ทริสเรทติ้งจัดอันดับเครดิตหุ้นกู้ใหม่และคงอันดับเครดิตองค์กร “บ. น้ำประปาไทย” ที่ระดับ “AA-/Stable”

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--28 ม.ค.--ทริสเรทติ้ง

บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ประกาศอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่มีประกันในวงเงินไม่เกิน 6,700 ล้านบาทของ บริษัท น้ำประปาไทย จำกัด (มหาชน) ที่ระดับ “AA-” ในขณะเดียวกันยังคงยืนยันอันดับเครดิตองค์กรของบริษัทที่ระดับ “AA-” ด้วยแนวโน้ม “Stable” หรือ “คงที่” โดยบริษัทจะนำเงินที่ได้จากการออกหุ้นกู้ไปชำระคืนเงินกู้ยืมจากธนาคารจำนวนประมาณ 6,000 ล้านบาท และส่วนที่เหลือจะนำไปใช้เป็นทุนขยายกำลังการผลิตน้ำประปาปริมาตร 120,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน (ลบ.ม./วัน) ที่โรงผลิตน้ำประปาบางเลน เนื่องจากเงินกู้ยืมปัจจุบันได้รับการค้ำประกันโดยสินทรัพย์ของบริษัท ดังนั้น อันดับเครดิตหุ้นกู้ของบริษัทจึงขึ้นอยู่กับความสำเร็จในการนำเงินกู้ใหม่ไปจ่ายหนี้เงินกู้ปัจจุบันและการปลดภาระค้ำประกันจากเงินกู้เดิม อันดับเครดิตสะท้อนสถานะของบริษัทในการเป็นผู้ให้บริการน้ำประปาเอกชนรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตลอดจนกระแสเงินสดที่สม่ำเสมอจากสัญญาขายน้ำขั้นต่ำระยะยาว และความเสี่ยงในการดำเนินงานที่อยู่ในระดับต่ำ โดยการประเมินอันดับเครดิตดังกล่าวยังพิจารณาถึงความสามารถของคณะผู้บริหารและอุปสรรคในการเข้าสู่ธุรกิจที่อยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม ความแข็งแกร่งดังกล่าวถูกลดทอนลงบางส่วนจากการที่บริษัทมีสัดส่วนเงินกู้จำนวนหนึ่งสำหรับใช้ลงทุนในโรงผลิตน้ำประปาและท่อจ่ายน้ำ รวมถึงความเสี่ยงจากการมีลูกค้าเพียงรายเดียวคือการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) และผลกระทบจากพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำที่ยังไม่มีข้อสรุป แนวโน้มอันดับเครดิต “Stable” หรือ “คงที่” สะท้อนถึงการคาดการณ์ว่าบริษัทจะสามารถรักษาสถานะผู้นำในการเป็นผู้ให้บริการน้ำประปาเอกชนและคงความสามารถในการสร้างกระแสเงินสดเอาไว้ได้โดยที่การดำเนินธุรกิจของบริษัทไม่น่าจะได้รับผลกระทบที่รุนแรงจากการออกพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ นอกจากนี้ บริษัทควรมีการพิจารณาการลงทุนในอนาคตอย่างรอบคอบโดยจะต้องไม่ให้มีผลกระทบต่อฐานะทางการเงินและสภาพคล่องของบริษัท ทั้งนี้ การให้การสนับสนุนทางการเงินใดใดแก่บริษัทแม่ที่มีฐานะทางการเงินที่อ่อนแอกว่าจะมีผลกระทบในด้านลบต่ออันดับเครดิตของบริษัท ทริสเรทติ้งรายงานว่า บริษัทน้ำประปาไทยเป็นผู้ให้บริการน้ำประปาเอกชนรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทยซึ่งมีกำลังการผลิตทั้งสิ้น 708,000 ลบ.ม./วัน บริษัทก่อตั้งในปี 2543 โดย บริษัท ช. การช่าง จำกัด (มหาชน) และ บริษัท เธมส์ วอเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด หลังจากที่บริษัทได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2551 แล้ว บริษัท ช. การช่างก็มีฐานะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในสัดส่วน 35.0% ในขณะที่ บริษัท มิตซุย วอเตอร์ โฮลดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ถือ 25.9% บริษัทประกอบกิจการโรงผลิตน้ำประปา 2 แห่ง และเป็นผู้ให้บริการน้ำประปาใน 2 พื้นที่คือเขตพื้นที่จังหวัดนครปฐมและสมุทรสาครซึ่งบริษัทเป็นผู้ดำเนินการโดยตรง และเขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานีซึ่งดำเนินการโดยบริษัทลูกที่บริษัทถือหุ้น 98% คือ บริษัท ประปาปทุมธานี จำกัด บริษัทให้บริการน้ำประปาภายใต้สัญญาซื้อขายน้ำประปากับ กปภ. อายุ 25 ปีซึ่งจะหมดสัญญาในปี 2566 และอายุ 30 ปีซึ่งจะหมดสัญญาในปี 2577 ปัจจุบัน กปภ. มีพันธะในการรับซื้อน้ำประปาจากบริษัทในปริมาณขั้นต่ำจำนวน 630,000 ลบ.ม./วัน ทั้งนี้ สูตรการคำนวณอัตราค่าน้ำจะเป็นไปตามดัชนีราคาผู้บริโภค ปัจจุบันบริษัทกำลังขยายกำลังการผลิตขนาด 120,000 ลบ.ม./วัน ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงต้นปี 2553 โดยปริมาณน้ำขั้นต่ำที่ กปภ. รับซื้อจะเพิ่มขึ้นจาก 9,000 ลบ.