ข้อมูลใหม่ล่าสุดยืนยันยา Valdoxan(R) มีประสิทธิภาพโดดเด่นในการรักษาโรคซึมเศร้า

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

อัมสเตอร์ดัม--1 ก.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์ – เอเชียเน็ท / อินโฟเควสท์


ข้อมูลใหม่ล่าสุดที่ได้รับการเปิดเผยในวันนี้ที่การประชุมระดับนานาชาติโดยผู้เชี่ยวชาญการใช้ยาและเภสัชวิทยาที่เกี่ยวกับผลของยาต่อโรคจิตและประสาทแห่งยุโรปครั้งที่ 23 (23rd European College of Neuropsychopharmacology หรือ ECNP) บ่งชี้ว่า ยา Valdoxan(R)/Thymanax(R) (agomelatine) มีประสิทธิภาพมากกว่ายาต้านอาการซึมเศร้ากลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitor (SSRI) และยากลุ่ม serotonin noradrenaline reuptake inhibitor (SNRI)

สามารถชมข่าวประชาสัมพันธ์ในรูปแบบมัลติมีเดียได้ที่

http://multivu.prnewswire.com/mnr/prne/valdoxan/44196/

ข้อมูลใหม่ล่าสุดนี้เป็นสิ่งที่เน้นย้ำให้เห็นถึงประสิทธิภาพทางคลินิกอันโดดเด่นของยา Valdoxan(R) หลังจากที่ผ่านการยืนยันมาแล้วว่าสามารถช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นได้อย่างมากและต่อเนื่องตั้งแต่วันแรกที่รับยา โดยช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวจากอาการซึมเศร้าได้จริงและยังช่วยป้องกันไม่ให้กลับไปซึมเศร้าอีกครั้งด้วย [1],[2],[3]

ข้อมูลใหม่ [4]

ข้อมูลดังกล่าวได้มาจากการวิเคราะห์ข้อมูลรวมจากศูนย์วิจัยมัลติเซ็นเตอร์ 4 แห่ง ซึ่งได้จากการทดลองแบบสุ่ม ปิดสองทาง มีกลุ่มคู่ขนาน และทดลองในหลายประเทศ ในผู้ป่วยนอกที่เป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งในการศึกษาของศูนย์แต่ละแห่งพบว่ายา agomelatine มีประสิทธิภาพโดดเด่นที่ช่วยพัฒนาการรักษาโรคซึมเศร้าให้ดีขึ้น

ยา agomelatine ถูกนำไปเปรียบเทียบแบบตัวต่อตัวกับยาต้านอาการซึมเศร้ากลุ่ม SSRI (sertraline 50-100 mg, escitalopram 10-20 mg หรือ fluoxetine 20-40 mg) และยากลุ่ม SNRI (venlafaxine 75-150 mg) หลังผ่านการใช้ยาไปแล้ว 6-8 สัปดาห์ จากนั้นมีการวัดประสิทธิภาพของยาโดยใช้การวัดระดับความรุนแรงของอาการซึมเศร้าตามมาตรฐาน HAM-D17 ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลรวมของผู้ป่วย 643 คนที่ได้รับการรักษาด้วยยา agomelatine และผู้ป่วย 657 คนที่ได้รับยา SSRI/SNRI แบบสุ่ม

ผลการทดสอบพบว่ายา agomelatine มีประสิทธิภาพในการต้านอาการซึมเศร้ามากกว่ายา SSRI และ SNRI อย่างมีนัยสำคัญ ทั้งในการวัดคะแนนมาตรฐาน HAM-D17 และวัดเป็นเปอร์เซ็นต์ โดยตลอดเวลาการรักษาพบว่ายา agomelatine (p<0.001) ทำให้ระดับความรุนแรงของอาการซึมเศร้าเหลือเพียง 1.37 คะแนน ส่วนเมื่อวัดเป็นเปอร์เซ็นต์พบว่าจำนวนผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีอาการดีขึ้น 50% ขึ้นไปมีคะแนน HAM-D17 ลดลง โดยสรุปรวมแล้ว ผู้ป่วย 71.75% มีการตอบสนองที่ดีต่อยา agomelatine เทียบกับ 64.52% ที่ตอบสนองต่อยา SSRIs/SNRI ซึ่งเป็นนัยสำคัญทางสถิติที่แสดงให้เห็นว่ายา agomelatine ( p="0.005)" มีประสิทธิภาพมากกว่า

“ข้อมูลใหม่นี้เน้นย้ำถึงประสิทธิภาพของยา Valdoxan ในการรักษาโรคซึมเศร้า แม้ว่าจะมีอาการรุนแรงมากก็ตาม” ศจ.ซิกฟรีด แคสเปอร์ (Siegfried Kasper) จากแผนกจิตเวชและจิตบำบัด โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย กล่าว “ประสิทธิภาพอันยอดเยี่ยมในการต้านอาการซึมเศร้า ประกอบกับกลไกการทำงานของยาที่โดดเด่นและไม่เคยมีมาก่อน ส่งผลให้ยา Valdoxan(R) เป็นนวัตกรรมการรักษาที่แปลกใหม่และน่าตื่นเต้นสำหรับบรรดาผู้ป่วยโรคซึมเศร้า”

ในผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าขั้นรุนแรง ยา agomelatine ก็แสดงให้เห็นว่ามีประสิทธิภาพในการรักษามากกว่ายาต้านอาการซึมเศร้ากลุ่ม SSRI และ SNRI เช่นกัน สำหรับผู้ที่เข้าร่วมการทดสอบนี้เป็นผู้ป่วย 1,013 คน (รับยา agomelatine จำนวน 499 คน และรับยา SSRIs/SNRIs จำนวน 514 คน) ที่มีคะแนนทดสอบ HAM-D17 เท่ากับหรือสูงกว่า 25 คะแนน และเป็นอีกครั้งที่ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่ายา agomelatine มีประสิทธิภาพในการต้านอาการซึมเศร้าดีกว่ายากลุ่ม SSRIs/SNRIs อย่างมีนัยสำคัญ ดูได้จากกลุ่มที่รับยา agomelatine (p=0.014) ซึ่งมีคะแนน HAM-D17 ดีกว่า และมีเปอร์เซ็นต์ของผู้ที่ตอบสนองต่อยาดีกว่า (71.54% ต่อ 65.29%, p=0.005)

ผู้ป่วยให้ร่วมมือในการรักษามากขึ้น [5]

ประสิทธิภาพทางคลินิกของยา agomelatine ทำให้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการรักษามากขึ้น โดยผู้ป่วยกินยาอย่างต่อเนื่องตามที่แพทย์สั่ง การให้ความร่วมมือในการรักษาถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้การรักษาด้วยยาต้านอาการซึมเศร้ามีประสิทธิภาพสูงสุด หลักฐานข้อมูลที่บ่งชี้ว่าผู้ป่วยให้ความร่วมมือมากขึ้นคือ การที่ผู้ป่วยที่ได้รับยา agomelatine ถอนตัวจากการทดสอบเพราะเกิดผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์ น้อยกว่า (6.3%) เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่ม SSRIs/SNRI (10.5%) (p=0.0058)

ยา Valdoxan(R): ความก้าวหน้าครั้งสำคัญด้านการรักษาโรคซึมเศร้า

“แม้ว่าเราจะสามารถรักษาโรคซึมเศร้าของผู้ป่วยมาได้เป็นจำนวนมาก แต่ทว่าในปัจจุบัน ยังมีผู้ป่วยอีกหลายคนที่ไม่ได้รับการรักษา” ศาสตราจารย์เรย์มอนด์ แลม (Raymond Lam) จากแผนกจิตเวชของมหาวิทยาลัยบริติช โคลัมเบีย ในแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา กล่าว “ยา Valdoxan ถือเป็นยาตัวใหม่ที่ให้ผลในการรักษาโรคร้ายได้ตรงตามเป้าหมาย และเป็นยาต้านโรคซึมเศร้าตัวแรกที่ออกฤทธิ์โดยตรงต่อระบบ melatonergic บนตัวรับ MT1 และ MT2 และระบบเซโรโทนิน บนตัวรับ 5-HT2C โดยไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อระดับเซโรโทนินในสมองของผู้ป่วย”

ยา Valdoxan(R) เป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากความก้าวหน้าในการวิจัยด้านเภสัชวิทยาของศูนย์วิจัยทั่วโลก และเป็นยาต้านอาการซึมเศร้าตัวแรกที่ทำหน้าที่เปรียบเสมือนตัวรับ MT1 และ MT2 melatonergic receptors agonist และตัวต้าน 5-HT2C antagonist พร้อมๆกัน ซึ่งทำให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสามารถปรับรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันที่ยุ่งเหยิงแบบฝังรากลึกให้ดีขึ้นได้ ดังนั้น ยาดังกล่าวจึงเป็นเสมือนนวัตกรรมใหม่สำหรับแนวทางการรักษาโรคซึมเศร้า[6],[7]

ทั้งนี้ ยา Valdoxan(R) คิดค้นและพัฒนาโดยเซอร์เวียร์ บริษัทวิจัยและพัฒนายาชั้นนำของฝรั่งเศส และยา Valdoxan(R) ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายในสหภาพยุโรปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2552 ปัจจุบันยาตัวนี้มีวางจำหน่ายเพื่อใช้เป็นยารักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในหลายประเทศทั่วโลก

หมายเหตุถึงบรรณาธิการ

โครงการพัฒนาระดับนานาชาติสำหรับยา Valdoxan(R)

การทดสอบหลายต่อหลายครั้งในโครงการพัฒนาระดับนานาชาติได้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่เหนือกว่าของยา Valdoxan(R) ในการรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้า (MDD) เมื่อเทียบกับการใช้ยาหลอก (ยาที่มีผลทางจิตใจแต่ไม่มีฤทธิ์ในการรักษา) ในกลุ่ม SSRIs และ SNRI

ผลการศึกษาประสิทธิภาพของยา Valdoxan(R) มีดังต่อไปนี้:

- ยาดังกล่าวมีประสิทธิภาพในการรักษาดีกว่ายาต้านอาการซึมเศร้าทั่วไปในทุกขั้นตอนการรักษา โดยผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีอาการดีขึ้นตั้งแต่สัปดาห์แรกของการรักษา ไม่ว่าผู้ป่วยจะมีความรุนแรงของอาการมากน้อยแค่ไหนก็ตาม [1],[2],[8]

- ยาดังกล่าวช่วยลดโอกาสที่ผู้ป่วยจะกลับมาเป็นโรคซึมเศร้าซ้ำได้ในระยะยาว[1]

- ยาดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของฮอร์โมนเพศ และไม่มีผลรบกวนสมรรถนะทางเพศ ซึ่งผู้ป่วยสามารถทนต่อฤทธิ์ยาได้ดีขึ้น ดังนั้น ยานี้จึงเป็นที่พึงพอใจของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า[5],[9]

- ยาดังกล่าวสามารถนำไปใช้ในการรักษาได้ง่าย เพียงทานยาขนาด 25 มิลลิกรัม วันละ 1 เม็ดก่อนนอน ผู้ป่วยจะไม่กลับมามีอาการอีกเมื่อสิ้นสุดการรักษา[5],[10],[11]

โรคซึมเศร้า (MDD)

โรคซึมเศร้า หรือ MDD เป็นอาการบกพร่องทางจิตที่พบได้บ่อย ด้วยจำนวนผู้ป่วยที่มีอยู่กว่า 121 ล้านคนทั่วโลก ถึงกระนั้นโรคซึมเศร้ายังป็นโรคที่ไม่ค่อยได้รับการวินิจฉัยหรือรักษามากเท่าที่ควร[12] ปัจจุบันในยุโรปมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามากถึง 60 ล้านคน และราว 33.4 ล้านคนจากทั้งหมดเป็นโรคซึมเศร้าขั้นรุนแรง[13] โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่า โรคซึมเศร้าเป็นสาเหตุหลักอันดับ 4 ที่ทำให้ผู้ป่วยกลายเป็นผู้ไร้สมรรถภาพ และคาดว่าภายในปี พ.ศ.2563 โรคซึมเศร้าจะแซงขึ้นมาเป็นอันดับ 2 รองจากโรคหัวใจเท่านั้น ทั้งนี้ สำหรับผู้ป่วยหลายคน โรคซึมเศร้าเป็นโรคเรื้อรังและกำเริบใหม่ได้ โดยเกือบ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้ายังคงมีอาการซึมเศร้าหลังเวลาผ่านไป 1 ปี และกว่า 10% ยังมีอาการซึมเศร้าแม้เวลาจะผ่านไปแล้วถึง 5 ปี นอกจากนั้นกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่มีอาการดีขึ้นแล้วจะกลับมามีอาการซึมเศร้าได้อีก[14]

เอกสารอ้างอิง

---------------------------------

[1] Goodwin G et al, Agomelatine Prevents Relapse in Patients

with Major Depressive Disorder Without Evidence of a Discontinuation
Syndromw: A 24-Week Randomized, Double-Blind, Placebo-Controlled Trial. J.
Clin. Psychiatry. 2009;70(8):1128-1137

[2] Stahl SM, Fava M, Trivedi MH, Caputo A, Shah A, Post A. Agomelatine

in the Treatment of Major Depressive Disorder: An 8-Week, Multicenter,
Randomized, Placebo-Controlled Trial J. Clin. Psychiatry. 2010;71(5):616-626

[3] Lemoine P, Guilleminault C, Alvarez E. Improvement in Subjective

Sleep in Major Depressive Disorder With a Novel Antidepressant, Agomelatine:
Randomized, Double-Blind Comparison With Venlafaxine. J. Clin. Psychiatry.
2007;68:1723-1732

[4] Kasper S, Hale A, Lemoine P, Quera Salva MA. Superior efficacy

results of agomelatine in pooled analysis versus SSRI/SNRI. Abstract ECNP
2010

[5] Kennedy S, Rizvi S. Agomelatine in the treatment of major depressive

disorder: potential for clinical effectiveness. CNS Drugs 2010 Review
Article.

[6] Leproult R, Van Ondergergen A, L'Hermite-Baleriaux M, Van Cautert E,

Copinschi G. Clin. Endocrinol. 2005;63:298-304

[7] Hale A, Corral R, Mencacci O, Saiz Ruiz J, Severo A, Gentil V.

Superior efficacy of agomelatine vs fluoxetine in severe MDD patients: a
randomised, double-blind study. J. Eur. College of Neuropsychopharmacol.
2009;19(suppl 3):S418

[8] Kasper S et al. Efficacy of the Novel Antidepressant Agomelatine on

the Circadian Rest-Activity Cycle and Depressive and Anxiety Symptoms in
Patients with Major Depressive Disorder: A Randomized, Double-Blind
Comparison with Sertraline. J. Clin. Psychiatry. 2010;71(2):109-120

[9] Kennedy SH, Rizvi S, Fulton K, Rasmussen J. A Double-Blind Comparison

of Sexual Functioning, Antidepressant Efficacy, and Tolerability Between
Agomelatine and Venlafaxine XR. J Clin Psychopharmacol. 2008;28:329-333.

[10] Montgomery SA, Kennedy SH, Burrows GD, Lejoyeux M, Hindmarch I.

Absence of discontinuation symptoms with agomelatine and occurrence of
discontinuation symptoms with paroxetine: a randomized, double-blind,
placebo-controlled discontinuation study. Int Clin Psychopharmacol.
2004;19:271-280

[11] Valdoxan(R) Summary of Product Characteristics

[12] http://www.who.int/mental_health/management/depression/definition/en/

(accessed 22 July 2010)

[13] WHO Europe, Mental health in the WHO European Region Fact

sheet EURO/03/03, 8 September 2003

[14] Prevalence, burden and diagnosis - Chapter One, Page One,

5 April 2007

แหล่งข่าว: เซอร์เวียร์

--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --


ข่าวระดับนานาชาติ+ประชาสัมพันธ์วันนี้

เบสบอลไทยไปนาโกยา

สมาคมกีฬาเบสบอลแห่งประเทศไทย ส่งทีมเบสบอล 5 ทีมชาติไทย ร่วมแข่งขันและประชาสัมพันธ์กีฬาในรายการ Baseball5 Asian Trophy 2025 for Sports SDGs in Nagoya โดยได้รับเกียรติจากสมาพันธ์เบสบอลญี่ปุ่น เชิญทีมเบสบอล 5 ทีมชาติไทย เข้าร่วมการแข่งขันแมทช์กระชับมิตร "Baseball5 Asian Trophy 2025 for Sports SDGs in Nagoya" ระหว่างวันที่ 28 เมษายน 1 พฤษภาคม 2568 ณ เมืองนาโกยา ประเทศญี่ปุ่น เพื่อประชาสัมพันธ์กีฬาเบสบอล 5 ของไทยในเวทีระดับนานาชาติ และเตรียมความพร้อมสำหรับการแข่งขันซีเกมส์ที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพ

เวที THE Awards 2025 โชว์ผลงานเด่นแปลงขยะ... 3 ปีซ้อน. มทร.ธัญบุรี ติดโผ 8 มหาวิทยาลัยชั้นนำเอเชีย — เวที THE Awards 2025 โชว์ผลงานเด่นแปลงขยะพลาสติกเป็นรายได้ชุมชน มทร.ธัญบุรี สร้างชื่อบนเวทีระดับนา...