iTAP-4บริษัทเอสเอ็มไทยลุย “อิตาลี” ส่งเฟอร์ฯชิมลางงาน “Salone” โชว์กึ๋นดีไซน์เนอร์

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--31 ก.ค.--สวทช.

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในประเทศไทยกำลังประสบปัญหาด้านการแข่งขันทางการตลาดที่มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น เนื่องจากประเทศคู่ค้าไม่ต้องพึ่งพาการนำเข้าเฟอร์นิเจอร์จากประเทศไทยเพียงแหล่งเดียว แนวคิดด้านการออกแบบและการสร้างแบรนด์เป็นของตัวเองจึงเกิดขึ้น เพื่อยกระดับกระบวนกาการออกแบบและการผลิตให้มีคุณภาพไปสู่ตลาดไฮเอ็นด์ รศ.ดร.สมชาย ฉัตรรัตนา รองผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) กล่าวว่า ตลาดเฟอร์นิเจอร์มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปตามค่านิยมของผู้บริโภค ผลิตภัณฑ์รีไซเคิลหรือผลิตภัณฑ์ลดโลกร้อน ที่มีกระบวนการผลิตไม่ก่อให้เกิดมลพิษ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และช่วยลดการใช้พลังงานได้จึงเป็นสินค้าที่กำลังอยู่ในกระแสนิยมจากกลุ่มบุคคลที่ตระหนักถึงปัญหาความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับกระบวนการผลิตจึงเป็นเครื่องมือสำคัญต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน “อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไทยมีจุดเด่นสามารถเข้าไปแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างสบายในด้านฝีมือแรงงานที่ถูกถ่ายทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้คนไทยกลายเป็นช่างฝีมือที่มีความประณีต ละเอียดอ่อน ผลงานที่ออกมาจึงโดดเด่นคงความเป็นเอกลักษณ์ แต่จะใช้เป็นจุดขายอย่างเดียวไม่ได้ผู้ประกอบการต้องนำความคิดแบบสากลมาประยุกต์ใช้เพื่อให้การพัฒนาตรงตามความต้องการของผู้บริโภค”รศ.ดร.สมชาย กล่าว โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (iTAP) ภายใต้ศูนย์บริการจัดการเทคโนโลยี (TMC) สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.)ซึ่งมีภารกิจหลักคอยให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการด้านต่างๆ เพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้อย่างมั่นคง โดยให้การสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญทั้งในประเทศและจากต่างประเทศเข้ามาให้คำปรึกษาแนะนำกลุ่มอุตสาหกรรมไม้ โดยมีสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องเรือนไทยเข้าร่วมด้วย ล่าสุดโครงการ iTAP ได้ส่งเสริมผู้ประกอบการเฟอร์นิเจอร์เอสเอ็มอี (SME) ของไทย 4 บริษัท คือ บริษัทพิมพ์เพ็ญ จำกัด บริษัทอุตสาหกรรมดีสวัสดิ์ จำกัด บริษัทเปอร์ฟอร์เม็กซ์ จำกัด และบริษัทเอฟบีซีเอ็ม จำกัด เข้าประลองฝีมือการดีไซน์และการเลือกใช้วัสดุตามโครงการพัฒนาเทคนิคการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ โดยมี Mr.Kiyashi Sodogawa เจ้าของบริษัท Zero First Design Co.,Ltd ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศญี่ปุ่นพร้อมด้วยคณะซึ่งมีความเชี่ยวชาญเข้ามาให้คำปรึกษาด้านการปรับโทนสี ขนาด รูปทรงของเฟอร์นิเจอร์ให้เป็นไปตามความนิยมและวัฒนธรรมของผู้บริโภคในแต่ละชาติซึ่งมีความแตกต่างกันพอสมควร เพื่อนำตัวอย่างเฟอร์นิเจอร์เดินทางไปโรดโชว์ในงาน Salone Internazionale del Mobile เมืองมิลาน ประเทศอิตาลี เมื่อเดือนเมษายน 2552 ที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าเป็นงานเฟอร์นิเจอร์มีชื่อเสียงที่สุดในโลก “ การออกงาน Salone Internazionale del Mobile ถือเป็นการประกาศศักดางานเฟอร์นิเจอร์ไทยซึ่งเป็นการท้าทายความสามารถทั้งตัวดีไซน์เนอร์และผู้เชี่ยวชาญในการรังสรรค์ชิ้นงานให้ออกมามีคุณค่า สามารถถ่ายทอดความทันสมัยพร้อมผสานประโยชน์ใช้สอยได้อย่างลงตัว แม้ว่างานนี้ไม่ใช้งานขายของแต่เป็นงานขายไอเดีย ซึ่งเฟอร์นิเจอร์ของผู้ประกอบการไทยได้ผลตอบรับออกมาดีและถือว่าประสบความสำเร็จคุ้มค่าเหนื่อยที่ได้ลงแรงไป” รศ.ดร.