บทบาทสมุนไพรจีนกับการต้านโรคมะเร็ง ช่วยเสริมผลการรักษาให้เต็มร้อย

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--24 พ.ค.--ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง

เมื่อพูดถึงยาจีน โดยทั่วไปอาจนึกถึงภาพถ้วยที่มีน้ำสีชาแก่ กลิ่นแรง รสขมฝาดเฝื่อน กลืนกินลำบาก จึงมีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่ไม่นิยมยาหม้อสมุนไพร ไม่ว่าจะเป็นสมุนไพรจีนหรือสมุนไพรไทย แต่ปัจจุบัน จากการพัฒนาไปของการแพทย์แผนจีน ผ่านการวิจัยค้นคว้าอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ในห้องทดลองและการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ ทำให้ยาสมุนไพรจีนมีความทันสมัย ได้รับการพัฒนาและผลิตออกมาในรูปแบบของยาเม็ด ยาผง ยาน้ำ ยาฉีด พลาสเตอร์ยา และครีมทาภายนอก เป็นต้น และมีผลที่ชัดเจนแน่นอนยิ่งขึ้น แพทย์จีน มาลิน ปิยะชินวรรณ ที่ปรึกษาสุขภาพโดยแพทย์ทางเลือก ได้กล่าวในงานสัมมนาวิชาการ “มะเร็งไม่น่ากลัวอย่างที่คิด” ซึ่งจัดขึ้นที่ อ.หาดใญ่ จ.สงขลา ว่า “ในประเทศจีน การบำรุงร่างกาย ตลอดจนรักษาโรคด้วยสมุนไพรมีประวัติอันยาวนานนับพันปี สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง การรักษาโดย การผ่าตัด ฉายแสง และเคมีบำบัด ถือเป็นการรักษาหลักที่มีความจำเป็น แพทย์แผนปัจจุบันจะให้คำปรึกษาและพิจารณาใช้การรักษาที่เหมาะสมในแต่ละบุคคล แต่ผลการรักษามักมีผลกระทบต่อร่างกาย อาทิ ทำให้เลือดลมและสมรรถภาพของระบบต่างๆ ในร่างกายถูกบั่นทอน ผู้ป่วยจะมีสุขภาพอ่อนแอ การนำสมุนไพรจีนมาเยียวยารักษาผู้ป่วยควบคู่กับการรักษาแผนปัจจุบัน จะให้ผลช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยแผนปัจจุบันแต่เพียงอย่างเดียว และสมุนไพรจีนยังช่วยลดความเจ็บปวดทรมานจากอาการโรคและจากผลข้างเคียงจากการรักษาได้เป็นอย่างดี เมื่อเซลล์มะเร็งถูกจู่โจมทำลายขณะเดียวกันระบบภูมิคุ้มกันได้ถูกเสริมสร้างขึ้นมาอีกครั้ง ทำให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูสุขภาพให้แข็งแรงได้เร็วยิ่งขึ้น” แพทย์จีนมาลิน กล่าวอีกว่า ตามหลักการของแพทย์จีนกล่าว มะเร็งเกิดจาก (1) การติดขัดของชี่ (2) เลือดคั่งจับเป็นก้อน (3) พิษร้อน (4) การอุดตันของเสมหะ ดังนั้นแพทย์จีนจึงยึดแนวทางการรักษาแบบองค์รวม รักษาสิ่งที่ดีไว้และขจัดของเสียที่เป็นพิษออกไป ปรับสมดุลของร่างกาย โดยแบ่งเป็น 4 แนวทางการรักษา คือ (1) ขับร้อนถอนพิษ (2) กระจายเลือดคั่งทำให้เลือดไหลเวียนได้คล่อง (3) ระงับปวด สลายก้อนเนื้อ (4) เสริมชี่ บำรุงเลือด โดยแพทย์แผนจีนอาศัยทฤษฎีข้างต้น ค้นคว้าจัดหาสมุนไพรจีนมาทำเป็นยาตำรับเพื่อดูแลร่างกายผู้ป่วยมะเร็งแบบองค์รวม ไม่ใช่มุ่งเน้นรักษาแต่ก้อนเนื้องอกในร่างกายผู้ป่วย เพราะถึงแม้เนื้องอกจะเกิดเฉพาะที่ แต่แท้จริงแล้วโรคเกิดเพราะร่างกายอ่อนแอ หรือมีอาการพร่อง การรักษาสาเหตุของโรคด้วยยาจีนจะไม่กระทบกระเทือนถึงสภาพร่างกายทั่วไปของผู้ป่วย ช่วยบรรเทาความทุกข์ทรมานที่ได้รับจากผลข้างเคียงของการรักษาแผนปัจจุบัน ในบางกรณียังช่วยเสริมผลการรักษาให้ได้ผลยิ่งขึ้น สมุนไพรจีนมีผลข้างเคียงน้อยมาก ช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น สุขภาพโดยรวมก็จะได้รับการปรับฟื้นฟูโดยเร็ว ด้าน ดร.ซุน หลิง เซี่ยน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านแพทย์แผนจีนเพื่อรักษาโรคมะเร็ง ของ Zhen-Guo Tumor Rehab Hospital เมืองจูไห่ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และเขายังเป็นแพทย์ที่ปรึกษาด้านการรักษามะเร็งโดยแพทย์ทางเลือก ที่ Wan-Hwa Chronic Disease Rehab Hospital กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า จากการค้นคว้าวิจัยบทบาทสมุนไพรจีนกับโรคมะเร็งในหลายๆ สถาบันทั้งในไต้หวัน ฮ่องกง และญี่ปุ่น อาทิ สถาบันจุลชีววิทยาภูมิคุ้มกัน คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน (NTU), สถาบันวิจัยโรคมะเร็ง สภาวิจัยแห่งชาติไต้หวัน, คณะแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยฮ่องกง (HKU), หน่วยงานกลางเพื่อการพัฒนายาในประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น พบประสิทธิผลของสมุนไพรจีนหลายด้าน ได้แก่ ช่วยปรับประสิทธิภาพภูมิคุ้มกัน ช่วยทำให้เกิดการตายของเซลล์มะเร็ง ยับยั้งเซลล์มะเร็งจากเส้นเลือดรุกรานเข้าสู่อวัยวะ ยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง ยับยั้งเส้นเลือดเลี้ยงมะเร็ง เปลี่ยนแปลงหน้าที่เซลล์มะเร็งไม่ให้แบ่งตัว ควบคุมวัฏจักรการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง ยับยั้งการส่งสัญญาณเข้าสู่เซลล์มะเร็งเพื่อไม่ให้เซลล์แบ่งตัว เพิ่มการตอบสนองของร่างกายต่อเคมีบำบัดและฉายรังสี ลดผลข้างเคียงของเคมีบำบัดและการฉายรังสี กำจัดเซลล์ต้นกำเนิดเซลล์มะเร็ง เพิ่มความอยากอาหารในผู้ป่วยมะเร็ง เป็นต้น ทั้งนี้ ดร.ซุน หลิง เซี่ยน แนะนำว่า การใช้สมุนไพรจีนสำหรับผู้ป่วยมะเร็งมีได้หลายกรณี อาทิ ผู้ที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการรักษา ผู้ที่ต้องการลดผลข้างเคียงจากการรักษาแผนปัจจุบัน ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่นหรือผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยที่ต้องการลดโอกาสการเกิดซ้ำของมะเร็ง หรือผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งซึ่งมีความเสี่ยงสูง เป็นต้น จากข้อดีและบทบาทของสมุนไพรจีน ในอนาคตอันใกล้นี้สมุนไพรจีนจะเป็นที่แพร่หลายและนำมาใช้ในการดูแลบำรุงสุขภาพ นำมาใช้ในการป้องกันและรักษาโรคกันมากยิ่งขึ้น เป็นทางเลือกที่สำคัญอีกสาขาหนึ่งของผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ต้องการข้อมูลงานวิจัยเกี่ยวกับบทบาทสมุนไพรจีนกับการต้านมะเร็ง สามารถขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง โทร. 0-2664-0078-9 หรือ www.siamca.com อีเมล์ [email protected] สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 026640078 ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง

ข่าวแพทย์แผนจีน+วิทยาศาสตร์วันนี้

นวดกระตุ้นน้ำนมคุณแม่ ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน

แพทย์จีนขอแนะนำการกดจุดกระตุ้นน้ำนม 2 จุด คือเส้าเจ๋อ (SI1) และ จู๋ซานหลี่ (ST36) โดยกดจุดละ 3-5 นาที วันละ 3 ครั้ง จุดเหล่านี้ช่วยบำรุงม้ามและกระเพาะอาหาร กระตุ้นการไหลเวียนของชี่และเลือดลดอาการปวดบวมและป้องกันการหยุดหลั่งน้ำนม การนวดกระตุ้นน้ำนม ควรทำตั้งแต่ก่อนคลอดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ควรทำซ้ำได้ทุกวันระหว่างให้นม เมื่อถึงเวลาให้นมหรือรู้สึกคัดเต้าควรให้นมทันที มิฉะนั้นอาจเกิดก้อนแข็ง ปวดบวมและน้ำนมไหลผิดปกติได้ แต่เมื่อใดที่ลูกน้อยเริ่มดูดนมแค่ข้างเดียวอาจเป็นสัญญาณว่าน้ำนมคุณ

ขี้หงุดหงิด ท้องผูก สิว นอนไม่หลับ ปวดหัว... ขี้หงุดหงิด ท้องผูก สิว นอนไม่หลับ ปวดหัว อาการเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันได้อย่างไร ? — ขี้หงุดหงิด ท้องผูก สิว นอนไม่หลับ ปวดหัว อาการเหล่านี้มีความสัมพัน...

จากมุมมองการแพทย์แผนจีน ภาวะเลือดออกผิดปก... 3 สาเหตุภาวะเลือดออกผิดปกติในช่วงตกไข่ — จากมุมมองการแพทย์แผนจีน ภาวะเลือดออกผิดปกติในช่วงตกไข่ มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอินและหยางในช่วงที่ไข่ตก...

คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียวให้การต้อนรับ... คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียวให้การต้อนรับ คณาจารย์และนักศึกษาจากสถานวิทยาลัยนครราชสีมา — คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียวให้การต้อนรับ คณาจารย์และนักศึกษาจากส...

ในปัจจุบัน ยาสมุนไพรจีน ถือเป็นอีกหนึ่งทา... ยาสมุนไพรจีนกับบทบาทในการรักษาอาการปวดและคลายกล้ามเนื้อ — ในปัจจุบัน ยาสมุนไพรจีน ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาอาการปวดและช่วยคลายกล้ามเนื้อ ซึ่งกำลัง...

คลินิกการประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนจี... โครงการอบรมและพัฒนาศักยภาพทางการแพทย์ ประจำปี 2568 ให้คำปรึกษาทางการแพทย์แผนกทุยหนาและกระดูก — คลินิกการประกอบโรคศิลปะ สาขาการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว จัดโครงก...

มีท่านใดที่ชอบดื่มเบียร์เพื่อผ่อนคลาย แก้... สูตรลับ ลดพุงยื่น จบอาการบวมเบียร์ ฉบับแพทย์แผนจีน — มีท่านใดที่ชอบดื่มเบียร์เพื่อผ่อนคลาย แก้เบื่อเหงา หรือเพื่อสังสรรค์ในทุกเทศกาลเป็นประจำกันบ้างมั้ย...