆ จนสายเกินไป

การขาดการเตรียมการทำให้เกิดผลเสียทางการเงิน ไซแมนเทค คอร์ปอเรชั่นในวันนี้ ประกาศ ผลสำรวจเกี่ยวกับการเตรียมตัวรับมือกับภัยพิบัติของกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและเล็ก หรือ SMB ในปี 2011 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค...