ทริสเรทติ้งคงอันดับเครดิตองค์กร “RATCH” ที่ “AA-/Stable” และคงอันดับ “RATCHGEN” และหุ้นกู้มีประกันที่ “AA/Stable”

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

กรุงเทพฯ--18 ก.พ.--ทริสเรทติ้ง

บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ประกาศคงอันดับเครดิตองค์กรของ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (RATCH) ที่ระดับ “AA-” ด้วยแนวโน้ม “Stable” หรือ “คงที่” โดยอันดับเครดิตสะท้อนถึงการที่บริษัทได้รับเงินปันผลที่แน่นอนและสม่ำเสมอจากบริษัทลูกซึ่งเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน (Independent Power Producer – IPP) คือ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด (RATCHGEN) และ บริษัท ไตร เอนเนอจี้ จำกัด (TECO) รวมถึงการลงทุนในโรงไฟฟ้าที่มีพื้นฐานดีอีกหลายแห่ง อันดับเครดิตยังสะท้อนถึงความแข็งแกร่งของงบดุลและแผนการขยายการลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าและโครงการที่เกี่ยวข้องกับโรงไฟฟ้าในประเทศลาวด้วย อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประทศ (GDP) ที่เติบโตต่ำกว่าประมาณการอาจส่งผลทำให้ต้องมีการปรับลดแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (PDP) ตามความต้องการใช้ไฟฟ้าที่ลดลง และอาจทำให้โครงการไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างการพัฒนาต้องเลื่อนออกไป ในขณะที่แนวโน้มอันดับเครดิต “Stable” หรือ “คงที่” ของ RATCH สะท้อนถึงความคาดหมายว่าบริษัทจะมีรายได้เงินปันผลที่แน่นอนจาก RATCHGEN และจากการลงทุนในโรงไฟฟ้าอื่นๆ โดยที่รายได้เงินปันผลปีละ 4,000-5,000 ล้านบาทจะช่วยให้บริษัทสามารถลงทุนในโครงการส่วนใหญ่โดยใช้กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน และยังสามารถรักษาความแข็งแกร่งทางการเงินเอาไว้ได้ ในเวลาเดียวกัน ทริสเรทติ้งยังประกาศคงอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้มีประกันของ RATCHGEN ที่ระดับ “AA” ด้วยแนวโน้ม “Stable” หรือ “คงที่” โดยอันดับเครดิตสะท้อนถึงกระแสเงินสดที่แน่นอนจากโรงไฟฟ้าราชบุรีซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าที่มีโครงสร้างพื้นฐานแข็งแกร่งและมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ตลอดจนประสบการณ์ที่ยาวนาน และผลงานในการบริหารโรงไฟฟ้าที่ได้รับการยอมรับ การมีโรงไฟฟ้าใหม่เกิดขึ้นและความต้องการใช้ไฟฟ้าที่ลดลงส่งผลให้โรงไฟฟ้าราชบุรีมีระดับการจ่ายกระแสไฟฟ้าที่ลดลง แต่มีผลกระทบต่อกระแสเงินสดของบริษัทเพียงเล็ก น้อย ส่วนแนวโน้มอันดับเครดิต “Stable” หรือ “คงที่” สะท้อนความคาดหมายของทริสเรทติ้งว่า RATCHGEN จะยังคงได้รับกระแสเงินสดที่แน่นอนจากรายได้ค่าไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าราชบุรี นอกจากนี้ ยังคาดว่าโรงไฟฟ้าย่อยต่างๆ จะยังคงดำรงความพร้อมจ่ายและการดำเนินงานให้สอดคล้องกับสัญญาซื้อขายไฟฟ้าได้ต่อไป ทริสเรทติ้งรายงานว่า RATCH ก่อตั้งในปี 2543 ในรูปของบริษัทโฮลดิ้งเพื่อซื้อโรงไฟฟ้าราชบุรีจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ณ เดือนกันยายน 2552 ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ RATCH ยังคงเป็น กฟผ. ซึ่งถือหุ้นในสัดส่วน 45% รองลงมาได้แก่กลุ่มบ้านปู 14.99% ปัจจุบันธุรกิจผลิตไฟฟ้าของบริษัทประกอบด้วยโรงไฟฟ้าที่เปิดดำเนินการแล้วจำนวน 4 แห่ง ซึ่งมีกำลังการผลิตรวม 4,347 เมกะวัตต์ และมีมูลค่าการลงทุนรวมทั้งสิ้น 21,970 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2552 ในปี 2552 บริษัทมีรายได้เงินปันผลจำนวน 5,921 ล้านบาทจากการลงทุนในโรงไฟฟ้าหลายแห่ง โดย RATCHGEN ยังคงเป็นผู้ส่งเงินปันผลมากที่สุดในสัดส่วน 96% ของรายได้เงินปันผลรวม นอกจากนี้ บริษัท ราชบุรีเพาเวอร์ จำกัด (RPCL) ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนอีกรายหนึ่งในโครงการ IPP ของ RATCH ก็สามารถขายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2551 และรายงานกำไรสุทธิจำนวน 3,622 ล้านบาทในปี 2552 เทียบกับ 2,573 ล้านบาทในปี 2551 จึงคาดว่า RPCL จะสามารถจ่ายเงินปันผลประมาณ 350-700 ล้านบาทต่อปีให้แก่ RATCH ตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นไป ดังนั้น บริษัทจะมีเงินปันผลจาก RPCL ในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นเป็น 15% ของรายได้เงินปันผลรวมในอนาคต ทริสเรทติ้งกล่าวถึงโครงการหงสาว่าเป็นโครงการร่วมทุนระหว่าง RATCH กับ บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด และ Lao Holding State Enterprise โครงการดังกล่าวมีความคืบหน้าอย่างดีตามลำดับ พื้นที่โครงการตั้งอยู่ในประเทศลาวโดยประกอบด้วยโรงไฟฟ้าถ่านหินลิกไนต์ขนาด 1,878 เมกะวัตต์และเหมืองถ่านหินลิกไนต์ 1 แห่ง บริษัทได้ลงนามบันทึกความเข้าใจเรื่องอัตราค่าไฟฟ้า (Tariff MOU) กับ กฟผ. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2552 และได้รับสัญญาสัมปทานในการผลิตไฟฟ้าและทำเหมืองถ่านหินจากรัฐบาลลาวเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2552 ทั้งนี้ คาดว่าโครงการจะเริ่มก่อสร้างได้ในปลายปี 2553 และมีเป้าหมายดำเนินการเชิงพาณิชย์ในปี 2558 RATCH มีนโยบายการลงทุนที่ระมัดระวัง โครงการลงทุนในโรงไฟฟ้าของบริษัทล้วนมีสัญญาขายไฟฟ้า (Power Purchase Agreement -- PPA) ระยะยาวกับ กฟผ. ทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการเติบโตของ GDP และปริมาณการใช้ไฟฟ้าในประเทศไทยลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ จึงทำให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ต้องทบทวนแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยเพื่อให้สะท้อนสถานการณ์เศรษฐกิจและความต้องการใช้ไฟฟ้าในปัจจุบัน ซึ่งอาจมีผลทำให้โอกาสในการขยายการลงทุนในธุรกิจไฟฟ้าในประเทศไทยลดลง บริษัทจึงมีแผนลงทุนในธุรกิจไฟฟ้าและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศเพื่อให้บริษัทเติบโตได้ตามเป้าหมาย สำหรับ RATCHGEN นั้น ทริสเรทติ้งกล่าวว่าเป็นบริษัทลูกที่ถือหุ้นทั้งหมดโดย RATCH และ RATCH เป็นบริษัทที่ถือหุ้น 45% โดย กฟผ. RATCHGEN เป็นบริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โรงไฟฟ้าราชบุรีประกอบด้วยหน่วยผลิตไฟฟ้าพลังความร้อน 2 หน่วย และหน่วยผลิตไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (CCGT) 3 หน่วย คิดเป็นกำลังการผลิตติดตั้งรวมทั้งสิ้น 3,645 เมกะวัตต์ หรือเท่ากับ 12.5% ของกำลังการผลิตติดตั้งรวมของประเทศ ณ เดือนธันวาคม 2552 ปัจจุบันบริษัทขายไฟฟ้าให้แก่ กฟผ. ภายใต้สัญญาซื้อไฟฟ้า (Power Purchase Agreement -- PPA) ระยะเวลา 25 ปี และซื้อก๊าซธรรมชาติจาก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)(ปตท.) ภายใต้สัญญาขายก๊าซธรรมชาติ (Gas Sales Agreement -- GSA) ระยะเวลา 25 ปี ในปี 2552 โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมในโรงไฟฟ้าราชบุรียังคงดำเนินงานดีกว่าเป้าหมาย โดยสามารถดำรงค่าความพร้อมจ่ายเฉลี่ยที่ระดับ 87.4% และค่าอัตราความร้อนในการผลิตไฟฟ้าที่ระดับ 7,214 บีทียูต่อหน่วย (BTU/kWh) ในขณะที่โรงไฟฟ้าพลังความร้อนสามารถดำรงค่าความพร้อมจ่ายให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกันที่ 87.2% ด้วยอัตราความร้อนในการผลิตไฟฟ้าที่ 10,071 บีทียูต่อหน่วย อย่างไรก็ตาม ปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้าสุทธิในปี 2552 ลดลง 25% เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยอยู่ที่ระดับ 12,298 ล้านหน่วย (GWh) จากสาเหตุที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าโดยรวมของประเทศลดลงและ กฟผ. เรียกสั่งจ่ายไฟลดลงเนื่องจากมีโรงไฟฟ้าใหม่เข้ามาในระบบ อย่างไรก็ตาม การลดลงดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อกำไรสุทธิของบริษัทเนื่องจากกำไรสุทธิส่วนใหญ่เกิดจากรายได้ค่าความพร้อมจ่ายไฟฟ้า (Availability Payment -- AP) ในปี 2552 RATCHGEN มีรายได้จากการขายไฟฟ้าลดลง 16% คิดเป็น 35,313 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากรายได้ค่าพลังงานไฟฟ้า (Energy Payment – EP) ที่ลดลง 24% เนื่องจาก กฟผ. ลดการสั่งจ่ายไฟฟ้าลง 25% อย่างไรก็ตาม ค่า AP เพิ่มขึ้น 2% ตามความพร้อมจ่ายของโรงไฟฟ้าที่สูงกว่าเป้าหมาย กำไรสุทธิของ RATCHGEN ในปี 2552 สามารถดำรงอยู่ที่ระดับ 5,015 ล้านบาทโดยมีอัตราส่วนกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายต่อดอกเบี้ยจ่ายเพิ่มขึ้นจาก 7.6 เท่าในปี 2551 เป็น 11.1 เท่าในปี 2552 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความสำเร็จในการเจรจาลดอัตราดอกเบี้ยในปี 2552 ในขณะที่อัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้ที่ไม่รวมส่วนเปลี่ยนแปลงของบัญชีเงินสำรองเพื่อการชำระหนี้และเงินทุนหมุนเวียนอยู่ที่ระดับ 2.1 เท่า ณ เดือนธันวาคม 2552 ทริสเรทติ้ง กล่าว บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (RATCH) อันดับเครดิตองค์กร: คงเดิมที่ AA- แนวโน้มอันดับเครดิต: Stable บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด (RATCHGEN) อันดับเครดิตองค์กร: คงเดิมที่ AA อันดับเครดิตตราสารหนี้: RG106A: หุ้นกู้มีประกัน 3,000 ล้านบาท ไถ่ถอนภายในปี 2553 คงเดิมที่ AA แนวโน้มอันดับเครดิต: Stable

ข่าวผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง+ผลิตไฟฟ้าราชบุรีวันนี้

ราช กรุ๊ป ประกาศกำไรไตรมาสแรก 1,741 ล้านบาท เตรียมรับรู้รายได้โครงการเบิกไพรโคเจนเนอเรชั่นในไตรมาส 2

บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (ชื่อเดิมบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)) รายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 1 ปี 2562 มีกำไรจำนวน 1,741 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 54.6% จากงวดเดียวกันของปี 2561 ซึ่งเป็นผลจากรายได้รวมที่เพิ่มขึ้นและกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ บริษัทฯ จะเริ่มรับรู้รายได้ส่วนแบ่งกำไร จากโครงการโรงไฟฟ้าเบิกไพรโคเจนเนอเรชั่น ซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้น 35% ในเดือนมิถุนายน ศกนี้ นายกิจจา ศรีพัฑฒางกุระ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานใน

ราชบุรีโฮลดิ้ง เตรียมก่อสร้างโครงการพลังงานลม 226.8 เมกะวัตต์ ในออสเตรเลีย หลังปิดดีลเงินกู้ 179 ล้านเหรียญออสเตรเลีย มั่นใจเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ปี 2563

บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม Collector กำลังผลิตติดตั้งประมาณ 226.8 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ในรัฐนิว...

นางปรีญาภรณ์ ตั้งเผ่าศักดิ์ (ที่ 2 จากซ้า... ภาพข่าว: “ALT” แท็คทีม “RATCH” ร่วมทุนโครงการโครงข่ายเคเบิ้ลใยแก้วนำแสงใต้ดิน — นางปรีญาภรณ์ ตั้งเผ่าศักดิ์ (ที่ 2 จากซ้าย) กรรมการผู้อำนวยการ นายสมบุญ เศ...

"เอแอลที เทเลคอม" ลงนามร่วมกับ "ผลิตไฟฟ้า... “ALT” แท็คทีม “RATCH” เพื่อร่วมทุนโครงการโครงข่ายเคเบิ้ลใยแก้วนำแสงใต้ดิน — "เอแอลที เทเลคอม" ลงนามร่วมกับ "ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง" เพื่อร่วมทุนโครงการโค...

บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหา... ราชบุรีโฮลดิ้ง มุ่งมั่นสานต่องานส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการเยาวชนนนทบุรี — บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ยังคงมุ่งมั่นสานต่อโครงการ "@Ca...

การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย และความคืบหน้าการประเมินสาเหตุปัญหา

บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ขอชี้แจงให้ทราบว่า ภารกิจสำคัญของบริษัทฯ ในขณะนี้ ยังมุ่งเน้นที่การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในแขวงจำปาสัก และแขวงอัตตะปือ สปป.ลาว อย่างต่อเนื่อง บริษัทฯ ได้จัดสรรทรัพยากรอย่างเต็มกำลัง...

การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยกรณีเขื่อนดินย่อย โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเซเปียน-เซน้ำน้อย เกิดการทรุดตัว

บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบและครอบครัวจากเหตุการณ์เขื่อนดินย่อยส่วน D ของโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเซเปียน เซน้ำน้อย ตั้งอยู่ใน...