ขับรถ 80-90 กม/ชม.จำกัดความเร็วไทยสูงกว่าหลายประเทศ พบอันตรายเทียบเมาแล้วขับ แนะปรับลด

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--15 มิ.ย.--ศวปถ.

นักวิชาการแนะปรับลดอัตราความเร็วเซฟชีวิตคนไทย เผยการขับเร็วเกินอัตรากฎหมายกำหนดเป็น 1 ใน 3 สาเหตุหลักการเกิดอุบัติเหตุที่คร่าชีวิตและทรัพย์สิน ชี้ชัดการกำหนดกฎหมายความเร็วแบบหลวมๆ กว้างๆ 80 กม./ชม.ในเขตเมืองหรือเทศบาล และ 90 กม./ชม.นอกเขตเทศบาลก่ออันตรายใหญ่หลวงไม่ต่างจากเมาแล้วขับ นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)กล่าวว่าจากสถิติของสำนักงานตำรวจแห่งชาติปี 2545-2549 พบว่า การขับรถเร็วเกินอัตรากำหนดเป็นสาเหตุอันดับแรกของการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งพบสูงถึงร้อยละ 20 หรือ 1 ใน 5 ของอุบัติเหตุทั้งหมด และถ้าเป็นถนนของกรมทางหลวงพบว่า 3 ใน 4 ของอุบัติเหตุเกิดจากขับรถเร็วและยิ่งมีช่องจราจรมากก็ยิ่งมีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุที่มาจากความเร็วเพราะคนขับมีพื้นที่เร่งความเร็วมากขึ้น “ความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินมหาศาลจากการขับเร็วส่วนหนึ่งเพราะกฎหมายประเทศไทยทั้ง พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 และ พ.ร.บ.ทางหลวง พ.ศ.2535 ยังจำกัดความเร็วแบบหลวมๆ กว้างๆ โดยความเร็วในเขตเทศบาลกำหนดไว้ 80 กม./ชม. ส่วนความเร็วนอกเขตเทศบาล 90 กม./ชม. ขณะที่ต่างประเทศกำหนดไว้ต่ำกว่ามาก โดยเฉพาะความเร็วในเขตเมืองหรือเทศบาลสำหรับรถมอเตอร์ไซด์ โดยประเทศออสเตรเลีย 50-60 กม./ชม. บราซิล 40-60 กม./ชม. อังกฤษ 50 กม./ชม. และญี่ปุ่น 40-60 กม./ชม. ขณะที่ไทยกำหนดไว้สูงถึง 80 กม./ชม.” นพ.ธนะพงศ์กล่าวต่อว่า จากการศึกษาอัตราความเร็วที่เหมาะสมสำหรับรถมอเตอร์ไซต์ในเขตเทศบาลโดยเก็บข้อมูลความเร็วรถมอเตอร์ไซด์ในเขตเทศบาล 8 จังหวัดทั่วประเทศพบว่า มีคนขับขี่เพียงร้อยละ 0.2 เท่านั้นที่เลือกใช้ความเร็วสูงกว่ากฎหมายกำหนด ขณะร้อยละ 85 เลือกใช้ความเร็วต่ำกว่า 50 กม./ชม.ซึ่งใกล้เคียงกับประเทศอื่นๆ ดังนั้นการกำหนดอัตราความเร็วของกฎหมายไทยในปัจจุบันจึงสูงเกินความเป็นจริงมาก ควรปรับลดลงให้สอดคล้องกับนานาประเทศ อุบัติเหตุจากการขับขี่รวดเร็วบนท้องถนนส่วนใหญ่มักเกิดกับยานพาหนะขนาดเล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถมอเตอร์ไซด์ซึ่งเป็นพาหนะสุดอันตรายที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมากในแต่ละปี สอดคล้องกับข้อมูลอุบัติเหตุของกรมทางหลวงช่วงปี 2544-2549 ที่พบว่าในจำนวนอุบัติเหตุทางหลวงทั้งสิ้น 70,820 ครั้ง เกิดจากขับเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดถึงร้อยละ 75 “การขับเร็วจึงก่ออันตรายไม่น้อยกว่าการเมาแล้วขับ เพราะเพิ่มโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุตามมาไม่น้อยกว่ากัน จากการศึกษาในประเทศออสเตรเลียพบว่า ถ้าขับรถเร็ว 65 กม./ชม. เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ 60 กม./ชม. จะมีโอกาสเสี่ยงประสบอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บ 2 เท่า ถ้าเพิ่มเป็น 70 กม./ชม. โอกาสเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า และถ้าเพิ่มเป็น 75 กม./ชม. โอกาสเสี่ยงจะสูงถึง 10 เท่า เทียบเท่าความเสี่ยงจากการขับขี่รถที่ระดับแอลกอฮอล์ในเลือด 0.5, 0.8 และ 1.2 ตามลำดับ” นพ.ธนะพงศ์กล่าวว่าข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าระดับความรุนแรงจากการบาดเจ็บจะเพิ่ม 3 เท่าถ้าความเร็วขณะชนเพิ่มจาก 32 กม./ชม. เป็น 48 กม./ชม. และเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า ถ้าความเร็วขณะชนเพิ่มเป็น 64 กม./ชม. ส่วนคนเดินเท้าจะมีโอกาสรอดสูงถึงร้อยละ 90 ถ้าถูกรถชนที่ความเร็ว 30 กม./ชม. แต่โอกาสรอดชีวิตจะลดต่ำกว่าร้อยละ 50 ถ้าความเร็วรถเพิ่มเป็น 45 กม./ชม. “การดำเนินการปรับเปลี่ยนอัตราความเร็วตามที่กฎหมายกำหนดให้สอดคล้องกับอัตราความเร็วในหลายประเทศจึงเป็นหนึ่งวิธีการลดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนไทยจากการขับขี่เร็ว อย่างน้อยๆ ก็ไม่ควรให้ความเร็วในเขตเทศบาลและเมืองสูงถึง 80 กม./ชม. ขณะเดียวกันท้องถิ่นที่เป็นเขตเมืองควรติดตั้งป้ายจำกัดความเร็วบนถนนของตนเองเพื่อให้ประชาชนรับทราบให้มากขึ้น” สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0-2511-5855 ต่อ 116

