เปลี่ยนโฉมหลักสูตร ป.โท การเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ของนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--21 ต.ค.--

นิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปลี่ยนหลักสูตรปริญญาโท ปีการศึกษา 2553 เพิ่มความเข้มข้นทางวิชาการและตอบสนองวิชาชีพขั้นสูง ครอบคลุมองค์ความรู้ใหม่ด้านนิเทศศาสตร์ในเชิงบูรณาการ สอดรับกับสังคมยุคใหม่แห่งการหลอมรวมสื่อ ด้านคณบดีนิเทศฯ จุฬาฯ ย้ำ หลักสูตรใหม่ตอบสนองต่อประเด็นปัญหาของสังคมปัจจุบันได้ดีกว่าเดิม รองศาสตราจารย์ ดร.ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ กล่าวว่า “ทุกวันนี้สังคมการสื่อสารมีความเปลี่ยนแปลงไปมาก ปรากฏการณ์การหลอมรวมสื่อ (Media Convergence) ได้เกิดขึ้นในสังคมมาระยะเวลาหนึ่งแล้ว ซึ่งมีผลกระทบต่อพฤติกรรมการศึกษา วิจัย วิชาชีพ และการแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ในศาสตร์ของการสื่อสาร เนื่องจากการศึกษาด้านนิเทศศาสตร์ที่มีอยู่เดิมนั้นมีลักษณะของการมองสื่อแบบแยกกลุ่ม แยกประเภทกัน ในขณะที่สภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน สื่อหลากหลายเหล่านั้นได้หลอมรวมเป็นสื่อเดียวกัน ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคสื่อเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ส่งผลให้หลักสูตรที่มีอยู่เดิมในระดับปริญญาโทนั้นตอบสนองต่อประเด็นปัญหาของสังคมปัจจุบันได้ไม่ดีเท่าที่ควร เราจึงเร่งพัฒนาและออกแบบหลักสูตรปริญญาโทขึ้นมา เพื่อให้สอดรับกับเทคโนโลยีการสื่อสารและสังคมปัจจุบัน และปูทางไปสู่การรองรับการเปลี่ยนแปลงของสังคมในอนาคตได้” สำหรับหลักสูตรใหม่ในระดับปริญญาโทดังกล่าว คณะนิเทศศาสตร์จะนำมาใช้ในปีการศึกษา 2553 นี้ มุ่งเน้นการสร้างบุคลากรให้มีความเข้าใจในองค์ประกอบหลักของศาสตร์ทางด้านนิเทศศาสตร์อย่างลึกซึ้ง และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาทางด้านการสื่อสารได้อย่างสอดคล้องกับสภาพสังคม สิ่งสำคัญคือแผนการเรียนใหม่นี้จะมีความยืดหยุ่น ให้ผู้เรียนเลือกเรียนได้ตามความต้องการ และรายวิชามีความหลากหลาย สอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียน เนื้อหาวิชามีความล้ำสมัย ทันกับการเปลี่ยนแปลงด้านการสื่อสารและสังคม “เนื้อหาของการเรียนการสอนจะเข้มข้นในเชิงทฤษฎีและวิจัย อีกทั้งยังมีแผนการศึกษาที่เน้นด้านวิชาชีพด้วย รายวิชามีความหลากหลายครอบคลุมองค์ความรู้ใหม่ทางด้านนิเทศศาสตร์ที่มีลักษณะเชิงบูรณาการมากขึ้น เพื่อส่งเสริมให้นิสิตที่จบไปสามารถทำงานได้หลากหลายยิ่งขึ้น ทั้งยังเน้นให้นิสิตเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ โดยเปิดโอกาสให้สามารถเลือกประเด็นปัญหาที่ต้องการศึกษาและวิจัยได้ตามที่ต้องการ” รองศาสตราจารย์ ดร.ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงสำคัญของหลักสูตรใหม่ ทั้งนี้หลักสูตรใหม่ดังกล่าวจะ แบ่งออกเป็น 2 แผนการศึกษา ประกอบด้วย 1.) แผนเน้นวิชาการ ซึ่งจะเป็นการเรียนการสอนที่เน้นเนื้อหาทางทฤษฎี การวิจัย และการสร้างองค์ความรู้นิเทศศาสตร์ มี 5 กลุ่ม กลุ่มวิชา ได้แก่ กลุ่มวิชาวารสารและสารสนเทศ กลุ่มวิชาการจัดการการสื่อสารแบบบูรณาการ กลุ่มวิชาการสื่อสารผ่านสื่อและวาทนิเทศ กลุ่มวิชาการสื่อสารเชิงสังคมและวัฒนธรรม และกลุ่มวิชาการสื่อสารเชิงสุนทรียะและบันเทิงคดี เปิดสอนในเวลาราชการ และ 2.) สำหรับแผนเน้นวิชาชีพ ซึ่งจะเน้นองค์ความรู้นิเทศศาสตร์เชิงวิชาชีพขั้นสูง โดยมีพื้นฐานด้านทฤษฎีและวิจัย เปิดการเรียนการสอนนอกเวลาราชการสำหรับผู้ที่มีประสบการณ์ทำงานด้านนิเทศศาสตร์ หรืออาชีพที่เกี่ยวข้อง มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี ประกอบด้วย 3 กลุ่มวิชา ได้แก่ กลุ่มวิชาการผลิตข่าวและสารคดี กลุ่มวิชาการจัดการการสื่อสารแบบบูรณาการ และ กลุ่มวิชาสื่อสารการแสดงและสื่อบันเทิง “ความเข้มข้นทางวิชาการจะเพิ่มขึ้น และการเรียนก็จะเน้นการทำวิจัยร่วมกับอาจารย์และทำโครงการวิชาชีพมากขึ้นเช่นกัน ซึ่งเราเชื่อมั่นว่าหลักสูตรใหม่นี้จะสามารถผลิตบัณฑิตที่เป็นนักวิชาการ นักวิจัย และนักวิชาชีพที่มีความสามารถบูรณาการความรู้และทักษะด้านนิเทศศาสตร์ให้กับสังคมได้อีกจำนวนมาก เพื่อประโยชน์ต่อแวดวงวิชาการและวิชาชีพตลอดจนสังคมโดยรวม” รองศาสตราจารย์ ดร.ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ กล่าว ทั้งนี้ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ได้เริ่มเปิดรับสมัครนิสิตปริญญาโทในหลักสูตรใหม่ ปีการศึกษา 2553 แล้ว ตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงวันที่ 11 ธันวาคม 2552 ผู้สนใจสามารถกรอกข้อมูลใบสมัครออนไลน์ทางอินเทอร์เน็ต และสืบค้นข้อมูลประกอบการสมัครได้ที่ www.grad.chula.ac.th (เมนู : การรับสมัครเข้าศึกษา) หรือซื้อหนังสือคู่มือการรับสมัครฯ ที่บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดหลักสูตรข่าวสารการรับสมัครได้ที่เว็บไซต์ www.grad.commarts.chula.ac.th หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวหลักสูตร ได้ที่ คุณสุภา หลายคงคา และ คุณเอมอร ศรีสุวรรณ โทรศัพท์ 0-2218-2155 และ 0-2218-2178

