ยูบีเอ็ม เอเชีย ประเทศไทย โหมโรง จัดงานเสวนา อาฟต้า-วิกฤต หรือโอกาส ชิมลางก่อนถึงงานอินเตอร์แมค 2010 และงานซับคอน ไทยแลนด์ 2010

29 Mar 2010

กรุงเทพฯ--29 มี.ค.--ยูบีเอ็ม เอเชีย

บริษัท ยูบีเอ็ม เอเชีย(ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับ สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม สมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย สมาคมอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย และสมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย และสมาคมที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เปิดประเดิมจัดเสวนา ในหัวข้อ อาฟต้า-วิกฤต หรือโอกาส ชิมลางก่อนถึงงานอินเตอร์แมคงานแสดงเทคโนโลยีเครื่องจักรกลแห่งเอเชียและงานซับคอนไทยแลนด์-งานแสดงอุตสาหกรรมรับช่วงการผลิตเพื่อการจัดซื้อชิ้นส่วน ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 13-16 พฤษภาคมศกนี้ จุดประสงค์ของงานเสวนาครั้งนี้เพื่อให้ความรู้แก่กลุ่มผู้ผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย หลังจากที่ภาครัฐได้เปิดเขตการค้าเสรีหรืออาฟต้าเมื่อวันที่ 1 มกราคม2553 ที่ผ่านมา ภายในงานมีผู้คร่ำหวอดในแวดวงธุรกิจยานยนต์ร่วมเสวนาในเรื่องการเปิดเสรีการค้าในกลุ่มรถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ไทย โดยมีผู้สนใจในแวดวงธุรกิจยานยนต์เข้าร่วมฟังอย่างคับคั่ง ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

นายประสาทศิลป์ อ่อนอรรถ นายกสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย กล่าวว่า หลังจากที่ประเทศไทยเปิดการค้าเสรี อาฟต้า ขึ้นบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยสามารถเติบโตได้ใน ตลาดสากลเพราะที่ผ่านมาประเทศไทยมีบุคคลากรที่มีทักษะที่ดี เมื่อเทียบกับประเทศอาเซียนด้วยกัน แต่อาจจะต้องตั้งรับให้ทันกับสิ่งที่จะตามมาในอุตสาหกรรมยานยนต์โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ผลิตรถยนต์จะมีโอกาสได้รับประโยชน์มากจาก อาฟต้า ที่จะมาถึงแต่ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย ต้องตั้งแผนรองรับสำหรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเพราะประเทศไทยไม่มีวัตถุดิบหรือเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง และในส่วนของภาคอุตสาหกรรมเสนอว่าภาครัฐควรจะเข้ามาเติมจุดอ่อนและปรับจุดแข็งให้กับอุตสาหกรรมนี้ ซึ่งจะทำให้มั่นใจได้ว่าภาคอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยสามารถเติบโตได้ในตลาดสากลอย่างแน่นอน

นายวิโรจน์ ศิริธนาศาสตร์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย แสดงความคิดเห็นว่าเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมของไทยมีการเจริญเติบโตมาด้วย SMEs และประเทศไทยมีโอกาสที่จะช่วยส่งเสริมให้อุตสาหกรรม แม่พิมพ์ไทยได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวอีกครั้งเพราะเชื่อว่าผู้ประกอบการจะสามารถกำหนดทิศทางของ อุตสาหกรรมนี้ได้เนื่องจากว่า การผลิตในแต่ละประเทศของภูมิภาคอาเซียนมีความโดดเด่นต่างกันและยังเชื่อว่า การที่ประเทศไทยเปิดการค้าเสรี อาฟต้า จะทำให้บริษัทผู้ผลิตรถยนต์จากประเทศญี่ปุ่นและผู้ผลิตราย ใหญ่ของโลกมีโอกาสปรับกลยุทธ์การผลิตและการทำตลาดโดยเฉพาะการเลือกวางตำแหน่งฐานการ ผลิตรถยนต์ประเภทต่างๆ

ทั้งนี้เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกของภาษีการส่งออกและนำเข้าสินค้าให้กับผู้ประกอบการอีกด้วย ผมเชื่อมั่นว่าอนาคตชิ้นส่วนยานยนต์ไทยมีโอกาสขยายฐานการส่งออกสู่ภูมิภาคอาเซียนเพิ่มขึ้นและสามารถ สร้างผลกำไรให้กับบริษัทได้ขณะเดียวกันประเทศไทยมีจุดแข็งที่ค่อนข้างโดดเด่น นายวิโรจน์กล่าวเพิ่มเติม

อย่างไรก็ตาม นายสรรชาย นุ่มบุญนำ ผู้อำนวยการโครงการจัดงานอินเตอร์แมค และงานซับคอน ไทยแลนด์ กล่าวเพิ่มเติมว่าปี 2553 ประเทศไทยในฐานะที่เป็นประเทศผู้ผลิตสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค เนื่องจากมีจุดแข็งที่โดดเด่นหลายประการเช่นการตั้งอยู่ในตำแหน่งศูนย์กลางของภูมิภาคขนาดตลาดที่ใหญ่การมีเครือข่ายผู้ผลิตชิ้นส่วนจำนวนมากที่มีความพร้อมรวมถึงความสามารถด้านการผลิตจนเป็นที่ยอมรับก็นับได้ว่าประเทศไทยเป็น อุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศอีกอุตสาหกรรมหนึ่งจึงควรได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจาก ภาครัฐ

นายสรรชายทิ้งท้ายกว่า การจัดเสวนาเรื่อง อาฟต้า วิกฤต-หรือโอกาส? ในครั้งนี้เป็นเพียงการเปิดประเดิมการจุดประกายปฐมบทของการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับอาฟต้า เท่านั้น สำหรับภาคต่อของการเสวนาครั้งนี้จะมีขึ้นอีกครั้งอย่างเข้มข้นในวันแรกของวันเปิดงานอินเตอร์แมค 2010 และงาน Subcon Thailand คือวันที่ 13 พฤษภาคม ศกนี้ และขอเชิญร่วมชมงานแสดงสินค้า พร้อมการเปิดตัวนวัตกรรมใหม่ๆเพื่อการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์จากบริษัทชั้นนำทั่วประเทศมาร่วมแสดงในงาน เพื่อนักอุตสาหกรรมไทยนอกจากนี้ภายในงานแสดงสินค้ายังมีกิจกรรมมากมาย ได้ตั้งแต่วันที่ 13 - 16 พฤษภาคม ศกนี้ ณ ไบเทคบางนา