‘สวัสดิการสังคม’ ที่คนไทยอยากเห็น

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--25 ธ.ค.--

เวทีการประชุมเครือข่ายสถาบันทางปัญญาผลประชาเสวนาใน 7 จังหวัดทั่วประเทศระบุชัด อีก 10 ปีข้างหน้าสวัสดิการที่คนไทยอยากเห็นมากที่สุดคือเรื่องศึกษามาอันดับหนึ่ง เรียนฟรีตั้งแต่อนุบาลถึงมหาวิทยาลัย และให้รัฐจัดสวัสดิการรักษาพยาบาลฟรีอย่างมีคุณภาพ ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร และนางกรรณิการ์ บรรเทิงจิตร ร่วมเสนอผลการทำประชาเสวนา (citizen dialogue) ในภาพรวม เพื่อหาฉันทามติต่อการสร้างจิตสำนึกใหม่ และการจัดสวัสดิการสังคมเพื่อปฏิรูปการประเทศไทยในอีก 10 ปีข้างหน้า เมื่อวันที่ 22 ธ.ค.ที่ผ่านมา ในเวทีการประชุมเครือข่ายสถาบันทางปัญญา “การปฏิรูปประเทศไทยเพื่อสุขภาวะของคนไทยทั้งมวล” ครั้งที่ 24 จัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) การจัดประชาเสวนาได้ดำเนินการจัดใน 7 จังหวัด (ระยอง กำแพงเพชร กาญจนบุรี ชุมพร สุรินทร์ น่าน หนองคาย) ระหว่างเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2552 ผลปรากฎว่า สวัสดิการที่คนไทยต้องการ การศึกษามาเป็นอันดับหนึ่ง ประชาชนอยากให้ทุกคนได้เรียนฟรีตั้งแต่อนุบาลจนถึงมหาวิทยาลัย และเห็นสอดคล้องกันว่ารัฐควรจัดสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพและบริการฟรี พร้อมทั้งให้คงค่านิยมเอกลักษณ์วัฒนธรรมไทย ความรัก ความสามัคคี และความสงบเอาไว้ รศ.ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวว่า สองอันดับแรกกลุ่มตัวแทนมีฉันทามติว่า รัฐควรจัดให้ทุกคนได้เรียนฟรีตั้งแต่อนุบาลจนถึงมหาวิทยาลัย และควรจัดให้ทุกคนได้รับบริการรักษาพยาบาลฟรีและมีคุณภาพ อันดับต่อมามีการฝึกอาชีพและหางานให้กับนิสิตนักศึกษาที่จบใหม่ คนว่างงานและคนที่ต้องการเปลี่ยนงาน มีเงินชดเชยรายได้กับคนที่ตกงานหรือคนที่ไม่สบายจนทำงานไม่ได้ ให้เงินค่าครองชีพแก่คนพิการที่ทำงานไม่ได้ และให้เงินบำนาญแก่ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ประเด็นการจัดสวัสดิการด้านต่างๆ ว่า ตัวแทนประชาชนยังมีความเห็นที่ต่างกันอยู่ ดังนี้ ด้านการศึกษาควรจะให้ฟรีทุกคน หรือเฉพาะคนจน หรือคนเรียนดี หรือคนที่ขาดแคลนจริงๆ ด้านแรงงานเห็นว่า ควรส่งเสริมให้มีการจัดตั้งสหภาพแรงงานตามกลุ่มอาชีพเพื่อคุ้มครองแรงงาน ทั้งในและนอกระบบ อาทิ ผู้ค้าขาย อาชีพอิสระ แรงงานในภาคเกษตร เสนอให้มีการจัดสวัสดิการเพื่อเกษตรกร เช่น ส่งเสริมทักษะและอาชีพเสริมช่วงนอกฤดูกาลเพาะปลูก ส่วนกรณีผู้ว่างงานเสนอว่า ให้มีการชดเชยรายได้กรณีถูกเลิกจ้างเป็นเวลา 3 เดือน ชดเชย 30-50% ของเงินเดือนเดิม ต้องนิยามผู้ว่างงานให้ชัดเจนระหว่างว่างงานจริงหรือสมัครใจว่างงาน ควรมีระเบียบตรวจสอบที่ดีจาก ชุมชน “ด้านสวัสดิการผู้สูงอายุนั้น ยังมีความเห็นเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่ต่างกันระหว่าง ให้เฉพาะคนยากจนหรือไม่มีคนดูแล จะได้จ่ายได้มากกว่าคนละ 500 บาทต่อเดือน หรือควรให้ทุกคนเพื่อความเท่าเทียมมากน้อยตามสภาพ มีการเสนอว่า การคัดเลือกผู้สูงอายุรับเบี้ยยังชีพนั้นควรมีการพิจารณาตรวจสอบจากชุมชนและ อบต. ทั้งมีความเห็นอีกว่า ควรจ่ายให้เฉพาะอายุ 65 ปีขึ้นไป การรักษาพยาบาลนั้นเห็นว่า รัฐต้องควบคุมการให้บริการให้มีความเสมอภาคเป็นมาตรฐานเดียวกันกับทุกคน และสวัสดิการสำหรับผู้ด้อยโอกาสควรแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ คนพิการที่สามารถทำงานได้ควรถูกดูแลเรื่องอาหารที่อยู่อาศัย ฝึกอาชีพและหางานให้ ขณะที่คนพิการที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้นั้นต้องมีการเพิ่มเบี้ยเลี้ยง จัดที่พักอาศัย ดูแลรักษาบำบัดฟื้นฟูด้วย”รศ.ดร.นิพนธ์ กล่าว นางกรรณิการ์ บรรเทิงจิตร รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กล่าวว่า ในส่วนของค่านิยมที่คิดว่าควรเปลี่ยนแปลง คือ 1.ระบบอุปถัมภ์การใช้เส้นสาย แบ่งพรรคพวก 2.การหลงในอบายมุข 3.การขาดความสามัคคี ใช้ความรุนแรง ใช้อารมณ์ไม่ใช้เหตุผล 4.การแต่งกายที่ไม่เหมาะสมของวัยรุ่น และ 5.การนิยมหรือรับวัฒนธรรมต่างชาติ ซึ่งมีความเห็นว่า พ่อแม่ต้องเป็นต้นแบบปลูกฝังจิตสำนึกตั้งแต่เกิด เป็นแบบอย่างที่ดี ส่วนโรงเรียน สถาบันการศึกษาและวัดต้องปลูกจิตสำนึก รณรงค์อย่างต่อเนื่องรวมถึงให้แนวทางปฏิบัติ และชุมชนต้องช่วยกันดูแลเฝ้าระวัง และองค์กรปกครองท้องถิ่น ภาครัฐควรประสานกับชุมชนทั้งกิจกรรมและงบประมาณ ทั้งบทบาทของสื่อต้องเผยแพร่แต่สิ่งสร้างสรรค์ให้ความรู้ความเข้าใจเพื่อ สนับสนุนค่านิยมต่างๆ สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวกรรณิการ์ บรรเทิงจิตร+นิพนธ์ พัวพงศกรวันนี้

ภาพข่าว: TDRI นำคณะนักวิชาการจาก 15 ประเทศเยี่ยมชม CPF

รศ.ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) นำคณะนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์เกษตรจาก 15 ประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา เยอรมัน จีน เมียนมาร์ เวียดนาม อินเดีย ปากีสถาน กัมพูชา เป็นต้น เข้าเยี่ยมชมกิจการ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัทของคนไทยที่ดำเนินงานด้านเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารแบบครบวงจรด้วยกระบวนการผลิตอันทันสมัยตามมาตรฐานสากล บนพื้นฐานการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสมและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมี นายสิริพงศ์ อรุณรัตนา รองกรรมการผู้จัดการบริหาร

นายเผดิมภพ สงเคราะห์ กรรมการผู้จัดการ สาย... ภาพข่าว: บล.กสิกรไทยเปิดเวทีชี้ทิศทางตลาดหุ้นปีวอกยังไปต่อได้ — นายเผดิมภพ สงเคราะห์ กรรมการผู้จัดการ สายงานจัดการเงินทุนบุคคล บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำ...

ภาพข่าว: สัมมนา “การบริหารจัดการน้ำของประเทศไทย”

Dr. Bhim Adhikari ผู้ชำนาญการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและน้ำอาวุโส ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งแคนาดา เป็นประธานเปิดงานสัมมนาเรื่อง "การบริหารจัดการน้ำของประเทศ : ข้อเสนอเชิงนโยบาย" โดยมี ศ.ดร.สกนธ์ วรัญญูวัฒนา คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม...

ดร. ณรงค์ชัย อัครเศรณี รัฐมนตรีว่าการกระท... ภาพข่าว: สมาคมเศรษฐศาสตร์จัดประชุม “Beyond AEC 2015” — ดร. ณรงค์ชัย อัครเศรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ให้เกียรติมาเป็นวิทยากรบรรยายหัวข้อเรื่อง “Beyo...

ธรรมศาสตร์ ร่วมแก้วิกฤตชาติ จัดเสวนาวิชาการ “ปฏิรูปเศรษฐกิจ กู้ไทยพ้นวิกฤต”

ในโอกาส “ครบรอบ 80 ปีแห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดงานเสวนาวิชาการ ชุด “8 ทศวรรษ อภิวัฒน์สังคมไทย” ครั้งที่ 2 เรื่อง “ปฏิรูปเศรษฐกิจ กู้ไทยพ้นวิกฤต” ในวันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 09.00-...

Thaipublica จัดงานเสาวนาครั้งที่ 4 เรื่อง ‘ข้าว ชาวนา นักการเมือง และประเทศชาติ ใครได้ใครเสีย?’

กำหนดการ ThaiPublica Forum ครั้งที่ 4 หัวข้อ “ข้าว ชาวนา นักการเมือง และประเทศชาติ ใครได้ใครเสีย? ” วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2555 เวลา 09.30 – 12.30 น. ณ โรงแรม VIC 3 พหลโยธิน ซอย 3 (รถไฟฟ้าสถานีสนาม...

การเปลี่ยนแปลงผู้บริหารของทีดีอาร์ไอ

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารในตำแหน่งประธานสถาบัน โดย ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ดำรงตำแหน่งประธานสถาบันทีดีอาร์ไอ และ ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร เป็นนักวิชาการกิตติคุณ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมนี้เป็นต้นไป. ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร ดร...

ภาพข่าว: บรรยายพิเศษ "ผลกระทบทางเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นของนักลงทุน กรณีศึกษามาบตาพุด"

นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ผู้อำนวยการบริหารสถาบันอิศรา ให้การต้อนรับ รศ.ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ในโอกาสบรรยายแก่ผู้เข้าอบรมหลักสูตรการสื่อสารมวลชนระดับต้น (กสต.)...

ผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจโลกต่อคนไทยกลุ่มต่างๆ

มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ได้ให้ทุนวิจัยแก่สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ)ในการศึกษาผลกระทบของวิกฤติเศรษฐกิจโลกต่อคนไทยกลุ่มต่างๆ โดยคณะวิจัยของสถาบันฯ ได้นำเสนอผลการวิเคราะห์ที่โรงแรม ดิ เอมเมอรัล เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2553 โดยมี Ashvin Dayal,...