สมชาย กล่าว รองผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) เปิดเผยอีกว่า ความสำเร็จจากงาน Salone Internazionale del Mobile เกิดจากความสามารถด้านการตลาดและการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เน้นความเป็นธรรมชาติและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตรงตามความต้องการด้านการใช้วัตถุดิบที่มาจากธรรมชาติ รูปแบบสวยงามและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ใช้จริงจนได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคทำให้ผลิตภัณฑ์ดูมีคุณค่าเป็นที่ต้องการอย่างไม่มีขีดจำกัด อีกทั้งผู้ประกอบการสามารถกำหนดราคาสินค้าเองได้ อย่างไรก็ตามการทำงานที่อาศัยเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ ต้องอาศัยการบริหารจัดการที่ดีนำมาเชื่อมโยงกับทุกฝ่ายเพื่อหาแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีและบริหารจัดการอย่างครบวงจร ตลอดจนการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายมากขึ้น อันจะนำไปสู่การสร้างความยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ของไทย ด้าน นายจิรชัย ตั้งกิจงามวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัทอุตสาหกรรมดีสวัสดิ์ จำกัด กล่าวในฐานะตัวแทนผู้ประกอบการที่ได้เดินทางไปร่วมจัดแสดงในงาน Salone Internazionale del Mobile เมืองมิลาน ประเทศอิตาลี ว่า เป็นโอกาสดีที่ได้นำผลงานไปแสดงความสามารถ เพราะงานดังกล่าวไม่ได้เน้นที่ตัวผู้ผลิต แต่จะเน้นไปที่ตัวดีไซน์เนอร์ ตราสินค้า จึงต้องผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติจากเจ้าหน้าที่ประจำงานหลายขั้นตอน โดยเฉพาะการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์ มีเสน่ห์สามารถดึงดูดความสนใจได้ นายจิรชัย เปิดเผยอีกว่า การเข้าร่วมงานในครั้งนี้มีเป้าหมาย คือ “ทำอย่างไรให้คนจำเราได้” จึงต้องดึงจุดเด่นและความชำชาญของแต่ละบริษัทออกมาผลิตเป็นชิ้นงานนำเสนอภายใต้หัวข้อ Future natural คือ วัตถุดิบที่นำมาผลิตต้องมาจากธรรมชาติ การออกแบบจึงเน้นแนวความคิดให้เฟอร์นิเจอร์มีความชัดเจน แรงโดนใจ และแปลกใหม่ ไม่ลอกเลียนแบบใครทำให้สินค้าเป็นที่จดจำได้ง่าย งานที่ออกไปจึงต้องแตกต่างจากเฟอร์นิเจอร์ของประเทศอิตาลี ที่ทั่วโลกยอมรับว่าเป็นมือหนึ่งของโลก “สิ่งที่ผู้ประกอบการทุกคนภูมิใจคือเฟอร์นิเจอร์ที่นำไปแสดงไม่เหมือนประเทศอื่นเลย ทำให้บูท Thailand ได้รับความสนใจจากชาวต่างชาติและสื่อมวลชนที่เข้ามาเยี่ยมชมเป็นจำนวนมาก แม้ว่าปีนี้จะมีผู้เข้าร่วมงานน้อยกว่าทุกปี แต่โบชัวร์ที่นำไปแจกบริษัทละ 2-3 พันเล่ม หมดเกลี้ยงภายใน 6 วัน” นายจิรชัย กล่าว การพัฒนาด้านการออกแบบและการผลิตที่นอกเหนือการหวังผลกำไรจากยอดขายแล้ว การนำเฟอร์นิเจอร์เข้าไปแสดงในงานระดับโลกเช่นนี้ยังเป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับบริษัทและตัวดีไซน์เนอร์ให้เป็นที่รู้จักในกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย Salone Internazionale del Mobile งานเฟอร์นิเจอร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลกจึงเสมือนเป็นสนามประลองความสามารถของกลุ่มบริษัทเอสเอ็มอีไทยให้ได้อมยิ้มกับเสียงชื่นชมของชาวต่างชาติ ซึ่งเป็นการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้กับวงการเฟอร์นิเจอร์ไทย ก่อนกลับมาเตรียมความพร้อมในการผลิตชิ้นงานนำออกไปแสดงความสามารถอีกครั้งในปี 2553 สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจ ขอรับความช่วยเหลือจากโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (iTAP) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สามารถติดต่อได้ที่ (ส่วนกลาง) โทร.0-2564-7000 โครงการ iTAP หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ www.tmc.nstda.or.th/itap หรือ คุณชนากานต์ สันตยานนท์ โทร.0-2564-7000 ต่อ 1368,1381 หรือ email:[email protected] .or.th สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี+สมชาย ฉัตรรัตนาวันนี้

FoSTAT และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ จับมือ ProPak Asia 2025 จัดสัมมนา ปั้นอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารสู่มาตรฐานสากล ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ และ สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย (FoSTAT) และ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ผู้จัดงาน ProPak Asia 2025 งานแสดงเทคโนโลยี เครื่องจักร และโซลูชันด้านกระบวนการผลิต การแปรรูป และบรรจุภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรมอาหาร อาหารแปรรูป เครื่องดื่ม และบรรจุภัณฑ์ ยังคงยึดมั่นในพันธกิจที่จะส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตไทยให้แข็งแกร่งเป็นฟันเฟืองสำคัญของเศรษฐกิจประเทศ เพื่อเดินหน้ายกระดับองค์ความรู้สู่ผู้ประกอบการในทุกภูมิภาค ดังนั้นทั้ง 3

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโล... สำหรับนักเรียนทุน พสวท. ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2567 — สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดค่ายวิทยาศาสตร์ภาคฤดูร้อนสำหรับนักเรียนทุ...

ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกร... วว. จับมือพันธมิตรไทย-จีน เสริมสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม — ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทย...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... สวทช. โดย นาโนเทค เฟ้นหา 8 ผู้ประกอบการ ต่อยอดนวัตกรรมสมุนไพรสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยศูนย์นาโนเท...

ดร.กุศลิน มุสิกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบั... สสวท. ประกาศชัยครู - นักเรียน ยอดฝีมือ เวทีประกวดงานวิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม GLOBE SRC 2025 — ดร.กุศลิน มุสิกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนว...

"การใช้สื่อชุดกิจกรรม IPST SMART BOX สร้า... สสวท. อบรมครูวิทย์และเทคโนโลยี 4 ภาค สมัครได้ถึง 3 พฤษภาคมนี้ — "การใช้สื่อชุดกิจกรรม IPST SMART BOX สร้างผลงานโดยไม่เขียนโปรแกรม" สถาบันส่งเสริมการสอนวิท...

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัย... วว. ต้อนรับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในโอกาสเยี่ยมชมโครงสร้างพื้นฐาน วทน. — ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโ...