โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี 2551-2552

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--21 ม.ค.--สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

หลักการและเหตุ ผลคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ที่ทำหน้าที่ส่งเสริม คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน โดยมีภารกิจหลักที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การจัดทำรายงานประจำปีเพื่อประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ และเสนอต่อรัฐสภา ตามมาตรา 257(8) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 15 (6) ในการนี้ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้จ้างสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นที่ปรึกษาในการจัดทำรายงานประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี 2551-2552 โดยได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณารายงานประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชน ปี 2551-2552 เพื่อสนับสนุน ให้ข้อเสนอแนะ ให้คำปรึกษาและแนวทางในการจัดทำรายงาน และมีคณะทำงานย่อย 3 คณะ ทำหน้าที่สนับสนุนข้อมูลเพื่อประกอบการจัดทำรายงานฯ รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะและพิจารณาความเหมาะสมของรายงาน ในประเด็นสิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมือง และสิทธิชุมชน ประเด็นสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และประเด็นสิทธิในกระบวนการยุติธรรมและกฎหมาย ดังนั้น เพื่อให้รายงานประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี 2551-2552 สะท้อนภาพของสิทธิมนุษยชนที่เป็นจริงของภาคประชาชน โดยมีการวิเคราะห์บนฐานของมาตรฐานสิทธิมนุษยชน ทั้งในและระหว่างประเทศ และการทำงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จึงเห็นสมควรจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมสมองจากผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะด้าน ผู้ที่มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสิทธิมนุษยชน ในการเพิ่มเติมข้อมูลและข้อเท็จจริงในการจัดทำรายงานประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี 2551-2552 วัตถุประสงค์ เพื่อระดมข้อมูล ข้อเท็จจริงที่แสดงถึงสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในช่วงปี 2551-2552 โดยเน้นกระบวนการระดมสมองอย่างมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อความครอบคลุมและสมบูรณ์ของเนื้อหาของรายงานประเมินสถานการณ์ฯ ที่จะจัดทำขึ้น เป้าหมาย ผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นักวิชาการผู้มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสิทธิมนุษยชน คณะอนุกรรมการในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฝ่ายเลขานุการในคณะทำงานพิจารณาและสนับสนุนการจัดทำรายงานฯ เครือข่ายองค์กรสิทธิมนุษยชน ภาคประชาสังคมและสิทธิชุมชน และเจ้าหน้าที่สำนักงาน กสม.ที่เกี่ยวข้อง วิธีดำเนินการ การสัมมนาและการประชุมกลุ่มย่อย เพื่อระดมสมอง เสนอแนะข้อมูลและข้อเท็จจริงเพิ่มเติม เพื่อให้รายงานประเมินสถานการณ์ฯ มีความครอบคลุมและสมบูรณ์ในรูปแบบและเนื้อหา โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ระยะเวลาและสถานที่ ระหว่างวันที่ 25-26 มกราคม 2553 ณ โรงแรมเดอะ รอยัล เจมส์ กอล์ฟ รีสอร์ท ศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม งบประมาณ งบประมาณประจำปี 2553 ของสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในโครงการจัดทำรายงานประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชน ปี 2551-2552 ผลที่คาดว่าจะได้รับ รายงานประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี 2551-2552 ที่จะจัดทำขึ้น มีเนื้อหาครอบคลุมประเด็นต่างๆ อย่างสมบูรณ์ โดยการศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล ข้อเท็จจริง สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในช่วงปี 2551-2552 ที่เน้นการระดมสมองอย่างมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดทำรายงานประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนให้สมบูรณ์ต่อไป ผู้รับผิดชอบ สำนักวิจัยและนิติธรรม สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กำหนดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๑-๒๕๕๒ ระหว่างวันที่ ๒๕ – ๒๖ มกราคม ๒๕๕๓ ณ โรงแรมเดอะ รอยัล เจมส์ กอล์ฟ รีสอร์ท ศาลายา พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม วันจันทร์ที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๓ ๐๗.๓๐ น. ออกเดินทางจากสำนักงาน กสม. ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ อาคารบี ถนนแจ้งวัฒนะ (ประตูทิศตะวันออก ด้านสำนักงาน ก.ก.ต) ๐๘.๔๕ – ๐๙.๐๐ น. ลงทะเบียน ๐๙.๐๐ – ๐๙.๑๕ น. เปิดการสัมมนา โดย ศาสตราจารย์ อมรา พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ๐๙.๑๕ – ๐๙.๔๕ น. ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการสัมมนา โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้แทนคณะทำงานฯ ๐๙.