สถาบันอาหาร แนะอุตสาหกรรมกุ้งไทย ทุกฝ่ายต้องจับมือแก้ราคากุ้งตกต่ำ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--14 ต.ค.--สถาบันอาหาร

สถาบันอาหาร แนะผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมกุ้งไทยทั้งระบบปรับตัว หลังเผชิญจุดเปลี่ยน หมดยุครายได้เฟื่องฟู เหตุราคากุ้งตก ต้นทุนการเลี้ยงสูง เร่งผลักดันภาครัฐหนุนข้อมูลเชิงวิชาการให้กุ้งเลี้ยงง่าย โตเร็ว ต้านทานโรค ลดใช้สารเคมี หวังเพิ่มศักยภาพการแข่งขันจากการลดมลพิษและรักษาสิ่งแวดล้อมของฟาร์ม ส่งเสริมการทำ Contract Farming ให้มากขึ้น เน้นแปรรูปกุ้งสดพร้อมนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆเพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มลดปัญหากุ้งล้นตลาด สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ซื้อด้วยการผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐาน มีความปลอดภัย คาดช่วยลดปัญหาการกีดกันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ทั้งเป็นการแก้ปัญหาราคากุ้งตกต่ำอย่างยั่งยืน ดร.อมร งามมงคลรัตน์ รักษาการผู้อำนวยการสถาบันอาหาร เผยว่า “แม้ตัวเลขการส่งออกกุ้งและผลิตภัณฑ์ของไทยในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา (ม.ค. – มิ.ย. 52) เติบโตมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ในอัตราร้อยละ 9.2 และเป็นอัตราเติบโตสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2549 โดยมีปริมาณส่งออกรวม 162,868 ตัน เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 9.12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และปัจจุบันประเทศไทยผลิตกุ้งได้ประมาณ 4-5 แสนตันต่อปี โดยมีผลผลิตส่วนใหญ่ร้อยละ 70-80 หรือ 3-4 แสนตัน (น้ำหนักกุ้งสด) ถูกใช้เพื่อส่งออก ซึ่งสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศได้เฉลี่ย 80,000 ล้านบาทต่อปี แต่ยังมีเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งได้รับความเดือดร้อนจากราคากุ้งตกต่ำ” ปัจจุบันราคากุ้งขาวขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัมมีราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 100 บาท ส่วนกุ้งกุลาดำมีราคาขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 110 บาท ซึ่งลดลงมากเมื่อเทียบกับที่เคยขายได้ 120 บาทต่อกิโลกรัม และ 130 บาทต่อกิโลกรัม ในช่วง 5-6 ปีก่อน ซึ่งเป็นทิศทางเดียวกับราคากุ้งในตลาดโลก แม้ล่าสุดในปี 2551 ไทยมีส่วนแบ่งตลาดกุ้งโลกประมาณร้อยละ 18.9 โดยมีปริมาณการส่งออก 358,928 ตัน มีมูลค่าส่งออกรวม 84,196 ล้านบาท หรือร้อยละ 11 ของมูลค่าส่งออกสินค้าอาหารทั้งหมดของไทย โดยตลาดส่งออกที่สำคัญได้แก่ สหรัฐอเมริกา (50.4%) ญี่ปุ่น (17.6%) สหภาพยุโรป (11.3%) เป็นต้น ส่งผลให้ไทยเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกกุ้งรวมทั้งผลิตภัณฑ์แปรรูปรายใหญ่อันดับ 1 ของโลก แต่จากสถานการณ์ผลผลิตกุ้งในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้นมาก ประกอบกับประเทศคู่แข่งต่างหันมาใช้กลยุทธ์การลดราคาทำให้ผู้ส่งออกต้องกดราคารับซื้อวัตถุดิบกุ้งสดจากเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง ซึ่งอาจส่งผลให้เกษตรกรลดการเพาะเลี้ยงลง เนื่องจากต้นทุนการผลิตมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ และจะกลายเป็นอุปสรรคต่อ การเติบโตของอุตสาหกรรมกุ้งไทยได้ในระยะยาว เพราะผลผลิตมีไม่เพียงพอรองรับความต้องการของโรงงานแปรรูป อาจต้องนำเข้ากุ้งจากต่างประเทศมาทดแทน “นอกจากนี้ อุตสาหกรรมกุ้งไทยต้องประสบปัญหากับประเทศคู่แข่ง ได้แก่ เวียดนาม, จีน, อินโดนีเซีย และอินเดีย ที่ส่งออกกุ้งสู่ตลาดโลกเพิ่มมากขึ้น ทำให้กุ้งไทยสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะเวียดนามซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญ ปัจจุบันมีส่วนแบ่งในตลาดโลกสูงถึงร้อยละ 12.1 เป็นอันดับสองรองจากประเทศไทย อย่างไรก็ตามนอกจากปัญหาเรื่องการแข่งขันด้านการลดราคาแล้วเกษตรกรไทยยังต้องเผชิญกับต้นทุนการผลิตของไทยที่สูงกว่าคู่แข่ง ขณะเดียวกันประเทศคู่ค้าได้ใช้มาตรการต่างๆ เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการตัดสิทธิพิเศษทางภาษี (GSP) กุ้งไทยในสหภาพยุโรปในปี 2542 ทำให้ไทยสูญเสียตลาดกุ้งอย่างสิ้นเชิงให้กับคู่แข่งในประเทศแถบอเมริกาใต้ และในปี 2547 สหรัฐอเมริกาใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด(Anti-dumping) รวมถึงมาตรการอื่นๆส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยมีต้นทุนผลิตสูงขึ้น” ดร.อมร กล่าว สิ่งสำคัญในการแก้ไขราคากุ้งที่ตกต่ำซึ่งจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมกุ้งไทยในระยะยาวก็คือ การปรับตัวของผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมกุ้งทั้งระบบ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันโดยใช้มาตรการต่างๆ เข้ามาดำเนินการให้เกิดรูปธรรมโดยเร็ว ได้แก่ ภาครัฐควรสนับสนุนข้อมูลเชิงวิชาการแก่เกษตรผู้เลี้ยงกุ้ง โดยเฉพาะการวิจัยพัฒนาสายพันธุ์กุ้งให้เลี้ยงง่าย เติบโตเร็ว และมีความต้านทานโรค, ควรส่งเสริมการทำ Contact Farming ระหว่างเกษตรกรและผู้ประกอบการให้มากขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้ประกอบการว่าจะมีวัตถุดิบในการแปรรูป, ผู้ประกอบการแปรรูป ควรแปรรูปกุ้งสดให้เกิดสินค้ามูลค่าเพิ่มเพื่อลดปัญหากุ้งล้นตลาดในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก และเกษตรกรผู้ผลิต ผู้ส่งออก รวมทั้งผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมกุ้งไทยควรสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ซื้อด้วยกันการผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐาน มีความปลอดภัย ซึ่งจะมีส่วนช่วยลดปัญหาการกีดกันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมที่มีแนวโน้มมากขึ้นในอนาคต สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวอุตสาหกรรมกุ้งไทย+ผลิตภัณฑ์ใหม่วันนี้

TFM เปิดแผนผลิตกุ้งยั่งยืน ดันไทยชิงโอกาสในตลาดโลก ชูนวัตกรรมอาหารสัตว์เศรษฐกิจ เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน

บริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด (มหาชน) (TFM) ผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายอาหารอาหารสัตว์น้ำเศรษฐกิจของไทย เปิด 4 กลยุทธ์สร้างจุดแข็งอุตสาหกรรมกุ้งไทย วางแผนเชิงรุก ชิงโอกาสเติบโต เดินหน้าเปิดตลาดมุ่งตอบโจทย์ดีมานต์ ซัพพลาย เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกุ้งไทย ด้วยการดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืนและใส่ใจสิ่งแวดล้อม นายพีระศักดิ์ บุญมีโชติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด (มหาชน) (TFM) กล่าวถึงทิศทางของอุตสาหกรรมกุ้งไทยในปี 2568 ในงานสัตว์น้ำไทย (Thai Aqua Expo 2024) ว่า

กรมประมงมั่นใจอุตสาหกรรมกุ้งไทย มีมาตรฐาน สะอาด ปลอดภัย ไร้การยัดไส้เจลาตินแน่นอน

ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านการส่งออกกุ้งมากว่า 30 ปี จุดแข็ง คือ ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงและเป็นที่ยอมรับของคนทั่วโลก สำหรับภาคอุตสาหกรรมกุ้งไทยมีระบบการผลิตรวมถึงการตรวจสอบคุณภาพกุ้งทั้งเนื้อ สารปนเปื้อน และเชื้อโรคอย่าง...

กรมประมงเตรียมพลิกโฉม “อุตสาหกรรมกุ้งไทย”สู้วิฤตอีเอ็มเอส หลัง คชก.ไฟเขียวอนุมัติงบฯ 92.70 ล้านบาท

กรมประมง...เตรียมเดินหน้าโครงการ "ปรับปรุงโครงสร้างระบบการเลี้ยงเพื่อพลิกฟื้นการผลิตกุ้ง และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันอุตสาหกรรมการผลิตกุ้งทะเลของประเทศไทยอย่างยั่งยืน"หลัง คชก. เห็นชอบ...

ประมง..แจงผลผลิตกุ้งทะเลไทย ปี 58 ขยับขึ้น 21 % คาดปีนี้โตไปถึง 3 แสนตัน แนะชาวกุ้งจัดระเบียบสอดรับ พ.ร.ก.ประมงใหม่

นายวิมล จันทรโรทัย อธิบดีกรมประมง เปิดเผยหลังเป็นประธานเปิดงานวันกุ้งจันตะวันออกแฟร์ ครั้งที่ 20 ว่า ขณะนี้กรมประมงมีทางในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมกุ้งไทยอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การเลี้ยง...

กรมประมง เปิดเวทีถกหาแนวทางแก้ปัญหาราคากุ้งตกต่ำ

เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2558 ณ ห้องประชุมพะยูน กรมประมง ได้จัดการประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนอุตสาหกรรมกุ้งไทย ครั้งที่ 2/2558 โดยมีตัวแทนผู้ประกอบการห้องเย็น และตัวแทนเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเลทั่วประเทศ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมหารือ...

เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง-ส่วนเกี่ยวข้องในอุตฯกุ้งไทย เดือนร้อนหนัก ร้องเลี้ยงกุ้งไม่ได้-ราคากุ้งตกต่ำ ตบเท้ายื่นหนังสือนายกตู่ ช่วยเหลือเร่งด่วนที่สุด ก่อนกอดคอกันตาย อุตฯล่มสลาย

เช้าวันนี้ (พุธ 29 เม.ย. 2558) เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง และส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมกุ้งไทย จำนวน 9 คน นำโดย นายบรรจง นิสภวาณิชย์...

สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย แถลงข่าวเรื่อง ความเป็นจริงด้านแรงงานในอุตสาหกรรมกุ้งไทย (The Truth of Thai Shrimp Industry Labour)

ตามที่หนังสือพิมพ์ Guardian ของอังกฤษนำเสนอรายงานเกี่ยวกับการใช้แรงงานเยี่ยงทาสในอุตสาหกรรมประมงไทย และสื่อต่างๆ ได้นำไปเป็นประเด็นในการเสนอข่าว กอรปกับทางกระทรวงการต่างประ...

ผู้เลี้ยงกุ้งภาคใต้ยัน EMS ไม่ใช่โรคระบาด ไม่น่าจะทำให้อุตฯกุ้งไทยมีปัญหา กรมประมงอย่าเน้นแค่โรงเพาะลูกกุ้ง ให้ผู้เลี้ยงคลีนนิ่งระบบ อย่าให้หมักหมมด้วย

เป็นที่ทราบกันว่า ขณะนี้ ก.เกษตรฯ โดยกรมประมง ได้พยายามแก้ปัญหาโรคกุ้งตายด่วน (ซึ่งปัจจุบันยังหาสาเหตุที่แท้จริงไม่ได้) ให้กับอุตสาหกรรมกุ้งไทย โดย...

กุ้งไทยหวั่นส่งออกกระทบทั้งระบบ เหตุสหรัฐฯใช้ข้ออ้างปัญหาแรงงาน ซ่อนเงื่อน...กีดกันการค้า วอนรัฐเข็นเข้าพิจารณาเป็นวาระแห่งชาติด่วน

นายสมศักดิ์ ปณีตัธยาศัย นายกสมาคมกุ้งไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมกุ้งไทยกำลังประสบกับปัญหาสำคัญ เนื่องจากประเทศคู่ค้าสำคัญอย่างสหรัฐอเมริกา โดย Department of...

สมาคมกุ้งไทยชี้ปัญหาจีเอสพี-อียู จ่อส่งผลวิกฤตกุ้งไทย ฉุดภาคส่งออก

ผลกระทบจีเอสพียุโรปสะเทือนอุตสาหกรรมกุ้งไทย วอนภาครัฐเร่งหาแนวทาง หวั่นกระทบผู้เลี้ยงและผู้เกี่ยวข้องทั้งระบบกว่า 2 ล้านคน นายสมศักดิ์ ปณีตัธยาศัย นายกสมาคมกุ้งไทย เปิดเผยว่า สถานการณ์การส่งออกกุ้งของประเทศไทยในช่วง 4 เดือนแรก ปี 2555...