ข่าวศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน+มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติวันนี้

“140 ประเทศทั่วโลก”ประกาศยกระดับความปลอดภัยทางถนนเป็นวาระระดับโลก หลัง “ฮู”รายงานปี 52 คนทั่วโลกตายจากอุบัติเหตุ 1.3 ล้านคน

“140 ประเทศทั่วโลก”ประกาศยกระดับความปลอดภัยทางถนนเป็นวาระระดับโลก หลัง “ฮู”รายงานปี 52 คนทั่วโลกตายจากอุบัติเหตุ 1.3 ล้านคน ตั้งเป้าลดการตายลงครึ่งหนึ่งใน 10 ปีข้างหน้า ขณะที่ไทยยังอ่อนการบังคับใช้กฎหมาย ผศ.ดร. ทวีศักดิ์ แตะกระโทก คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร นักวิชาการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.)และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า รายงานขององค์การอนามัยโลกระบุว่าในปี 2552 ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนไป

รถเมล์ 6,000 คัน ภาพสะท้อนระบบขนส่งสาธารณะล้มเหลว

ผศ.ดร.สมประสงค์ สัตยมัลลี เครือข่ายนักวิจัย ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) www.thainhf.org หนึ่งในคำตอบว่าทำไมระบบขนส่งสาธารณะบ้านเรายังย่ำแย่ เหมือนทำๆ ไปเพื่อคนด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจนั้นก็คือว่า...

สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง 3 โดย คุณอริย... ช่อง 3 จับมือ องค์กรพันธมิตร เปิดตัวโครงการ “ถนนปลอดภัย ช่อง 3 ร่วมใจลดอุบัติเหตุ” — สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง 3 โดย คุณอริยะ พนมยงค์ กรรมการผู้อำนวยการ...

สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล ร่วมกับศูนย์วิชาการ... SUPER POLL โพลรัฐบาลใหม่หลังเลือกตั้ง กับ ความปลอดภัยทางถนน — สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล ร่วมกับศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน นำเสนอผลสำรวจ เรื่อง รัฐบาลใ...

สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล ร่วมกับ ศูนย์วิชากา... SUPER POLL เกาะติดความปลอดภัยของประชาชน — สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล ร่วมกับ ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน สสส.นำเสนอผลสำรวจ เรื่อง เกาะติดคว...

ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.... สัมมนาวิชาการระดับชาติเรื่องความปลอดภัยทางถนน ครั้งที่ 13 — ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) มูลนิธินโยบายถนนปลอดภัย (มนป.) สนับสนุนโดยสำนักงานก...

แผนกผลิตภัณฑ์ความปลอดภัยด้านการจราจรและสว... 3M หนุนนโยบายความปลอดภัยทางถนน ร่วมปฏิญญา Decade of Action for Road Safety 2011-2020 — แผนกผลิตภัณฑ์ความปลอดภัยด้านการจราจรและสวัสดิภาพ บริษัท 3เอ็ม ประเท...