HAL-Q สัญลักษณ์แห่งคุณภาพสินค้าฮาลาลของไทย ปักธงผงาดในเวทีอาหารโลก

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--17 พ.ย.--โฟร์ฮันเดรท

ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับกระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกรมเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงต่างประเทศ สร้างชื่อให้ประเทศไทย เขย่าวงการอาหารฮาลาลโลกอีกครั้ง หลังนำสัญลักษณ์ HAL-Q สัญลักษณ์แห่งคุณภาพระบบการผลิตสินค้าฮาลาลของไทยเปิดตัวสู่ตลาดโลก ในงานการประชุมนานาชาติ “World of Halal Science, Industry and Business-ANUGA 2009” (WHASIB-ANUGA 2009) ภายในงาน ANUGA หรืองานมหกรรมอาหารอานูก้า ศูนย์กลางอาหารที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพื่อประชาสัมพันธ์ระบบการผลิตอาหารฮาลาล ของไทยให้เป็นที่รู้จักในวงการอาหารอิสลามทั่วโลก พร้อมสร้างความเชื่อมั่นในเครือข่ายธุรกิจฮาลาลระหว่างประเทศ รศ.ดร. วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า หลังจากที่ทางศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการเปิดตัวสัญญาลักษณ์ HAL-Q สัญญาลักษณ์ที่บงบอกถึงระบบการบริหารจัดการเพื่อการผลิตอาหารฮาลาล โดยการบูรณาการมาตรฐานฮาลาล เข้ากับระบบความปลอดภัยอาหาร โดยเน้นความสะอาด และปลอดภัยตามมาตรฐานสากล ผนวกเข้ากับความถูกต้องตามบทบัญญัติในศาสนาอิสลาม เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าอาหารฮาลาลที่ผลิตขึ้นไม่มีการปนเปื้อนสิ่งต้องห้ามทางศาสนาไปเมื่อไม่นานมานี้ ทางศูนย์จึงได้ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกรมเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงต่างประเทศ นำสัญลักษณ์ HAL-Q สัญลักษณ์แห่งคุณภาพระบบการผลิตสินค้า ฮาลาลของไทยเปิดตัวสู่ตลาดโลก ในงานการประชุมนานาชาติ “World of Halal Science, Industry and Business-ANUGA 2009” (WHASIB-ANUGA 2009) โดยมี คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เดินทางไปเป็นเป็นประธานในพิธีเปิดงาน เพื่อแสดงศักยภาพของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮาลาลของประเทศไทย ตลอดจนศักยภาพของอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลจากประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่ได้รับการจัดวางระบบ HAL-Q กิจกรรมทั้งหมดนี้ได้ส่งผลให้ HAL-Q เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ รศ. ดร. วินัย เสริมด้วยว่า ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ตุรกี แอฟริกาใต้ จอร์แดน แคนาคา ปาเลสไตน์ หรือแม้กระทั่งอิสราเอล ต่างชื่นชมในระบบ HAL-Q เนื่องจากเป็นระบบที่สร้างความก้าวหน้าให้กับอุตสาหกรรมฮาลาลเป็นอย่างมาก เป็นระบบที่ดีที่สุดในขณะนี้ และจะเป็นแนวทางใหม่ของวงการอาหารฮาลาลในอนาคต บริษัท โฟร์ฮันเดรท จำกัด สอบถามเพิ่มเติมที่ คุณสิทธิกร เสงี่ยมโปร่ง (คุณแป๋ง) โทร. 02-553-3161-3 สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี+จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยวันนี้

จุฬาฯ จับมือกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยฯ และ สวทช. วิจัยและพัฒนาโครงการแลกเปลี่ยนข้อมูล องค์ความรู้และประสบการณ์ด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมมือกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ และศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ) ในการวิจัยและพัฒนาโครงการแลกเปลี่ยนข้อมูล องค์ความรู้และประสบการณ์ด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือจัดขึ้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2568 ณ ห้องประชุม 202 อาคารจามจุรี 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี ศ.ดร.วิ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโล... สสวท. พาเยาวชนซึมซับวิทย์กับธรรมชาติด้วยสื่อเรียนรู้ "วันฝนพรำ" — สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เปิดประตูสู่ฤดูฝนกับสื่อการเรียนรู้ท...

ดร.จิตรา ชัยวิมล รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์แล... วว. จับมือ ธนาคารออมสิน เสริมสร้างศักยภาพกลุ่มองค์กรชุมชน ยกระดับผลิตภัณฑ์สู่มาตรฐานสากล — ดร.จิตรา ชัยวิมล รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์และจัดการนวัตกรรมการ สถา...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... วว. โชว์งานบริการเพื่อภาคอุตสาหกรรม @ Boilex Asia and Pumps and Valves Asia 2025 — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ศูนย์พัฒนาแ...

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดก... สจล. จัดวิ่งเทรลครั้งแรก "KMITL DANCHANG Trail 2025" เปิดประสบการณ์วิ่งท่ามกลางธรรมชาติที่สุพรรณบุรี — สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล...

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัย... วว. โชว์ผลงาน วทน. สนับสนุนส่งเสริมไม้ดอกไม้ประดับ @ Pride Flower Music — ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ว...

ศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ (National Omics Cent... ศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ สวทช. นำไทยสู่เศรษฐกิจชีวภาพ ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพขั้นสูง — ศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ (National Omics Center) ภายใต้ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทค...