บทสรุป ผลวิจัยความคิดเห็นสาธารณะ หัวข้อ “ความมั่นใจของคนไทยในช่วงวิกฤต” ประเด็น “คนไทยกับปัญหาค่าใช้จ่าย ดีขึ้น หรือเลวลง?

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--24 มิ.ย.--โพลีพลัส พีอาร์

ปัญญาสมาพันธ์เพื่อการวิจัยความเห็นสาธารณะแห่งประเทศไทย วิเคราะห์ประเด็นโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณดา จันทร์สม ผู้อำนวยการสำนักวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) คณะกรรมการบริหารนโยบายและคณะทำงานปัญญาสมาพันธ์ฯ การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่ปัญญาสมาพันธ์จัดทำขึ้นในช่วง 2 ปี ที่ผ่านมา มีการสำรวจในหัวข้อเรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนไทยต่อการใช้จ่ายและการบริโภค” ซึ่งได้ดำเนินการในช่วงเวลา คือ ในช่วงเดือนเมษายน 2551 และเดือนพฤษภาคม 2552 ซึ่งมีระยะเวลาห่างจากกัน 1 ปี เต็ม ในช่วงเวลาที่ทิ้งห่างกันนั้น มีเหตุการณ์เกิดขึ้นหลายเหตุการณ์ ทั้งการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และสภาพวิกฤติทางเศรษฐกิจที่ประชาชนชาวไทยต้องเผชิญไปด้วยกัน การสำรวจความคิดเห็นของปัญญาสมาพันธ์มีความน่าสนใจหลายประเด็น โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องของจำนวนหน่วยตัวอย่างที่ครอบคลุมพื้นที่ทุกภาคของประเทศ และมีจำนวนตัวอย่างที่มากถึง 8,000 ตัวอย่างในการสำรวจแต่ละครั้ง ผลการสำรวจที่ได้มีหลายมุมมองที่น่าจะนำมาวิเคราะห์เพิ่มเติมได้ ในมุมมองหนึ่งที่น่าสนใจ คือ เรื่องปัญหาค่าใช้จ่ายด้านต่าง ๆ ที่ประชาชนไทยต้องเผชิญ พบว่ามีประเด็นที่พบจากการสำรวจที่น่าสนใจ ดังนี้ คนไทยเผชิญปัญหาค่าใช้จ่ายด้านต่าง ๆ ลดลงในปี 2552 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2551 เมื่อเปรียบเทียบระดับปัญหาของค่าใช้จ่ายด้านต่าง ๆ ต่อครอบครัวของประชาชนชาวไทย ได้แก่ 1) ค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ/รักษาโรคของตนเองหรือสมาชิกในครอบครัว 2) ค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของตนเองหรือสมาชิกในครอบครัว 3) ค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง/ไฟฟ้า/ค่าสาธารณูปโภค 4) ค่าใช้จ่ายในการชำระหนี้สินที่กู้ยืมมาลงทุน/ใช้จ่ายสำหรับครอบครัว 5) ค่าใช้จ่ายสำหรับใช้ลงทุนทำกิจการเลี้ยงครอบครัว 6) ค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้ามาบริโภคประจำวัน 7) ค่าผ่อนซื้อที่อยู่อาศัย / ค่าเช่าที่อยู่อาศัย และ 8) ค่าผ่อนยานพาหนะ/รถยนต์/ของใช้ภายในบ้าน ระหว่างปี 2551 และ ปี 2552 พบว่า ประชาชนชาวไทยเผชิญปัญหาค่าใช้จ่ายด้านต่าง ๆ ลดลงในปี 2552 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2551 โดยค่าเฉลี่ยของปัญหาค่าใช้จ่ายทุกด้านในปี 2551 จะสูงกว่าค่าเฉลี่ยของปัญหาค่าใช้จ่ายทุกด้านในปี 2552 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการสำรวจสะท้อนให้เห็นว่า ประชาชนชาวไทยมีความรู้สึกว่ากำลังเผชิญปัญหาค่าใช้จ่ายด้านต่าง ๆ ต่อครอบครัวลดน้อยลง เมื่อเปรียบเทียบปี 2552 กับปี 2551 ที่ผ่านมา ซึ่งอาจจะมีสาเหตุจากความเคยชินและความสามารถในการปรับตัวที่ดีขึ้นต่อปัญหา หรืออาจเป็นเพราะนโยบายรัฐบาลที่มีส่วนช่วยเหลือ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ต่าง ๆ ปัญหาค่าใช้จ่ายหลายด้านลดระดับความสำคัญลง โดยเฉพาะค่าใช้จ่าย เพื่อการศึกษาของตนเองหรือสมาชิกในครอบครัว ค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง / ไฟฟ้า / ค่าสาธารณูปโภค และค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ / รักษาโรคของตนเองหรือสมาชิกในครอบครัว เมื่อพิจารณาในรายละเอียดเชิงลึก พบว่า ปัญหาหลายด้านได้ลดระดับความสำคัญลง โดยเฉพาะปัญหาค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของตนเองหรือสมาชิกในครอบครัว ซึ่งเคยเป็นปัญหาที่มีค่าเฉลี่ยเป็นอันดับ 1 ในปี 2551 (ค่าเฉลี่ย 7.489) ได้ลดระดับความสำคัญของปัญหามาอยู่อันดับที่ 