สถาบันพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน ชี้ 7 ปัจจัยทำซีเอสอาร์ในภาวะวิกฤติ แนะใช้ กรอบแนวทางความยั่งยืน 10 หมวด ขับเคลื่อนซีเอสอาร์

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--22 ม.ค.--มายแบรนด์ เอเจนซี่

นายอนันตชัย ยูรประถม ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน หรือ (เอสบีดีไอ) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ให้คำปรึกษาในการทำซีเอสอาร์ กล่าวถึงภาพรวมและสถานการณ์การทำซีเอสอาร์ในประเทศไทยในช่วงสามปีที่ผ่านมาว่า เป็นช่วงแห่งการบ่มเพาะ ลองผิดลองถูก ทำให้การดำเนินงานซีเอสอาร์ขององค์กรส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่กิจกรรม ซึ่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป จะมีปัจจัยหลายประการที่นำไปสู่ความเปลี่ยนแปลง มีความเข้มข้นมากขึ้น โดยเฉพาะภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ และบริบทจากภายนอกประเทศ คือมาตรฐานและข้อปฏิบัติต่างๆ ทำให้ทุกองค์กรจะต้องมีการทบทวนและ พัฒนาการทำซีเอสอาร์อย่างมีทิศทางมากขึ้น มีการบูรณาการแนวคิดเข้าสู่องค์กร มีการวางแผนอย่างเป็นระบบ ใช้ความรู้และกรอบการทำงานที่สอดคล้องกับมาตรฐานมากขึ้น ภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ หนุนให้ซีเอสอาร์ยิ่งทวีความสำคัญและมีความเข้มข้นขึ้น ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน กล่าวว่ายิ่งในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ ซีเอสอาร์ ยิ่งเป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญ โดยเป้าหมายในการทำซีเอสอาร์จะมุ่งเน้นไปที่ Performance มากขึ้น เพื่อให้การทำซีเอสอาร์นั้นเกิดคุณค่ากับองค์กร มากที่สุด คือยังสร้างผลกำไรให้กับองค์กร แต่สร้างผลกระทบและความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม และสังคมน้อยที่สุด หรือไม่สร้างผลกระทบใดๆ เลย ซึ่งการที่จะตอบโจทย์ตรงนี้ได้นั้นองค์กรจะต้องมีแนวปฏิบัติ มีการพัฒนาเครื่องมือในการทำงาน และมีการกำหนดกรอบแนวทางการขับเคลื่อนที่ชัดเจน ก้าวข้ามจุดอ่อน สู่การพัฒนา การใช้แนวทางความยั่งยืน 10 หมวด ขับเคลื่อนซีเอสอาร์ นายอนันตชัย กล่าวว่าด้วยเรื่องซีเอสอาร์เป็นเรื่องใหม่ และส่วนใหญ่เติบโตจากการทำกิจกรรม ทำให้ การทำซีเอสอาร์ ขาดทิศทาง ซึ่งจุดอ่อนของการทำซีเอสอาร์ปัจจุบันคือ ขาดกรอบ และแนวทางปฏิบัติ ทำให้เกิดปัญหาในการพัฒนา โดยเฉพาะการตอบโจทย์ของมาตรฐานและแนวปฏิบัติจากต่างประเทศ ซึ่งกำลังจะมีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น ในขณะที่ปัจจุบันมีมาตรฐานและแนวปฏิบัติที่ออกมามากกว่า 300 มาตรฐาน ซึ่งองค์กรจะต้องเลือกและตัดสินใจว่าเป้าหมายในการทำซีเอสอาร์ขององค์กรนั้น จะใช้มาตรฐานไหนบ้าง ทั้งนี้จากการศึกษาและพัฒนา กรอบโครงสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งประเทศไทยได้ร่วมกับหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจและมูลนิธิกองทุนการศึกษาเพื่อการพัฒนา (EDF) ได้ทำการศึกษาวิจัยในปี 2550 และนำไปสู่การกำหนดลักษณะสำคัญของแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคม ค่านิยม และแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคม จำนวน 10 หมวด นั้น เห็นว่า สามารถนำมาใช้ขับเคลื่อนซีเอสอาร์ในองค์กรได้จริง โดยเป็นทั้งกรอบและเครื่องมือ ที่นอกจากจากจะทำให้องค์กรสามารถประเมินตนเอง ทราบระดับการทำงาน เพื่อกำหนดเป้าหมาย ยังสามารถนำไปสู่การพัฒนางานด้านซีเอสอาร์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นในข้อกำหนด 10 หมวดนั้น ยังสามารถเชื่อมต่อและสอดคล้องกับแนวปฏิบัติต่างๆจากต่างประเทศ อาทิ ISO 26000, UN Global Compact, GRI, SRI และเข็มทิศธุรกิจด้วย แนวทางการปรับแผนการทำซีเอสอาร์ เพื่อสร้างคุณค่าให้องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อมมากที่สุด นายอนันตชัย กล่าวว่าสิ่งที่องค์กรต้องทำลำดับแรกเลย คือกลับมาเริ่มต้นทบทวนความคิดของตัวเองใหม่ว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้นใช่หรือไม่ ตอบโจทย์บริบทภายในภายนอกได้มากน้อยแค่ไหนอย่างไร ควรจะปรับปรุงไปในทิศทางใด ซึ่งถ้าเป็นองค์กรใหม่ที่เพิ่งเริ่มทำซีเอสอาร์ ด้วยภาวะเศรษฐกิจอย่างนี้ก็ไม่ควรลองผิดลองถูกแล้ว ควรต้องหาความรู้ก่อน คือต้องเริ่มที่ Knowledge ที่ถูกต้องเพื่อวางกรอบแนวทางที่นำองค์กรไปสู่ความยั่งยืนได้จริงๆ สำหรับความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรที่ถูกทิศทาง จะต้องเป็นซีเอสอาร์ที่สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจหรือกิจการของตัวเอง เป็นซีเอสอาร์ที่ช่วยทำให้องค์กรมีความยั่งยืน เป็นซีเอสอาร์ที่ยังมุ่งตรงไปสู่การสร้างผลกำไรสูงสุด ทำให้ตัวเองอยู่รอดได้ สร้างเศรษฐกิจให้มั่นคง แต่สร้างความเสียหายให้สังคมและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด หรือดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆกัน สำหรับกรอบการดำเนินซีเอสอาร์เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับองค์กรนั้น ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอย่างยั่งยืนให้แนวทางในการพัฒนา 2 รูปแบบดังนี้ รูปแบบที่ 1 พัฒนาจากกิจกรรมสู่การวางกรอบความยั่งยืน ซึ่งเหมาะสำหรับองค์กรที่มีการบ่มเพาะแนวคิดซีเอสอาร์จากการทำกิจกรรมสังคมที่หลากหลาย โดยสามารถเริ่มได้จากการทบทวน ประเมินตนเอง วางกรอบยุทธศาสตร์ สร้างการเชื่อมโยงระหว่างวิสัยทัศน์ นโยบาย เป้าหมายการดำเนินกิจการ กับ กิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดำเนินการอยู่ รวมถึงการจัดทำแผนแม่บทกิจกรรมหลัก เพื่อสร้างความชัดเจนให้กิจกรรมย่อย อันสามารถพิสูจน์ให้ผู้มีส่วนได้เสียเห็นถึงคุณค่าที่องค์กรทำได้ รูปแบบที่ 2 วางกรอบความยั่งยืนตั้งแต่เริ่มต้น คือเริ่มจากวิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยมขององค์กร นำสู่นโยบาย กลยุทธ์ และการปฏิบัติทั้งหมดขององค์กร ซึ่งจะต้องมีการจัดทำแผนแม่บทด้านซีเอสอาร์ขององค์กรและแผนปฏิบัติการ เพื่อนำสู่การพัฒนาทั้งองค์กร ซึ่งเหมาะสำหรับองค์กรที่จะเริ่มต้นทำซีเอสอาร์ โดยภายใต้รูปแบบนี้ จะต้องมีการเริ่มต้นพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน จากการประเมินตนเอง สร้างความรู้ ความเข้าใจให้ทุกส่วนงาน ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการทำซีเอสอาร์ ในภาวะวิกฤติ หัวใจสำคัญที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จในการทำซีเอสอาร์ ในภาวะวิกฤติ นายอนันตชัย กล่าวว่า คือ เลือกทำซีเอสอาร์อย่างถูกทาง ใช้ความรู้ เลิกลองผิดลองถูก ซึ่ง มี 7 ปัจจัยหลักที่องค์กรจะต้องนำไปพิจารณาทบทวนคือ 1. Leadership ผู้นำองค์กรจะต้องมีความเข้าใจ ต้องเห็นด้วย ต้องให้ความสำคัญ และต้องทำในสิ่งที่ถูกด้วย หากผู้นำเข้าใจว่าเป็นเพียงงานพีอาร์ก็จบ ดังนั้นผู้นำจะมีบทบาทมากในการนำและสนับสนุนการพัฒนาแนวคิดซีเอสอาร์สู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง 2. CSR หรือ SD Committee เพราะซีเอสอาร์ไม่ใช่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง ไม่ใช่หน้าที่ของฝ่ายพีอาร์ แต่เป็นหน้าที่ที่ทุกส่วนงานในองค์กรต้องทำ จึงต้องมีคณะทำงาน ที่ต้องมีผู้นำที่เป็นระดับบริหารขององค์กร ที่สามารถขับเคลื่อน ผลักดัน ประสานงานกับทุกภาคส่วนได้ โดยคณะทำงานนี้ จะต้องมีความรู้ความเข้าใจที่จะสามารถให้คำแนะนำกับฝ่ายอื่นๆ 3. Understand External and Internal Contexts จะต้องมีการศึกษาและทำความเข้าใจบริบทภายในและภายนอกองค์กร ซึ่งบริบทที่เกี่ยวข้องกับซีเอสอาร์ มาตรฐานและแนวปฏิบัติต่างๆนั้นมีจำนวนมาก องค์กรจะต้องเลือกและหาทางเชื่อมโยงให้เข้าองค์กรมากที่สุด จะได้ไม่เสียเวลาทำแล้วทำอีก หรือใช้เวลานานไปกับการลองผิดลองถูก 4. Stakeholder collaborations จะต้องมีการกำหนดผู้มีส่วนได้เสียให้ชัดเจน มีการวางกรอบความเชื่อมโยง และแผนการสื่อสารอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้เสียให้เกิดขึ้นกับองค์กรให้ได้อย่างแท้จริง 5. CSR Framework &Tools จะต้องมีกรอบแนวทางการพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรที่ยั่งยืน และมีเครื่องมือในการขับเคลื่อน ด้วยว่าซีเอสอาร์เป็นเรื่องใหม่ มีการพัฒนาองค์ความรู้อยู่ตลอด การทำซีเอสอาร์อย่างไม่มีเครื่องมือ ทำให้ผลที่ออกมาเป็นเพียงกิจกรรม ปัญหาที่จะเกิดขึ้นก็จะเป็นปัญหาเดิมๆ ซีเอสอาร์ก็จะวนอยู่ ณ จุดเดิม ทำกันเป็นครั้งๆ ต้องใช้เงิน 6. Communication Design คือการออกแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เพื่อการขับเคลื่อนภายใน ซึ่งจะไม่ใช่เพียงการทำ Mass Communication แต่จะต้องทำ Stakeholder Communication ด้วย ในที่นี้คือต้องการให้เกิดการขับเคลื่อนภายใน ก่อให้เกิดการขับเคลื่อนภายนอก ก่อให้เกิดการยอมรับ และเกิดการสนับสนุน 7. Knowledge management การจัดการความรู้จากกระบวนการทำซีเอสอาร์ และกระจายความรู้สู่ส่วนงานต่างๆ รวมถึงสามารถพิสูจน์ให้ผู้มีส่วนได้เสียเห็นได้ทุกเมื่อ สำหรับสถาบันพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนก่อตั้งขึ้นเมื่อปลายปี พ.ศ. 2551 ซึ่งพิมพร ศิริวรรณ ผู้จัดการทั่วไป เปิดเผยว่า สถาบันก่อตั้งขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างนายอนันตชัยยูรประถม ซึ่งจุดมุ่งหมายของสถาบัน คือให้บริการให้คำปรึกษา อบรม ตลอดจน ศึกษา วิจัย และพัฒนากรอบเครื่องมือ และออกแบบแผนแม่บท เพื่อสนับสนุนการทำงานซีเอสเอสอาร์ขององค์กรต่างๆ มายแบรนด์ เอเจนซี่ เบอร์โทรศัพท์ : 028643900 สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวอนันตชัย ยูรประถม+สถาบันพัฒนาวันนี้

ภาพข่าว: maiA จัดสัมมนาสร้างคุณค่าให้กิจการยั่งยืน

ดร.ชาญกฤช เดชวิทักษ์ (กลาง) นายกสมาคมบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (maiA) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) จัดสัมมนาเรื่อง "การสร้างคุณค่ากิจการอย่างยั่งยืนกับ CG Code 2560" โดยได้รับเกียรติจาก ดร.อนันตชัย ยูรประถม (ที่ 3 จากซ้าย) ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน บรรยายในหัวข้อ "การบริหารจัดการธุรกิจเพื่อสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนตามแนวทาง CG Code 2560" และนางวรัชญา ศรีมาจันทร์ (ที่ 3 จากขวา) ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส

ดร.ชาญกฤช เดชวิทักษ์ (กลาง) นายกสมาคมบริษ... ภาพข่าว: maiA จัดสัมมนาสร้างคุณค่าให้กิจการยั่งยืน — ดร.ชาญกฤช เดชวิทักษ์ (กลาง) นายกสมาคมบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (maiA) ร่วมกับสำนัก...

คุณนิธาน ชัยเนตร (ขวาสุด) ผู้อำนวยการฝ่าย... ภาพข่าว: GCAP แชร์ประสบการณ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ในงาน SR Training Direction 2015 — คุณนิธาน ชัยเนตร (ขวาสุด) ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ และเลขานุการ...

ภาพข่าว: ตลาดหลักทรัพย์ฯ จัดสัมมนา CSR ให้ความรู้บจ.

ศิริชัย สาครรัตนกุล ที่ปรึกษาด้านวิชาการ สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม ตลาดหลักทรัพย์ฯ กล่าวเปิดงานสัมมนา CSRI Forum (4/2556) “CSR Integration: A Win-win Strategy to Sustainability” ซึ่งจัดขึ้นเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาและนำ CSR...

“CSRI ตลาดหลักทรัพย์ฯ จัดอบรบความรู้ด้าน CSR ให้บจ. รุ่นแรกของปี”

ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ ประธานคณะกรรมการอำนวยการ สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (CSRI) ตลาดหลักทรัพย์ฯ กล่าวเปิดหลักสูตรอบรม “ความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อความยั่งยืนขององค์กร” รุ่นแรกของปี ซึ่งทาง CSRI จัดขึ้นให้แก่ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ที่...

สถาบันพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน จัดสัมมนาหัวข้อ All About CSR: From Concept to Strategic Practices

ครบถ้วนเรื่องของ CSR สัมมนาแบบเข้มข้น All About CSR: From Concept to Strategic Practices ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility) ที่เรียกว่า CSR เป็นเรื่องใหม่และใหญ่ที่องค์กรยุคใหม่...

ภาพข่าว: สัมมนาเชิงปฏิบัติการ CSR Fit for you

เมื่อเร็วๆ นี้ พิมพร ศิริวรรณ กรรมการผู้จัดการบริษัทมายแบรนด์ เอเจนซี่ ได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “CSR Fit for you” โดยมีภาคธุรกิจชั้นนำของเมืองไทยให้การตอบรับเป็นอย่างดีส่งตัวแทนเข้าร่วมสัมมนากันอย่างคับคั่ง ซึ่งในครั้งนี้ได้รับ...

ชมรมประชาสัมพันธ์ประกันภัย จัดสัมมนาหัวข้อ “การสร้างคุณค่าให้องค์กรด้วยซีเอสอาร์ (CSR)”

วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน 2550 เวลา 9.00 น. – 15.30 น. ห้องซาลอน เอ ชั้น 2 โรงแรมสวิสโฮเต็ล เลอ คองคอร์ด กรุงเทพฯ เกริกไกร วิทยาสงเคราะห์ ประธานชมรมประชาสัมพันธ์ประกันภัย เป็นประธานเปิดการสัมมนาหัวข้อ...

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ จัดกิจกรรม Productivity talk หัวข้อ CSR จากแนวคิดสู่วิธีปฏิบัติ

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ขอเชิญร่วมกิจกรรม Productivity talk หัวข้อ CSR จากแนวคิดสู่วิธีปฏิบัติ โดย คุณอนันตชัย ยูรประถม นักวิชาการด้าน CSR โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นวิทยากร ...