เร่งวิจัยชนิด แมลงหนอนปลอกน้ำ สู่การตรวจสอบคุณภาพน้ำเชิงชีวภาพ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--6 พ.ค.--โครงการ BRT

นักสิ่งแวดล้อมเล็งเห็นความสำคัญของแมลงน้ำ ช่วยประเมินคุณภาพน้ำในเชิงชีวภาพ เร่งศึกษาชนิดของแมลงน้ำ โดยเฉพาะแมลงหนอนปลอกน้ำ เพื่อความแม่นยำในการตรวจสอบคุณภาพน้ำ หวังใช้ข้อมูลด้านชีวภาพ ประเมินคุณภาพน้ำร่วมกับปัจจัยกายภาพ / เคมี และเป็นนโยบายในการตัดสินคุณภาพน้ำผิวดินในอนาคต การติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำเพื่อรักษาคุณภาพน้ำให้อยู่ในสภาพที่มนุษย์สามารถใช้ประโยชน์ได้เป็นเรื่องที่มีความจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประเทศที่มีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ซึ่งจะมีผลกระทบต่อแหล่งน้ำโดยตรง ทั้งนี้การตรวจสอบคุณภาพน้ำที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งการวัดค่าทางฟิสิกส์ เช่นความขุ่น-ใสของน้ำ หรือการวัดค่า COD BOD ซึ่งเป็นการวัดทางเคมี และยังมีการใช้ข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพ หรือ การตรวจสอบคุณภาพน้ำในเชิงชีวภาพ ซึ่งสามารถสะท้อนคุณภาพโดยรวมของปัจจัยทุกชนิดในแหล่งน้ำได้เป็นอย่างดี น.ส.เพ็ญศรี บรรลือ นักศึกษาปริญญาเอก ด้านความหลากหลายของแมลงหนอนปลอกน้ำ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า การตรวจสอบคุณภาพน้ำในเชิงชีวภาพสามารถใช้สิ่งมีชีวิตเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้แมลงน้ำ ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีจำนวนและชนิดมากที่สุด และเนื่องจากแมลงน้ำสามารถอยู่อาศัยได้ในแหล่งน้ำทุกรูปแบบ มีความทนทานต่อสภาวะมลพิษได้แตกต่างกัน เกาะอยู่กับที่หรือเคลื่อนที่ได้ไม่ไกลนัก ทำให้สามารถใช้ในการประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ได้ บางชนิดมีวัฎจักรชีวิตที่ยาวนาน ทำให้เห็นความแตกต่างของปัญหามลพิษที่มีต่อสิ่งมีชีวิตในช่วงเวลาที่ต่างกัน “การใช้แมลงน้ำในการประเมินคุณภาพน้ำนั้น จำเป็นจะต้องรู้ชนิดของแมลง การใช้แมลงหนอนปลอกน้ำตัวเต็มวัย ที่สามารถระบุชนิดได้จะทำให้ข้อมูลแม่นยำและเชื่อถือได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งการศึกษาแมลงหนอนปลอกน้ำในประเทศไทยถือว่ามีก้าวหน้ามาก เมื่อเทียบกับแมลงกลุ่มอื่นๆ โดยปัจจุบันสามารถจำแนกชนิดแมลงหนอนปลอกน้ำที่พบทั้งหมดในประเทศไทยได้ถึง 1,000 ชนิด กว่า 75% เป็นชนิดที่ค้นพบใหม่โดยสมาชิกในหน่วยวิจัยติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม นำโดย รศ.ดร.พรทิพย์ จันทรมงคล ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งขณะนี้ยังได้มีการรวบรวมข้อมูลแมลงหนอนปลอกน้ำในประเทศไทยเพื่อสร้างฐานข้อมูลให้สามารถนำไปใช้ติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม และการอนุรักษ์ได้ โดยได้รับการสนับสนุนจากโครงการ BRT ภายใต้การสนับสนุนของศูนย์พันธุวิศกรรมและเทคโนโลยีแห่งชาติ (BIOTEC) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ในการศึกษาครั้งนี้” เพ็ญศรี กล่าว ด้าน น.ส. อรอุมา ศุภศรี นักศึกษาปริญญาโทด้านแมลงน้ำและคุณภาพน้ำ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม สายวิชาวิทยาศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ได้ศึกษาการประยุกต์ใช้ตัวอ่อนแมลงหนอนปลอกน้ำในการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำ แต่การใช้ตัวอ่อนยังมีอุปสรรคเนื่องจากไม่สามารถจำแนกชนิดของตัวอ่อนแมลงหนอนปลอกน้ำได้ เพราะในช่วงตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของแมลงน้ำกลุ่มนี้มีลักษณะและถิ่นอาศัยแตกต่างกัน จึงได้ทำการศึกษาวิจัยความหลากชนิดของแมลงหนอนปลอกน้ำ ในบริเวณลุ่มน้ำแม่กลอง ภายใต้การสนับสนุนของโครงการ BRT อรอุมา กล่าวว่า ล่าสุดจากการเก็บตัวอย่างแมลงหนอนปลอกน้ำในบริเวณลุ่มน้ำแม่กลองตอนบน และตอนล่าง ระหว่างเดือนกันยายน 2552 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2553 พบแมลงแมลงหนอนปลอกน้ำทั้งสิ้น 69 ชนิด จาก 12 วงศ์ 30 สกุล สามารถเชื่อมโยงตัวอ่อนที่ไม่รู้จักชนิดกับตัวเต็มวัยที่ทราบชนิดแล้ว 11 ชนิด ซึ่งเป็นการช่วยเติมเต็มองค์ความรู้เกี่ยวกับตัวอ่อนแมลงหนอนปลอกน้ำ ที่ยังมีการศึกษาอยู่ไม่มากนักในประเทศไทย “ไม่เพียงการเชื่อมโยงชนิดของตัวอ่อนกับตัวเต็มวัยเท่านั้น แต่การสำรวจเก็บตัวอย่างครั้งนี้ ยังพบความผิดปกติของสัณฐานวิทยาของกลุ่มเหงือกในตัวอ่อนแมลงหนอนปลอกน้ำ โดยเกิดมีจุดดำขึ้นบนกลุ่มเหงือกและมีจำนวนเส้นเหงือกลดลง ทั้งนี้ ความผิดปกติดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับคุณภาพน้ำทางกายภาพและชีวภาพ เช่น ค่าการนำไฟฟ้า ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำ ค่าความเป็นด่างของน้ำ ปริมาณซัลเฟตที่ละลายอยู่ในน้ำ และปริมาณออร์โธฟอสเฟตที่ละลายอยู่ในน้ำ ซึ่งยังต้องมีการศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดลักษณะผิดปกติเหล่านี้ต่อไป” อรอุมา กล่าว นอกจากนี้ อรอุมา ยังได้กล่าวอีกว่า องค์ความรู้ในเรื่องของความหลากหลายของแมลงกลุ่มนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจงานทางด้านสิ่งแวดล้อม เพราะได้มีการประมวลความรู้ในเรื่องของการใช้ข้อมูลทางชีวภาพร่วมกับข้อมูลทางกายภาพและเคมีในการประเมินคุณภาพน้ำ และถ้ามีการทำงานอย่างต่อเนื่องทำให้เราทราบข้อมูลทางด้านกายภาพ เคมีและชีวภาพของแหล่งน้ำที่เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น ในอนาคตอาจจะนำไปใช้เป็นนโยบายในการตัดสินคุณภาพน้ำผิวดินสำหรับประเทศไทยได้บ้าง สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวตรวจสอบคุณภาพน้ำ+สิ่งแวดล้อมวันนี้

OR ยืนยันสถานีบริการ พีทีที สเตชั่น ตรวจสอบคุณภาพน้ำมันเข้มงวดตามมาตรฐานอย่างเคร่งครัด

หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR เปิดเผยว่า OR ให้ความสำคัญกับคุณภาพน้ำมันที่จำหน่ายให้ผู้บริโภคเป็นอย่างยิ่ง โดยมีระบบการควบคุมคุณภาพที่เข้มงวดและครอบคลุมทุกขั้นตอน ตั้งแต่การรับน้ำมันจากโรงกลั่น การขนส่ง การเก็บรักษา จนถึงการจ่ายให้กับลูกค้าเพื่อให้ผู้บริโภคที่มาเติมน้ำมัน ณ สถานีบริการ พีทีที สเตชั่น มั่นใจว่าจะได้รับน้ำมันที่มีคุณภาพ ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์ปรากฎในโซเชียลมีเดีย เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2568 เวลา 11:50 น. ลูกค้า

การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ห่วงใยประชาชนพ... กปภ. ตรวจเข้มคุมคุณภาพน้ำ 24 ชั่วโมงย้ำ ! น้ำประปาเชียงรายสะอาด ปลอดภัย มั่นใจได้ — การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ห่วงใยประชาชนพื้นที่จังหวัดเชียงราย กำชับ ก...

การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) เผยผลการดำเนิน... กปภ. เดินหน้าตรวจคุณภาพน้ำในโรงเรียนร่วมดูแลสุขภาพเยาวชนไทยอย่างต่อเนื่อง — การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) เผยผลการดำเนินโครงการ หลอมรวมใจ มอบน้ำใสสะอาดให้โรง...

ครบรสกับงาน "สถาปนิก'66" ที่กลับมาจัดอย่า... PRAPAT ยกนวัตกรรม "สระว่ายน้ำ" เปิดบูธงานสถาปนิก'66 เริ่ม 25-30 เม.ย.นี้! — ครบรสกับงาน "สถาปนิก'66" ที่กลับมาจัดอย่างยิ่งใหญ่กว่าทุกครั้งแน่นอน ภายใต้หัว...

นายสุราษฎร์ เจริญชัยสกุล ผู้อำนวยการสำนัก... กทม.ตรวจสอบคุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนเปิดประตูระบายน้ำเข้ามาถ่ายเทในคลองสายหลัก — นายสุราษฎร์ เจริญชัยสกุล ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม.กล่า...

ออสเตรเลียเปิดตัวระบบติดตามคุณภาพน้ำในรูปแบบ 'พยากรณ์อากาศ' ครั้งแรกของโลก

สำนักงานวิทยาศาสตร์แห่งชาติออสเตรเลีย (CSIRO) ได้ประกาศพันธกิจเพื่อนำเสนอระบบตรวจสอบคุณภาพน้ำจากพื้นดินสู่อวกาศเป็นครั้งแรกของโลก องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ประเมินว่า ประชากร 3 พันล้านคนอาจเสี่ยงเจอน้ำที่ไม่ปลอดภัย...

กอนช. รายงานผลคุณภาพน้ำรอบที่เกิดเหตุเพลิ... กอนช. แจ้งผลคุณภาพน้ำรอบหมิงตี้ฯ เฝ้าระวังคลองชวดลากข้าว หลังพบปนเปื้อนสไตรีน — กอนช. รายงานผลคุณภาพน้ำรอบที่เกิดเหตุเพลิงไหม้โรงงาน หมิงตี้ฯ จากตัวอย่างน...

มหาวิทยาลัยพะเยาได้การดำเนินงาน วางแผนการ... ม.พะเยา วางแผนการบริหารจัดการน้ำภายในมหาวิทยาลัย ควบคุมและตรวจสอบคุณภาพน้ำ ด้วยระบบ SCADA — มหาวิทยาลัยพะเยาได้การดำเนินงาน วางแผนการบริหารจัดการน้ำภายในม...

การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) เปิดตัวโครงการ... กปภ. เปิดตัว "อาสาประปาเพื่อปวงชน" สร้างเครือข่ายเยาวชนอาสาพิทักษ์น้ำ — การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) เปิดตัวโครงการ "อาสาประปาเพื่อปวงชน" สร้างจิตสำนึกที่ดี...

เร่งแก้ไขปัญหาน้ำเน่าในสวนลุมพินี/เตรียมแผนรองรับการปรับปรุงพื้นที่

นายวิรัตน์ มนัสสนิทวงศ์ รองผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม เปิดเผยตามที่ผู้มาใช้บริการสวนลุมพินี ขอให้ กทม. แก้ไขปัญหาน้ำเน่าเหม็นและกวดขันผู้ใช้บริการให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสวนสาธารณะ ว่า กทม....