ข่าวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย+ยุบล เบ็ญจรงค์กิจวันนี้

สถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ จัดสัมมนา "AI เพื่อสังคม 2025" เปิดพื้นที่เสนอแนวทางการใช้ AI ในสังคมไทยอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน

สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับเครือข่ายหน่วยงานวิจัยในจุฬาฯ จัดสัมมนาวิชาการ "AI เพื่อสังคม 2025: ปัญญาประดิษฐ์เปลี่ยนอนาคตไทย" เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2568 ณ Social Innovation Hub อาคารวิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ เพื่อจุดประกายความคิดและวางแนวทางการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) อย่างมีจริยธรรม ครอบคลุม และยั่งยืนในสังคมไทย โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ เป็นผู้กล่าวเปิดงาน และปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ "บทบาทของมหาวิทยาลัยไทยในยุค AI เปลี่ยนโลก" โดยเน้นย้ำว่า "การศึกษาต้องไม่เพียงให้ความรู้

นางสมบัติศิริ เชาวกุล (ที่ 2 จากขวา) กรรม... efin Group ผนึกจุฬาฯ เสริมทักษะฮาร์ดแวร์-ซอฟต์แวร์ ปั้นกำลังคนยุค AI — นางสมบัติศิริ เชาวกุล (ที่ 2 จากขวา) กรรมการ บริษัท ออนไลน์แอสเซ็ท จำกัด หรือ efin ...

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ สำนักงานจัด... จุฬาฯ ยกพื้นที่สยามสแควร์ให้เกษตรกรไทยขายสินค้าเกษตรคุณภาพ ส่งตรงจากฟาร์มไกลสู่ใจกลางเมือง — จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงก...

โรงพยาบาลหัวเฉียว ร่วมกับ ชีวามิตร จัดการ... โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดการบรรยายวิชาการ เรื่อง "Palliative care" — โรงพยาบาลหัวเฉียว ร่วมกับ ชีวามิตร จัดการบรรยายวิชาการ เรื่อง "Palliative Care" โดยได้รับ...

ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญร... ศูนย์หนังสือจุฬาฯ จัดงาน "CHULABOOK FAIR #2 @SIAMSCPAE" — ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญร่วมงาน "CHULABOOK FAIR #2 @SIAMSCPAE" ระหว่างวันที่ 27 ...