ม./วัน ณ ปีแรกที่เปิดให้บริการเป็น 54,000 ลบ.ม./วันในปีที่ 6 แม้บริษัทจะมีความเสี่ยงจากการที่มี กปภ. เป็นลูกค้าเพียงรายเดียว แต่สถานะความน่าเชื่อถือของ กปภ. ในฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจนั้นอยู่ในระดับที่รับได้ บริษัทน้ำประปาไทยมีความเสี่ยงจากการดำเนินงานในระดับต่ำเมื่อเทียบกับหน่วยงานสาธารณูปโภคอื่นๆ เนื่องจากเทคโนโลยีในการผลิตน้ำประปาไม่ซับซ้อน อย่างไรก็ตาม ธุรกิจผลิตน้ำประปานั้นต้องใช้เงินลงทุนสูงในการสร้างโครงข่ายระบบส่งและจ่ายน้ำประปา อีกทั้งบริษัทยังเป็นเจ้าของท่อน้ำประธานและท่อจ่ายน้ำในพื้นที่ให้บริการบางส่วนซึ่งเป็นอุปสรรคต่อผู้ประกอบการรายใหม่ในพื้นที่ดังกล่าว แหล่งน้ำที่มีเพียงพอและคุณภาพน้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตน้ำประปา แหล่งน้ำที่สำคัญในการผลิตน้ำประปาของบริษัทมาจากแม่น้ำท่าจีนและแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นแหล่งน้ำดิบที่มีปริมาณน้ำเพียงพอ แม้แหล่งน้ำแต่ละแห่งจะมีคุณภาพน้ำที่แตกต่างกัน แต่บริษัทก็สามารถนำน้ำไปผลิตเป็นน้ำประปาคุณภาพสูงเหมือนกันได้ ทริสเรทติ้งกล่าวว่า บริษัทน้ำประปาไทยมีรายได้ที่สม่ำเสมอและมีอัตราการเติบโตที่ต่อเนื่องเนื่องจากรายได้ของบริษัทได้รับการประกันโดยสัญญาที่มีการกำหนดปริมาณน้ำขั้นต่ำที่ต้องรับซื้อและความต้องการบริโภคน้ำประปาในพื้นที่ให้บริการที่เพิ่มขึ้น ยอดขายน้ำประปาในพื้นที่ให้บริการทั้งหมดเพิ่มขึ้น 9.0% ในปี 2550 และ 7.4% ในปี 2551 ทว่ายอดขายในปี 2552 คาดว่าจะลดลงโดยเฉพาะในส่วนของกลุ่มลูกค้าโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดนครปฐมและสมุทรสาครเนื่องจากผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ บริษัทมีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งเนื่องจากการมีโครงสร้างสัญญาที่ดีกับ กปภ. อีกทั้งยังมีความต้องการน้ำที่อยู่ในระดับสูง บริษัทมีกระแสเงินสดภายในเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอนับตั้งแต่เริ่มเปิดดำเนินการ รายได้รวมของบริษัทสำหรับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 เพิ่มขึ้น 50% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สู่ระดับ 2,646 ล้านบาทเนื่องจากบริษัทรับรู้รายได้จากบริษัทประปาปทุมธานีเพียง 2 ไตรมาสสุดท้ายของปี 2550 ยอดขายของบริษัทมีสัดส่วน 66% ของรายได้ทั้งหมด โดยส่วนที่เหลือมาจากบริษัทประปาปทุมธานี ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเติบโตของการบริโภคน้ำประปาเกิดจากการที่ผู้บริโภคเปลี่ยนมาใช้น้ำประปาแทนน้ำบาดาลเพราะคุณภาพน้ำบาดาลที่ต่ำลงและการก่อสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ในพื้นที่ให้บริการ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา บริษัทมีอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานก่อนค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายต่อรายได้จากการขายอยู่ในระดับสูงที่ประมาณ 78%-79% เงินทุนจากการดำเนินงานในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 เพิ่มขึ้น 52% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สู่ระดับ 1,541 ล้านบาท เงินกู้รวมของบริษัท ณ สิ้นเดือนกันยายน 2551 ลดลงอย่างมากสู่ระดับ 9,781 ล้านบาท จากระดับ 13,678 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2550 หลังจากที่บริษัทนำเงินที่ได้จากการจำหน่ายหุ้นสามัญแก่ประชาชนครั้งแรกไปใช้จ่ายคืนหนี้เงินกู้จำนวน 3,000 ล้านบาท สำหรับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2551 อัตราส่วนเงินทุนจากการดำเนินงานต่อเงินกู้รวมของบริษัทอยู่ที่ระดับ 15.8% ในขณะที่อัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนปรับตัวดีขึ้นจากระดับ 74.4% ณ สิ้นปี 2550 สู่ระดับ 53.4% ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2551 บริษัท น้ำประปาไทย จำกัด (มหาชน) (TTW) อันดับเครดิตองค์กร: คงเดิมที่ AA- อันดับเครดิตตราสารหนี้: หุ้นกู้ไม่มีประกันในวงเงินไม่เกิน 6,700 ล้านบาท ไถ่ถอนภายในปี 2559 AA- แนวโน้มอันดับเครดิต: Stable