3 ของปัญหาที่เผชิญในปี 2552 (ค่าเฉลี่ย 6.29) รวมถึงปัญหาค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง/ไฟฟ้า / ค่าสาธารณูปโภค ซึ่งเคยอยู่ในระดับที่ 2 ในปี 2551 (ค่าเฉลี่ย 7.486) ได้ลดความสำคัญลงในปี 2552 เช่นกัน (ค่าเฉลี่ย 6.25) โดยค่าใช้จ่ายของปัญหาที่มีความสำคัญเป็นอันดับ 1 ในปี 2552 คือ ปัญหาค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้ามาบริโภคประจำวัน (ค่าเฉลี่ย 6.98) รองลงมา คือ ค่าใช้จ่ายสำหรับใช้ลงทุนทำกิจการเลี้ยงครอบครัว (ค่าเฉลี่ย 6.55) อะไรน่าจะเป็นเหตุให้คนไทยคลายความกังวัลในค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของตนเองหรือสมาชิกในครอบครัว และค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง//ไฟฟ้า/ค่าสาธารณูปโภค ผลการสำรวจได้สะท้อนในเชิงนัยว่า นโยบายรัฐบาลที่อุดหนุนค่าสาธารณูปโภคให้แก่ประชาชน กอปรระดับราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงจากปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากการลดแรงกดดันจากค่าใช้จ่ายในด้านนี้ไปได้ นอกจากนั้น นโยบายรัฐบาลที่สนับสนุนให้เรียนฟรีที่เริ่มมีผลในช่วงเวลาของการสำรวจในปี 2552 ได้ลดแรงกดดันในเรื่องค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของตนเองและสมาชิกในครอบครัวลงไปได้บ้าง !!น่าสังเกตว่าความกังวัลในปัญหาค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ/รักษาโรคของตนเองหรือสมาชิกในครอบครัวลดลงอย่างมากเมื่อเทียบปี 2551 และ 2552 ผลการสำรวจสะท้อนชัดว่า ค่าเฉลี่ยของระดับความสำคัญของปัญหาค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ/รักษาโรคของตนเองหรือสมาชิกในครอบครัวลดลงในปี 2552 (ค่าเฉลี่ย 5.85) เมื่อเทียบกับปี 2551 (ค่าเฉลี่ย 7.42) อย่างชัดเจน ทั้งนี้ อาจจะเป็นผลมาจากนโยบายการประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ประชาชนเริ่มใช้บริการได้สะดวกมากขึ้นหรืออย่างไร ประเด็นนี้ยังไม่มีความชัดเจนมากนัก แต่ประเด็นหนึ่งที่อาจจะมีความเกี่ยวโยงกันได้ คือ ปัญหาความกังวลของประชาชนเป็นอันดับหนึ่งในปี 2552 คือ ปัญหาค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้ามาบริโภคประจำวัน (ค่าเฉลี่ย 6.98) รองลงมา คือ ค่าใช้จ่ายสำหรับใช้ลงทุนทำกิจการเลี้ยงครอบครัว (ค่าเฉลี่ย 6.55) ซึ่งประเด็นนี้น่าจะเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ประชาชนลดความกังวลในปัญหาค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ/รักษาโรคของตนเองหรือสมาชิกในครอบครัวลงไป เนื่องจากอาจต้องพึ่งพาบริการที่รัฐจัดให้มากขึ้น เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในเรื่องดังกล่าวลง เพราะต้องให้น้ำหนักกับปัญหาค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้ามาบริโภคประจำวันมากยิ่งขึ้นในระยะนี้ ความสำคัญของปัญหาของค่าใช้จ่ายในแต่ละด้านต่อครอบครัวมีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มที่มีฐานะทางครอบครัวที่แตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบผลการสำรวจในปี 2552 ในเรื่องความสำคัญของปัญหาค่าใช้จ่ายในแต่ละด้านต่อครอบครัวของกลุ่มที่ฐานะทางครอบครัวต่าง ๆ กัน ได้แก่ กลุ่มที่มีฐานะดีมาก กลุ่มที่มีฐานะดี กลุ่มที่มีฐานะปานกลาง กลุ่มที่มีฐานะค่อนข้างขัดสน และกลุ่มที่มีฐานะขัดสนมาก พบว่า มีความแตกต่างของปัญหาในแต่ละกลุ่มฐานะ โดยเฉพาะในด้านต่าง ๆ ดังนี้ กลุ่มที่มีฐานะดีกังวลกับปัญหาค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ / รักษาโรคของตนเองหรือสมาชิกในครอบครัว มากกว่ากลุ่มที่มีฐานะปานกลาง โดยผลการสำรวจพบว่า กลุ่มที่มีฐานะดีมากจะพบว่าค่าใช้จ่ายในด้านนี้เป็นปัญหามากกว่ากลุ่มที่มีฐานะปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อะไรน่าจะเป็นเหตุให้คนที่มีฐานะดีมากมีความกังวลกับค่าใช้จ่ายด้านนี้มากกว่ากลุ่มที่มีฐานะปานกลางถึงขัดสน การที่ภาวะเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอน มีความเป็นไปได้ที่จะทำให้เกิดความกังวลในการที่จะเตรียมความพร้อมให้กับภาวะไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นในเรื่องสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัว เนื่องจากคนในกลุ่มที่มีฐานดีไม่ใช่กลุ่มลูกค้าในการใช้บริการนโยบายประกันสุขภาพถ้วนหน้าซึ่งรัฐบาลจัดให้ หรือแม้แต่การใช้บริการสวัสดิการจากประกันสังคม ซึ่งมีความเข้าใจกันว่าอาจจะไม่ใช่บริการในมาตรฐานที่คนในกลุ่มนื้ต้องการ ค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของตนเองหรือสมาชิกในครอบครัว จะเป็นปัญหาต่อกลุ่มที่มีฐานะกลุ่มที่มีฐานะค่อนข้างขัดสน มากกว่า กลุ่มที่มีฐานะปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประเด็นนี้ค่อนข้างมีความชัดเจนว่า คนที่มีฐานะขัดสนยังมีความกังวลในค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของตนเองหรือสมาชิกในครอบครัวมากกว่ากลุ่มที่มีฐานะปานกลางถึงดี แต่อย่างไรก็ดี ผลการสำรวจในภาพรวมดังที่กล่าวแล้วข้างต้นได้สะท้อนให้เห็นว่า คนไทยลดความกังวลต่อปัญหาในด้านนี้ลงไปบ้าง ปัญหาค่าใช้จ่ายในการชำระหนี้สินที่กู้ยืมมาลงทุน / ใช้จ่ายสำหรับครอบครัวยังเป็นปัญหากับกลุ่มที่มีฐานะปานกลาง กลุ่มที่มีฐานะค่อนข้างขัดสน และขัดสนมาก ผลการสำรวจสะท้อนชัดเจนว่า ปัญหาหนี้สินที่กู้ยืมมาเพื่อลงทุน/ใช้จ่ายสำหรับครอบครัวยังเป็นปัญหากับคนที่มีฐานะปานกลางถึงระดับขัดสนอยู่มาก โดยจะเป็นปัญหาต่อกลุ่มที่มีฐานะปานกลาง กลุ่มที่มีฐานะค่อนข้างขัดสน และกลุ่มที่ฐานะขัดสนมาก มากกว่า กลุ่มที่มีฐานะดีมาก และกลุ่มที่มีฐานะค่อนข้างดี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าใช้จ่ายสำหรับใช้ลงทุนทำกิจการเลี้ยงครอบครัว จะเป็นปัญหากับกลุ่มที่มีฐานะค่อนข้างขัดสนมากกว่า กลุ่มที่มีฐานะค่อนข้างดี และกลุ่มที่มีฐานะปานกลาง ผลการสำรวจค่อนข้างชัดเจนว่า คนที่มีฐานะขัดสนยังต้องเผชิญกับปัญหาค่าใช้จ่ายสำหรับใช้ลงทุนทำกิจการเลี้ยงครอบครัวมากกว่ากลุ่มที่มีฐานะปานกลางถึงดี ค่าผ่อนยานพาหนะ / รถยนต์ / ของใช้ภายในบ้าน จะเป็นปัญหากับกลุ่มผู้มีฐานะค่อนข้างดีมากกว่า กลุ่มที่มีฐานะค่อนข้างขัดสนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ บทสรุป โดยสรุป ประชาชนคนไทยมีความกังวลกับปัญหาค่าใช้จ่ายด้านต่าง ๆ ลดลง เมื่อเทียบปี 2552 กับปี 2551 โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายหลายด้านคนไทยมีความกังวลลดลงอย่างเห็นได้ชัด ได้แก่ โดยเฉพาะค่าใช้จ่าย เพื่อการศึกษาของตนเองหรือสมาชิกในครอบครัว ค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง / ไฟฟ้า / ค่าสาธารณูปโภค และค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ / รักษาโรคของตนเองหรือสมาชิกในครอบครัว ทั้งนี้อาจเป็นผลจากการใช้นโยบายของรัฐ และปัญหาที่ราคาน้ำมันที่ลดลง คนจนและคนรวยมีความกังวลต่อ ปัญหาค่าใช้จ่ายด้านต่าง ๆ แตกต่างกัน ค่าใช้จ่ายบางด้านจะเป็นปัญหาในกลุ่มผู้มีฐานะดีมากถึงปานกลาง มากกว่ากลุ่มที่มีฐานะขัดสน ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ / รักษาโรคของตนเองหรือสมาชิกในครอบครัว และค่าใช้จ่ายในด้านค่าผ่อนยานพาหนะ / รถยนต์ / ของใช้ภายในบ้าน ในขณะที่กลุ่มที่มีฐานะขัดสนจะกังวลต่อการเผชิญปัญหาค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของตนเองหรือสมาชิกในครอบครัว ค่าใช้จ่ายในการชำระหนี้สินที่กู้ยืมมาลงทุน / ใช้จ่ายสำหรับครอบครัว และ ค่าใช้จ่ายสำหรับใช้ลงทุนทำกิจการเลี้ยงครอบครัว มากกว่ากลุ่มที่มีฐานะปานกลางถึงดีมาก ในขณะที่ค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง/ไฟฟ้า/ค่าสาธารณูปโภค ค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้ามาบริโภคประจำวัน และค่าผ่อนซื้อที่อยู่อาศัย/ค่าเช่าที่อยู่อาศัย ไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มมากนัก

ข่าวสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์+สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตวันนี้

เวฟ เอกซ์โพเนนเชียล ผนึก NIDA เปิดการอบรมหลักสูตร "ผู้บริหารระดับสูงด้านเศรษฐกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม"

นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดการอบรมหลักสูตร"ผู้บริหารระดับสูงด้านเศรษฐกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม" หรือ NIDA Bio Circular Green Economy Executive Program (NIDA BCG) จัดโดย เวฟ บีซีจี (Wave BCG) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ บมจ.เวฟ เอกซ์โพเนนเชียล ร่วมกับสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) โดยมีนายถิรพงศ์ คำเรืองฤทธิ์ (กลาง) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เวฟ เอกซ์โพเนนเชียล หรือ (WAVE) และรศ. ดร.ดนุวัศ สาคริก (ซ้าย) รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะรัฐประศาสนศาสตร์

นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ... บางจากฯ แบ่งปันแนวคิดการจัดการงานสื่อสาร แนวคิดการบริหารธุรกิจอย่างมีสมดุล เพื่อความยั่งยืน — นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ งานบริหารความยั่งยื...

โบลท์ ร่วมฉลองวันปลอดรถโลก พร้อมการเติบโต... โบลท์ (Bolt) เผยสถิติ คนไทยมีแนวโน้มหันมาเลือกการเดินทางแบบปลอดมลพิษมากขึ้น — โบลท์ ร่วมฉลองวันปลอดรถโลก พร้อมการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของหมวดรถยนต์ไฟฟ้า (...

บริษัท ผลธัญญะ จำกัด (มหาชน) หรือ PHOL ผู... PHOL เปิดบ้านต้อนรับนักศึกษาปริญญาตรีควบโท วิศวกรรมการเงิน KMITL-NIDA เยี่ยมชมบริษัท — บริษัท ผลธัญญะ จำกัด (มหาชน) หรือ PHOL ผู้ประกอบธุรกิจจัดจำหน่ายสิน...