๔๕ – ๑๐.๓๐ น. ชี้แจงกระบวนการกลุ่มและข้อมูลพื้นฐาน โดย นายบุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์ / วิทยากร - นักวิจัย ๑๐.๓๐ – ๑๒.๐๐ น. การสัมมนากลุ่มย่อย กลุ่มที่ ๑ สิทธิในการจัดการฐานทรัพยากร สิทธิชุมชน ? กิจการประมงทะเล-ชายฝั่งและประมงพื้นบ้าน โดย นายอิสมาแอ เจ๊ะมูดอ ? การใช้ประโยชน์ในที่ดินและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดย นางสุนี ไชยรส ? การก่อสร้างในทะเลและชายฝั่งและการกัดเซาะชายฝั่ง โดย ดร.สมบูรณ์ พรพิเนตรพงศ์ ? โรงงานอุตสาหกรรม ประเภทและชนิดต่างๆ โดย ดร.อาภา หวังเกียรติ ? การขุดดินและการถมดิน การดูดทรายและการทำเหมืองแร่ทุกประเภท โดย นายศศิน เฉลิมลาภ ? โครงการชลประทานทุกประเภท ทุกขนาด โดย นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ ดำเนินการโดย นายธนู แนบเนียร กลุ่มที่ ๒ ความเสมอภาคของบุคคล สิทธิของกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ? สิทธิในที่อยู่อาศัยของผู้ยากไร้ โดย นางประทิน เวคะวากยานนท์ ? สิทธิสตรี –ความหลากหลายทางเพศ โดย นางสาวนัยนา สุภาพึ่ง ? สิทธิเด็กและเยาวชน โดย นายณัฐวุฒิ บัวประทุม ? สิทธิผู้พิการ โดย นายมณเฑียร บุญตัน ? สิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ โดย นายสุริยันต์ ทองหนูเอียด ? กลุ่มคนไทยพลัดถิ่น โดย นายภควินทร์ แสงคง ? กลุ่มผู้ใช้แรงงาน แรงงานนอกระบบและแรงงานต่างด้าว โดย นายบัณฑิต ธนชัยเศรษฐวุฒิ ? เกษตรกรและผู้ได้รับผลกระทบจากการค้าเสรี –เอฟทีเอ โดย นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ นายวิทูรย์ เลี่ยนจำรูญ ดำเนินการโดย นายสุริยันต์ ทองหนูเอียด กลุ่มที่ ๓ สิทธิของผู้บริโภค การเข้าถึงการบริการของรัฐ ? สิทธิผู้บริโภคจากกิจการต่างๆ ของรัฐ โดย นายอิทธิบูล อ้อนวงศา ? สิทธิในการเข้าถึงยาและพระราชบัญญัติสิทธิบัตร โดย รศ.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ ? สิทธิของผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยง โดย นางสาวสุภัทรา นาคะผิว นางสมบุญ สีคำดอกแค ดำเนินการโดย นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. พักรับประทานอาหารกลางวัน ๑๓.๐๐ – ๑๕.๓๐ น. การสัมมนากลุ่มย่อย (ต่อ) ๑๖.๐๐ – ๑๗.๓๐ น. นำเสนอผลการสัมมนากลุ่มย่อยต่อที่ประชุมใหญ่ สรุปประเด็นโดย นางสุนี ไชยรส ดำเนินการโดย นายภาคภูมิ วิธานติรวัฒน์ ๑๘.๐๐ – ๑๙.๐๐ น. รับประทานอาหารเย็น ๑๙.๐๐ – ๒๑.๐๐ น. อภิปรายทั่วไป และทำ mapping สิทธิชุมชนและฐานทรัพยากร ดำเนินการโดย นายบุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์ วันอังคารที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๓ ๐๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. การสัมมนากลุ่มย่อย กลุ่มที่ ๑ สิทธิในกระบวนการยุติธรรม ? สิทธิในกระบวนการยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบกับประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดย รศ.ณรงค์ ใจหาญ ? สิทธิในกระบวนการยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญ เปรียบเทียบกับประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา สำหรับเด็ก เยาวชนและสตรี โดย นางสาววาสนา เก้านพรัตน์ ? สิทธิในกระบวนการยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญสำหรับผู้พิการ หรือทุพพลภาพ ผู้สูงอายุ โดย ศาสตราจารย์วิริยะ นามศิริพงศ์พันธ์ ? การซ้อมทรมาน ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายและแนวทางแก้ไข โดย นายวสันต์ พานิช ? การสูญหายของบุคคลและแนวทางแก้ไข โดย นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ? กระบวนการยุติธรรมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และสี่อำเภอในจังหวัดสงขลา โดย นายสุทธิพงษ์ จันทรวิโรจน์ ดำเนินการโดย นายนคร ชมพูชาติ กลุ่มที่ ๒ สิทธิเสรีภาพในการมีส่วนร่วมของประชาชน สิทธิทางการเมือง ? สิทธิและเสรีภาพของสื่อมวลชน โดย รศ.ดร.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ ? สิทธิในข้อมูลข่าวสารของทางราชการ โดย นายสมชาย หอมลออ ? สิทธิในการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย โดย นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ? สิทธิในการเข้าชื่อถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และข้าราชการ ระดับสูง โดย นางสาวรสนา โตสิตระกูล ? สิทธิเสรีภาพในการชุมนุม โดย นายสุริยันต์ ทองหนูเอียด ? สิทธิในการศึกษาและเสรีภาพทางวิชาการ รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ ดำเนินการโดย ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง ๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. รับประทานอาหารกลางวัน ๑๓.๐๐ – ๑๔.๐๐ น. นำเสนอผลการสัมมนากลุ่มย่อยต่อที่ประชุมใหญ่ สรุปประเด็นโดย นายสมชาย หอมลออ ดำเนินการโดย นายบุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์ ๑๔.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. อภิปรายทั่วไป ๑๖.๐๐ – ๑๖.๓๐ น. สรุปและปิดการสัมมนา ๑๗.๐๐ น. เดินทางกลับสำนักงาน กสม. หมายเหตุ รับประทานอาหารว่าง เวลา ๑๐.๓๐ – ๑๐-๔๕ น. และ ๑๕.๐๐ - ๑๕.๑๕ น.

ข่าวสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ+สิทธิมนุษยชนแห่งชาติวันนี้

กทม. แจงเจ้าหน้าที่สายด่วน 1555 บริการด้วยใจ พร้อมรับแจ้งเรื่องร้องเรียน

นายศุภฤกษ์ หูไธสง ผู้อำนวยการสำนักงานเลขานุการปลัดกรุงเทพมหานคร (สลป.) กทม. กล่าวกรณีผู้ร้องเรียนระบุเจ้าหน้าที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ กทม. มีพฤติกรรมข่มขู่จากการแจ้งเรื่องร้องเรียนว่า จากการตรวจสอบผู้ร้องได้แจ้งเรื่องผ่านสายด่วน กทม.1555 ตั้งแต่เดือน เม.ย. 67 และ สลป. ได้รับการประสานจากหน่วยงานภายนอก อาทิ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อเดือน มี.ค. 64 และเดือน เม.ย. 67 รวมถึงสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เมื่อเดือน พ.ค. 65 สลป. ได้ประสานให้สำนักงานเขตบึงกุ่มพิจารณาดำ

สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย ... GCNT ผนึกกำลังพันธมิตร ตั้ง "สถาบันธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน" — สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (GCNT : Global Compact Network Thailand) ลงนามความร่ว...

สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติผุด... สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติผุดแคมเปญส่งเสริมสิทธิมนุษยชนผ่านสื่อออนไลน์ — สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติผุดแคมเปญส่งเสริมสิทธิมนุษยชนผ่...

เรื่อง Cyberbullying ทุกวันนี้ปัญหา Cyber... เรื่อง Cyberbullying จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อมีใครสักคนโดน Bully! — เรื่อง Cyberbullying ทุกวันนี้ปัญหา Cyberbullying เป็นเรื่องที่สังคมต้องให้ความสำคัญ เพราะไ...

นายชนกันต วิทยศักดิ์พันธุ์ นิสิตชั้นปีที่... นิสิตจุฬาฯ ชนะเลิศการแข่งขัน โต้วาทีสิทธิมนุษยชนภาษาอังกฤษระดับอุดมศึกษา ประจำปี 2563 — นายชนกันต วิทยศักดิ์พันธุ์ นิสิตชั้นปีที่ 3 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ แ...

ก.ล.ต. และ กสม. เตรียมจัดสัมมนาส่งเสริม บจ. ไทยขับเคลื่อนธุรกิจยั่งยืนตามหลักสิทธิมนุษยชน

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ร่วมหารือเตรียมจัดสัมมนาวิชาการระดับชาติ เรื่อง สิทธิมนุษยชน: ปัจจัยขับเคลื่อนความสามารถในการ...

กสม. เปิดศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน ห้องสม... กสม. เปิดศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน ห้องสมุดเฉพาะด้านสิทธิมนุษยชนแห่งแรกของไทย — กสม. เปิดศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน ห้องสมุดเฉพาะด้านสิทธิมนุษยชนแห่งแรกของ...

นายวัส ติงสมิตร ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชน... ภาพข่าว: พิธีเปิดศูนย์สารสนเทศสิทธิมนุษยชน ห้องสมุดเฉพาะด้านสิทธิมนุษยชนแห่งแรกของประเทศไทย — นายวัส ติงสมิตร ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นประธาน...

นายวัส ติงสมิตร ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชน... ขอเชิญร่วมพิธีเปิดห้องสมุดเฉพาะด้านสิทธิมนุษยชนแห่งแรกของประเทศไทย — นายวัส ติงสมิตร ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นประธานในงานเปิดศูนย์สารสนเทศสิท...