ข่าวธนาคารจำนวนประมาณ+โรงผลิตน้ำประปาวันนี้

การประปาส่วนภูมิภาค รับมอบโรงผลิตน้ำประปาฯ จาก TTW พร้อมบริการน้ำพื้นที่ปทุม ฯ ต่อเนื่อง

นายเอกรินทร์ ภู่พงษ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) เขต 2 (วิชาการ) (ซ้าย) เป็นผู้แทน กปภ. ลงนามรับมอบทรัพย์สินและระบบผลิตน้ำ โรงผลิตน้ำประปาปทุมธานี จาก บริษัท ทีทีดับบลิว จำกัด (มหาชน) หรือ TTW โดยมี นางสาววลัยณัฐ ตรีวิศวเวทย์ กรรมการผู้จัดการ (ขวา) เป็นผู้แทนส่งมอบ หลังจากที่สัญญาซื้อขายน้ำประปาในโครงการเอกชนร่วมลงทุนปรับปรุงขยายการประปาปทุมธานี-รังสิตได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2566 ในระยะต่อไป กปภ. มีแผนที่จะลดน้ำสูญเสียอย่างเป็นระบบพร้อมกับปรับปรุง

TTW แถลงเหตุข้อต่อเครื่องกลหลุดในโรงผลิตน้ำประปาบางเลน จนท. เร่งซ่อมแซม คาดกลับมาส่งจ่ายน้ำประปาได้ภายใน 24 ชม.

คุณชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ กรรมการผู้จัดการ บมจ.ทีทีดับบลิว (TTW) แถลงถึงเหตุข้อต่อเครื่องกลหลุดทำให้มีแรงดันน้ำพุ่งสวนออกมาเป็นปริมาณมาก อันเป็นเหตุสุดวิสัยและเป็นอุบัติเหตุให้มีผู้...

27 ก.ย. ที่ผ่านมา คุณชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ... ภาพข่าว: TTW ต้อนรับ Mitsui ผู้ถือหุ้นใหญ่ เยี่ยมชมโรงผลิตน้ำฯ บางเลน — 27 ก.ย. ที่ผ่านมา คุณชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ (ที่ 4 จากซ้าย) กรรมการผู้จัดการ บมจ.ทีที...

ทริสเรทติ้งคงอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้ “บ. น้ำประปาไทย” ที่ระดับ “AA-/Stable”

บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ประกาศยืนยันอันดับเครดิตองค์กรของ บริษัท น้ำประปาไทย จำกัด (มหาชน) คงเดิมที่ระดับ “AA-” ด้วยแนวโน้ม “Stable” หรือ “คงที่” ในขณะเดียวกันยังคงยืนยันอันดับเครดิตระดับ “AA-” สำหรับหุ้นกู้...

ผู้ถือหุ้นธนาคารทหารไทยอนุมัติแผนเพิ่มทุนธนาคาร

ที่ประชุมผู้ถือหุ้นธนาคารทหารไทย ในวันนี้ มีมติอนุมัติแผนการเพิ่มทุนของธนาคารจำนวนประมาณ 37,600 ล้านบาท โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุน จำนวน 25,000 ล้านหุ้น ตามแผนการเพิ่มทุนที่ผ่านการอนุมัติของผู้ถือหุ้นดังกล่าว ธนาคารทหารไทยจะจัดสรร หุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน...

ภาพข่าว: EXIM BANK จ้างที่ปรึกษาทางการเงินอิสระดูแลกระบวนการขาย NPLs

นายอภิชัย บุญธีรวร กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) Mr. Warwick Reginal Kneale กรรมการผู้จัดการบริษัท เบเคอร์ ทิลลี่คอร์ปอเรท แอ็ดไวซอรี่ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด (เบเคอร์ ทิลลี่) ...

EXIM BANK จ้างที่ปรึกษาทางการเงินอิสระดูแลกระบวนการขาย NPLs

ดร.อภิชัย บุญธีรวร (ซ้าย) กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK, Mr. Warwick Reginal Kneale (กลาง) กรรมการผู้จัดการเบเคอร์ ทิลลี่ และนายยรรยง ตันติวิรมานนท์ (ขวา) ผู้อำนวยการเบเคอร์ ทิลลี่ ได้ลงนามในสัญญาว่าจ้างให้เบเคอร์ ทิลลี่ เป็นที่ปรึกษาทางการ...